หน่วย 16: วัน 4
แอลมา 14–16
คำนำ
หลังจากได้ยินแอลมาและอมิวเล็คสั่งสอน บางคนในแอมันไนฮาห์เชื่อและกลับใจ รวมทั้งซีเอสรอม คนอื่นๆ โกรธและทำให้แอลมากับอมิวเล็คถูกคุมขัง คนชั่วในแอมันไนฮาห์ขับไล่ชายที่เชื่อและเผาภรรยากับบุตรธิดาของชายเหล่านั้น หลังจากนั้นหลายวันพระเจ้าทรงปลดปล่อยแอลมาและอมิวเล็คออกจากเรือนจำและทำลายผู้นำที่ชั่วร้ายของแอมันไนฮาห์ ในไซดม ซีเอสรอมทนทุกขเวทนาทางร่างกายและวิญญาณ เขายอมรับกับแอล-มาว่าเขามีศรัทธาในพระเยซูคริสต์และได้รับการรักษา ในสัมฤทธิผลแห่งคำพยากรณ์ กองทัพชาวเลมันทำลายเมืองแอมันไนฮาห์ การนำทางของศาสดาพยากรณ์แอล-มาช่วยให้กองทัพชาวนีไฟหยุดการรุกรานของชาวเลมันได้ แอลมา อมิวเล็ค และอีกหลายคนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ศาสนจักรทั่วแผ่นดินแห่งนีไฟ
แอลมา 14
แอลมากับอมิวเล็คถูกคุมขัง ส่วนชาวแอมันไนฮาห์ที่เชื่อถูกขับไล่หรือไม่ก็ถูกเผา
นึกถึงกรณีที่ท่านเคยเห็นหรือได้ยินว่าผู้บริสุทธิ์ทนทุกข์ด้วยน้ำมือของอีกคนหนึ่ง—ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่มีคนถูกข่มเหงเพราะความเชื่อของเขา ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้
-
ท่านรู้สึกอย่างไรต่อคนที่กำลังทนทุกข์
-
ท่านรู้สึกอย่างไรต่อคนที่ทำให้เกิดความทุกข์
-
ท่านคิดว่าเหตุใดบางครั้งเรื่องร้ายๆ จึงเกิดแก่คนบริสุทธิ์และคนชอบธรรม
ขณะที่ท่านอ่าน แอลมา 14 ให้ โยงคำถามเหล่านี้กับประสบการณ์ของแอลมาและอมิวเล็ค
อ่าน แอลมา 14:1–10 โดยมองหาคนที่ทุกข์ทรมานและพวกเขาทุกข์ทรมานอย่างไร จากนั้นให้เติมแผนภูมิต่อไปนี้
ใครทุกข์ทรมาน |
พวกเขาทุกข์ทรมานอย่างไร |
---|---|
ดังบันทึกไว้ ใน แอลมา 14:10 อมิวเล็คต้องการทำอะไร อ่าน แอลมา 14:11 ระบุความจริงที่อาจจะช่วยคนที่กำลังพยายามเข้าใจว่าเหตุใดบางครั้งพระเจ้าทรงยอมให้คนชั่วทำร้ายคนบริสุทธิ์หรือคนชอบธรรม
วิธีถ่ายทอดความจริงจาก แอลมา 14:11 วิธีหนึ่งคือ พระเจ้าทรงยอมให้คนชอบธรรมทนทุกข์ด้วยน้ำมือคนชั่วเพื่อให้การพิพากษาของพระองค์เที่ยงธรรม สังเกตว่าแอลมาได้รับการเปิดเผยว่าพระเจ้าทรงรับคนที่เสียชีวิตไว้ “ ในรัศมีภาพ” (แอลมา 14:11) ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ด้วยทัศนะที่ยาวไกลถึงนิรันดรว่า “อมิวเล็คได้รับพรให้มองเห็นพระคุณความดีและความเที่ยงตรงของพระผู้เป็นเจ้าแม้ ในโศกนาฏกรรมอันน่าสะพรึงกลัว” (“Amulek: The Blessings of Obedience,” ใน Heroes from the Book of Mormon [1995], 110)
อ่าน แอลมา 60:12–13 และอ้างโยงกับ แอลมา 14:10–11 เราเรียนรู้ว่าในบรรดาเหตุผลที่ทรงยอมให้คนชอบธรรมทนทุกข์คือเพื่อผนึกประจักษ์พยานของพวกเขาด้วยชีวิต (ดู คพ. 135:3) และเพื่อยืนเป็นพยานฟ้องคนชั่ว
การเข้าใจว่าเหตุใดพระผู้เป็นเจ้าทรงยอมให้คนชอบธรรมทนทุกข์อาจเป็นหลักธรรมที่เราเข้าใจได้ยาก จงใคร่ครวญคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานสเป็น-เซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์เพื่อเข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใดพระผู้เป็นเจ้าทรงยอมให้ผู้คนใช้สิทธิ์เสรีแม้พวกเขาเลือกผิด
“ถ้าเรามองความเป็นมรรตัยเป็นทั้งหมดของการดำรงอยู่ เมื่อนั้นความเจ็บปวด โทมนัส ความล้มเหลว และชีวิตอันสั้นก็คงเป็นภัยมหันต์ แต่ถ้าเรามองชีวิตเป็นเรื่องนิรันดร์ที่ย้อนไปในอดีตก่อนเกิดและขยายสู่อนาคตหลังความตายที่ดำรงอยู่นิรันดร เมื่อนั้นเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะอยู่ในมุมมองที่ถูกต้อง …
“… ถ้าคนชอบธรรมทุกคนได้รับความคุ้มครองและคนชั่วถูกทำลาย โปรแกรมทั้งหมดของพระบิดาย่อมเป็นโมฆะ สิทธิ์เสรีซึ่งเป็นหลักธรรมเบื้องต้นของพระกิตติคุณย่อมสิ้นสุด และไม่มีมนุษย์คนใดต้องดำเนินชีวิตด้วยศรัทธา” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 16)
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าความจริงที่ท่านเรียนรู้ใน แอลมา 14:11 และคำกล่าวของประธานคิมบัลล์ช่วยให้ท่านเข้าใจอย่างไรว่าเหตุใดบางครั้งพระผู้เป็นเจ้าทรงยอมให้คนชอบธรรมทนทุกข์ด้วยน้ำมือคนชั่ว
อ่าน แอลมา 14:12–13 ดูว่าแอลมาสอนอะไรอมิวเล็คเพื่อช่วยให้เขาอดทนต่อการทดลองที่พวกเขากำลังประสบ ท่านคิดว่าเหตุใดแอลมาจึงสามารถตอบสนองด้วยความเชื่อมั่นเช่นนั้นได้
อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจสิ่งที่แอล-มากำลังสอนอมิวเล็คเกี่ยวกับการวางใจพระเจ้า “ชีวิตนี้เป็นประสบการณ์ ในการวางใจอย่างเต็มที่—วางใจในพระเยซูคริสต์ วางใจในคำสอนของพระองค์ วางใจในความสามารถของเราเมื่อเราได้รับการนำทางโดยพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ให้เชื่อฟังคำสอนเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความสุขในเวลานี้และเพื่อการดำรงอยู่นิรันดร์ที่เต็มไปด้วยจุดประสงค์และมีความสุขอันล้ำเลิศ การวางใจหมายความว่าเชื่ออย่างเต็มใจโดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร (ดูสุภาษิต 3:5–7) เพื่อให้ผลดีบังเกิดขึ้น ความไว้วางใจในพระเจ้าของท่านต้องมีพลังและยั่งยืนกว่าความเชื่อมั่นในความรู้สึกและประสบการณ์ของตัวท่านเอง” (ดู “จงวางใจในพระเจ้า,” เลียโฮนา, ม.ค. 1996, หน้า 16)
อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าเน้นความจริงนี้โดยเขียนไว้ ใกล้กับ แอลมา 14:12–13 ในพระคัมภีร์ของท่านว่า เมื่อเราวางใจในพระเจ้า พระองค์ทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เราในช่วงที่เราเผชิญการทดลอง
-
เลือกสถานการณ์ต่อไปนี้หนึ่งสถานการณ์หรือมากกว่านั้นและอธิบายลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าหลักธรรมที่ท่านเพิ่งเขียนในพระคัมภีร์จะช่วยแต่ละบุคคลต่อไปนี้อย่างไร
-
ผู้เล่นหลายคนในทีมกีฬาเยาวชนชายรังเกียจเขาและเยาะเย้ยหรือล้อเลียนเขาต่อหน้าคนอื่นเกี่ยวกับการยึดมั่นมาตรฐานพระกิตติคุณของเขา ดูเหมือนคนเหล่านั้นจงใจวางแผนทำกิจกรรมด้วยกันนอกเวลาฝึกซึ่งพวกเขารู้ว่าเขาจะไม่เข้าร่วมเพราะความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าของเขา
-
เยาวชนหญิงคนหนึ่งไปสมัครงานกับร้านซึ่งเพื่อนที่ดีคนหนึ่งทำงานอยู่ เธอไม่ได้งาน และเพื่อนบอกเธอหลังจากนั้นว่าเจ้าของร้านพูดว่าเขาจะไม่มีวันจ้างมอรมอน
-
เมื่อเยาวชนชายคนหนึ่งขอให้เยาวชนชายกลุ่มหนึ่งที่โรงเรียนหยุดใช้ภาษาหยาบคายเมื่อมีเขาอยู่ด้วย คนเหล่านั้นผลักเขาและขู่จะทำร้ายเขามากขึ้นถ้าเขาพูดแบบนั้นอีก
-
อ่าน แอลมา 14:14–17 ตรึกตรองว่าศรัทธาของแอลมาและอมิวเล็คช่วยพวกเขาอย่างไรขณะยังคงทนทุกข์ด้วยน้ำมือของผู้นำที่ชั่วร้ายในแอมันไนฮาห์ ท่านคิดว่าเหตุใดการไม่ให้คำตอบใดๆ ในสถานการณ์นั้นจึงเป็นการตอบสนองที่ดีที่สุด (ดู มัทธิว 27:11–14 ด้วย)
แอลมา 14:18–28 บอกว่าแอลมาและอมิวเล็คทนทุกข์หลายอย่างก่อนพระผู้เป็นเจ้าจะทรงปลดปล่อยพวกเขาและทำลายผู้นำชั่วร้ายหลายคนของแอมันไนฮาห์ วลี “ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” (ข้อ 21) หมายถึงการขบฟันซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยความโกรธหรือเดือดดาล
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าสิ่งใดที่แอลมาและอมิวเล็คทนทุกข์ใน แอลมา 14:18–25 ซึ่งจะยากที่สุดสำหรับท่านและอธิบายว่าเพราะเหตุใด จากนั้นให้เขียนประสบการณ์ส่วนตัวหรือประสบการณ์ของคนที่ท่านรู้จักผู้กำลังพยายามดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมแต่ก็ยังประสบการทดลอง
ดังบันทึกไว้ ใน แอลมา 14:25 อะไรทำให้แอลมาและอมิวเล็คสามารถยืนได้ด้วยตนเอง อ่าน แอลมา 14:26–29 ทำเครื่องหมายวลีและคำที่ท่านรู้สึกยืนยันความจริงนี้ได้ดีที่สุด หากเราร้องทูลพระเจ้าในศรัทธา พระองค์จะทรงเพิ่มพละกำลังให้เราในความทุกข์และทรงปลดปล่อยเราในวิธีและเวลาของพระองค์
พระเจ้าทรงสามารถขยายเดชานุภาพของพระองค์และทรงปลดปล่อยท่านจากการทดลองและความทุกข์ในวิธีและเวลาของพระองค์ เมื่อเราเรียนรู้ที่จะวางใจในพระประสงค์ของพระเจ้า เราจะมีความเข้มแข็งและพลังอดทนต่อความยากลำบากตลอดชีวิตเรามากขึ้น
แอลมา 15–16
ซีเอสรอมได้รับการรักษา กองทัพชาวเลมันทำลายแอมัน-ไนฮาห์ แอลมาและอมิวเล็คสั่งสอนชาวนีไฟต่อไป
หลังออกจากแอมันไนฮาห์ แอลมาและอมิวเล็คไปยังเมืองไซดมที่อยู่ใกล้เคียง ที่นั่นพวกเขาพบผู้เชื่อจากแอ-มันไนฮาห์ รวมทั้งซีเอสรอมด้วย อ่าน แอลมา 15:3–5 เพื่อค้นหาสภาพของซีเอสรอม
พิจารณาดังนี้: อะไรทำให้ซีเอสรอมป่วย ซีเอสรอมทำอะไรเพื่อให้ ได้รับการบรรเทาทุกข์และสันติสุข
ตั้งใจอ่าน แอลมา 15:6–10 ขีดเส้นใต้ข้อความสองหรือสามวลีที่แสดงให้เห็นว่าแอลมาช่วยให้ซีเอสรอมเพ่งความสนใจไปที่พระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ เพื่อเข้าใจวิธีหนึ่งที่ผู้นำฐานะปุ โรหิตสามารถช่วยให้ผู้คนได้รับพระเมตตาผ่านการชดใช้ ให้อ่านประสบการณ์ต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เจย์ อี. เจนเซ็นแห่งฝ่ายประธานสาวกเจ็ดสิบ
“ขณะรับใช้เป็นอธิการ ข้าพเจ้าเป็นพยานถึงพรแห่งการชดใช้ ในชีวิตของสมาชิกศาสนจักรผู้ทำการล่วงละเมิดร้ายแรง …
“หนุ่มโสดในวอร์ดของเราคนหนึ่งออกเดทกับหญิงสาวคนหนึ่ง พวกเขาปล่อยให้ความรักเกินขอบเขต เขามาขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากข้าพเจ้า โดยขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาสารภาพและความรู้สึกถึงพระวิญญาณที่ข้าพเจ้ามี ผนวกกับสิ่งอื่นๆ เขาไม่ ได้รับอนุญาตให้รับศีลระลึกระยะหนึ่ง เราพบกันเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่ามีการกลับใจและหลังจากเวลาที่เหมาะสม ข้าพเจ้าอนุญาตให้เขารับศีลระลึกอีกครั้ง
“ขณะข้าพเจ้านั่งอยู่บนยกพื้นในการประชุมศีลระลึกข้าพเจ้ามองเขาซึ่งเวลานี้เขารับส่วนศีลระลึกอย่างมีค่าควร ข้าพเจ้าเป็นพยานถึงแขนแห่งความเมตตา ความรัก และความปลอดภัยที่ล้อมเขาไว้ขณะที่การเยียวยาอันเนื่องมาจากการชดใช้ทำให้จิตวิญญาณอบอุ่นและยกภาระของเขา ส่งผลให้เกิดการให้อภัย สันติ และความสุขดังที่สัญญาไว้” (“แขนแห่งความปลอดภัย,” เลียโฮ-นา, พ.ย. 2008, 61 62)
อธิการและผู้นำฐานะปุ โรหิตคนอื่นๆ สามารถช่วยให้เราได้รับความเมตตาและพละกำลังที่เราต้องการผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ท่านพบหลักฐานอะไรบ้างใน แอลมา 15:11–12 ที่ยืนยันว่าซีเอสรอมกลับใจและได้รับพระเมตตาจากพระเจ้า
หลักธรรมข้อหนึ่งที่ท่านสามารถเขียนลงในพระคัมภีร์หรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านสำหรับ แอลมา 15:6–12 คือ โดยผ่านศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์เราสามารถได้รับการรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ตามที่กล่าวไว้ ใน แอลมา 15:16, 18 หลักธรรมนี้ประจักษ์ชัดอย่างไรในชีวิตของอมิวเล็ค
แอลมาและอมิวเล็คสถาปนาศาสนจักรในบรรดาผู้คนแห่งไซดม จากนั้นจึงกลับไปเซราเฮ็มลา
ใน แอลมา 16 เราอ่านว่ากองทัพชาวเลมันรุกรานแผ่นดินชาวนีไฟและทำลายเมืองแห่งแอมันไนฮาห์ ตามคำพยากรณ์ของแอลมาและอมิวเล็คที่ว่าหากผู้คนไม่กลับใจพวกเขาจะถูกทำลาย (ดู แอลมา 9:12) ขณะที่ท่านอ่าน แอลมา 16 ให้ดูว่าชาวนีไฟหันไปขอความช่วยเหลือจากใครเพื่อเขาจะสามารถปราบกองทัพชาวเลมันได้ เปรียบประสบการณ์นี้กับการสู้รบของท่านและศัตรูที่ท่านเผชิญ
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาแอลมา 14–16 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: