หน่วย 31: วัน 1
อีเธอร์ 13–15
คำนำ
ศาสดาพยากรณ์อีเธอร์พยากรณ์เกี่ยวกับเยรูซาเล็มใหม่ ท่านเตือนโคริแอนทะเมอร์กษัตริย์ชาวเจเร็ดเช่นกันว่าผู้คนของเขาจะถูกทำลายเพราะความชั่วร้าย และเตือนโคริแอนทะเมอร์กับครัวเรือนของเขาให้กลับใจ เมื่อโคริ-แอนทะเมอร์กับผู้คนไม่ยอมกลับใจ สงครามและความชั่วร้ายจึงบานปลายหลายปีจนประชาชาติชาวเจเร็ดถูกทำลายสิ้น มีเพียงอีเธอร์กับโคริแอนทะเมอร์เท่านั้นรอดชีวิตเพื่อเห็นสัมฤทธิผลแห่งคำพยากรณ์ของอีเธอร์
อีเธอร์ 13:1–12
โมโรไนบันทึกคำพยากรณ์ของอีเธอร์เกี่ยวกับเยรูซาเล็มใหม่และเยรูซาเล็มสมัยโบราณ
พิจารณาเมืองบางเมืองในปัจจุบันที่มีชื่ออื่นบ่งบอกลักษณะสำคัญของเมืองนั้น ตัวอย่างเช่น ปารีส อีกชื่อหนึ่งคือเมืองแห่งแสง ดูว่าท่านสามารถจับคู่เมืองด้านล่างกับชื่ออื่นที่ถูกต้องของเมืองเหล่านั้นได้หรือไม่ (คำเฉลยอยู่ท้ายบท)
ไคโร อียิปต์ |
เมืองแห่งลม |
มะนิลา ฟิลิปปินส์ |
เมืองแห่งหอคอยสุเหร่าพันหอ |
ชิคาโก สหรัฐอเมริกา |
เมืองนิรันดร์ |
เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก |
ไข่มุกแห่งบูรพา |
โรม อิตาลี |
เมืองแห่งพระราชวัง |
บทเรียนวันนี้ดึงความสนใจมาที่เมืองสำคัญสองแห่งในวันเวลาสุดท้ายคือ (1) เยรูซาเล็ม และ (2) เยรูซาเล็มใหม่ ในยุคสุดท้ายสองเมืองนี้จะเลื่องชื่อในความชอบธรรม อีเธอร์สอนชาวเจเร็ดว่าแผ่นดินที่พวกเขาอาศัยอยู่เป็นสถานที่ตั้งเมืองในอนาคตชื่อว่าเยรูซาเล็มใหม่
อ่าน อีเธอร์ 13:2–8 พระเจ้าทรงเปิดเผยต่อศาสดาพยากรณ์ โจเซฟ สมิธว่าเยรูซาเล็มใหม่ที่ระบุไว้ ในอี-เธอร์ 13:6 จะสร้างในเทศมณฑลแจ็คสัน รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา (ดู คพ. 57:1–4; 84:1–4) อีเธอร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับเมืองเหล่านี้ ใน อีเธอร์ 13:3, 5 ไตร่ตรองว่าการอยู่ในเมืองเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร ศึกษา อีเธอร์ 13:10–11 เพื่อเรียนรู้ว่าคนบางคนต้องประสบอะไรเพื่อจะได้อยู่ในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของเยรูซาเล็มใหม่และเยรูซาเล็มสมัยโบราณ (ซึ่งจะศักดิ์สิทธิ์เมื่อสร้างขึ้นใหม่แด่พระเจ้า; ดู อีเธอร์ 13:5)
อีกชื่อหนึ่งของเยรูซาเล็มใหม่คือไซอัน (ดู โมเสส 7:62; หลักแห่งความเชื่อ 1:10) แม้เราจะไม่ ได้อยู่ ในเยรูซาเล็มหรือเยรูซาเล็มใหม่ แต่สมาชิกทุกคนของศาสนจักรพยายามสถาปนาไซอันได้ เราสามารถเตรียมพำนักในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้ รวมถึงอาณาจักรซีเลสเชียลของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเราสะอาดผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์
อีเธอร์ 13:13–15:34
ชาวเจเร็ดปฏิเสธอีเธอร์และดึงดันอยู่ในความชั่วร้ายและสงครามจนกระทั่งถูกทำลาย
อ่าน อีเธอร์ 13:13–19 มองหาสภาพสังคมชาวเจเร็ดในสมัยของอีเธอร์ ศึกษา อีเธอร์ 13:20–22 เพื่อค้นหาข่าวสารที่อีเธอร์ ให้แก่ โคริแอนทะเมอร์และโคริแอนทะ-เมอร์กับผู้คนของเขาตอบสนองอย่างไร
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ท่านเคยเห็นคนในสมัยของเราทำใจแข็งกระด้างและปฏิเสธผู้รับใช้ของพระเจ้าในด้านใด
-
ท่านจะทำอะไรเพื่อให้ตัวท่านเข้มแข็งในศรัทธาและเอาใจใส่ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์
-
ดังที่บันทึกใน อีเธอร์ 13:23–14:20 โคริแอนทะเมอร์สู้รบกับหลายคนที่พยายามชิงอาณาจักรไปจากเขา รวมถึงเชเร็ด กิลิแอด และลิบ ในที่สุดประชาชาติเจเร็ดถูกกลืนหายไปสิ้นในสงคราม ศัตรูคนสุดท้ายของโคริ-แอนทะเมอร์คือชายชื่อชิซ ขอบเขตการทำลายล้างในบรรดาชาวเจเร็ดจากสงครามเหล่านี้มีรายละเอียดใน อีเธอร์ 14:21–25 และ อีเธอร์ 15:1–2
อ่าน อีเธอร์ 15:3–6 เพื่อดูว่าโคริแอนทะเมอร์พยายามทำอะไรเพื่อไว้ชีวิตคนที่เหลือจากการทำลายล้าง ตรึกตรองว่าเหตุใดชิซจึงไม่ยอมรับข้อเสนอของโคริแอนทะ-เมอร์และเหตุใดคนทั้งสองฝ่ายจึงไม่ยอมแพ้ (ดู อีเธอร์ 14:24 ด้วย)
อ่าน อีเธอร์ 15:12–17 มองหารายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ของชาวเจเร็ด ท่านพบอะไรน่าเศร้าใจหรือน่าสลดใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับสภาพของพวกเขา จำไว้ว่าอีเธอร์ ใช้เวลาหลายปีเตือนผู้คนให้กลับใจ (ดู อีเธอร์ 12:2–3; 13:20) อ่าน อีเธอร์ 15:18–19 ระบุผลอันเกิดจากการปฏิเสธพระดำรัสเตือนของพระเจ้าให้กลับใจ จากสิ่งที่ท่านอ่าน จงเติมข้อความนี้ให้ครบถ้วน: ถ้าเราปฏิเสธพระดำรัสเตือนของพระเจ้าให้กลับใจ .
ในช่องว่างด้านบน ท่านอาจจะเขียนหลักธรรมดังต่อไปนี้ ถ้าเราปฏิเสธพระดำรัสเตือนของพระเจ้าให้กลับใจ พระวิญญาณของพระองค์จะทรงถอนไปและซาตานจะมีอำนาจเหนือใจเรา
-
ใช้ อีเธอร์ 15:19 และหลักธรรมที่เราเรียนรู้จากข้อนี้อธิบายว่าเหตุใดข้อแก้ตัวต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นที่คนในปัจจุบันอาจนำมาอ้างเพราะไม่ยอมกลับใจจึงไม่ถูกต้อง
-
ฉันรู้ว่าภาพยนตร์ที่ฉันดูไม่สอดคล้องกับมาตรฐานศาสนจักร แต่ไม่น่าจะมีผลอะไรต่อฉัน
-
การดื่มเหล้ากับเพื่อนๆ ไม่ดีตรงไหน ก็แค่สนุกๆ
-
แค่ดูภาพโป๊นิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ออกไปทำผิดศีลธรรมสักหน่อย อีกอย่างฉันจะเลิกเมื่อไรก็ได้ที่รู้สึกอยากเลิก
-
ฉันไม่ต้องกลับใจตอนนี้หรอก ไว้รอจนกว่าจะเป็นผู้สอนศาสนาหรือแต่งงานในพระวิหารค่อยกลับใจ
-
อีเธอร์ 15:20–32 เล่าว่ากองทัพชาวเจเร็ดสองฝ่ายต่อสู้กันจนเหลือเพียงผู้นำของพวกเขาคือโคริแอนทะเมอร์กับชิซ จากนั้นโคริแอนทะเมอร์ก็ฆ่าชิซ
ประวัติศาสตร์ของชาวเจเร็ดให้ตัวอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนเมื่อพวกเขาโดยรวมปฏิเสธความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อโน้มน้าวพวกเขาให้กลับใจ แม้เราจะไม่เผชิญกับการทำลายล้างทางกายทันทีเพราะไม่ยอมกลับใจ แต่เราจะประสบความรู้สึกผิดถ้าเราปฏิเสธพระดำรัสเตือนของพระเจ้าให้กลับใจ
จงใคร่ครวญคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัคร-สาวกสิบสอง “ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถและทรงประสงค์จะให้อภัยบาปของเรา นอกจากบาปของคนไม่กี่คนผู้เลือกความหายนะหลังจากรู้ความสมบูรณ์แล้ว ไม่มีบาป ใดให้อภัยไม่ ได้ นับเป็นสิทธิพิเศษอันน่าพิศวงยิ่งที่เราแต่ละคนสามารถหันหลังให้บาปและมาหาพระคริสต์ การให้อภัยจากสวรรค์เป็นผลอันน่าชื่นใจที่สุดอย่างหนึ่งของพระกิตติคุณโดยลบความรู้สึกผิดและความเจ็บปวดออกจากใจเรา แล้วแทนที่ด้วยปีติและความสงบในมโนธรรม” (ดู “จงกลับใจ … เพื่อเราจะรักษาเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, –50)
สำรวจสิ่งที่ท่านอาจจะทำอยู่ซึ่งอาจขัดขวางอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในชีวิตท่าน พิจารณาว่าท่านจะดึงพลังการชดใช้ของพระเยซูคริสต์มาทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นได้อย่างไรอันจะช่วยให้ท่านได้รับพระวิญญาณและต่อต้านอำนาจของซาตาน
จาก อีเธอร์ 13–15 เราเรียนรู้ว่าความโกรธและความแค้นชักนำเราให้เลือกทำร้ายตนเองและผู้อื่น อ่านหรืออ่านทวนข้อต่อไปนี้และทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่สอนความจริงดังกล่าว อีเธอร์ 13:27; 14:24; 15:6, 22, 28
ไตร่ตรองว่าความโกรธที่ ไม่อาจควบคุมได้สามารถส่งผลอะไรบ้างต่อความสัมพันธ์ ในครอบครัวหรือกับคนอื่น ตรึกตรองสถานการณ์ ในชีวิตท่านที่ท่านอาจต้องทิ้งความรู้สึกโกรธหรือความพยาบาท
ขณะที่ท่านอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด อี. โซเรนเซ็น สมาชิกเกียรติคุณแห่งสาวกเจ็ดสิบ ให้ดูว่าท่านสามารถเอาชนะความรู้สึกโกรธหรือความปรารถนาจะแก้แค้นได้อย่างไร “เมื่อมีคนทำร้ายเราหรือคนที่เราห่วงใย ความเจ็บปวดนั้นแทบจะท่วมท้น เราอาจจะรู้สึกประหนึ่งว่าความเจ็บปวดหรือความอยุติธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลก และเราไม่มีทางเลือกนอกจากหาทางแก้แค้น แต่พระคริสต์ เจ้าชายแห่งสันติ ทรงสอนวิธีที่ดีกว่านั้น การให้อภัยคนที่ทำร้ายเราเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก แต่เมื่อเราให้อภัย เท่ากับเราเปิดตนเองเพื่อรับอนาคตที่ดีกว่า การทำผิดของผู้อื่นจะไม่ควบคุมวิถีของเราอีกต่อไป เมื่อเราให้อภัย เราเลือกได้อย่างเสรีว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร การให้อภัยหมายความว่าปัญหาในอดีตจะไม่กำกับจุดหมายของเราอีกต่อไป และเราสามารถจดจ่อกับอนาคตได้ โดยมีความรักของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ ในใจเรา” (ดู “การให้อภัยจะเปลี่ยนความขมขื่นเป็นความรัก,” เลียโฮนา, พ.ค. 2003, 15)
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ท่านหรือคนรู้จักเคยประสบการเยียวยาและอิสรภาพหลังจากเลือกให้อภัยเมื่อใด
ท่านสามารถเอาชนะความรู้สึกโกรธและความพยาบาทได้ถ้าท่านจะหันไปพึ่งพระเยซูคริสต์และรับพลังแห่งการให้อภัยและการปลอบโยนผ่านการชดใช้ของพระองค์ จงนึกถึงการหันไปพึ่งพระเจ้าในการสวดอ้อนวอนทูลขอความช่วยเหลือที่ท่านต้องการในสถานการณ์เหล่านั้น
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาอีเธอร์ 13–15 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: