หน่วย 19: วัน 1
แอลมา 33–35
คำนำ
แอลมาใช้คำสอนที่พบในพระคัมภีร์ช่วยให้ชาวโซรัมจำนวนมากเข้าใจว่าพวกเขาสามารถนมัสการพระผู้เป็นเจ้าได้ทุกสภาวการณ์ เขากระตุ้นคนเหล่านั้นให้ดูที่พระเยซูคริสต์และเชื่อในการชดใช้ของพระองค์ อมิวเล็คยืนยันคำสอนของแอลมาและประกาศประจักษ์พยานของตนในพระเยซูคริสต์ อมิวเล็คเน้นว่าโดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์เท่านั้นที่มนุษยชาติจะได้รับการช่วยให้รอด เขาสัญญาว่าแต่ละบุคคลจะได้รับพรทั้งหมดของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์เมื่อพวกเขาใช้ศรัทธาจนถึงการกลับใจ ชาวโซรัมจำนวนมากเอาใจใส่คำเตือนของอมิวเล็ค กลับใจ และสมทบกับชาวนีไฟอีกครั้ง
แอลมา 33:1–10
แอลมาสอนชาวโซรัมกลุ่มหนึ่งว่าพวกเขาสามารถนมัสการพระผู้เป็นเจ้านอกธรรมศาลาได้
ดังบันทึกไว้ ใน แอลมา 32 จำไว้ว่าแอลมาสอนชาวโซรัมเกี่ยวกับความจำเป็นของการปลูกพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าไว้ ในใจพวกเขาและใช้ศรัทธาในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า อ่าน แอลมา 33:1 ระบุคำถามที่ชาวโซรัมมีเกี่ยวกับสิ่งที่แอลมาสอนพวกเขา
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านจะตอบคำถามของชาวโซรัมอย่างไรเกี่ยวกับว่าพวกเขาควรเริ่มใช้ศรัทธาอย่างไร จากนั้น ขณะที่ท่านศึกษา แอลมา 33–34 ให้เปรียบเทียบคำตอบของท่านกับสิ่งที่แอลมาและอมิวเล็คสอนชาวโซรัม
เมื่อแอลมาเริ่มตอบคำถามของชาวโซรัม เขาแก้ไขแนวคิดผิดเกี่ยวกับการนมัสการซึ่งกำลังขัดขวางคนเหล่านั้นไม่ ให้ ใช้ศรัทธาอย่างเต็มที่ อ่าน แอลมา 33:2และระบุแนวคิดผิดดังกล่าว จำไว้ว่าชาวโซรัมไม่ยอมให้คนยากจนกว่าเข้าไปนมัสการในธรรมศาลาของพวกเขา (ดู แอลมา 32:1–3) ตามที่กล่าวไว้ ใน แอลมา 33:2 แอลมาบอกผู้คนว่าพวกเขาควรทำอะไรจึงจะพบคำตอบเพื่อแก้ ไขแนวคิดผิดดังกล่าว
เพื่อแก้ ไขแนวคิดผิดของชาวโซรัมเกี่ยวกับการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า แอลมาได้อ้างพระคัมภีร์ที่เขียนโดยศาสดาพยากรณ์ชื่อซีนัส ซีนัสสอนผู้คนของอิสราเอลในสมัยพันธสัญญาเดิม แต่คำพยากรณ์ของเขาบันทึกไว้ ในพระคัมภีร์มอรมอนเท่านั้น อ่าน แอลมา 33:3 และหาคำที่แอลมาใช้พูดถึงการนมัสการ
ท่านอาจเขียนหลักธรรมต่อไปนี้ไว้ ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้ แอลมา 33:3 หรือในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านดังนี้ เราสามารถนมัสการพระผู้เป็นเจ้าได้ตลอดเวลาผ่านการสวดอ้อนวอน
อ่าน แอลมา 33:4–11 ทำเครื่องหมายสภาวการณ์แต่ละอย่างซึ่งซีนัสสวดอ้อนวอน พระเจ้าทรงทำอะไรทุกครั้งที่ซีนัสสวดอ้อนวอน เพื่อช่วยท่านเปรียบข้อเหล่านี้กับชีวิตท่านให้ลากเส้นจับคู่กับสภาวการณ์ซึ่งซีนัสสวดอ้อนวอนกับสภาวการณ์คล้ายกันในชีวิตท่านเอง (เลือกสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตท่านได้ดีที่สุด ไม่มีคำตอบถูกหรือผิดในแบบฝึกหัดนี้)
สภาวการณ์ของซีนัส |
สภาวการณ์ของท่าน |
---|---|
ในแดนทุรกันดาร |
ที่ทำงาน |
เกี่ยวกับศัตรูของเขา |
ที่โบสถ์ |
ในทุ่งของเขา |
การสวดอ้อนวอนเป็นครอบครัว |
ในบ้านของเขา |
เมื่อท่านไม่รู้ว่าจะทำอะไรหรือกลัว |
ในห้องของเขา |
เมื่อท่านรู้สึกโดดเดี่ยว |
ในที่ชุมนุมของพระเจ้า |
การสวดอ้อนวอนเป็นส่วนตัว |
เมื่อเขาถูกขับไล่และถูกดูหมิ่น |
ในสภาวการณ์ยากลำบากทั้งหมดของท่าน |
ในความทุกข์ทั้งหมดของเขา |
เมื่อท่านมีปัญหากับเพื่อน |
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: การสวดอ้อนวอนในสภาวการณ์ทั้งหมดนี้เป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร เขียนเป้าหมายส่วนตัวว่าท่านจะสวดอ้อนวอนบ่อยขึ้นได้อย่างไร
ท่านอาจทำเครื่องหมายใน แอลมา 33:4–5, 8–9 ที่กล่าวถึงพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า และไตร่ตรองว่าการสวดอ้อนวอนบ่อยขึ้นสามารถช่วยให้ท่านรู้สึกถึงพระเมตตาและความรักของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร จงดูว่าเหตุใดพระเมตตานี้จึงเป็นไป ได้ขณะที่ท่านยังคงศึกษาแอลมา 33
แอลมา 33:11–23
แอลมาสอนชาวโซรัมให้เชื่อในพระเยซูคริสต์
เหตุผลประการหนึ่งที่ชาวโซรัมบางคนพยายามจะรู้วิธีนมัสการพระผู้เป็นเจ้าคือเพราะพวกเขาไม่รู้ว่าศรัทธาของพวกเขาควรอยู่ ในพระเยซูคริสต์ พวกเขาไม่เข้าใจหรือเชื่อในบทบาทของพระองค์ ในแผนแห่งการไถ่ (ดู แอลมา 33:14) อ่าน แอลมา 33:12–16 ซึ่งแอลมาพูดถึงคำสอนของซีนัส จากนั้นจึงแนะนำถ้อยคำของซีนัคศาสดาพยากรณ์อีกท่านหนึ่งในพันธสัญญาเดิม มองหาพรที่แอลมาบอกว่าจะมาถึงเราเพราะพระเยซูคริสต์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลี “เพราะพระบุตรของพระองค์” ทุกครั้งที่ปรากฏ เราเรียนรู้ความจริงจากข้อเหล่านี้ว่า เราได้รับพระเมตตาของพระบิดาบนสวรรค์ รวมถึงการให้อภัยบาปของเรา เพราะการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ไตร่ตรองพระเมตตาที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมอบให้ท่าน ตลอดจนความสามารถในการกลับใจและได้รับการให้อภัยบาปของท่านเพราะการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด
นอกจากเตือนชาวโซรัมให้นึกถึงคำสอนของซีนัสและซีนัคแล้ว แอลมายังได้เตือนพวกเขาให้นึกถึงเวลาที่โมเสสสอนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดด้วย เมื่อโมเสสและลูกหลานอิสราเอลอยู่ ในแดนทุรกันดาร งูพิษกัดผู้คน พระเจ้ารับสั่งกับโมเสสให้ทำงูจากทองสัมฤทธิ์ ผูกติดกับปลายไม้ และบัญชาชาวอิสราเอลที่ถูกงูกัดให้มองดู งูทองสัมฤทธิ์บนปลายไม้เป็น “รูปแบบ” หรือสัญลักษณ์ของพระเยซูคริสต์บนกางเขน (ดู แอ-ลมา 33:19)
อ่าน แอลมา 33:19–20 ระบุสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวอิสราเอลผู้เลือกมองดูงูทองสัมฤทธิ์เมื่อพวกเขาถูกงูกัดและสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่เลือกไม่มองดู
ไตร่ตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้: เรื่องราวของชาวอิสราเอลและงูทองสัมฤทธิ์สามารถสอนอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำเพื่อได้รับการรักษาทางวิญญาณ ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อมองดูพระผู้ช่วยให้รอดทั้งนี้เพื่อพระองค์จะทรงสามารถช่วยท่านทางวิญญาณได้
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ท่านสามารถมองดูพระเยซูคริสต์ในชีวิตประจำวันของท่านด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงอะไรบ้าง
อ่าน แอลมา 33:22–23 ทำเครื่องหมายสิ่งที่เราต้องเชื่อเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์เพื่อใช้ศรัทธาในพระองค์
แอลมา 34:1–14
อมิวเล็คสอนชาวโซรัมเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์
ประจักษ์พยานของอมิวเล็คต่อชาวโซรัมดังบันทึกไว้ใน แอลมา 34 ให้พยานที่สองยืนยันประจักษ์พยานของแอลมาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ อ่านประจักษ์พยานในส่วนของอมิวเล็คตามที่พบใน แอลมา 34:8–9 ท่านอาจทำเครื่องหมายสิ่งที่อมิวเล็คสอนเกี่ยวกับความจำเป็นสำหรับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ไตร่ตรองคำถามนี้: ชีวิตฉันจะเป็นเช่นไรถ้าพระเยซูคริสต์ ไม่เสด็จมาทำบทบาทพิเศษของพระองค์ ให้เกิดสัมฤทธิผล
อ่าน แอลมา 34:10–14 ระบุวลีที่มีคำว่า ไม่มีขอบเขต และ เป็นนิรันดร์ เขียนความจริงต่อไปนี้ลงในพระคัมภีร์หรือในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: การชดใช้อันไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์ของพระเยซูคริสต์จัดเตรียมความรอดให้มนุษยชาติทั้งปวง
เพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าการชดใช้ ไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์อย่างไร อธิการริชาร์ด ซี. เอ็ชลีย์แห่งฝ่ายอธิการควบคุมสอนดังนี้ “ ในการกล่าวถึงการชดใช้ของพระคริสต์ ข้าพเจ้าชอบคำจำกัดความในพจนานุกรมที่ระบุความหมายของคำว่า ไม่มีขอบเขต และ เป็นนิ-รันดร์ เพราะเชื่อว่าอธิบายความหมายได้ถูกต้องตามเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีขอบเขต คือ ‘ ไม่มีเส้นแบ่งหรือขีดจำกัด’ และความหมายของ เป็นนิรันดร์ คือ ‘การเป็นอยู่ โดยไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ’ (The American Heritage Dictionary of the English Language, 4th ed. [2000], “infinite,” “eternal,” 898, 611)” (“เพื่อความดีของเจ้า,” เลียโฮนา, ก.ค. 2002, 81)
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์ในด้านใดได้บ้าง
-
การรู้ว่าการชดใช้ไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์เพิ่มความสำนึกคุณที่ท่านมีต่อพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร ความรู้นั้นเพิ่มพูนศรัทธาของท่านในพระองค์อย่างไร
-
แอลมา 34:15–41
อมิวเล็คสอนวิธีได้รับพรของการชดใช้
อ่าน แอลมา 34:15–17 เพื่อดูสิ่งที่อมิวเล็คสอนชาวโซรัมว่าพวกเขาต้องทำจึงจะได้รับพรที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงปรารถนาจะประทานแก่เราผ่านการชดใช้ของพระองค์ เขียนความจริงต่อไปนี้ลงในพระคัมภีร์หรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: เพื่อให้ ได้รับพรอันบริบูรณ์ของการชดใช้ เราต้องใช้ศรัทธาสู่การกลับใจ
อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์-ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุด
“เราต้องมีศรัทธาอันมั่นคงในพระคริสต์เพื่อที่เราจะกลับใจได้ … ถ้าเราเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ทุกสิ่ง ทรงเปี่ยมด้วยความรัก และทรงมีเมตตา เราสามารถวางใจพระองค์เพื่อความรอดของเราโดยปราศจากความลังเล ศรัทธาในพระคริสต์จะเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ ไม่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
“การกลับใจอย่างแท้จริงพาเรากลับมาสู่การทำสิ่งถูกต้อง … การกลับใจหมายถึงการเปลี่ยนความคิดและจิตใจเราหยุดทำสิ่งผิด และเราเริ่มทำสิ่งถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เรามีเจตคติ ใหม่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อตนเอง และชีวิตทั่วไป” (“จุดกลับที่ปลอดภัย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 125)
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: เราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์อย่างไรเมื่อเรากลับใจ
อ่าน แอลมา 34:17–27 มองหาสิ่งที่อมิวเล็คสอนเกี่ยวกับเวลาที่เราควรสวดอ้อนวอนและสิ่งที่เราควรสวดอ้อนวอน ท่านคิดว่าคำแนะนำนี้ช่วยชาวโซรัมผู้คิดว่าตนนมัสการได้เพียงสัปดาห์ละครั้งอย่างไร เลือกข้อหนึ่งที่ท่านคิดว่าสามารถช่วยท่านได้เป็นพิเศษ ตรึกตรองว่าท่านสามารถทำตามคำแนะนำเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนในข้อนี้ระหว่างสัปดาห์ที่จะมาถึงได้อย่างไร
อมิวเล็คสอนว่าเราควรเต็มใจรับพรแห่งการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดโดยกลับใจจากบาปของเราเดี๋ยวนี้ แทนที่จะรอกลับใจภายหลัง อ่าน แอลมา 34:30–35 ขีดเส้นใต้คำหรือวลีที่ระบุว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรผัดวันแห่งการกลับใจของเรา ใน ข้อ 31 ให้มองหาพรที่อมิวเล็คกล่าวว่าจะมาถึงคนที่เลือกกลับใจเดี๋ยวนี้ ทบทวน ข้อ 32 อย่างละเอียดแล้วพิจารณาว่าข้อนี้สามารถส่งผลต่อวิธีที่ฉันดำเนินชีวิตในแต่ละวันได้อย่างไร
ทบทวน แอลมา 34:33 พิจารณาสิ่งที่ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธกล่าวดังนี้ “การผัดวันตามที่ประยุกต์ ใช้ได้กับหลักธรรมพระกิตติคุณ เป็นขโมยที่ลักเอาชีวิตนิรันดร์ ไป คือชีวิตในที่ประทับของพระบิดาและพระบุตร มีคนมากมายในหมู่เรา แม้สมาชิกของศาสนจักร ผู้รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเร่งรีบในการถือปฏิบัติหลักธรรมพระกิตติคุณและรักษาพระบัญญัติ” ( ใน Conference Report, April 1969, 121)
แอลมา 35
ชาวโซรัมที่กลับใจอาศัยอยู่ในบรรดาคนชอบธรรม
ชาวโซรัมจำนวนมากเอาใจใส่คำเตือนของอมิวเล็คไม่ ให้ผัดวันแห่งการกลับใจ พวกเขากลับใจและเปลี่ยนแปลงชีวิต ผู้ปกครองของชาวโซรัมขับคนเหล่านั้นออกจากแผ่นดิน และคนเหล่านั้นมายังแผ่นดินแห่งเจอร์ชอนที่ซึ่งผู้คนของแอมัน—เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าชาวแอนไท-นีไฟ-ลี ไฮต้อนรับพวกเขา (ดู แอลมา 35:6–7) ชาวโซรัมที่ชั่วร้ายและชาวเลมันโกรธที่ผู้คนของแอมันยอมรับชาวโซรัมที่กลับใจ พวกเขาเริ่มเตรียมทำสงครามกับชาวนีไฟ (ดู แอลมา 35:8–11)
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาแอลมา 33–35 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: