หน่วย 14: วัน 4
แอลมา 1–4
คำนำ
ไม่นานหลังจากแอลมาเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา ชายชื่อนี-ฮอร์เริ่มสอนหลักคำสอนเท็จและนำการฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตเข้ามาในบรรดาชาวนีไฟ เขาฆ่าชายชอบธรรมคนหนึ่งและถูกประหารชีวิตเพราะความผิดของเขา หลายปีต่อมา แอมลิ ไซพยายามเป็นกษัตริย์ปกครองชาวนีไฟแต่ ไม่สำเร็จ เมื่อผู้คนออกเสียงไม่ยอมรับเขาเป็นกษัตริย์ เขารวบรวมสมัครพรรคพวก—เรียกว่าชาวแอม-ลิ ไซ—ไปรบกับชาวนีไฟ ชาวนีไฟ ได้ชัยชนะ แต่หลายหมื่นคนเสียชีวิต สงครามทำให้ชาวนีไฟจำนวนมากรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน พวกเขาระลึกถึงหน้าที่ของตน และหลายพันคนเข้าร่วมศาสนจักร อย่างไรก็ดี ภายในหนึ่งปี สมาชิกจำนวนมากของศาสนจักรเริ่มหยิ่งจองหองและข่มเหงผู้อื่น แอลมาตัดสินใจสละหน้าที่หัวหน้าผู้พิพากษาและมุ่งเป็นพยานถึงพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์
แอลมา 1
สมาชิกศาสนจักรรุ่งเรืองทั้งที่มีการแพร่กระจายการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิตและการข่มเหง
บางครั้งผู้คนหมายมั่นจะเป็นที่นิยมชมชอบ ใช้เวลาสักครู่ตรึกตรองอันตรายที่อาจเกิดจากความปรารถนาดังกล่าว เกิดอะไรขึ้นหากท่านเป็นห่วงสิ่งที่เพื่อนคิดเกี่ยวกับท่านมากกว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงคิดเกี่ยวกับท่าน
ดังบันทึกไว้ ใน แอลมา 1 ชายชื่อนีฮอร์กลายเป็นที่นิยมชมชอบมากในหมู่คนบางคน อ่าน แอลมา 1:2–6 ระบุสิ่งที่นีฮอร์สอนและวิธีที่ผู้คนตอบสนอง
ค้นคว้าบรรทัดแรกของ แอลมา 1:12 เพื่อหาคำที่แอลมาใช้พูดถึงสิ่งที่นีฮอร์แนะนำให้ชาวนีไฟรู้จัก จากนั้นให้ดูเชิงอรรถ 12 ก อ่าน 2 นีไฟ 26:29 ซึ่งเป็นข้ออ้างโยงข้อแรกที่เขียนไว้ ในเชิงอรรถ ระบุสิ่งที่ผู้ปฏิบัติการฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตทำและไม่ทำ
การฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตคือเมื่อผู้คนสั่งสอน “หลักคำสอนเท็จ … เพื่อเห็นแก่ความมั่งคั่งและเกียรติยศ” และ “ตั้งตนเป็นความสว่างแก่ โลก” (แอลมา 1:16; 2 นีไฟ 26:29) พวกเขาไม่ต้องการเสริมสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าโดยการสั่งสอนของพวกเขา แต่พวกเขาต้องการได้รับประโยชน์ (อาทิ ความมั่งคั่ง ข้อได้เปรียบทางสังคม หรืออำนาจเหนือผู้อื่น) และคำสรรเสริญจากคนอื่นๆ พวกเขาต้องการมุ่งความสนใจมาที่ตนเอง ไม่ ใช่พระผู้เป็นเจ้าและพระกิตติคุณของพระองค์ การฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตเป็นบาปร้ายแรงในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า ตามที่แอลมาอธิบายชัดเจนเมื่อเขาบอกนีฮอร์ว่า “หากบีบบังคับให้มีการฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตในบรรดาคนพวกนี้แล้วก็จะหมายถึงความพินาศสิ้นของพวกเขา” (แอลมา 1:12)
ขณะที่นีฮอร์พยายาม “ชักนำผู้คนของศาสนจักรไป” ชายชอบธรรมคนหนึ่งชื่อกิเดียน “ทัดทานเขา, โดยตักเตือนเขาด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” (แอลมา 1:7) นีฮอร์ตอบโต้ โดยชักดาบออกมาสังหารกิเดียน นี-ฮอร์ยืนรับการไต่สวนความผิดของเขาและถูกประหารชีวิต อ่าน แอลมา 1:16 เพื่อค้นดูว่าความตายของนีฮอร์ยุติการฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตในบรรดาชาวนีไฟหรือไม่
อ่าน แอลมา 1:26–27 ระบุวิธีที่ปุ โรหิตชาวนีไฟของพระผู้เป็นเจ้ากระทำต่างจากนีฮอร์และคนอื่นๆ ผู้ปฏิบัติการฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิต
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าปุโรหิตชาวนีไฟปฏิบัติอย่างไร การกระทำของปุโรหิตชาวนี-ไฟต่างจากการกระทำของคนที่ปฏิบัติการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิตอย่างไร
ขณะที่การฉ้อฉลในอำนาจปุ โรหิตแพร่ ไปทั่วแผ่นดิน คนเป็นอันมากเริ่มข่มเหงสมาชิกที่ซื่อสัตย์ของศาสนจักร เพื่อเตรียมศึกษาส่วนที่เหลือของ แอลมา 1 ให้พิจารณาว่าท่านเคยเห็นคนอื่นๆ ล้อเลียน เย้ยหยัน หรือข่มเหงคนที่รักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร
อ่าน แอลมา 1:19–20 และดูว่าเหตุใดบางคนจึงข่มเหงสมาชิกศาสนจักร แอลมา 1:21–31 บันทึกว่าสมาชิกศาสนจักรตอบสนองการข่มเหงอย่างไร อ่านข้อพระคัมภีร์ด้านล่างและเติมคำในแผนภูมิ
สมาชิกบางคนตอบสนองการข่มเหงอย่างไร |
สมาชิกคนอื่นๆ ของศาสนจักรดำเนินชีวิตอย่างไรทั้งที่มีการข่มเหง |
อะไรเป็นผลจากการกระทำของพวกเขา |
พวกเขาได้รับพรอะไรบ้าง |
เขียนหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้จากการศึกษาแผนภูมินี้
หลักธรรมข้อหนึ่งที่ท่านระบุได้คือ: เมื่อเราดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เราสามารถมีสันติสุขในชีวิตเราได้แม้ว่าเราถูกข่มเหง
-
อธิบายในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณข้างต้นสามารถช่วยท่านได้อย่างไรเมื่อเผชิญการข่มเหงหรือแรงกดดันไม่ให้เชื่อฟังพระบัญญัติ จากนั้นให้ตอบคำถามหนึ่งข้อต่อไปนี้
-
ท่านเคยรักษาพระบัญญัติทั้งที่มีการข่มเหงหรือแรงกดดันไม่ให้ทำเช่นนั้นเมื่อใด และท่านได้รับพรอะไรบ้าง
-
ท่านจะตอบโต้ปฏิปักษ์ของท่านอย่างไร
-
แอลมา 2
ชาวแอมลิไซและชาวเลมันร่วมมือกันสู้รบกับชาวนีไฟ
แอลมา 2 พูดถึงการทดลองอีกขั้นหนึ่งสำหรับชาวนีไฟ อ่านหัวบทเพื่อดูว่าชายชื่อแอมลิ ไซและผู้ติดตามเขาต่อต้านชาวนีไฟอย่างไร แอมลิ ไซต้องการเป็นกษัตริย์ปกครองชาวนีไฟ แต่ชาวนีไฟจัดให้มีการออกเสียงเลือกไม่ยอมรับเขาและยังคงอยู่กับระบบผู้พิพากษา ผู้ติดตามแอมลิ ไซมารวมตัวกันตั้งเขาเป็นกษัตริย์ แอมลิ-ไซสั่งผู้ติดตามเขาให้ไปทำสงครามกับชาวนีไฟ และไม่นานหลังจากนั้นชาวเลมันมาสมทบกับชาวแอมลิ ไซในการต่อสู้ชาวนีไฟ
เพราะชาวนีไฟซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า พระเจ้าจึงทรงช่วยพวกเขาในการสู้รบกับชาวแอมลิไซและชาวเลมัน อ่าน แอลมา 2:18, 28–31, 36 ทำเครื่องหมายคำว่า ประทานพละกำลัง และ ได้รับกำลังทุกครั้งที่ปรากฏ ดูว่าพระเจ้าประทานพละกำลังแก่ชาวนีไฟอย่างไร
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับเวลาที่ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าประทานพละกำลังแก่ท่านขณะที่ท่านพยายามทำสิ่งถูกต้อง
แอลมา 3
ชาวแอมลิไซแยกตนเองจากพระผู้เป็นเจ้า
ตรึกตรองข่าวสารที่บางคนอาจพยายามบอกเกี่ยวกับตัวพวกเขาผ่านการเลือกเสื้อผ้า ทรงผม ต่างหู และเครื่องประดับอื่นๆ รอยสัก และการเจาะตามร่างกาย
อ่าน แอลมา 3:4 ระบุว่าชาวแอมลิไซเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของตนอย่างไร
ชาวแอมลิไซ “แตกต่างจาก” ใคร
พวกเขาต้องการให้เหมือนใครมากขึ้น
การเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของชาวแอมลิไซเป็นรูปแบบที่แสดงให้เห็นการกบฏของพวกเขา ดังที่บันทึกไว้ ใน แอลมา 3 มอรมอนเตือนเราให้นึกถึงการสาปแช่งและเครื่องหมายอันเกิดแก่ชาวเลมันเมื่อหลายร้อยปีก่อนเนื่องด้วยการกบฏของพวกเขาต่อพระผู้เป็นเจ้า (ดู แอลมา 3:6–10; ดู 2 นีไฟ 5:20–24 ด้วย) ชาวแอมลิไซสมัครใจตราเครื่องหมายไว้บนหน้าผาก แต่เครื่องหมายเหล่านี้มีจุดประสงค์คล้ายกับเครื่องหมายที่พระเจ้าทรงตราไว้บนชาวเลมัน
ทำเครื่องหมายวลี ใน แอลมา 3:18 ที่พูดถึงเจตคติของชาวแอมลิไซต่อพระผู้เป็นเจ้า ทำเครื่องหมายใน แอล-มา 3:19 ด้วยว่าชาวแอมลิไซนำอะไรมาไว้กับตนเองเนื่องจากการกบฏของพวกเขา
ท่านเรียนรู้อะไรจาก แอลมา 3:18–19 เกี่ยวกับคนที่พระเจ้าทรงสาปแช่ง (คนที่ออกมากบฏต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างเปิดเผยนำการสาปแช่งมาไว้กับตนเอง) สำคัญที่ต้องเข้าใจว่าการสาปแช่งคือสภาพของการ “ถูกตัดขาดจากที่ประทับของพระเจ้า” (2 นีไฟ 5:20) โดยผ่านการกระทำของพวกเขา ชาวแอมลิไซแยกตนเองจากพระผู้เป็นเจ้า
จากตัวอย่างของแอมลิไซ เราเรียนรู้ว่าเราต่างหากที่เลือกแยกตนเองจากพระผู้เป็นเจ้า คนที่ “ออกมากบฏต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างเปิดเผย” (แอลมา 3:18) ตัดขาดตนเองจากพระผู้เป็นเจ้า หรืออีกนัยหนึ่ง นำเอาการสาปแช่งมาไว้กับตนเอง
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: เมื่อเทียบกับชาวแอมลิไซ ท่านสามารถทำอะไรได้บ้างในชีวิตท่านเวลานี้เพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่ตัดขาดตนเองจากพระผู้เป็นเจ้า
แอลมา 3:20–25 บอกว่าชาวนีไฟเอาชนะชาวเลมันในการสู้รบอีกครั้ง แต่คนมากมายจากทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต อ่าน แอลมา 3:26–27 โดยมองหาบทเรียนหลักที่มอร-มอนต้องการให้เราเรียนรู้จากเรื่องราวของชาวแอมลิไซและการสู้รบระหว่างชาวนีไฟกับชาวเลมัน
เติมหลักธรรมต่อไปนี้ให้ครบถ้วนตามสิ่งที่ท่านอ่านใน แอลมา 3:26–27: เราได้รับความสุขหรือความเศร้าหมองขึ้นอยู่กับว่า
ใช้เวลาสักครู่ตรึกตรองว่าท่านเลือกติดตามใครในชีวิตท่าน ใคร่ครวญคำถามต่อไปนี้: ซาตานเสนอรางวัลหรือค่าตอบแทนแบบใดให้คนที่ติดตามเขา (รางวัลเหล่านั้นมักล่อใจมากในตอนแรก แต่จะก่อให้เกิดความทุกข์และความลุ่มหลงมัวเมาในท้ายที่สุด) ตรงกันข้าม ท่านได้รับค่าตอบแทนอะไรจากพระเจ้าสำหรับการเลือกติดตามพระองค์
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับเวลาที่การติดตามพระเจ้านำความสุขมาให้ท่าน
แอลมา 4
หลังจากศาสนจักรเติบโตได้ระยะหนึ่ง สมาชิกศาสนจักรเริ่มจองหองและแอลมาลาออกจากการเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาเพื่อเรียกพวกเขามาสู่การกลับใจ
หลังจากทำสงครามกับชาวเลมันและชาวแอมลิไซ ชาวนีไฟถูก “ปลุก …ให้นึกถึงหน้าที่ตน” และพวกเขา “เริ่มสถาปนาศาสนจักรให้เต็มที่ยิ่งขึ้น” (แอลมา 4:3–4) ด้วยเหตุนี้ ผู้คนประมาณ 3,500 คนจึงเข้าร่วมศาสนจักร (ดู แอลมา 4:5) น่าเสียดายที่ ในเวลาอันสั้นของปี คนจำนวนมากในศาสนจักรเริ่มจองหอง อ่าน แอลมา 4:8–12 และระบุการกระทำชั่วที่เกิดขึ้นเพราะความจองหองในหมู่สมาชิกศาสนจักร หลักธรรมที่เราสามารถเรียนรู้จากพระคัมภีร์ข้อนี้คือ ถ้าเราเป็นตัวอย่างที่ ไม่ชอบธรรม การกระทำของเราจะขัดขวางผู้อื่นจากการยอมรับพระกิตติคุณ (ดู แอลมา 4:10)
-
ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านให้เขียนตัวอย่างหนึ่งของการกระทำหรือเจตคติอันชั่วร้ายที่ชาวนีไฟแสดงให้เห็นใน แอลมา 4:8–12 อธิบายว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำหรือเจตคติเช่นนั้นในฐานะสมาชิกศาสนจักรทุกวันนี้
เนื่องด้วยความชั่วร้ายในศาสนจักร แอลมาจึงกำหนดชายอีกคนหนึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาแทนเขาทั้งนี้เพื่อเขาจะได้อุทิศเวลาทั้งหมดให้แก่การเรียกของเขาในตำแหน่งมหาปุ โรหิตดูแลศาสนจักรและช่วยให้สมาชิกเอาชนะความจองหองและบาปของตนโดย “กดดันด้วยประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์” (แอลมา 4:19) อ่าน แอลมา 4:19 และขีดเส้นใต้สิ่งที่แอลมาปรารถนาจะทำเพื่อช่วยผู้คนของเขา
แอลมา 4:19 อธิบายหลักธรรมเหล่านี้ การทำหน้าที่ทางวิญญาณของเราให้เกิดสัมฤทธิผลเรียกร้องการเสียสละ ผู้รับใช้ของพระเจ้าแสดงประจักษ์พยานและเรียกคนบาป ให้กลับใจ การแสดงประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์ช่วยให้ผู้อื่นใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น
ท่านนึกภาพคนบางคนสละตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น การเป็นประธานาธิบดีของประเทศ เพื่อรับใช้งานเผยแผ่ออกหรือไม่ แอลมาทำเช่นนั้น!
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านคิดว่าวลี “กดดันด้วยประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์” (แอล-มา 4:19) บอกอะไรเกี่ยวกับวิธีที่แอลมาจะสอน บันทึกเช่นกันว่าการฟังผู้อื่นแสดงประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระกิตติคุณส่งผลให้ท่านเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอย่างไร
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษา แอลมา 1–4 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: