การพึ่งพาตนเอง
เรียนรู้—ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที


เรียนรู้—ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที

การสนทนาวันนี้:

1 จ่ายส่วนสิบและเงินบริจาค

ภาพ
กราฟิกแผนที่ความสำเร็จด้านการเงิน

แผนที่ความสำเร็จด้านการพิทักษ์การเงิน

สนทนา:ท่านคิดว่าเหตุใดการ “จ่ายส่วนสิบและเงินบริจาค” จึงเป็นขั้นตอนแรกในแผนที่ความสำเร็จด้านการพิทักษ์การเงิน

อ่าน:สมาชิกศาสนจักรได้รับคำแนะนำให้จ่ายส่วนสิบและเงินบริจาคก่อนจ่ายอย่างอื่นแม้กระทั่งสิ่งจำเป็น เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “การจ่ายส่วนสิบเป็นการทดสอบลำดับความสำคัญ” (“ส่วนสิบ,” Ensign, May 1994, 35) เมื่อท่านแสดงให้เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าสำคัญเป็นอันดับแรก ท่านจะไขโอกาสให้พระองค์ทรงอวยพรท่านมากขึ้น พระคัมภีร์เน้นย้ำบ่อยครั้งว่าต้องทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบตามลำดับ (ดูตัวอย่างใน 1 โครินธ์ 14:40, โมไซยาห์ 4:27 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 93:43)

ประธานฮีเบอร์ เจ. แกรนท์สอนว่า “ชายและหญิงผู้ซื่อสัตย์ต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง ผู้จ่ายส่วนสิบของพวกเขา … พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานปัญญาให้พวกเขาเพื่อจะสามารถใช้เก้าในสิบที่เหลือให้เป็นประโยชน์ และเงินส่วนนั้นมีค่าต่อพวกเขามากขึ้น พวกเขาคงไม่ประสบความสำเร็จกับเงินส่วนนั้นเท่าที่ควรถ้าพวกเขาไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า” (ใน Conference Report, Apr. 1912, 30)

สนทนา:ท่านคิดว่าการจ่ายส่วนสิบก่อนช่วยให้ท่านใช้เงินเก้าในสิบที่เหลือให้เป็นประโยชน์มากขึ้นอย่างไร

1. เปลี่ยนวิธีบริหารเงินของท่าน

อ่าน:เพื่อจะจ่ายส่วนสิบและเงินบริจาคก่อน ท่านอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีบริหารเงิน การดูแลค่าครองชีพปัจจุบันมักทำให้ท่านไม่สามารถออมสำหรับอนาคตและสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ หลายคนใช้วิธีนี้พิทักษ์การเงินของพวกเขา คือ พวกเขาจ่ายสิ่งจำเป็นขณะนั้นเช่น อาหาร ที่พัก ค่าเดินทาง และค่าดูแลสุขภาพก่อน แล้วค่อยออมเงินและจ่ายส่วนสิบจากเงินที่เหลือ วิธีนี้แสดงไว้ในแผนภาพต่อไปนี้

ภาพ
กราฟิกวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้

อ่าน:แม้คนส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ แต่มีวิธีพิทักษ์การเงินที่ดีกว่านั้น นั่นคือ เมื่อท่านมีรายได้ ให้จ่ายส่วนสิบก่อน แล้วกันเงินไว้สำหรับตัวท่านเองในอนาคต—แม้จะน้อยนิดก็ตาม จากนั้นให้ใช้เงินที่เหลือ (รายได้ส่วนใหญ่ของท่าน) จ่ายค่าครองชีพ วิธีนี้แสดงไว้ในแผนภาพด้านล่าง

ภาพ
กราฟิกวิธีพึ่งพาตนเอง

สนทนา:อะไรคือความแตกต่างระหว่างสองวิธีนี้ เหตุใดคนจำนวนมากจึงใช้วิธีพิทักษ์การเงินแบบคนทั่วไป

อ่าน:เราจะใช้ภาพขวดโหล ก้อนหิน และทรายอธิบายภูมิปัญญาของการกันเงินให้พระเจ้าก่อนและสำหรับตัวเราเองในอนาคต (ดู Stephen R. Covey, A. Roger Merrill, and Rebecca R. Merrill, First Things First: To Live, to Love, to Learn, to Leave a Legacy [1994], 88–89)

ขวดโหลแทนรายได้ของเราหมายถึงทรัพยากรที่มีจำกัด เราแต่ละคนมีขวดโหลขนาดต่างกัน แต่หลักธรรมดังที่อธิบาย ณ ที่นี้เหมือนกันสำหรับทุกคน ก้อนหินและทรายที่ใส่ในขวดโหลหมายถึงวิธีที่เราสามารถใช้เงินของเรา ในตัวอย่างนี้ หินก้อนใหญ่น้อยหมายถึงลำดับความสำคัญระยะยาวของเรา—กันเงินไว้ให้พระเจ้าและตัวเราเองในอนาคต—ทรายหมายถึงความจำเป็นและความต้องการในปัจจุบันของเรา

ให้เราใส่ก้อนหินและทรายในขวดโหลโดยใช้วิธีพิทักษ์การเงินแบบคนทั่วไป

ภาพ
ขวดโหลแบบคนทั่วไป

อ่าน:สังเกตว่าเมื่อท่านเททรายลงไปก่อน จะมีที่ไม่พอให้ใส่ก้อนหินทั้งหมด

ตอนนี้ใส่ก้อนหินและทรายในขวดโหลโดยใช้วิธีพิทักษ์การเงินแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น

ภาพ
ขวดโหลแบบพึ่งพาตนเอง

อ่าน:สังเกตว่าถ้าเราใส่ก้อนหินลงไปก่อน จะยังมีที่ให้ใส่ทรายทั้งหมด

สนทนา:ตัวอย่างเรื่องขวดโหลเกี่ยวข้องกับการจ่ายส่วนสิบและการออมเงินอย่างไร เหตุใดครั้งที่สองจึงใส่ทุกอย่างในขวดโหลได้ การเอาก้อนหินใส่ลงไปก่อนเป็นตัวอย่างของการแสดงศรัทธาอย่างไร

อ่าน:ตลอดหลักสูตรนี้ท่านจะเรียนรู้วิธีพิทักษ์การเงินแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น แม้การใช้วิธีพึ่งพาตนเองจะไม่สบายในตอนแรก แต่จะช่วยให้ท่านพร้อมมากขึ้นสำหรับอนาคต เป็นธรรมดาที่จะกังวลว่าท่านอาจมีเงินไม่พอสำหรับความจำเป็นในปัจจุบันถ้าท่านจ่ายส่วนสิบและกันเงินออมไว้ก่อน แต่นี่เป็นการทดสอบศรัทธา อธิการที่ฉลาดคนหนึ่งเคยบอกผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่ที่วิตกกังวลว่า “ถ้าการจ่ายส่วนสิบทำให้คุณจ่ายค่าน้ำค่าไฟไม่ได้ จงจ่ายส่วนสิบ ถ้าการจ่ายส่วนสิบทำให้คุณจ่ายค่าเช่าไม่ได้ จงจ่ายส่วนสิบ ถ้าการจ่ายส่วนสิบทำให้คุณมีเงินไม่พอซื้ออาหารให้ครอบครัว จงจ่ายส่วนสิบ พระเจ้าจะไม่ทรงทอดทิ้งคุณ” (ใน Aaron L. West, “Sacred Transformations,” Ensign, Dec. 2012, 38)

ขณะติดตามรายจ่ายของท่าน ท่านจะมีรายรับเช่นกัน ลองพิจารณาว่าท่านบริหารเงินในปัจจุบันอย่างไรและท่านจะปรับปรุงการจ่ายส่วนสิบและออมให้ตัวท่านในอนาคตก่อนอย่างไร คำมั่นสัญญาข้อหนึ่งของท่านสัปดาห์นี้คือประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้และติดตามรายรับรายจ่ายสัปดาห์นี้ของท่านต่อไป

แม้การใช้วิธีพิทักษ์การเงินแบบพึ่งพาตนเองจะเรียกร้องให้ใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ แต่เรียกร้องให้ใช้ทักษะการเงินที่เหมาะสมเช่นกัน สัปดาห์ต่อไป ท่านจะเริ่มเชี่ยวชาญทักษะการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยท่านควบคุมการใช้จ่ายและใช้เงินของท่านชำระค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด

สนทนา:การจ่ายส่วนสิบและการออมเงินจะเปลี่ยนชีวิตท่านได้อย่างไร

2. จ่ายส่วนสิบและเงินบริจาค

อ่าน:“กฎส่วนสิบเรียบง่าย” ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอน “เราจ่ายหนึ่งส่วนสิบของผลประโยชน์ของเราแต่ละคนเป็นรายปีฝ่ายประธานสูงสุดแปล ผลประโยชน์ ว่าหมายถึงรายได้ จำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของเราแต่ละคนเป็นเรื่องระหว่างเราแต่ละคนกับพระผู้สร้างของเรา … ดังที่ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสคนหนึ่งในเกาหลีเคยพูดไว้ว่า ‘เกี่ยวกับส่วนสิบ ไม่สำคัญว่าท่านรวยหรือจน … ถ้าท่านได้เงินมาก ท่านจ่าย 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าท่านได้เงินน้อย ท่านก็จ่าย 10 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม’” (“Opening the Windows of Heaven,” Ensign, Nov. 1998, 59)

ดูวีดิทัศน์:“Widow of Zarephath” มีอยู่ที่ srs.lds.org/videos (ถ้าดูวีดิทัศน์ไม่ได้ ให้อ่าน หน้า 49)

สนทนา:เหตุใดหญิงม่ายชาวเศราฟัทจึงสละอาหารมื้อสุดท้ายให้ศาสดาพยากรณ์เอลียาห์ ท่านจะทำแบบนั้นหรือไม่ เหตุใดจึงทำหรือเหตุใดจึงไม่ทำ

อ่าน:กฎส่วนสิบมีมาตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิม ในมาลาคี เราอ่านว่าถ้าเราจ่ายส่วนสิบ พระเจ้าจะทรงเปิด “หน้าต่างในฟ้าสวรรค์” ให้เรา (ดู มาลาคี 3:10)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์สอนว่า “จินตภาพของ ‘หน้าต่าง’ ในฟ้าสวรรค์ที่มาลาคีใช้เป็นการสอนที่ดีที่สุด หน้าต่างช่วยให้แสงสว่างตามธรรมชาติเข้ามาในอาคาร ในทำนองเดียวกัน ความสว่างและทัศนคติทางวิญญาณเทผ่านหน้าต่างในฟ้าสวรรค์เข้าสู่ชีวิตเราเมื่อเราปฏิบัติตามกฎส่วนสิบ … เราอาจต้องการและสวดอ้อนวอนทูลขอความช่วยเหลือให้พบการจ้างงานที่เหมาะสม … ของประทานทางวิญญาณแห่งการเล็งเห็นที่ดีขึ้น [สามารถ] ช่วยให้เราพบโอกาสในการได้งานที่คนอื่นอาจมองข้ามไป … เราอาจตั้งความปรารถนาอย่างเหมาะสมและทำงานให้มีรายได้มากขึ้นจากงานอาชีพของเราเพื่อจัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิตได้ดีขึ้น … [หรือในบางกรณี] เราอาจต้องการและคาดหวังว่าจะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่พรที่มาสู่เราผ่านหน้าต่างในฟ้าสวรรค์อาจเป็นความสามารถมากขึ้นในการทำและเปลี่ยนสภาพการณ์ของเราเองแทนที่จะคาดหวังให้มีใครบางคนหรืออะไรบางอย่างมาเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ของเรา” (“หน้าต่างในฟ้าสวรรค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 17–18)

สนทนา:ความสว่างทางวิญญาณ (หรือการเปิดเผยส่วนตัว) นำทางให้ท่านเปลี่ยนสภาพการณ์ของท่านในด้านใด

กฎแห่งการอดอาหาร

อ่าน:“ตามหลักแล้วการถือปฏิบัติวันอดอาหารที่ถูกต้องคือการไม่กินอาหารและไม่ดื่มอะไรเลยเป็นเวลาสองมื้อติดต่อกันในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เข้าร่วมการประชุมอดอาหารและแสดงประจักษ์พยาน และมอบเงินบริจาคอดอาหารด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อเพื่อดูแลคนขัดสน” (คู่มือเล่ม 2: การบริหารงานศาสนจักร [2010] 21.1.17)

เงินบริจาคอดอาหารใช้ช่วยคนจนและคนตกทุกข์ได้ยาก การบริจาคเงินอดอาหารด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อจะทำให้เราพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า “ข้าพเจ้าเป็นพยานถึงปาฏิหาริย์ ทั้งทางวิญญาณและทางโลก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่รักษากฎแห่งการอดอาหาร จงใส่ใจสิทธิพิเศษอันศักดิ์สิทธิ์นั้นอย่างน้อยเดือนละครั้ง จงเอื้อเฟื้อตามแต่สภาวการณ์ของท่านจะเอื้ออำนวยในการบริจาคเงินอดอาหารและการบริจาคอื่นๆ เพื่อมนุษยธรรม การศึกษา และผู้สอนศาสนา ข้าพเจ้าสัญญาว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงเอื้อเฟื้อท่าน และผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์จากมือท่านจะเรียกท่านว่าผู้ได้รับพรตลอดกาล” (“เราทั้งหลายไม่ได้เป็นขอทานหรอกหรือ?” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 42)

สนทนา:ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงการอดอาหารของท่าน

สนทนาเรื่องส่วนสิบและเงินบริจาคในสภาครอบครัวของท่าน

อ่าน:ระหว่างสภาครอบครัวของท่านสัปดาห์นี้ ให้สนทนาประโยชน์ของการจ่ายส่วนสิบและการกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออมทันทีหลังจากมีรายรับ คิดหาวิธีปรับปรุงการอดอาหารของท่านกับคู่สมรส

ท่านอาจต้องการใช้โครงร่าง “ตัวอย่างการสนทนาในสภาครอบครัว” ด้านล่าง

ตัวอย่างการสนทนาในสภาครอบครัว

พึงเริ่มและจบด้วยการสวดอ้อนวอนเพื่ออัญเชิญพระวิญญาณ

ส่วนที่ 1: ทบทวน

  • ท่านจ่ายส่วนสิบอย่างซื่อสัตย์เต็มจำนวนหรือไม่

  • ท่านบริจาคเงินอดอาหารด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อหรือไม่

  • การติดตามรายรับรายจ่ายของท่านเป็นอย่างไร (ดูบทที่ 1)

ส่วนที่ 2: วางแผน

  • ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจ่ายส่วนสิบอย่างซื่อสัตย์เต็มจำนวน

  • ท่านคิดว่าอะไรคือการบริจาคเงินอดอาหารด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อ

  • ท่านจะปรับปรุงการอดอาหารของท่านได้อย่างไร

  • ท่านจะนำวิธีพิทักษ์การเงินแบบพึ่งพาตนเองมาใช้ได้อย่างไร (ดูหน้า 39–40)

สนทนา:เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงประสบการณ์กลุ่มของเรา

พิมพ์