เรียนรู้—ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที
-
สนทนา:ท่านคิดว่าเหตุใด “งบประมาณ” จึงเป็นผนังด้านหนึ่งบนแผนที่ความสำเร็จด้านการพิทักษ์การเงินแทนที่จะเป็นชั้น
-
อ่าน:วันนี้เราจะพูดถึงเครื่องมือมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับสร้างความมั่นคงทางการเงินและการพึ่งพาตนเอง นั่นคือ การตั้งและใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ คือแผน ท่านใช้งบประมาณวางแผนว่าท่านจะใช้เงินอย่างไรสำหรับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การทำตามงบประมาณจะช่วยท่านและครอบครัวควบคุมชีวิตทางโลก ทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชน (ดู โมไซยาห์ 3:19) และอัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในบ้านท่าน การทำงบประมาณจะช่วยท่านป้องกันไม่ให้ครอบครัวลำบากขณะท่านจัดสรรงบประมาณไว้ตั้งกองทุนฉุกเฉิน ชำระหนี้ และออมเงินเป็นค่าใช้จ่ายในอนาคต
การตั้งและทำตามงบประมาณเป็นการแสดงศรัทธา เราไม่สามารถทำนายอนาคตได้ และค่าใช้จ่ายมักจะเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง สำคัญที่ต้องจำไว้ว่างบประมาณต้องยืดหยุ่นได้—ปรับเปลี่ยนและปรับปรุงเสมอ เมื่อท่านตั้งงบประมาณสัปดาห์นี้ พึงจดจำว่าท่านจะต้องทบทวนและแก้ไขอยู่เสมอระหว่างจัดสภาครอบครัวเป็นประจำ ถ้าท่านใช้เกินงบประมาณ อย่ายอมแพ้! อาจต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนหลายเดือนกว่าท่านจะมีงบประมาณที่ได้ผลดี
1. ตั้งงบประมาณ
-
อ่าน:ในกิจกรรมต่อไปนี้ เราจะฝึกตั้งงบประมาณ
สำหรับวันนี้ ท่านจะประเมินจำนวนเงินตามที่ท่านรู้และที่ท่านเรียนรู้จากการติดตามรายรับรายจ่ายของท่าน คำมั่นสัญญาข้อหนึ่งของท่านสัปดาห์นี้คือทำแบบฝึกหัดนี้ซ้ำด้วยตัวเลขจริงโดยใช้ตารางท้ายบทนี้
เพื่อตั้งงบประมาณ ให้เริ่มจากรายรับของท่าน
-
อ่าน:ขั้นตอนต่อไปในการตั้งงบประมาณคือแจกแจงและประมาณรายจ่ายของท่าน ท่านติดตามรายจ่ายของท่านมาตลอดและใส่ไว้ในหมวดหมู่ที่ท่านสร้างในบทที่ 1 จากนี้เราจะแยกรายจ่ายเป็นสองแบบคือ “คงที่” และ “ผันแปร” ด้านล่างเป็นตัวอย่างบางส่วน
รายจ่ายคงที่ (ค) |
รายจ่ายผันแปร (ผ) |
---|---|
ค่าผ่อนบ้าน/ค่าเช่า |
บิลค่าสาธารณูปโภค |
ค่ารถ |
ของชำ |
ค่าประกัน |
รับประทานอาหารนอกบ้าน |
ส่วนสิบ |
ค่าน้ำมันรถและค่าเดินทาง |
กองทุนฉุกเฉิน |
ของใช้ในบ้าน |
บิลอื่นๆ |
ความบันเทิง |
รายจ่ายคงที่
-
อ่าน:รายจ่ายคงที่เป็นจำนวนแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง รายจ่ายส่วนใหญ่เหล่านี้จะเป็นรายเดือน แต่อาจมีบ้างที่เกิดขึ้นถี่มากกว่านั้นหรือถี่น้อยกว่านั้น นิสัยการใช้จ่ายไม่สามารถควบคุมรายจ่ายคงที่ได้โดยตรง แต่การประเมินสถานการณ์ของท่านและทำการเปลี่ยนแปลงจะควบคุมรายจ่ายคงที่ วิธีที่ดี ในการแยกแยะรายจ่ายคงที่คือถามว่า “รายจ่ายนี้เกิดขึ้นประจำหรือไม่ และรายจ่ายนี้มีจำนวนท่าเดิมทุกครั้งหรือไม่” ตัวอย่างทั่วไปได้แก่ ค่าผ่อนบ้าน ค่าเช่า ค่ารถ และรายจ่ายบางอย่างเช่น บิลอินเทอร์เน็ต เคเบิล หรือโทรศัพท์มือถือ
มีรายจ่ายคงที่ซึ่งไม่ใช่รายเดือนเช่นกัน บางครั้งเกิดขึ้นรายปี รายกึ่งปี หรือรายสามเดือน ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านชำระค่าประกันรถทุก 6 เดือนหรือประกันชีวิตทุก 12 เดือน นี่คือรายจ่ายคงที่ เพื่อให้รายจ่ายคงที่พอดีกับงบประมาณของท่าน ให้แบ่งจำนวนเงินที่ท่านชำระตามจำนวนเดือนระหว่างการชำระ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้ชำระบิลนี้ทุกเดือน แต่ท่านจะกันส่วนจำเป็นไว้ทุกเดือนเพื่อให้ท่านสามารถชำระบิลได้เมื่อถึงกำหนด
รายจ่ายผันแปร
-
อ่าน:รายจ่ายผันแปรคือจำนวนไม่เท่าเดิมในแต่ละเดือน มีรายจ่ายผันแปรบางอย่างที่นิสัยการใช้จ่ายของท่านไม่ควบคุมโดยตรง ตัวอย่างเช่น รายจ่ายอย่างบิลสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าแก๊ส ค่าไฟ เป็นต้น) ขึ้นลงตามการใช้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ยอดจ่ายรายเดือนจะต่างกัน แต่ท่านยังคงสามารถตั้งงบประมาณรายจ่ายเหล่านี้ได้
เมื่อมาถึงการตั้งงบประมาณ รายจ่ายผันแปรที่สำคัญที่สุดคือรายจ่ายที่ท่านสามารถควบคุมได้มากที่สุด นิสัยการใช้จ่ายของท่านควบคุมรายจ่ายเหล่านี้โดยตรง วิธีที่ดีในการแยกแยะรายจ่ายมากมายเหล่านี้คือถามตัวท่านว่า “ฉันซื้อสิ่งนี้จากร้าน (หรือออนไลน์)” สำหรับรายจ่ายผันแปรหลายรายการ ท่านจะเลือกจ่ายมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ ตัวอย่างได้แก่ ของชำ น้ำมันรถ รับประทานอาหารนอกบ้าน โทรศัพท์มือถือ และความบันเทิง
กิจกรรมตัวอย่างงบประมาณ (ใช้ค่าโดยประมาณ)
คำอธิบาย |
ประเภท |
รายรับ |
รายจ่าย |
ยอดคงเหลือ |
---|---|---|---|---|
รายรับ |
(ไม่เกี่ยวข้อง) | |||
ยอดคงเหลือ |
ตัวอย่างงบประมาณ
คำอธิบาย |
ประเภท |
รายรับ |
รายจ่าย |
ยอดคงเหลือ |
---|---|---|---|---|
รายรับ |
(ไม่เกี่ยวข้อง) |
1,000 | ||
|
ค |
110 |
890 | |
|
ค |
50 |
840 | |
|
ค |
80 |
760 | |
|
ค |
300 |
460 | |
|
ผ |
30 |
430 | |
|
ผ |
230 |
200 | |
|
ผ |
80 |
120 | |
|
ผ |
50 |
70 | |
|
ผ |
30 |
40 | |
|
ผ |
40 |
0 | |
ยอดคงเหลือ |
0 |
2. กระทบยอดงบประมาณ
-
อ่าน:ขณะท่านรวบรวมงบประมาณของท่าน ท่านอาจพบว่าท่านมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ถ้านี่เป็นสถานการณ์ของท่าน ไม่ใช่ท่านคนเดียว และนี่เป็นปัญหาที่ท่านสามารถแก้ไขได้ มีสองวิธีให้แก้ไขความท้าทายนี้คือ หารายได้มากขึ้น หรือจ่ายน้อยลง สำหรับตอนนี้ เราจะสนทนาว่าเราจะใช้งบประมาณช่วยเราจ่ายน้อยลงโดยเรียนรู้วิธีควบคุมเงินที่เราจ่ายตามความอยากของเรา
-
ดูวีดิทัศน์:“Continue in Patience” มีอยู่ที่ srs.lds.org/videos (ดูวีดิทัศน์ไม่ได้ ให้อ่าน หน้า 66)
-
สนทนา:บางครั้งท่านเหมือนเด็กเหล่านี้อย่างไร ท่านเป็นเด็กคนไหน
สนทนาเรื่องการจัดทำงบประมาณในสภาครอบครัวของท่าน
-
อ่าน:เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์สอนว่า “วิธีสำคัญ [วิธีหนึ่ง] ที่จะช่วยให้ลูกเราเรียนรู้การเป็นผู้เลี้ยงชีพที่มองการณ์ไกลคือการตั้งงบประมาณของครอบครัว เราควรทบทวนรายได้ เงินออม และแผนใช้จ่ายของครอบครัวเราเป็นประจำในการประชุมสภาครอบครัว สิ่งนี้จะสอนลูกๆ ของเราให้รับรู้ความแตกต่างระหว่างความอยากกับความจำเป็น และวางแผนล่วงหน้าสำหรับการใช้ทรัพย์สินของครอบครัวให้เกิดประโยชน์” (“การเป็นผู้เลี้ยงชีพที่มองการณ์ไกล: ทั้งทางโลกและทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 11)
ระหว่างสภาครอบครัวของท่านสัปดาห์นี้ ให้ช่วยกันกับคู่สมรสตั้งงบประมาณครอบครัว ถ้าท่านเป็นโสด หรือท่านต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ให้ท่านปรึกษาเพื่อน พ่อแม่ สมาชิกครอบครัว ครูพี่เลี้ยง หรือสมาชิกกลุ่ม ท่านอาจต้องการใช้โครงร่าง “ตัวอย่างการสนทนาในสภาครอบครัว” ด้านล่าง