หน่วย 3: วัน 3
1 นีไฟ 10–11
คำนำ
คำสอนของลีไฮเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิตและคำพยากรณ์ของเขาเกี่ยวกับชาวยิวทำให้นีไฟปรารถนาจะเห็น ได้ยิน และรู้ด้วยตนเองมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่บิดาเห็น ขณะที่นีไฟกำลังไตร่ตรองสิ่งที่บิดากล่าวไว้ พระองค์ทรง “พา [เขา] ไป ในพระวิญญาณของพระเจ้า” (1 นีไฟ 11:1) และเห็นนิมิตเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิตด้วยตนเอง ในนิมิตเขาเห็นพระชนม์ชีพ การปฏิบัติศาสนกิจ และการสิ้นพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดเช่นกัน—นีไฟเป็นพยานถึงความรักที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีต่อเรา ขณะศึกษาบทนี้ ให้ ไตร่ตรองว่าท่านสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างการแสวงหาการเปิดเผยส่วนตัวของนีไฟ อีกทั้งใคร่ครวญพระชนม์ชีพและพระพันธ-กิจของพระผู้ช่วยให้รอด ตลอดจนความรักอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อเราทุกคน
1 นีไฟ 10:1–16
ลีไฮพยากรณ์
หลังจากเล่าเรื่องนิมิตเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิต ลีไฮพยากรณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต คำพยากรณ์ของเขาบันทึกไว้ ใน 1 นีไฟ 10:1–16 อ่าน1 นีไฟ 10:4–6 และทำเครื่องหมายคำตอบของคำถามต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ของท่าน
-
ลีไฮพยากรณ์ว่าพระเมสสิยาห์—พระผู้ช่วยให้รอด—จะเสด็จมาเมื่อใด
-
ลีไฮกล่าวว่าจะเกิดอะไรกับคนที่ไม่ “วางใจในพระผู้ไถ่องค์นี้”
1 นีไฟ 10:17–11:6
นีไฟปรารถนาจะเห็น ได้ยิน และรู้ความจริงเดียวกันกับบิดา
พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้ และตรึกตรองว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์เดียวกันนี้สามารถมีประสบการณ์ต่างกันได้อย่างไร: เยาวชนสามคนเข้าร่วมการประชุมเดียวกันของศาสนจักร คนหนึ่งคิดว่าการประชุมน่าเบื่อและทำให้เขาเสียเวลา อีกคนหนึ่งคิดว่าการประชุมดีแต่ ไม่ ได้เรียนรู้อะไรเลย คนที่สามรู้สึกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ยกระดับจิตใจเขา เขาได้รับการดลใจและการนำทางส่วนตัวนอกเหนือจากสิ่งที่เขาเรียนรู้ในการประชุม
ขณะที่ท่านศึกษาประสบการณ์ของนีไฟ ใน 1 นีไฟ 10:17–11:6 ให้สังเกตว่าอะไรทำให้นีไฟ ได้รับการเปิดเผยเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่บิดาสอน
อ่าน 1 นีไฟ 10:17 และขีดเส้นใต้ความรู้สึกของนีไฟหลังจากได้ยินเรื่องนิมิตของลีไฮ
อ่าน 1 นีไฟ 10:19 และหาข้อความที่สอนว่าความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าเปิดเผยต่อเราอย่างไร
ตามที่กล่าวไว้ ใน1 นีไฟ 10:19 คนที่แสวงหาอย่างขยันหมั่นเพียรจะได้รับความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้า เขียนสิ่งที่ท่านคิดว่าหมายถึงการแสวงหาอย่างขยันหมั่นเพียร
นีไฟ ให้ตัวอย่างที่ดีเลิศของการแสวงหาการเปิดเผยอย่างขยันหมั่นเพียร อ่าน 1 นีไฟ 10:17–19 และ 11:1–6; เลือกสองในสามเรื่องที่เขียนไว้ ในแผนภูมิด้านล่าง—ความปรารถนา ความเชื่อ และการไตร่ตรอง เขียนคำตอบของคำถามที่สอดคล้องกันในแผนภูมิ
ความปรารถนา |
นีไฟปรารถนาจะรู้อะไร ท่านคิดว่าความปรารถนาของเรามีผลอย่างไรต่อความสามารถที่เราจะรับการเปิดเผย ท่านปรารถนาจะรู้อะไรจากพระเจ้า |
ความเชื่อ |
หลายเรื่องที่นีไฟเชื่อมีอะไรบ้างที่นำไปสู่การเปิดเผย ท่านคิดว่าความเชื่อเหล่านี้อาจมีผลอย่างไรต่อความสามารถที่เราจะรับการเปิดเผยในวันนี้ ท่านเชื่อสิ่งที่พระเจ้าทรงเปิดเผยต่อท่านหรือไม่ |
การไตร่ตรอง (ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง; เปิดใจและความคิดของท่านเพื่อรับพระวิญญาณบริสุทธิ์) |
เกิดอะไรขึ้นขณะที่นีไฟนั่งไตร่ตรอง (ดู 1 นีไฟ 11:1) ท่านคิดว่าการไตร่ตรองสามารถนำไปสู่การเปิดเผยได้อย่างไร ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อไตร่ตรองพระกิตติคุณมากขึ้นในชีวิตท่าน |
สรุปหลักธรรมพระกิตติคุณที่ท่านเรียนรู้จากประสบการณ์ของนีไฟ โดยเติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยความจริงต่อทุกคนที่.
-
เขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้หนึ่งหรือสองข้อลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ท่านเคยรู้สึกเมื่อใดว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของท่านหรือรู้สึกถึงการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณขณะที่ท่านแสวงหาความช่วยเหลือหรือการนำทางจากพระเจ้าอย่างขยันหมั่นเพียร
-
วิธีหนึ่งที่ท่านสามารถแสวงหาการดลใจจากพระเจ้าได้อย่างขยันหมั่นเพียรมากขึ้นคืออะไร
-
1 นีไฟ 11: 7–36
นีไฟเป็นพยานถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์
นีไฟยังคงไตร่ตรองและแสวงหาการนำทางจากเบื้องบนในระหว่างนิมิตของเขา อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ ประธานโควรัมอัครสาวกสิบสอง และระบุสิ่งที่ท่านกล่าวว่าเป็นประเด็นหลักในนิมิตของนีไฟ
“คำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ปรากฏในพันธ-สัญญาเดิม แต่พระคัมภีร์มอรมอนบันทึกนิมิตของเหตุการณ์นั้นซึ่งในพันธสัญญาเดิมมีไม่มากเท่า
“หลังจากผู้คนของลีไฮ [ออกจากเยรูซาเล็ม] ลีไฮเห็นนิมิตเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิต นีไฟบุตรชายของเขาสวดอ้อนวอนขอให้รู้ความหมายของนิมิตนั้น ในคำตอบ เขาได้รับนิมิตอันน่าทึ่งเกี่ยวกับพระคริสต์
“ในนิมิตนั้นเขาเห็น:
-
หญิงพรหมจารีกำลังอุ้มเด็กไว้ในอ้อมแขน
-
คนที่จะเตรียมทาง—ยอห์นผู้ถวายบัพติศมา
-
การปฏิบัติศาสนกิจของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า
-
คนอีกสิบสองคนติดตามพระเมสสิยาห์
-
ฟ้าสวรรค์เปิดและเหล่าเทพปฏิบัติต่อพวกเขา
-
ฝูงชนได้รับพรและการรักษา
-
การตรึงกางเขนพระคริสต์
-
คนมีปัญญาและคนจองหองของโลกกำลังต่อต้านงานนี้ (ดู 1 นีไฟ 11:14–36)
“นิมิตดังกล่าวเป็นข่าวสารหลักของพระคัมภีร์มอร- มอน” (“The Things of My Soul,” Ensign, May 1986, 60–61)
เทพองค์หนึ่งช่วยให้นีไฟค้นพบความหมายของต้นไม้แห่งชีวิตและถามต่อจากนั้นว่า “เจ้ารู้ความหมายของต้นไม้ที่บิดาเจ้าเห็นไหม?” (1 นีไฟ 11:21) ทบทวนความหมายของต้นไม้ โดยขีดเส้นใต้ข้อความที่นีไฟและเทพใช้บรรยายต้นไม้ ใน 1 นีไฟ 11:21–24
อ่าน 1 นีไฟ 11:16 และขีดเส้นใต้คำถามก่อนหน้านี้ที่เทพถามนีไฟ ท่านอาจจะต้องการเขียนในพระคัมภีร์ของท่านว่า พระจริยวัตรอันอ่อนน้อม หมายถึงเต็มใจลงจากสถานะอันสูงส่งมาช่วยหรือเป็นพรแก่ผู้อื่น
ใน 1 นีไฟ 11:17 ระบุคำตอบของนีไฟต่อคำถามของเทพ นีไฟรู้อะไร เขาไม่รู้อะไร หลังจากนีไฟตอบคำถาม เทพแสดงให้เขาเห็นว่า พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์แสดงให้เห็นความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อเรา
หลังจากท่านเรียนรู้ความหมายของคำว่า พระ-จริยวัตรอันอ่อนน้อม แล้วให้อ่าน 1 นีไฟ 11:13–21 จากนั้นให้อ่านข้อความอ้างอิงต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เจอรัลด์ เอ็น. ลันด์ ผู้รับใช้เป็นสมาชิกแห่งโควรัมสาวกเจ็ดสิบในเวลานั้น ให้ ไตร่ตรองว่าการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมและความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเราอย่างไร “พระเยซูองค์นี้—สมาชิกองค์หนึ่งในพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ พระบุตรหัวปีของพระบิดา พระผู้สร้าง พระเยโฮวาห์แห่งพันธสัญญาเดิม—บัดนี้ทรงละจากสถานะอันศักดิ์สิทธิ์และสูงส่งของพระองค์ ปลดเปลื้องพระองค์เองจากรัศมีภาพและฤทธานุภาพทั้งปวง และเข้าสู่ร่างกายของทารกน้อย ไม่สามารถช่วยตนเองได้ พึ่งพระมารดาและบิดาทางโลกของพระองค์อย่างสมบูรณ์ น่าฉงนยิ่งนักที่พระองค์น่าจะเสด็จสู่พระราชวังงดงามที่สุดในโลกและรับพระราชทานเพชรนิลจินดาแต่ … กลับเสด็จมายังคอกสัตว์อันต่ำต้อย จึงไม่แปลกเลยที่เทพกล่าวแก่นีไฟว่า ‘พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระผู้เป็นเจ้า!’ ” (Jesus Christ, Key to the Plan of Salvation [1991], 16)
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า พระเยซูคริสต์ “ลาจากบัลลังก์” (“ฉันเฝ้าพิศวง,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 89) และพระฐานะอันสูงส่งของพระองค์ในโลกก่อนมรรตัยเพื่อเกิดมาเป็นทารกน้อยมีความหมายต่อท่านว่าอย่างไร
อ่าน 1 นีไฟ 11:27 และพิจารณาว่าบัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระองค์อย่างไร แม้พระองค์ไม่มีบาป แต่พระองค์ทรงรับบัพติศมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าทรงเชื่อฟังกฎของพระผู้เป็นเจ้า อีกทั้งแสดงให้เห็นเช่นกันว่าพระองค์ทรงรักเราโดยทรงเป็นแบบอย่างให้เราทำตาม
อ่าน 1 นีไฟ 11:28–31 และตรึกตรองว่าพระชนม์ชีพของพระคริสต์ในการรับใช้ผู้อื่นแสดงถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระองค์อย่างไร
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าสิ่งที่ท่านอ่านใน 1 นีไฟ 11:28–31 แสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรักผู้คนของพระองค์ ท่านรู้สึกว่านี่เชื่อมโยงกับความรักที่ทรงมีต่อท่านทุกวันนี้อย่างไร
อ่าน 1 นีไฟ 11:32–33 และไตร่ตรองว่าการตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์แสดงถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระองค์อย่างไร อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เอิร์ล ซี. ทิงกีย์ผู้รับใช้เป็นสมาชิกในฝ่ายประธานสาวกเจ็ดสิบเวลานั้น และมองหาสิ่งที่ท่านพูดว่าการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงให้เห็นถึงความรักของพระองค์และเป็นพรแก่ท่านอย่างไร
“ในฐานะผู้ได้รับเลือกให้สนองข้อเรียกร้องของการชดใช้ พระเยซูคริสต์ทรงมีพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมเสด็จมา … ถูกล่อลวง ถูกทดสอบ ถูกเยาะเย้ย ถูกตัดสิน และถูกตรึงกางเขน แม้จะทรงมีพลังอำนาจป้องกันการกระทำเหล่านั้น
“ประธานจอห์น เทย์เลอร์บรรยายถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระคริสต์ด้วยถ้อยคำอันไพเราะดังนี้ ‘จำเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์จะเสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวง เพื่อพระองค์จะทรงยกผู้อื่นให้อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง …’ [The Mediation and Atonement (1882), 144]
“การทนทุกข์ของพระคริสต์ในสวนเกทเสมนีคือแบบฉบับของคุณลักษณะอันสูงส่งที่สุดของพระคริสต์ ความรักที่สมบูรณ์แบบของพระองค์ ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงรักเราทุกคนอย่างแท้จริง …
“การชดใช้คือเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้คืนดีกับพระผู้เป็นเจ้า … ในแง่ของครอบครัวหมายถึงกลับมาอยู่ด้วยกันอีก กลับมาอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าและพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ หมายถึงความเสียใจเมื่อพลัดพรากจะกลายเป็นความสุขเมื่อได้มาอยู่ด้วยกันอีก” (ดู “แผนแห่งความสุขอันยิ่งใหญ่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2006, หน้า 89–90)
การชดใช้ของพระเยซูคริสต์เป็นส่วนที่ขาดไม่ ได้ ในพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระองค์และแสดงให้ประจักษ์ถึงความรักยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระองค์ทรงมีต่อเรา
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการตระหนักในพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์มีผลอย่างไรต่อความรู้สึกและความรักที่ท่านมีต่อพระองค์
จบการศึกษาวันนี้โดยร้องเพลง ฟัง หรืออ่านเนื้อร้องของเพลงสวด “ฉันเฝ้าพิศวง” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 89) สังเกตข้อความที่เป็นพยานถึงสิ่งที่ท่านศึกษาวันนี้ ไตร่ตรองว่าเหตุใดพรแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์จึง “เป็นที่พึงปรารถนาที่สุด” และ “เป็นความปีติยินดีที่สุด” แก่ท่าน (ดู 1 นีไฟ 11:22–23) เช่นเดียวกับนีไฟ เมื่อท่านแสวงหาความเข้าใจอย่างขยันหมั่นเพียรผ่านการเปิดเผย ท่านจะเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น ท่านจะรู้สึกถึงเดชานุภาพแห่งการเสียสละของพระองค์ในชีวิตท่านและปีติที่เกิดขึ้น
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษา 1 นีไฟ 10–11 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: