หน่วย 9: วัน 1
2 นีไฟ 32
คำนำ
หลังจากสอนเรื่อง “ทางคับแคบและแคบซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์” (2 นีไฟ 31:18) นีไฟเห็นว่าผู้คนของเขาสงสัยว่าพวกเขาควรทำอะไรหลังจากเริ่มอยู่บนทางนั้น เขาตอบคำถามโดยกระตุ้นคนเหล่านั้นให้ “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” และ “สวดอ้อนวอนเสมอ” (2 นี-ไฟ 32:3, 9) เขารับรองกับคนเหล่านั้นว่าถ้าพวกเขาจะทำสิ่งเหล่านี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยให้พวกเขารู้ว่าต้องทำอะไร
2 นีไฟ 32:1–7
นีไฟแนะนำเราให้แสวงหาการนำทางจากเบื้องบนผ่านพระวจนะของพระเยซูคริสต์
นึกถึงเวลาที่มีคนบอกทางท่านจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง การเข้าใจทางเหล่านั้นง่ายหรือยาก เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องมีคนบอกทางได้ชัดเจน
ในบทก่อนท่านศึกษาคำแนะนำบางอย่างที่นีไฟ ให้ผู้คนของเขา หลังจากแบ่งปันคำแนะนำเหล่านี้เขากล่าวว่า “นี่คือทางนั้น” (2 นีไฟ 31:21) ค้นคว้า 2 นีไฟ 31:17–18 อย่างรวดเร็วและทบทวนว่าบางคนเริ่มอยู่บนทางสู่ชีวิตนิรันดร์อย่างไร จากนั้นให้อ่าน 2 นีไฟ 32:1 และมองหาคำถามที่อยู่ ในใจผู้คนเกี่ยวกับสิ่งที่นีไฟสอนพวกเขา อธิบายคำถามของคนเหล่านั้นด้วยคำพูดของท่านเอง
อ่าน 2 นีไฟ 32:2–3 และมองหาสิ่งที่นีไฟกล่าวว่าเราต้องทำหลังจากเราเข้าไป ในทางนั้นแล้ว อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่าการพูดด้วยลิ้นของเทพตามที่ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ ประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าว “หมายความเพียงว่าท่านสามารถพูดได้ด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (“The Gift of the Holy Ghost: What Every Member Should Know,” Ensign, Aug. 2006, 50)
ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลี “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” ใน 2 นีไฟ 32:3 (ข้อนี้เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์) นีไฟ ใช้วลี “พระวจนะของพระคริสต์” เพื่อพูดถึงคำสอนที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจ เขียนบางวิธีหรือบางแห่งที่ท่านสามารถอ่าน ได้ยิน หรือรับคำสอนที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจ
พระวจนะของพระคริสต์รวมถึงพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ยุคปัจจุบัน เพื่อช่วยท่านไตร่ตรองว่า “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” หมายความว่าอย่างไร ให้อ่านข้อความอ้างอิงต่อไปนี้
เอ็ลเดอร์รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “การดื่มด่ำมีความหมายมากกว่าชิมรส ดื่มด่ำหมายถึงลิ้มรสด้วยความอร่อย เราดื่มด่ำพระคัมภีร์โดยศึกษาด้วยมุ่งหมายจะค้นพบอย่างเบิกบานใจและเชื่อฟังอย่างซื่อสัตย์ เมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ พระวจนะ … กลายเป็นส่วนสำคัญของธรรมชาติวิสัยของเรา” (ดู “ ให้พระคัมภีร์นำทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001, หน้า 23)
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า “หากท่านและข้าพเจ้าอยากดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ เราต้องศึกษาพระคัมภีร์และซึมซับพระวจนะของพระองค์ผ่านการไตร่ตรองและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดและการกระทำทุกอย่าง” (ดู “การบำบัดรักษาจิตวิญญาณและร่างกาย” เลียโฮนา, ม.ค. 1999, หน้า 15)
-
ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนด้วยคำพูดของท่านเองว่าดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์หมายความว่าอย่างไร
ไตร่ตรองความแตกต่างระหว่างคำว่า ดื่มด่ำ กินทีละน้อย และ อดอยาก คิดสักครู่ว่าวิธีศึกษาพระวจนะของพระคริสต์ที่เกิดผลน้อยจะเทียบได้อย่างไรกับการกินทีละน้อยหรือแม้ถึงกับอดอยาก
เติมในส่วนที่เหลือของหลักธรรมต่อไปนี้ตามที่กล่าวไว้ ใน 2 นีไฟ 32:3: เมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ พระวจนะของพระคริสต์ย่อม.
-
ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนเกี่ยวกับเวลาที่การดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ช่วยให้ท่านรู้ว่าต้องทำอะไรในชีวิตหรือไม่ก็เล่าสถานการณ์ที่ท่านพบเจอเวลานี้ที่การดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์สามารถช่วยท่านได้
เติมในช่องว่างด้านล่างเพื่อประเมินว่าท่านกำลังดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ดีเพียงใดและท่านจะปรับปรุงได้อย่างไร ในแต่ละตัวอย่างด้านล่าง ให้เขียนคำ —ดื่มด่ำ กินทีละน้อย หรืออดอยาก— ซึ่งบอกได้ดีที่สุดว่าท่านมุ่งหมายจะรู้พระวจนะของพระคริสต์ในสภาวะแวดล้อมนั้นดีเพียงใด ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะ ดื่มด่ำ พระคัมภีร์ในการศึกษาส่วนตัวแต่กินทีละน้อยสำหรับพระวจนะของพระคริสต์ในการประชุมใหญ่สามัญ
การศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
การประชุมศีลระลึก
การประชุมใหญ่สามัญ
การศึกษาพระคัมภีร์เป็นครอบครัว
เซมินารี
การสังสรรค์ในครอบครัว
การประชุมโควรัมฐานะปุ โรหิตแห่งอาโรนหรือชั้นเรียนเยาวชนหญิง
โรงเรียนวันอาทิตย์
การสวดอ้อนวอนเป็นส่วนตัว
-
ใช้เวลาสักครู่เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างที่ท่านเขียนว่าปัจจุบันท่าน “กินทีละน้อย” หรือ “อดอยาก” เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านจะดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ในสภาวะแวดล้อมนั้นให้ดีขึ้นอย่างไร จากนั้นให้พยายามทำต่อไปจนสำเร็จ
อ่าน 2 นีไฟ 32:4–7 และไตร่ตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้ (ท่านจะเขียนคำตอบของคำถามหนึ่งข้อสำหรับงานมอบหมาย 4):
-
ในข้อ 4 ท่านคิดว่า “ทูลถาม” หรือ “เคาะ” หมายความว่าอย่างไร การสวดอ้อนวอนน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการทูลถามหรือเคาะอย่างไร
-
ในข้อ 4 นีไฟกล่าวว่าอะไรคือผลอันเกิดแก่ผู้ที่จะไม่ทูลถามหรือเคาะ
-
ในข้อ 5 นีไฟสัญญาว่าเราจะมีพรอะไรบ้างเมื่อเรารับพระวิญญาณบริสุทธิ์
-
ในข้อ 7 ผู้คนของนีไฟมีเจตคติอะไรที่ทำให้เขาโศกเศร้าเพราะคนเหล่านั้น ท่านคิดว่าเหตุใดเจตคติเหล่านี้จึงกีดกันผู้คนไม่ ให้ค้นคว้าและเข้าใจ “ความรู้อันสำคัญยิ่ง”
-
เขียนความจริงประการหนึ่งที่ท่านเรียนรู้จาก 2 นีไฟ 32:4–7 ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ และอธิบายว่าเหตุใดความจริงนี้จึงสำคัญในชีวิตท่าน
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—2 นีไฟ 32:3
-
ท่านคิดว่าท่านน่าจะใช้เวลาท่องจำ 2 นีไฟ 32:3 นานเท่าใดถ้าท่านท่องทุกครั้งที่รับประทานอาหาร เขียนข้อนี้ลงบนบัตรแข็งหรือกระดาษแผ่นเล็ก และพกติดตัว ห้าวันถัดจากนี้ให้ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์โดยพยายามท่องจำ 2 นีไฟ 32:3 ก่อนและหลังจากรับประทานอาหารแต่ละมื้อ รายงานในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านรับประทานอาหารกี่มื้อกว่าจะท่องพระคัมภีร์ข้อนั้นได้
2 นีไฟ 32:8–9
นีไฟแนะนำเราให้สวดอ้อนวอนเสมอ
คนจำนวนมากกล่าวว่าหลังจากพวกเขาทำบาปแล้วพวกเขาไม่ต้องการสวดอ้อนวอนถึงพระบิดาบนสวรรค์ ตรึกตรองสักครู่ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ใครไม่ต้องการให้ท่านสวดอ้อนวอนโดยเฉพาะหลังจากที่ท่านทำบาป เพราะเหตุใด ดูใน 2 นีไฟ 32:8 เพื่อหาสิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสอนเราให้ทำเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้ ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าทรงต้องการให้ท่านสวดอ้อนวอน ท่านคิดว่าเหตุใดซาตานไม่ต้องการให้ท่านสวดอ้อนวอน
อ่าน 2 นีไฟ 32:9 พิจารณาว่าเราควรสวดอ้อนวอนบ่อยเพียงใดและพระเจ้าทรงสัญญาพรอะไรบ้างถ้าเราสวดอ้อนวอน ขณะที่ท่านอ่านข้อนี้ อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า อุทิศ หมายถึงทุ่มเทรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือทำให้ศักดิ์สิทธิ์
จาก 2 นีไฟ 32:9 เราเรียนรู้หลักธรรมนี้ เมื่อเราสวดอ้อนวอนเสมอ เราย่อมสามารถทำได้ทุกอย่างที่พระเจ้าทรงประสงค์ ให้เราทำเพื่อความผาสุกของจิตวิญญาณเรา (สังเกตว่า 2 นีไฟ 32:8–9 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายข้อนี้ให้ชัดเจนเพื่อท่านจะหาเจอได้ ในภายหลัง)
ไตร่ตรองว่าการสวดอ้อนวอนเสมอหมายความว่าอย่างไร ขณะที่ท่านอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ให้ขีดเส้นใต้หนึ่งวิธีหรือมากกว่านั้นที่เราสามารถทำตามพระบัญชาให้ “สวดอ้อนวอนเสมอ”
“เราอาจมีหลายอย่างในบุคลิกลักษณะ พฤติกรรม หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการเติบโตทางวิญญาณของเราซึ่งเราต้องการปรึกษากับพระบิดาบนสวรรค์ในการสวดอ้อนวอนตอนเช้า หลังจากกล่าวขอบพระทัยสำหรับพรที่ได้รับ เราวิงวอนขอความเข้าใจ แนวทาง และความช่วยเหลือเพื่อทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ด้วยกำลังของเราเอง ตัวอย่างเช่น เมื่อเราสวดอ้อนวอนเราอาจทำดังนี้ …
“ตลอดทั้งวัน เราสวดอ้อนวอนในใจเพื่อขอความช่วยเหลือและการนำทางตลอดเวลา …
“เราสังเกตว่าระหว่างวันที่ทำแบบนี้จะมีเหตุการณ์ซึ่งโดยปกติเรามีแนวโน้มจะใช้คำพูดรุนแรงแต่เราไม่ทำ หรือเรามีแนวโน้มที่จะโกรธแต่เราไม่ โกรธ เราเห็นถึงความช่วยเหลือและพลังจากสวรรค์พร้อมทั้งน้อมรับคำตอบจากการสวดอ้อนวอนของเรา แม้ ในยามที่ยอมรับเราก็สวดอ้อนวอนขอบพระทัยในใจ
“เมื่อสิ้นสุดวัน เราคุกเข่าอีกครั้งและรายงานพระบิดาของเรา เราทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นและขอบพระทัยอย่างจริงใจสำหรับพรและความช่วยเหลือที่เราได้รับ เรากลับใจและด้วยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระเจ้าเราหาวิธีที่เราสามารถทำได้ดีกว่าเดิม และเป็นคนดีกว่าเดิมในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นการสวดอ้อนวอนในตอนเย็นของเราจึงเสริมสร้างและสืบเนื่องมาจากการสวดอ้อนวอนในตอนเช้าของเรา การสวดอ้อนวอนในตอนเย็นของเราเป็นการเตรียมสำหรับการสวดอ้อนวอนในตอนเช้าอย่างมีความหมาย
“การสวดอ้อนวอนในตอนเช้าและตอนกลางคืน—และการสวดอ้อนวอนระหว่างนั้นทั้งหมด—ใช่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ตรงกันข้ามเหตุการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงกันเป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน และเป็นปี นี่เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะทำให้เกิดสัมฤทธิผลตามคำกล่าวเตือนในพระคัมภีร์ให้ “สวดอ้อนวอนเสมอ” (ลูกา 21:36; 3 นีไฟ 18:15, 18; คพ. 31:12) การสวดอ้อนวอนที่มีความหมายเช่นนั้นเป็นเครื่องมือในการได้รับพรสูงสุดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเตรียมไว้ ให้ลูกๆ ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์” (ดู “สวดอ้อนวอนเสมอ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, –หน้า 52)
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านคิดว่าการทำตามคำแนะนำของเอ็ลเดอร์เบดนาร์เกี่ยวกับการ “สวดอ้อนวอนเสมอ” จะช่วยท่านในชีวิตท่านได้อย่างไร
เพื่อสรุปบทนี้ ให้อ่านประจักษ์พยานต่อไปนี้จากเอ็ล-เดอร์ร์สเป็นเซอร์ เจ. คอนดีผู้รับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบเวลานั้นเกี่ยวกับการดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ “ท่านอาจจะกำลังเผชิญการตัดสินใจเกี่ยวกับงานเผยแผ่ อาชีพในอนาคต และสุดท้ายการแต่งงาน เมื่อท่านอ่านพระคัมภีร์และสวดอ้อนวอนขอการนำทาง ท่านอาจจะไม่เห็นคำตอบในรูปแบบถ้อยคำที่พิมพ์บนกระดาษ แต่เมื่อท่านอ่าน ท่านจะได้รับความรู้สึกที่ชัดเจนและการกระตุ้นเตือน ดังที่สัญญาไว้ว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ ‘จะทรงแสดงแก่ท่านถึงสิ่งทั้งปวงที่ท่านควรทำ.’ [2 นีไฟ 32:5]” (ดู “กลับเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อเพื่อนมนุษย์ของเรา,” เลียโฮนา, ก.ค. 2002, หน้า 56)
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—2 นีไฟ 32:8–9
-
ในช่วง 24 ชั่วโมงถัดไปจงพยายามนำสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการ “สวดอ้อนวอนเสมอ” มาใช้ในชีวิตท่าน ตอนเริ่มบทเรียนถัดไป ครูจะเชื้อเชิญให้ท่านรายงานความคิดและความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์นี้ เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการพยายาม “สวดอ้อนวอนเสมอ” สามารถสร้างความแตกต่างในการสวดอ้อนวอนของท่านอย่างไร
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษา 2 นีไฟ 32 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: