หน่วย 15: วัน 1
แอลมา 5:1–36
คำนำ
เมื่อความชั่วร้ายและความขัดแย้งคุกคามศาสนจักร (ดู แอลมา 4:9–11) แอลมารู้ว่าการปฏิรูปแท้จริงจะเกิดขึ้นผ่านการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจสมาชิกศาสนจักรเท่านั้น ในฐานะมหาปุ โรหิตของศาสนจักร แอลมาเริ่มพันธกิจการนำผู้คนของเซราเฮ็มลากลับคืนมาโดยเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์และขอร้องผู้คนให้กลับใจ เขากระตุ้นคนเหล่านั้นให้เตรียมรับการพิพากษาของพระเจ้าโดยมีศรัทธาในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าและประเมินสภาพทางวิญญาณของใจตน ขณะศึกษาครึ่งแรกของ แอลมา 5 ให้ตรึกตรองว่าท่านจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้ ได้อย่างไรเพื่อท่านจะสามารถประสบหรือยังคงประสบกับการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจดังที่สนทนาไว้ ในบทนี้
แอลมา 5:1–13
แอลมาเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของบิดาและคนที่ติดตามเขา
ท่านเปลี่ยนแปลงมากเพียงใดตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ท่านเปลี่ยนแปลงมากเพียงใดตั้งแต่อายุ 12 ปี ตรึกตรองด้านต่างๆ ที่ผู้คนอาจเปลี่ยนแปลง อาทิ รูปร่างหน้าตา พฤติกรรม หรือเจตคติของพวกเขา ไตร่ตรองสิ่งที่อาจชักนำหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเหล่านี้ในผู้คน จากนั้นให้อ่าน แอลมา 5:12 และดูว่าอะไรเปลี่ยนแปลงในแอลมาผู้เป็นบิดา ขณะที่ท่านศึกษา แอลมา 5:1–13 ให้ตรึกตรองว่าใจคนเราจะเปลี่ยนได้อย่างไร
เอ็ลเดอร์เจอราลด์ เอ็น. ลันด์ผู้รับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบในเวลาต่อมา สอนว่าเมื่อใช้คำว่า ใจ ในพระคัมภีร์ มักหมายถึง “ภายในใจบุคคลนั้นจริงๆ” (“Understanding Scriptural Symbols,” Ensign, Oct. 1986, 25) พิจารณาสักครู่ว่า “การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจ” แตกต่างอย่างไรจากด้านอื่นซึ่งผู้คนอาจจะเปลี่ยน—รวมไปถึงด้านต่างๆ ที่ท่านตรึกตรองขณะเริ่มบทเรียนนี้
เล่าว่าผู้คนของกษัตริย์ เบ็นจามินประสบกับ “การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง” ในใจพวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขา “ไม่มี ใจที่จะทำความชั่วอีก, แต่จะทำความดีโดยตลอด” ( โมไซยาห์ 5:2) ท่านอาจต้องการเขียนคำชี้แจงจากเอ็ลเดอร์ลันด์และ โมไซยาห์ 5:2 พระคัมภีร์อ้างอิงไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ แอลมา 5:11–13
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า “ท่านอาจถามว่า ทำไมการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งนี้ไม่เกิดขึ้นกับฉันเร็วกว่านี้ ท่านควรจำไว้ว่าแบบอย่างอันน่าทึ่งของผู้คนของกษัตริย์-เบ็นจามิน แอลมา และคนอื่นๆ บางคนในพระคัมภีร์เป็นเช่นนั้น—น่าทึ่งแต่ก็มิได้เป็นแบบฉบับ สำหรับพวกเราส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และใช้เวลา การเกิดใหม่ ซึ่งไม่เหมือนการเกิดทางร่างกาย เป็นกระบวนการมากกว่าเป็นเหตุการณ์ และการเข้าร่วมกระบวนการนั้นคือจุดประสงค์สำคัญของความเป็นมรรตัย” (ดู “การเกิดใหม่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, หน้า 95)
อ่าน แอลมา 5:3–7 มองหาสิ่งที่แอลมาบอกผู้คนของเซราเฮ็มลาเพื่อช่วยเตรียมใจพวกเขาให้พร้อมเปลี่ยนแปลง
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในคู่มือเล่มนี้: แอลมาเล่าเรื่องการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของบิดาเขาและคนอื่นๆ ตลอดจนการปลดปล่อยพวกเขาจากการเป็นเชลยให้ผู้คนของเซ-ราเฮ็มลาฟัง ท่านคิดว่าประสบการณ์เหล่านี้ช่วยผู้คนเตรียมประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจอย่างไร
อ่าน แอลมา 5:10 วงกลมเครื่องหมายคำถามท้ายคำถามสามข้อที่แอลมาถามผู้คน จากนั้นให้ค้นคว้า แอลมา 5:11–13 ซึ่งแอลมาเริ่มตอบคำถามเหล่านี้เพื่อหาการสนับสนุนข้อความนี้: เมื่อเราเชื่อในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าและใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เราสามารถประสบกับการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจ
ศรัทธาในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้านำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจเพราะพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าสอนเราเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด ผู้คนของแอลมาเชื่อในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งศาสดาพยากรณ์ผู้บริสุทธิ์ประกาศต่อพวกเขา พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับเดชานุภาพแห่งการไถ่อันเนื่องจากการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ และใจพวกเขาเปลี่ยนขณะพัฒนาศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอด
-
อธิบายด้วยคำพูดของท่านเองลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการเชื่อในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจอย่างไร
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าใจท่านเปลี่ยนแปลงแล้วอย่างไร หากท่านสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในใจท่านขณะศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนในเซมินารีปีนี้ ท่านสามารถเล่าประสบการณ์ของท่านให้เป็นส่วนหนึ่งในคำตอบของท่าน
แอลมา 5:14–36
แอลมาสอนว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจจึงจะเข้าอาณาจักรแห่งสวรรค์ได้
หลังจากแอลมาสอนว่าศรัทธาในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าช่วยเราเริ่มขั้นตอนของการได้รับการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจแล้ว เขาขอให้ผู้คนพิจารณาคำถามมากมาย คำถามเหล่านี้สามารถช่วยเราประเมินสภาพของใจทางวิญญาณของเรา—ความปรารถนาและความรู้สึกในใจบุคคล
อ่าน แอลมา 5:14 และทำเครื่องหมายคำถามสามข้อที่แอลมาขอให้ผู้คนพิจารณาเกี่ยวกับตนเอง คำถามสามข้อเหล่านี้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เราประสบขณะใช้ศรัทธาในการไถ่ที่พระเยซูคริสต์ทรงมอบให้ จดจำจากบทเรียนก่อนๆ (ดู โมไซยาห์ 5 และ โมไซยาห์ 27) ว่าการ “เกิดใหม่” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่บุคคลหนึ่งประสบเมื่อเขายอมรับพระเยซูคริสต์และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่เพียงในฐานะสานุศิษย์ของพระองค์เท่านั้นแต่ ในฐานะบุตรหรือธิดาทางวิญญาณของพระองค์ด้วย (ดู โมไซยาห์ 27:25)
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการเปลี่ยนแปลงในใจอาจจะสะท้อนในสีหน้าของบุคคลอย่างไร ในบริบทนี้ คำว่า สีหน้า หมายถึงลักษณะใบหน้าของบุคคล ซึ่งสะท้อนเจตคติ อารมณ์ หรือสภาพทางวิญญาณของเขา พูดถึงคนที่ท่านรู้จักผู้ได้รับรูปลักษณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดไว้ในสีหน้าของเขา
ทางเวชปฏิบัติ กราฟแสดงการเต้นของหัวใจเป็นแผนภูมิที่แพทย์ ใช้ประเมินสภาพหัวใจของเรา อีกทั้งช่วยระบุอาการที่ต้องรักษา ศึกษาข้อต่างๆ จาก แอลมา 5 ที่เขียนไว้ตรงส่วนล่างของเส้นกราฟแสดงการเต้นของหัวใจทางวิญญาณด้านล่าง ขณะที่ท่านศึกษาแต่ละข้อ ให้ทำเครื่องหมายในกรอบสี่เหลี่ยมบนแผนภูมิซึ่งบอกได้ดีที่สุดว่าท่านจะตอบคำถามในแต่ละข้ออย่างไร (หากท่านประสงค์จะเก็บคำตอบของท่านไว้เป็นส่วนตัวมากกว่า ท่านอาจลอกแผนภูมินี้ลงในแผ่นกระดาษแยกต่างหากหรือในสมุดบันทึกส่วนตัวของท่านแล้วทำในนั้น)
แอลมา 5 กราฟแสดงการเต้นของหัวใจทางวิญญาณ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตลอดเวลา | ||||||||
เกือบตลอดเวลา | ||||||||
มักจะ | ||||||||
บางครั้ง | ||||||||
น้อยครั้ง | ||||||||
ข้อต่างๆ จากแอลมา 5 |
15 |
16 |
19 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30–31 |
เมื่อท่านทำเส้นกราฟแสดงการเต้นของหัวใจทางวิญญาณเสร็จแล้ว ให้อ่าน แอลมา 5:21–25 มองหาสิ่งที่แอลมาสอนเกี่ยวกับความจริงนี้: โดยประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจ เราเตรียมตนเองให้พร้อมรับสถานที่ ในอาณาจักรแห่งสวรรค์ (อาณาจักรซีเลส-เชียล)
-
ทำในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านดังนี้
-
ทำรายการคำและวลีที่แอลมาใช้ใน แอลมา 5:21-25 เพื่อพูดถึงสภาพที่ท่านอยากจะอยู่เวลานี้
-
อธิบายว่าท่านคิดว่าการเปลี่ยนแปลงในใจเตรียมเราให้พร้อมรับสถานที่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์อย่างไร
-
อ่าน แอลมา 5:33–36 พิจารณาว่าท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับข่าวสารของแอลมา มองหาคำและวลีที่ช่วยท่านตอบคำถามต่อไปนี้
-
พระเจ้าทรงกำลังเชื้อเชิญฉันให้ทำอะไร
-
รางวัลสำหรับการยอมรับคำเชื้อเชิญนี้คืออะไร
-
ข้อเหล่านี้สอนอะไรฉันเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด
อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันซึ่งแสดงว่าคนที่มีการเปลี่ยนแปลงในใจต้องการดำเนินชีวิตอย่างไร
“เมื่อท่านเลือกทำตามพระคริสต์ ท่านเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง …
“พระเจ้าทรงทำงานจากภายในสู่ภายนอก โลกทำงานจากภายนอกสู่ภายใน โลกจะนำผู้คนออกจากสลัม พระคริสต์นำสลัมออกจากผู้คน และจากนั้นพวกเขาพาตนเองออกจากสลัม โลกจะหล่อหลอมมนุษย์ โดยเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพวกเขา พระคริสต์ทรงเปลี่ยนมนุษย์ จากนั้นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพวกเขา โลกจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์แต่พระคริสต์ทรงเปลี่ยนธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ …
“มนุษย์ [ชายและหญิง] ที่เปลี่ยนเพราะพระคริสต์จะให้พระคริสต์เป็นแม่ทัพ พวกเขาจะถามเช่นเดียวกับเปาโลว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์ประสงค์ ให้ข้าพระองค์ทำอะไร’ (กิจการ 9:6) …
“ความประสงค์ของพวกเขาถูกกลืนเข้าไป ในพระ ประสงค์ของพระองค์ (ดู ยอห์น 5:30)
“พวกเขาทำตามชอบพระทัยพระเจ้าเสมอ (ดู ยอห์น 8:29)
“พวกเขาไม่เพียงเสียสละชีวิตเพื่อพระเจ้า แต่สำคัญกว่านั้นพวกเขาต้องการมีชีวิตเพื่อพระองค์
“เมื่อเข้าไป ในบ้านพวกเขา ภาพแขวนบนผนัง หนังสือบนหิ้ง เสียงเพลงลอยลม คำพูดและการกระทำของพวกเขาเผยให้เห็นว่าพวกเขาเป็นชาวคริสต์
“พวกเขายืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาและในทุกสิ่ง, และในทุกแห่ง (ดู โมไซยาห์ 18:9)
“พวกเขามีพระคริสต์ ในความคิด ดังที่พวกเขามองไปที่พระองค์ในความนึกคิดทุกอย่าง (ดู คพ. 6:36)
“พวกเขามีพระคริสต์ ในใจโดยมีความรักมอบไว้แด่พระองค์ตลอดกาล (ดู แอลมา 37:36)
“แทบทุกสัปดาห์พวกเขารับส่วนศีลระลึกและเป็นพยานอีกครั้งต่อพระบิดานิรันดร์ว่าพวกเขาเต็มใจรับพระนามของพระบุตรพระองค์ ไว้กับพวกเขา ระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลา และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ (ดู โมโรไน 4:3)” (“Born of God,” Ensign, Nov. 1985, 5–7)
เพื่อสรุปบทเรียนนี้ ให้ขีดเส้นใต้แนวคิดหนึ่งจากคำกล่าวของประธานเบ็นสันที่ช่วยท่านตรึกตรองว่าท่านต้องการดำเนินชีวิตอย่างไรในฐานะบุคคลหนึ่งผู้กำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจ ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยท่านประยุกต์ ใช้สิ่งที่ท่านรู้สึกขณะศึกษาคำสอนของแอล-มาเกี่ยวกับการประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจ (ท่านอาจต้องการเขียนลงในสมุดบันทึกส่วนตัวหรือในแผ่นกระดาษแยกต่างหาก) เมื่อท่านพยายามเกิดจากพระผู้เป็นเจ้าและประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจตลอดเวลา ท่านย่อมพร้อมที่จะเข้าไปในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษา แอลมา 5:1–36 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: