เซมินารี
หน่วย 8: วัน 3, 2 นีไฟ 29–30


หน่วย 8: วัน 3

2 นีไฟ 29–30

คำนำ

ข่าวสารของนีไฟเกี่ยวกับงานอัศจรรย์แห่งการฟื้นฟูพระกิตติคุณดำเนินต่อไปใน 2 นีไฟ 29–30 เขาเป็นพยานว่าในวันเวลาสุดท้ายพระคัมภีร์ทั้งหมดจะทำงานด้วยกันเพื่อแสดงให้ทุกประชาชาติ ตระกูล ภาษา และผู้คนเห็นว่าพระเจ้าทรงจดจำบุตรธิดาของพระองค์ บันทึกเหล่านี้เป็นพยานและประจักษ์พยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา นีไฟพยากรณ์ว่าคนมากมายจะปฏิเสธพระคัมภีร์มอรมอนแต่คนที่เชื่อจะเข้ามารวมกันในศาสนจักร นอกจากนี้ นีไฟยังสอนว่าผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าคือคนที่กลับใจและเชื่อในพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า

ซีกโลกตะวันออกกับพระคัมภีร์ไบเบิล ซีกโลกตะวันตกกับพระคัมภีร์มอรมอน

2 นีไฟ 29:1–14

พระเจ้ารับสั่งกับนีไฟว่าในวันเวลาสุดท้ายคนมากมายจะปฏิเสธพระคัมภีร์มอรมอน

นีไฟเห็นว่าคนมากมายในยุคสุดท้ายจะเชื่อว่าพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นพระคัมภีร์เล่มเดียวที่ได้รับการเปิดเผยจากพระผู้เป็นเจ้าและจะปฏิเสธพระคัมภีร์มอร-มอน ท่านจะตอบอย่างไรถ้าเพื่อนคนหนึ่งถามท่านว่า “ทำไมชาวมอรมอนจึงมีพระคัมภีร์ไบเบิลอีกเล่ม”

นีไฟ ให้คำตอบบางประการของคำถามนี้โดยบันทึกพระวจนะของพระเจ้าเกี่ยวกับบทบาทของพระคัมภีร์มอร-มอนในการฟื้นฟูพระกิตติคุณยุคสุดท้าย ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกว่า “งานอัศจรรย์” (2 นีไฟ 29:1) อ่าน 2 นีไฟ 29:1–2 และระบุว่าพระวจนะของพระเจ้าจะทำอะไรในวันเวลาสุดท้าย (พระวจนะจะ “ออกไป” สู่พงศ์พันธุ์หรือผู้สืบตระกูลของนีไฟ และจะ “ส่งเสียงเรียกไปยังสุดแดนแผ่นดินโลก”) (“ส่งเสียงเรียก” หมายถึง “ผิวปากเรียก” ซึ่งบอกเป็นนัยถึงการส่งสัญญาณให้มารวมกัน (ดูอิสยาห์ 5:26 )

คำว่า ธงสัญญาณ ใน 2 นีไฟ 29:2 หมายถึงสิ่งที่ใช้รวมคนให้เป็นหนึ่งเดียว เรามักจะเรียกธงว่าธงสัญญาณ ตามที่กล่าวไว้ ใน 2 นีไฟ 29:2 อะไรคือธงสัญญาณที่จะออกไป “ยังสุดแดนแผ่นดินโลก” เพื่อรวมผู้คนของพระเจ้า (ท่านอาจต้องการเขียนทำนองนี้ พระคัมภีร์มอร-มอน—ถ้อยคำของพงศ์พันธุ์หรือผู้สืบตระกูลของนีไฟ ใกล้กับ 2 นีไฟ 29:2)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า ตามที่กล่าวไว้ใน 2 นีไฟ 29:1–2 อะไรคือจุดประสงค์ของพระเจ้าในการจัดเตรียมพระคัมภีร์เพิ่มเติมเช่นพระคัมภีร์มอรมอน

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโคว-รัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันข้อคิดต่อไปนี้เกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน “พระคัมภีร์มอรมอนเป็นถ้อยแถลงที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับพันธสัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำกับบุตรธิดาของพระองค์ที่นี่บนแผ่นดินโลกและความรักที่ทรงมีต่อพวกเขา” (Christ and the New Covenant: The Messianic Message of the Book of Mormon [1997], 4)

ใน 2 นีไฟ 29 คำว่า คนต่างชาติ หมายถึงคนที่ไม่เป็นของเชื้อสายแห่งอิสราเอล คำว่า ชาวยิว หมายถึงคนที่เป็นของเชื้อสายแห่งอิสราเอล รวมไปถึงครอบครัวและผู้สืบตระกูลของลีไฮ อ่าน 2 นีไฟ 29:3–6 โดยมองหาปฏิกิริยาที่คนต่างชาติบางคนจะมีต่อพระคัมภีร์เพิ่มเติม เขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ลงในช่องว่างที่เตรียมไว้

บางคนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อพระคัมภีร์เพิ่มเติม

พระเจ้าตรัสอะไรเกี่ยวกับคนที่มีปฏิกิริยาเช่นนี้

นีไฟพยากรณ์โดยบรรยายปฏิกิริยาของผู้คนต่อพระคัมภีร์มอรมอน ผู้คนทุกวันนี้มักแสดงความสงสัยเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอนเพราะพวกเขามีพระคัมภีร์ไบเบิลอยู่แล้ว ใช้ปากกาเน้นข้อความที่คำหรือวลีใน 2 นีไฟ 29:7–11 ที่พูดถึงจุดประสงค์ของพระเจ้าในการให้พระคัมภีร์เพิ่มเติม ตรึกตรองว่าท่านจะอธิบายจุดประสงค์เหล่านี้กับคนที่ไม่เข้าใจความจำเป็นหรือคุณค่าของการได้รับการเปิดเผยเพิ่มเติมจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

  1. ไอคอนสมุดบันทึกใช้สิ่งที่ท่านทำเครื่องหมายไว้ใน 2 นีไฟ 29:7–11 เขียนคำตอบของคำถามที่นำเสนอตอนต้นบทเรียนนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน “ทำไมชาวมอรมอนจึงมีพระคัมภีร์ไบเบิลอีกเล่ม”

พระเจ้าทรงจัดเตรียมพระคัมภีร์ให้เป็นพยานที่สองและรวมผู้คนมาสู่พันธสัญญาของพระองค์ อ่าน 2 นี-ไฟ 29:13–14 และมองหาพรที่เกิดขึ้นเมื่อมีพระคัมภีร์—“ถ้อยคำของชาวนีไฟ” (พระคัมภีร์มอรมอน) “ถ้อยคำของชาวยิว” (พระคัมภีร์ไบเบิล) และ “ถ้อยคำจากบรรดาเผ่าของอิสราเอลที่สูญหายไป” —อยู่ในบรรดาผู้คน

2 นีไฟ 30:1–8

นีไฟพยากรณ์ถึงบทบาทของพระคัมภีร์มอรมอนในวันเวลาสุดท้าย

เยาวชนชายสองคน

หลังจากสอนว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงจดจำเชื้อสายแห่งอิสราเอล นีไฟตักเตือนผู้คนของเขาไม่ ให้คิดว่าตนชอบธรรมกว่าคนต่างชาติ เขาเตือนคนเหล่านั้นด้วยว่าทุกคนสามารถเป็นผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าได้ อ่าน 2 นีไฟ 30:2 และในช่องว่างที่เตรียมไว้ ให้เขียนสองสิ่งที่ผู้คนจำเป็นต้องทำก่อนพระเจ้าจะทรงเข้าสู่พันธสัญญากับพวกเขา

ใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองผลที่พระคัมภีร์มอรมอนมีต่อท่านหรือคนสนิทของท่าน จากนั้นให้อ่าน 2 นีไฟ 30:3–8 และทำกิจกรรมต่อไปนี้โดยเติมวลีที่พูดถึงผลของพระคัมภีร์มอรมอนต่อคนที่ได้รับ

กลุ่มคน

ผลของพระคัมภีร์มอรมอน

ผู้สืบตระกูลของลีไฮ (2 นีไฟ 30:3–6)

ชาวยิว (2 นีไฟ 30:7)

คนต่างชาติ หรือบรรดาประชาชาติทั้งปวง (2 นีไฟ 30:8)

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดและใช้ปากกาเน้นข้อความตรงเหตุผลที่ว่าทำไมพระคัมภีร์มอรมอนจึงเป็นเครื่องมือเผยแผ่ศาสนาที่มีประสิทธิผลยิ่ง

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์

“พระคัมภีร์มอรมอนเป็นศูนย์รวมของงานเผยแผ่ศาสนาตั้งแต่ฟื้นฟูพระกิตติคุณผ่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ เราใช้พระคัมภีร์มอรมอนทุกวันในงานเผยแผ่ ศาสนา ข้อเท็จจริงประการหนึ่งเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอนเป็นกุญไจไขพลังในงานเผยแผ่ศาสนาแต่ละส่วนคือ พระคัมภีร์มอรมอนเป็นพยานหลักฐานของพระเยซูคริสต์ หน้าปกในบอกเราว่าจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือเพื่อแสดงให้เห็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระเจ้าทรงทำเพื่อผู้คนของพระองค์ เพื่อช่วยให้พวกเขารู้ว่าพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงทำกับผู้คนของพระองค์ยังคงมีผล และเพื่อให้คนทั้งปวงมั่นใจว่าพระเยซูคือพระคริสต์” (“Why the Book of Mormon?” New Era, May 2008, 6, 8)

การศึกษา 2 นีไฟ 30:1–8 แสดงให้เราเห็นว่า พระคัมภีร์มอรมอนสามารถช่วยให้คนทั้งปวงมารู้จักพระเยซูคริสต์และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระองค์

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเลือกคำถามหนึ่งข้อต่อไปนี้เพื่อตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. พระคัมภีร์มอรมอนได้ช่วยให้ท่านมารู้จักพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

    2. ท่านจะใช้พระคัมภีร์มอรมอนช่วยให้คนอื่นๆ มารู้จักพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

2 นีไฟ 30:9–18

นีไฟพยากรณ์ถึงสภาพของแผ่นดินโลกในช่วงมิลเลเนียม

อ่าน 2 นีไฟ 30:9–10 และมองหาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในบรรดาผู้คนก่อนมิลเลเนียม—1,000 ปีของความชอบธรรมและสันติสุขหลังจากการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อพระเยซูคริสต์จะทรง “ปกครองแผ่นดินโลกด้วยพระองค์เอง” (หลักแห่งความเชื่อ 1:10) ท่านเคยเห็น “การแบ่งแยกอันใหญ่หลวง” (2 นีไฟ 30:10) แยกคนชอบธรรมจากคนชั่วร้ายอย่างไร สุดท้ายแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับคนชั่วร้าย

อ่าน 2 นีไฟ 30:12–18 โดยดูว่าชีวิตจะเป็นเช่นไรในช่วงมิลเลเนียม

  1. ไอคอนสมุดบันทึกในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ (เหตุการณ์สำคัญหรือสรุปเพียงไม่กี่คำ) บอกสภาพมิลเลเนียมที่ท่านตั้งตารอมากที่สุด หลังจากเขียนพาดหัวข่าวเสร็จแล้ว ให้อธิบายว่าพาดหัวข่าวนั้นเป็นตัวบ่งชี้สันติสุขที่จะมีอยู่ทั่วไปบนแผ่นดินโลกในช่วงมิลเลเนียมอย่างไร

พิจารณาว่าจะเป็นเช่นไรเมื่อซาตานจะไม่มีอำนาจเหนือใจของผู้คนในช่วงมิลเลเนียม และความชอบธรรมและความสงบสุขจะมีอยู่ทั่วไป ตรึกตรองว่าโรงเรียนหรือชุมชนของท่านจะต่างไปอย่างไรถ้าสภาพเหล่านั้นมีอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อช่วยตัวท่านเอง ครอบครัว และคนอื่นๆ เตรียมรับช่วงเวลาแห่งสันติสุขและความชอบธรรมดังกล่าว

ข้อคิดเห็นและข้อมูลภูมิหลัง

บันทึกพระคัมภีร์เพิ่มเติมจะออกมาอย่างไร

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่าบันทึกที่ 2 นีไฟ 29:12–14 พูดถึงจะ “ออกมาในวิธีที่น่าอัศจรรย์ ตามการกำกับดูแลของประธานศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายซึ่งเป็นผู้เปิดเผยและผู้แปล และผู้ถือกุญแจอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า” (The Millennial Messiah [1982], 217) เรารู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดเสด็จเยือนอิสราเอลบางเผ่าที่หายไปหลังจากการฟื้นคืนพระชนม์และเสด็จไปหาชาวนีไฟและพวกเขาจะเขียนเรื่องราวการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์ในบรรดาพวกเขาหลังจากพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ด้วย (ดู 3 นีไฟ 16:1–3; 17:4)

“ชาวยิว … จะเริ่มเชื่อในพระคริสต์” เมื่อใด

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีพูดถึงการเปลี่ยนเลื่อมใสของชาวยิวที่พยากรณ์ไว้

“‘และเหตุการณ์จะบังเกิดขึ้นคือชาวยิวซึ่งกระจัดกระจายไปจะเริ่ม เชื่อในพระคริสต์ด้วย; และพวกเขาจะเริ่มรวมกันบนผืนแผ่นดิน;’ (2 นีไฟ 30:7) ความเคียดแค้นที่ชาวยิวในสมัยโบราณส่วนใหญ่มีต่อพระคริสต์ได้หมดลงแล้ว เวลานี้หลายคนยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นแรบไบผู้ยิ่งใหญ่ ถึงแม้ ไม่ ใช่พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า บางคนยอมรับอย่างเต็มที่ เข้ามาสู่ศาสนจักรที่แท้จริงพร้อมด้วยผู้คนที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดของเอฟราอิมและมิตรสหายของเขา

“แต่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสครั้งยิ่งใหญ่ของชาวยิว การกลับไปสู่ความจริงในฐานะประชาชาติ กำหนดไว้ ให้เกิดขึ้นหลังการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเมสสิยาห์ของพวกเขา ผู้ที่สามารถทนอยู่ได้ ในวันนั้น ในความทุกข์ยากและเสียใจจะถามว่า ‘แผลเหล่านี้ที่มือของท่านและที่เท้าของท่านคืออะไร ? เมื่อนั้นพวกเขาจะรู้ว่าเราคือพระเจ้า; เพราะเราจะกล่าวแก่พวกเขาว่า: แผลเหล่านี้เป็นแผลซึ่งเราได้รับบาดเจ็บในบ้านของเพื่อนเรา. เราคือคนที่ถูกยกขึ้น. เราคือเยซูที่ถูกตรึงกางเขน. เราคือพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า.’ (คพ. 45:51–52; เศคาริ-ยาห์ 12:8–14; 13:6)” (Mormon Doctrine, [1966], 722–23)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษา 2 นีไฟ 29–30 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: