หน่วย 32: วัน 2
โมโรไน 8–9
คำนำ
โมโรไน 8 เป็นสาส์น (จดหมาย) ที่มอรมอนเขียนถึงโมโรไนบุตรชายว่าเหตุใดเด็กเล็กจึงไม่ต้องรับบัพติศ-มา ในสาส์นนั้น มอรมอนสอนเช่นกันว่าเราจะเตรียมพำนักกับพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร เขาสรุป โดยแสดงความเห็นเรื่องความชั่วร้ายและความพินาศที่จะเกิดกับชาวนีไฟ ในไม่ช้า โมโรไน 9 เป็นสาส์นฉบับสุดท้ายที่มอรมอนบันทึกถึงบุตรชาย มอรมอนบรรยายความโศกเศร้าเพราะสภาพชั่วร้ายของชาวนีไฟ เขากระตุ้นโมโรไนให้ทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรเพื่อช่วยให้ชาวนีไฟกลับใจ ถึงแม้ผู้คนอยู่ ในสภาพเสื่อมทรามแต่เขายังกระตุ้นบุตรชายให้ซื่อสัตย์ ในพระเยซูคริสต์และให้สัญญาแห่งชีวิตนิรันดร์อยู่ ในใจเขาตลอดไป
โมโรไน 8:1–24
มอรมอนเขียนถึงโมโรไนบุตรชายเกี่ยวกับคนที่ต้องรับบัพ-ติศมา
ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุใดเด็กในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายจึงไม่รับบัพติศมาจนกว่าพวกเขาจะอายุแปดขวบ ในจดหมายที่เขียนถึงโมโรไนบุตรชาย มอรมอนสอนความจริงสำคัญบางประการเกี่ยวกับความรอดของเด็กเล็กและบัพติศมา ตลอดจนสาเหตุที่เด็กไม่รับบัพติศมาจนกว่าจะอายุแปดขวบ มอรมอนเริ่มต้นจดหมายที่เขียนถึงโมโรไนโดยพูดถึงการโต้แย้ง (ความเห็นไม่ตรงกัน) ที่ชาวนีไฟมีอยู่ อ่าน โมโรไน 8:4–6 มองหาหลักคำสอนที่ชาวนีไฟกำลังโต้แย้งกัน (ขณะที่ท่านอ่าน อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า ร้ายแรง ในบริบทนี้หมายถึงรุนแรงอย่างยิ่ง)
อ่าน โมโรไน 8:7 ระบุสิ่งที่มอรมอนทำเมื่อเขาได้ยินปัญหานี้ พระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของมอรมอนโดยทรงอธิบายว่าเหตุใดเด็กเล็กไม่จำเป็นต้องรับบัพติศมาก่อนถึงวัยที่รับผิดชอบได้ อ่าน โมโรไน 8:8–9 ดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสอะไรเกี่ยวกับสาเหตุที่ทารกและเด็กเล็กไม่รับบัพติศมา
ใน โมโรไน 8:8 “คำสาปแช่งต่ออาดัม” หมายถึงการแยกอาดัมจากที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าเนื่องจากการตก เห็นได้ชัดว่าชาวนีไฟบางคนไม่เข้าใจหลักคำสอนเรื่องบัพติศมา ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเชื่ออย่างผิดๆ ว่าเด็กเล็กไม่มีค่าควรจะอยู่ ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าหากปราศจากศาสนพิธีแห่งบัพติศมา และพวกเขาต้องการให้บัพติศมาเด็กเมื่ออายุน้อยมาก ในการเข้าใจข้อนี้อาจจะเป็นประโยน์เช่นกันถ้าสังเกตว่าบาปคือ “การจงใจไม่เชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า” (คู่มือพระคัมภีร์, “บาป,” scriptures.lds.org) เพื่อเข้าใจหลักคำสอนในข้อนี้ถ่องแท้มากขึ้น ท่านอาจต้องการอ้างโยง โมโรไน 8:8 กับหลักแห่งความเชื่อข้อสอง
อ่าน โมโรไน 8:10 มองหาคำมาเติมความจริงต่อไปนี้ ให้ครบถ้วน: การกลับใจและบัพติศมาจำเป็นสำหรับทุกคนที่.
เพราะการกลับใจและบัพติศมาจำเป็นเฉพาะสำหรับคนที่รับผิดชอบได้และสามารถทำบาป มอรมอนจึงสอนว่าการให้บัพติศมาเด็กเล็กก่อนพวกเขารับผิดชอบได้จึงไม่ถูกต้อง อ่าน โมโรไน 8:11–13, 18–22 มองหาคำอธิบายของมอรมอนว่าเหตุใดบัพติศมาของเด็กเล็กจึงไม่ถูกต้อง ข้อเหล่านี้สอนหลักคำสอนนี้ เด็กเล็กๆ รอดได้โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์
พระเจ้าทรงกำหนดอายุที่เริ่มรับผิดชอบได้—คือแปดขวบ (ดู คพ. 68:25–27; งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 17:11 [ ในภาคผนวกของพระคัมภีร์ ไบเบิล]) ก่อนครบแปดขวบเด็กไม่สามารถทำบาป ได้เพราะซาตานไม่มีอำนาจล่อลวงเด็กเล็ก (ดู คพ. 29:46–47) ความผิดพลาดใดก็ตามที่เด็กทำก่อนอายุแปดขวบไม่ถือว่าเป็นบาป
เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัคร-สาวกสิบสองอธิบายว่าเหตุใดเด็กเล็กจึงไม่สามารถทำบาป ได้ “เราเข้าใจจากหลักคำสอนของเราว่าก่อนถึงอายุที่รับผิดชอบได้ เด็ก ‘ ไม่สามารถทำบาป’ ( โมโรไน 8:8) ระหว่างนั้น เด็กทำผิดพลาดได้ แม้ความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายและร้ายแรงมากจนต้องได้รับการแก้ ไข แต่การกระทำของพวกเขาไม่ถือว่าเป็นบาป” (“Sins and Mistakes,” Ensign, Oct. 1996, 65)
มอรมอนเป็นพยานในสาส์นตอนหนึ่งของเขาเช่นกันว่าเด็กเล็ก “มีชีวิตอยู่ ในพระคริสต์” และถ้าพวกเขาตายก่อนอายุแปดขวบ พวกเขาได้รับการไถ่ผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ดู โมโรไน 8:12–15, 22)
ขณะอธิบายว่าเหตุใดทารกและเด็กเล็กไม่ต้องรับบัพ-ติศมา มอรมอนเป็นพยานถึงหลักธรรมนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงเที่ยงธรรมอย่างสมบูรณ์ในการกระทำกับบุตรธิดาของพระองค์ นี่หมายความว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้ทุกคนมี โอกาสได้รับความรอดอย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียมกัน
-
กิจกรรมต่อไปนี้สามารถช่วยท่านฝึกอธิบายหลักคำสอนที่สอนในส่วนแรกของ โมโรไน 8 เลือกสถานการณ์ด้านล่างมาหนึ่งอย่าง (หรือทั้งสอง) สถานการณ์ และระบุหนึ่งหรือสองข้อจาก โมโรไน 8:8–24 ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านที่ช่วยไขข้อกังวลของบุคคลในสถานการณ์ จากนั้นให้เขียนการตอบสนองสถานการณ์นั้นหนึ่งหรือสองย่อหน้า ใช้ข้อพระคัมภีร์ในคำตอบของท่าน
-
ในฐานะผู้สอนศาสนา ท่านพบชายคนหนึ่งกำลังแสวงหาความจริงอย่างจริงใจ เขาอธิบายว่าทั้งชีวิตเขาได้รับการสอนว่าเด็กเล็กมีบาปตั้งแต่เกิดเพราะการล่วงละเมิดของอาดัม เขามั่นใจว่าเมื่อทารกตายโดยไม่ได้รับบัพติศมา พวกเขามีบาปและจะรอดไม่ได้
-
ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่ยอมรับว่าบัพติศมาสำหรับเด็กอายุแปดขวบเป็นความคิดที่ดีแต่ถามว่า “ไม่สำคัญหรอกว่าจะรับบัพ-ติศมาเมื่ออายุแปดเดือน หรือแปดขวบ ใช่หรือเปล่า”
-
โมโรไน 8:25–30
มอรมอนสอนสิ่งที่เราต้องทำเพื่อพำนักอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
หลังจากสอนว่าเหตุใดเด็กเล็กไม่ต้องรับบัพติศมา มอร-มอนสอนว่าผู้ถึงวัยรับผิดชอบได้ต้องรับบัพติศมา เขาอธิบายเช่นกันว่าเราต้องทำอะไรหลังจากบัพติศมาเพื่อจะได้พำนักอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
อ่าน โมโรไน 8:25–26 มองหาสิ่งที่เราต้องทำและลักษณะนิสัยที่เราต้องพัฒนาเพื่อจะได้พำนักอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งเหล่านี้ในพระคัมภีร์ของท่าน อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าเข้าใจว่า “ความอ่อนโยน” หมายถึงการยอมตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า “ ใจนอบน้อม” หมายถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริง
ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ โมโรไน 8:25–26: โดยผ่านการเชื่อฟังพระบัญญัติอย่างซื่อสัตย์ เราจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเตรียมเราให้พร้อมพำนักอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
-
คำถามต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจ โมโรไน 8:25–26 ดีขึ้น พิจารณาคำถามทั้งหมด จากนั้นเลือกตอบสองข้อหรือมากกว่านั้นในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ท่านคิดว่าเหตุใดการได้รับการปลดบาปจึงสามารถนำไปสู่ความอ่อนโยนและใจนอบน้อม
-
ความอ่อนโยนและใจนอบน้อมจะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้ามาในชีวิตท่านได้อย่างไร
-
การมีพระวิญญาณบริสุทธิ์จะช่วยท่านเตรียมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร
-
มอรมอนสอนว่าถ้าเราต้องการเปี่ยมด้วยความรักอันยั่งยืน เราต้องสวดอ้อนวอนอย่างขยันหมั่นเพียร ท่านคิดว่าเหตุใดการสวดอ้อนวอนอย่างขยันหมั่นเพียรจึงจำเป็นหากเราต้องการเปี่ยมด้วยความรัก
-
ดังที่บันทึกไว้ ใน โมโรไน 8:27 มอรมอนประณามบาปของความจองหองในบรรดาชาวนีไฟ อ่าน โมโรไน 8:27 และมองหาผลจากความจองหองของชาวนีไฟ จากนั้นให้เปรียบเทียบผลนี้กับผลของความอ่อนโยนและใจนอบน้อมตามที่พบใน โมโรไน 8:26
มอรมอนกระตุ้นโมโรไนให้สวดอ้อนวอนให้ชาวนีไฟทั้งนี้เพื่อพวกเขาอาจจะกลับใจและได้รับพรที่บรรยายไว้ในจดหมายของเขา (ดู โมโรไน 8:28–30) ใช้คำแนะนำที่มอรมอนให้บุตรชายพิจารณาเรื่องการสวดอ้อนวอนให้คนบางคนที่ท่านรู้จักซึ่งต้องได้รับพรแห่งพระกิตติคุณ และพยายามหาวิธีช่วยคนเหล่านั้น
โมโรไน 9:1–20
มอรมอนพูดถึงความชั่วร้ายของชาวนีไฟกับชาวเลมัน
นึกถึงเวลาที่ท่านพยายามช่วยคนบางคนและคนนั้นไม่ยอมรับความพยายามของท่าน บางคนอาจตอบสนองอย่างไรเมื่อคนที่พวกเขากำลังพยายามช่วยปฏิเสธความหวังดีนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า ขณะที่ท่านศึกษาสาส์นฉบับที่สองของมอรมอนถึงโมโรไนบุตรชายตามที่พบใน โม-โรไน 9 ให้มองหาสิ่งที่มอรมอนกล่าวเพื่อกระตุ้นบุตรชายไม่ให้ทอดทิ้งชาวนีไฟ
อ่าน โมโรไน 9:1 มองหาคำที่มอรมอนใช้บรรยายสถานการณ์ที่เขาจะพูดถึงในจดหมายของเขา สังเกตว่า น่าโศกเศร้า ในบริบทนี้หมายถึงไม่สบายใจอย่างยิ่ง ดังบันทึกไว้ ใน โมโรไน 9:2–19 มอรมอนพูดถึงเรื่องไม่สบายใจบางเรื่องที่เกิดขึ้นในบรรดาผู้คน โดยแสดงให้เห็นว่าผู้คนชั่วร้ายเพียงใด เช่นเดียวกับอีเธอร์ผู้เป็นศาสดาพยากรณ์ ในบรรดาชาวเจเร็ด มอรมอนเห็นความโกรธและความชั่วร้ายครอบงำผู้คนของเขา เขาเกรงว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงละความเพียรกับพวกเขาแล้ว (ดู โมโรไน 9:4)
ไตร่ตรองว่าเหตุใดมอรมอนยังคงทำงานในบรรดาชาวนี-ไฟทั้งที่พวกเขาทำใจแข็งกระด้างต่อพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าและปฏิเสธความพยายามของศาสดาพยากรณ์ที่จะช่วยพวกเขา
มอรมอนให้คำแนะนำอันเปี่ยมด้วยพลังบางประการแก่โมโรไนเกี่ยวกับวิธีที่เขาควรปฏิบัติต่อคนที่ ใจไม่เปิดรับ อ่าน โมโรไน 9:3–6 ทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่สอนหลักธรรมนี้ เราต้องทำงานหนักอย่างขยันหมั่นเพียรในการรับใช้พระผู้เป็นเจ้าแม้คนที่เรารับใช้ไม่ตอบสนองในทางบวกข้อ 6 ช่วยได้เป็นพิเศษในการสอนหลักธรรมนี้
โมโรไน 9:21–26
มอรมอนกระตุ้นโมโรไนให้ซื่อสัตย์
ตรึกตรองเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ในชุมชนของท่าน ประเทศ หรือโลกที่ผู้คนอาจรู้สึกท้อใจ อ่าน โมโรไน 9:25–26 เพื่อค้นหาคำแนะนำที่มอรมอนให้ โมโรไนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในสภาวการณ์อันน่าท้อใจ
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: มอรมอนบอกว่าโมโรไนควรให้อะไร “สถิตอยู่ในจิตใจลูกตลอดกาล” (โมโรไน 9:25) การระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ช่วยท่านได้อย่างไรเมื่อท่านยากลำบากหรือถูกแวดล้อมด้วยความชั่วร้าย
จากคำแนะนำที่มอรมอนให้โมโรไน เราเรียนรู้หลักธรรมนี้ ถ้าเราซื่อสัตย์ ในพระเยซูคริสต์ พระองค์จะทรงยกเราขึ้นแม้เมื่อความยุ่งยากและความชั่วร้ายห้อมล้อมเรา การ “ซื่อสัตย์ในพระคริสต์” สามารถหมายถึงการพยายามปฏิบัติเฉกเช่นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระผู้ช่วยให้รอดตลอดเวลา การระลึกถึงถึงพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ และรักษาพระบัญญัติของพระองค์อย่างซื่อสัตย์
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตท่านหรือในชีวิตคนใกล้ชิดที่แสดงให้เห็นว่าหลักธรรมก่อนหน้านี้เป็นความจริง
นึกถึงวิธีหนึ่งที่ท่านจะซื่อสัตย์ ในพระคริสต์ ได้มากขึ้นเมื่อความชั่วร้ายหรือสภาวการณ์ยุ่งยากห้อมล้อมท่าน
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาโมโรไน 8–9 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: