เซมินารี
หน่วย 31: วัน 3, โมโรไน 6


หน่วย 31: วัน 3

โมโรไน 6

คำนำ

โมโรไนใกล้จบงานเขียนบนแผ่นจารึกโดยอธิบายคุณสมบัติบางประการสำหรับบุคคลที่จะเตรียมรับบัพติศมาเข้าในศาสนจักร จากนั้นเขาได้สรุปความรับผิดชอบของสมาชิกศาสนจักรในการดูแลกัน โมโรไนอธิบายจุดประสงค์ของการประชุมในศาสนจักรเช่นกัน และเน้นว่าต้องดำเนินการประชุมของศาสนจักรโดยอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์

โมโรไน 6:1–3

โมโรไนชี้แจงข้อกำหนดสำหรับบัพติศมา

เด็กชายกำลังรับบัพติศมา

สมมติว่าท่านมีน้องวัยเจ็ดขวบที่อีกไม่กี่เดือนจะอายุแปดขวบ พ่อแม่ขอให้ท่านสอนบทเรียนสังสรรค์ ในครอบครัวเกี่ยวกับวิธีเตรียมรับบัพติศมา

  1. ไอคอนสมุดบันทึกถ้าท่านต้องสอนบทเรียนดังกล่าวในเวลานี้ ท่านจะสอนอะไรเพื่อช่วยน้องเตรียมรับบัพติศมา เขียนความคิดของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

หลังจากรวมคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกไว้ ในบันทึกแล้ว (ดู โมโรไน 4–5) โมโรไนได้เพิ่มคำแนะนำเกี่ยวกับศาสนพิธีแห่งบัพติศมา ค้นคว้า โมโรไน 6:1–3 เพื่อหาข้อกำหนดสำหรับบัพติศมา ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายข้อกำหนดที่ท่านพบในพระคัมภีร์ของท่าน

ท่านคิดว่าคนที่ต้องการรับบัพติศมาพึงนำ “ผลออกมาว่าพวกเขามีค่าควรจะได้รับ” หมายความว่าอย่างไร โมโร-ไน 6:1

ไตร่ตรองว่าการมี “ ใจที่ชอกช้ำและวิญญาณที่สำนึกผิด” ( โมโรไน 6:2) ก่อนรับบัพติศมาหมายความว่าอย่างไร ดังที่บันทึกใน โมโรไน 6:1–3 โมโรไนอธิบายว่าโดยผ่านบัพติศมาเราทำพันธสัญญาว่าจะรับพระนามของพระเยซูคริสต์ไว้กับเราและรับใช้พระองค์จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ท่านกำลังทำอะไรเพื่อรักษาและเพิ่มพลังความตั้งใจของท่านในการรับใช้พระเยซูคริสต์

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน อธิบายบางวิธีที่ท่านพยายามทำตั้งแต่รับบัพติศมาเพื่อรักษาและเพิ่มพลังความตั้งใจของท่านในการรับใช้พระเยซูคริสต์

โมโรไน 6:4

โมโรไนอธิบายวิธีดูแลและบำรุงเลี้ยงสมาชิกของศาสนจักรทางวิญญาณ

หลังจากอธิบายข้อกำหนดที่แต่ละบุคคลควรยอมรับก่อนรับบัพติศมาแล้ว โมโรไนอธิบายต่อจากนั้นว่าคนที่รับบัพติศมาใหม่จะยังคงซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาได้อย่างไร อ่าน โมโรไน 6:4 ดูว่าต้องทำอะไรเพื่อช่วยให้ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่ยังคงซื่อสัตย์

สรุปสิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก โมโรไน 6:4 เกี่ยวกับความรับผิดชอบของท่านต่อสมาชิกคนอื่นๆ ของศาสนจักร

โมโรไน 6:4 บอกว่าพรอะไรจะมาจากการได้รับการบำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

ความจริงสำคัญประการหนึ่งที่สอนไว้ ในโมโรไน 6:4 คือ เรามีความรับผิดชอบในการจดจำและบำรุงเลี้ยงสมาชิกคนอื่นๆ ของศาสนจักรทางวิญญาณ

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเป็นพยานถึงความสำคัญของการบำรุงเลี้ยงกันด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าดังนี้ “ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ ได้มาโบสถ์เพียงเพื่อหาข้อมูลของพระกิตติคุณใหม่เพียงสองสามเรื่องหรือเพื่อหาเพื่อนเก่าเท่านั้น แม้ว่าทั้งสองเรื่องนี้จะเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขามาแสวงหาประสบการณ์ทางวิญญาณ พวกเขาต้องการสันติสุข พวกเขาต้องการให้ศรัทธาเข้มแข็งขึ้นและมีความหวังขึ้นมาใหม่ สรุปก็คือ พวกเขาต้องการได้รับการบำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะอันประเสริฐของพระผู้เป็นเจ้า และได้รับการเสริมสร้างด้วยอำนาจจากสวรรค์ พวกเขาซึ่งได้รับเรียกให้พูด สอน หรือนำมีพันธะรับผิดชอบที่จะช่วยเตรียมสิ่งเหล่านี้ให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้” (ดู “ครูที่มาจากพระเจ้า,”เลียโฮนา, ก.ค. 1998, 29)

ท่านเคยนึกถึงคนจำนวนมากผู้สวดอ้อนวอนให้ท่าน เตรียมบทเรียนมาสอนท่าน ให้กำลังใจและกระตุ้นท่านให้แข็งขันในศาสนจักร และช่วยท่านผ่านพ้นการท้าทายต่างๆ หรือไม่

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับคนสองคนหรือสามคนที่จดจำท่านอย่างมีความหมายหรือบำรุงเลี้ยงท่านทางวิญญาณ

สนทนาในเร็ววันกับสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนคนหนึ่งว่าท่านได้รับพรเพราะมีคนจดจำท่านหรือบำรุงเลี้ยงท่านด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดเล่าเรื่องมัคนายกคนหนึ่งในวอร์ดของท่านที่เข้าใจว่าเขาจำเป็นต้องทำหน้าที่รับผิดชอบต่อสมาชิกโควรัมคนอื่นๆ ดังนี้

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์

“สมาชิกคนหนึ่งในโควรัมของเขาอยู่ ใกล้บ้านข้าพเจ้า เด็กคนนั้นไม่เคยเข้าร่วมการประชุมโควรัม และไม่ทำอะไรร่วมกับสมาชิกในโควรัมเลย พ่อเลี้ยงของเขาไม่ ได้เป็นสมาชิกและมารดาของเขาไม่ ได้มาโบสถ์

“ฝ่ายประธานโควรัมมัคนายกของเขาประชุมสภาในเช้า วันอาทิตย์ … ในการประชุมฝ่ายประธาน ผู้เลี้ยงแกะวัยสิบสามปีเหล่านั้นนึกถึงเด็กหนุ่มที่ ไม่เคยมา พลางพูดคุยกันว่าเด็กคนนั้นต้องการสิ่งที่พวกเขาได้รับ ประธานมอบหมายให้ที่ปรึกษาไปตามหาแกะระเหเร่ร่อนนั้น

“ข้าพเจ้ารู้จักที่ปรึกษาคนนี้ และทราบว่าเขาเป็นคนเขินอาย ข้าพเจ้าทราบว่านั่นเป็นงานมอบหมายที่ยาก จึงเฝ้ามองดูอยู่ทางหน้าต่างด้วยความสงสัยขณะที่ปรึกษาเดินทอดน่องมาใกล้ๆ บ้านข้าพเจ้าเพื่อไปยังบ้านของเด็กที่ ไม่เคยไป โบสถ์ ผู้เลี้ยงแกะเดินเอามือล้วงกระเป๋า ตาของเขาจับจ้องอยู่ที่พื้น เขาเดินช้าๆ แบบที่ท่านจะเดินเมื่อไม่แน่ใจว่าตนอยากจะไป ให้ถึงที่หมายหรือเปล่า ราว 20 นาทีเขาก็เดินกลับมา โดยมีมัคนายกที่หายไปเดินอยู่เคียงข้าง ภาพนั้นเกิดซ้ำกันในวันอาทิตย์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ต่อมาเด็กที่หายไปและหาพบแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น

“… หลายปีต่อมา ข้าพเจ้าอยู่ ในการประชุมใหญ่สเตค อีกทวีปหนึ่งห่างจากห้องที่ฝ่ายประธานประชุมกันในสภา ชายผมสีดอกเลาเดินตรงมาที่ข้าพเจ้าและพูดเบาๆ ว่า ‘หลานผมอยู่ ในวอร์ดของท่านเมื่อหลายปีก่อน’ เขาเล่าชีวิตของเด็กหนุ่มคนนั้นให้ข้าพเจ้าฟังด้วยความอ่อนโยน แล้วก็ถามว่าข้าพเจ้าพบมัคนายกที่เดินทอดน่องไปตามถนนเมื่อหลายปีก่อนบ้างไหม เขาฝากขอบคุณมัคนายกคนนั้นและฝากบอกด้วยว่าหลานชายของเขา ซึ่งเวลานี้เป็นผู้ ใหญ่แล้ว ยังจำเขาได้” (“จงเฝ้าอยู่กับเรา,”เลียโฮนา, พ.ค. 2001, –54)

นึกถึงคนบางคนที่พระเจ้าอาจทรงต้องการให้ท่าน “จดจำ” หรือ “บำรุงเลี้ยง” วางแผนวิธีที่ท่านจะช่วยบำรุงเลี้ยงพวกเขาทางวิญญาณ เขียนชื่อพวกเขาในแผ่นกระดาษ แล้ววางไว้ ในที่ซึ่งจะช่วยให้ท่านจดจำพวกเขา

โมโรไน 6:5–9

โมโรไนพูดถึงจุดประสงค์ของการประชุมในศาสนจักรและวิธีดำเนินการประชุม

สมมติว่าท่านเป็นพ่อแม่ของวัยรุ่นที่พูดเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อนว่าเขาไม่อยากไปโบสถ์เพราะดูเหมือนไร้ความหมายและน่าเบื่อ พิจารณาสิ่งที่ท่านจะพูดเพื่อช่วยกระตุ้นลูกคนนี้ให้ ไป โบสถ์และเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องของการเข้าร่วมเป็นประจำ

ในบันทึกของเขา โมโรไนได้รับการดลใจให้อธิบายเหตุผลที่สมาชิกของศาสนจักรประชุมกันในสมัยของเขา ศึกษา โมโรไน 6:5–6 ดูว่าท่านจะเติมข้อความต่อไปนี้ให้ครบถ้วนได้อย่างไร: ในฐานะสมาชิกศาสนจักร เราต้องประชุมกันบ่อยๆ เพื่อ.

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันจดหมายส่วนหนึ่งจากเพื่อนที่พูดถึงการเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับการมาโบสถ์

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์

“เพื่อนที่เฉลียวฉลาดเขียนดังนี้

“‘หลายปีก่อน ผมเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับการไป โบสถ์ ผมไม่ ไป โบสถ์เพื่อตนเองอีก แต่จะนึกถึงผู้อื่น ผมตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะพูดทักทายคนที่นั่งอยู่คนเดียว ต้อนรับผู้มาเยือน … อาสาทำงานมอบหมาย …

“สรุปคือ ผมไป โบสถ์ทุกสัปดาห์ด้วยเจตนาจะกระทำ ไม่ ใช่ถูกกระทำ และเป็นอิทธิพลดี ในชีวิตผู้อื่น ด้วยเหตุนี้การเข้าร่วมประชุมต่างๆ ของศาสนจักรจึงทำให้แช่มชื่นและอิ่มเอมใจขึ้นมาก”

“ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นหลักธรรมนิรันดร์ที่ว่าเรามีความสุขมากขึ้นและอิ่มเอมใจมากขึ้นเมื่อเรากระทำและรับใช้เพราะสิ่งที่เราให้ ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เราได้” (ดู “การรับใช้อย่างไม่เห็นแก่ตัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 118)

ท่านอาจจะเติมข้อความข้างต้นให้ครบถ้วนด้วยแนวคิดบางประการต่อไปนี้

ในฐานะสมาชิกศาสนจักร เราต้องประชุมกันบ่อยๆ เพื่อ

  • อดอาหารและสวดอ้อนวอน

  • เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิญญาณให้กัน

  • รับส่วนศีลระลึกในความระลึกถึงพระเจ้าพระเยซูคริสต์

ใคร่ครวญประสบการณ์ที่เคยมีซึ่งสอนท่านให้รู้ความสำคัญของการสวดอ้อนวอนหรืออดอาหารร่วมกับสมาชิกในวอร์ดหรือสาขาของท่าน

ครอบครัวในการประชุมศีลระลึก
  1. ไอคอนสมุดบันทึกตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ประสบการณ์ของท่านที่โบสถ์จะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้าท่านเข้าร่วมด้วยความปรารถนาจะเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิญญาณให้ผู้อื่น

    2. เหตุใดการรับส่วนศีลระลึกในความระลึกถึงพระเยซูคริสต์บ่อยๆ จึงมีค่า

    3. การไปโบสถ์ตามจุดประสงค์ดังระบุไว้ข้างต้นจะช่วย “ให้ [ท่าน] อยู่ในทางที่ถูกต้อง” ได้อย่างไร (โมโรไน 6:4)

อ่าน โมโรไน 6:7–8 มองหาสิ่งที่สมาชิกของศาสนจักรในสมัยของโมโรไน “เคร่งครัดที่จะยึดถือ” หรืออีกนัยหนึ่ง สิ่งที่พวกเขาเอาใจใส่เป็นพิเศษ ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องสอนและให้กำลังใจกันเพื่อหลีกเลี่ยงและกลับใจจากบาป

โมโรไนเป็นพยานว่าบ่อยเท่าที่เรากลับใจและแสวงหาการให้อภัยด้วยเจตนาอันแท้จริง เราจะได้รับการให้อภัย ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายความจริงนี้ใน โมโรไน 6:8

โมโรไนสรุปบทนี้โดยสอนว่าเราควรดำเนินการประชุมของศาสนจักรอย่างไร อ่าน โมโรไน 6:9 ระบุว่าใครควรนำทางการประชุมของเราในศาสนจักร นึกถึงเวลาที่ท่านรับรู้เป็นพิเศษถึงอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ระหว่างการประชุมของศาสนจักร

หลักธรรมที่บอกให้ดำเนินการประชุมของศาสนจักรโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ประยุกต์ใช้กับท่านได้อย่างไร ถ้าขอให้ท่านเป็นผู้พูดหรือสอนบทเรียนระหว่างการประชุมของศาสนจักร ท่านจะช่วยให้สิ่งที่ท่านพูดเอื้อต่อการนำทางและอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ระหว่างการประชุมนั้นได้อย่างไร

  1. ไอคอนสมุดบันทึกในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนแผนว่าท่านจะเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักรในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้อย่างไร ท่านอาจต้องการเขียนด้วยว่าจะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้ามาในการนมัสการของท่านอย่างไร ท่านจะจดจำและบำรุงเลี้ยงผู้อื่นผ่านการเข้าร่วมของท่านได้อย่างไร

  2. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาโมโรไน 6 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: