เซมินารี
หน่วย 9: วัน 2, 2 นีไฟ 33


หน่วย 9: วัน 2

2 นีไฟ 33

คำนำ

นีไฟสรุปบันทึกของเขาโดยประกาศว่าถ้อยคำที่เขาเขียนเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์และชักชวนผู้คนให้ทำดีและอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เขากล่าวว่าถึงแม้เขาเขียน “ขณะมีความอ่อนแอ” แต่ข่าวสารของเขา “มีคุณค่าใหญ่หลวง” และถ้อยคำของเขา “จะมีอานุภาพ” สำหรับคนที่จะอ่าน (ดู 2 นีไฟ 33:3–4) เขาเป็นพยานว่างานเขียนของเขาเป็น “พระวจนะของพระคริสต์” และผู้คนจะต้องชี้แจงต่อพระผู้เป็นเจ้าสำหรับการตอบสนองของพวกเขาต่อพระวจนะเหล่านี้ (ดู 2 นีไฟ 33:10–15)

นีไฟและแผ่นจารึกทองคำ
  1. ไอคอนสมุดบันทึกในบทก่อน ครูเชื้อเชิญท่านให้พยายาม “สวดอ้อนวอนเสมอ” เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ให้เขียนความคิดและความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์นี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

2 นีไฟ 33:1–15

นีไฟอธิบายจุดประสงค์ในการเขียนของเขา

คิดเหตุผลสักครู่ว่าทำไมท่านต้องการให้พระวิญญาณบริสุทธิ์นำข่าวสารมาสู่ใจท่าน

อะไรคือความแตกต่างระหว่างข่าวสารเข้า ถึง ใจคนบางคนกับข่าวสารเข้าไป สู่ ใจคนบางคน

รูปหัวใจ

อ่าน 2 นีไฟ 33:1 และดูว่านีไฟ ใช้คำว่า—ถึง หรือ สู่— เมื่อพูดถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำข่าวมาสู่เรา ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านพบ

ท่านคิดว่าเหตุใดจึงน่าสนใจที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำความจริงไป ถึง ใจเราแต่ไม่ไป สู่ ใจเรา

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวดังนี้เกี่ยวกับ 2 นีไฟ 33:1: “ โปรดสังเกตว่าอำนาจของพระวิญญาณนำข่าวสารไป ถึง แต่ ไม่ ไป สู่ ใจอย่างไร ครู สามารถอธิบาย สาธิต ชักชวน และเป็นพยาน ทำสิ่งเหล่านี้ด้วยพลังยิ่งใหญ่ทางวิญญาณและความมีประสิทธิผล อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้ว เนื้อหาของข่าวสารและพยานของพระวิญญาณบริสุทธิ์แทรกเข้าไปในใจได้ก็ต่อเมื่อผู้รับยินยอมให้เข้าไป การเรียนรู้โดยศรัทธาเปิดเส้นทาง สู่ ใจ” (“Seek Learning by Faith,” Ensign, Sept. 2007, 61)

เอ็ลเดอร์เจรัลด์ เอ็น. ลันด์

เอ็ลเดอร์เจรัลด์ เอ็น. ลันด์ผู้รับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบเวลานั้นอธิบายว่าเหตุใดพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงนำถ้อยคำมาถึง แต่ไม่มา สู่ ใจเรา: “เหตุใดจึงมาถึงใจเท่านั้น สิทธิ์เสรีของแต่ละบุคคลศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักจนพระบิดาบนสวรรค์จะไม่ทรงบังคับใจมนุษย์ แม้ด้วยเดชานุภาพทั้งปวงอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ หลายคนพยายามทำเช่นนั้นแต่พระผู้เป็นเจ้าไม่ทำ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือพระผู้เป็นเจ้าทรงยอมให้เราเป็นผู้คุ้มครอง หรือเป็นคนเฝ้าประตูใจของเราเอง เราต้องเปิดใจเรารับพระวิญญาณด้วยความสมัครใจของเราเอง เพราะพระองค์จะไม่ทรงบังคับเรา” (“เปิดใจเรา,” เลีย-โฮนา, พ.ค. 2008, หน้า 40)

ท่านคิดว่าผู้คนจำเป็นต้องทำอะไรเพื่อเปิดใจรับพระวิญญาณ

อ่าน 2 นีไฟ 33:2 และระบุสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนเลือกทำใจแข็งกระด้าง อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่าวลี “สิ่งไร้ค่า” หมายถึง “ ไม่มีค่า”

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าพฤติกรรมและเจตคติใดบ้างที่ผู้มีใจเปิดรับบางคนจะแสดงให้เห็นในระหว่างการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว ในระหว่างเซมิ-นารีภาคการศึกษาที่บ้าน และในระหว่างการประชุมศีลระลึก

ใน 2 นีไฟ 33:1–2 เราเรียนรู้หลักธรรมนี้: เมื่อเราเปิดใจเรา ข่าวสารจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ย่อมสามารถเข้าไป ในใจเราได้ ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ไว้ ในพระคัมภีร์ของท่าน

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน:

    1. ท่านรู้สึกเมื่อใดว่าข่าวสารพระกิตติคุณเข้ามาสู่ใจท่าน อะไรคือสภาพการณ์ และอะไรคือผล

    2. สิ่งนี้บอกอะไรท่านเกี่ยวกับใจท่านเวลานั้น

อ่าน 2 นีไฟ 33:3–7 โดยมองหาความหวังของนีไฟสำหรับคนที่จะอ่านถ้อยคำของเขา จากนั้นให้เติมประโยคต่อไปนี้ให้ครบถ้วนโดยใช้คำพูดของท่านเองหรือคำพูดของนีไฟ จงทราบว่าบางวลีอาจมีมากกว่าหนึ่งคำตอบ

2 นีไฟ 33:3—ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอนตลอดเวลาเพื่อ .

2 นีไฟ 33:4—ข้าพเจ้ารู้ .

2 นีไฟ 33:6—ข้าพเจ้าปลาบปลื้ม .

2 นีไฟ 33:7—ข้าพเจ้ามี .

เมื่อท่านศึกษา 2 นีไฟ 33 จบแล้ว ให้จำไว้ว่าข้อเหล่านี้เป็นประจักษ์พยานสุดท้ายของนีไฟที่บันทึกไว้ ในพระคัมภีร์ อ่าน 2 นีไฟ 33:10–14 และสมมติว่าท่านได้ยินถ้อยคำเหล่านี้จากนีไฟเอง ท่านอาจจะขีดเส้นใต้วลีที่มีความหมายต่อท่าน

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนบางวลีจาก 2 นีไฟ 33:10–14 ที่มีความหมายต่อท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์และอธิบายว่าเพราะเหตุใด ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านด้วย: ถ้าผู้คนเชื่อในพระคริสต์ พวกเขาจะรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน (ดู 2 นีไฟ 33:10)

อ่าน 2 นีไฟ 33:15 และไตร่ตรองถ้อยคำสุดท้ายของนีไฟ “ข้าพเจ้าต้องเชื่อฟัง” ท่านอาจต้องการเขียน “1 นีไฟ 3:7” เป็นข้ออ้างโยงในพระคัมภีร์ใกล้กับ 2 นีไฟ 33:15 ทบทวน 1 นีไฟ 3:7 และระบุว่าสองข้อนี้สัมพันธ์กันอย่างไร

  1. ไอคอนสมุดบันทึกใช้เวลาสองสามนาทีทบทวน 1 นีไฟและ 2 นีไฟ โดยระบุตัวอย่างการเชื่อฟังของนีไฟ ให้เขียนบางตัวอย่างที่พบลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน และมองหาข้อความที่ท่านชื่นชอบหรือมีความหมายที่ชักชวนท่านให้ทำดี เป็นคนดีขึ้น หรือเชื่อในพระผู้ช่วยให้รอดดังนีไฟกล่าว (ดู 2 นีไฟ 33:1) เขียนข้อความนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

ประจักษ์พยานสุดท้ายของนีไฟและคำเตือนที่เขาให้แก่ผู้ที่อาจจะปฏิเสธถ้อยคำของเขาเพิ่มภาระรับผิดชอบแก่วิธีที่เราปฏิบัติต่อพระคัมภีร์มอรมอน ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธสอนว่า ในฐานะสมาชิกศาสนจักร เรามีความรับผิดชอบในการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน

“สำหรับข้าพเจ้าดูเหมือนว่าสมาชิกศาสนจักรนี้จะไม่มีวันได้รับความพึงพอใจจนกว่าจะได้อ่านพระคัมภีร์มอร-มอนหลายต่อหลายครั้ง และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อจะเป็นพยานได้ว่าแท้จริงแล้วนี่คือบันทึกที่มีการดลใจจากพระผู้ทรงฤทธานุภาพอยู่ในนั้น และประวัติของบันทึกดังกล่าวเป็นความจริง …

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์

“… ไม่มีสมาชิกคนใดของศาสนจักรนี้ผู้ไม่ตั้งใจอ่านพระคัมภีร์มอรมอนอย่างจริงจังจะสามารถยืนในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าได้” (ใน Conference Report, Oct. 1961, 18)

ท่านมีโอกาสตัดสินใจว่าท่านจะปฏิบัติอย่างไรต่อถ้อยคำของนีไฟและพระคัมภีร์มอรมอน

  1. ไอคอนสมุดบันทึกประเมินความพยายามของท่านในการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน และเขียนวิธีหนึ่งที่ท่านจะปรับปรุงการศึกษาของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์

เพื่อสรุปบทนี้ ให้อ่านคำสัญญาของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์กับทุกคนที่ศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนอย่างขยันหมั่นเพียร “ ไม่ว่าท่านจะอ่านพระคัมภีร์มอรมอนมาแล้วกี่ครั้ง ท่านจะมีพระวิญญาณของพระเจ้ามากขึ้นในชีวิตและในบ้านของท่าน มีปณิธานแน่วแน่มากขึ้นว่าจะดำเนินในการเชื่อฟังพระบัญญัติ และมีประจักษ์พยานเข้มแข็งมากขึ้นถึงการทรงพระชนม์อยู่จริงของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า” (“ประจักษ์พยานอันแน่วแน่และมีพลัง,” เลียโฮนา, ส.ค. 2005, หน้า 6)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษา 2 นีไฟ 33 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู:

เยาวชนชายทำเครื่องหมายพระคัมภีร์