หน่วย 16: วัน 2
แอลมา 12
คำนำ
ถ้อยคำของอมิวเล็คใน แอลมา 11 ทำให้ซีเอสรอมรู้สึกผิดเพราะพูดเท็จและหลอกลวงผู้คน หลังจากอมิวเล็คพูดกับผู้คนของแอมันไนฮาห์แล้ว แอลมายืนอยู่ต่อหน้าพวกเขา เพราะผู้คนในแอมันไนฮาห์เป็นคนชั่วร้าย แอลมาจึงเน้นความจริงที่จะช่วยให้พวกเขากลับใจจากความแข็งกระด้างของใจและบาปของพวกเขา เขาเน้นเรื่องบ่วงแร้วของซาตาน การพิพากษาที่ตกบนคนชั่วร้าย และแผนแห่งการไถ่ที่จัดเตรียมไว้ โดยผ่านพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้คนกลับใจได้กลับไปยังที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า
แอลมา 12:1–7
แอลมาเปิดโปงเจตนาอันชั่วร้ายของซีเอสรอม
นึกดูว่าบ่วงแร้วทำงานอย่างไรเพื่อจับสัตว์: วางห่วงเชือกไว้รอบอาหารชิ้นหนึ่ง เมื่อสัตว์ลอดห่วงเชือกมาเอาอาหาร บ่วงแร้วจะรัดสัตว์ตัวนั้นให้ติดบ่วง
ทบทวนใน แอลมา 11:21–25 ว่าซีเอสรอมพยายามจับอมิวเล็คให้ติดบ่วงแร้วอย่างไร หลังจากอมิวเล็คล่วงรู้เจตนาของซีเอสรอมและตอบเขาแล้ว แอลมาก็ยืนขึ้นพูดกับซีเอสรอมและฝูงชนที่นั่น (ดู แอลมา 12:1–2) หาคำและวลีที่แอลมาใช้บรรยายยุทธวิธีของซีเอสรอมใน แอลมา 12:3–6 ซึ่งแอลมากล่าวว่ามาจากมาร (ดู แอลมา 12:5)
ตามที่กล่าวไว้ ใน แอลมา 12:3 แอลมาสามารถรู้แผนของซีเอสรอมได้อย่างไร
แอลมากล่าวว่าเจตนาของมารคืออะไรใน แอลมา 12:6
แอลมาสอนว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสามารถช่วยให้เรารู้ทันการล่อลวงของปฏิปักษ์ ในบทเรียนเกี่ยวกับ แอลมา 11 ท่านเรียนรู้ว่าหากเราวางใจพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราย่อมสามารถเอาชนะการล่อลวงได้ แง่มุมสำคัญของการเอาชนะการล่อลวงคือให้พระวิญญาณช่วยเรารู้ทันการล่อลวงและอันตรายที่การล่อลวงจะทำให้เกิดกับเราได้ จากนั้นเราสามารถเลือกอยู่อย่างบริสุทธิ์และซื่อสัตย์ โดยหลีกเลี่ยงการล่อลวง ท่านเคยมีประสบการณ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้ท่านรู้ทันและหลีกเลี่ยงการล่อลวงอย่างหนึ่งของมารหรือไม่
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านสามารถทำและจะทำอะไรเพื่อเพิ่มพูนความสามารถให้ท่านรู้ทันและตอบรับเสียงกระซิบของพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อท่านจะสามารถรู้ทันและหลีกเลี่ยง “บ่วงแร้ว” ของปฏิปักษ์
แอลมา 12:7–18
แอลมาสอนเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้ายของมนุษยชาติทั้งปวง
คิดถึงอาชีพที่ท่านสนใจจะทำ ประเมินว่าท่านต้องจ่ายค่าเรียนหรือค่าโปรแกรมการอบรมเท่าใดจึงจะได้ความรู้ที่ต้องใช้เพื่อจะประสบความสำเร็จในอาชีพนั้น
อ่านคำพูดอ้างอิงต่อไปนี้โดยมองหา “ค่าเล่าเรียน” ที่เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่าต้องจ่ายจึงจะได้รับความรู้ทางวิญญาณ “ความเข้าใจทางวิญญาณที่ข้าพเจ้ากับท่านได้รับพรให้มีและได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงในใจเรานั้นไม่สามารถมอบให้ [ผู้อื่น] ได้ เราต้องจ่ายค่าเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียรและการเรียนรู้ โดยการศึกษาและโดยศรัทธาเพื่อจะได้รับและ ‘เป็นเจ้าของ’ ความรู้นั้นด้วยตนเอง โดยวิธีนี้เท่านั้นที่สิ่งซึ่งเรารู้ ในความคิดจะสามารถสัมผัสในใจได้ด้วย” (“จงระวังตัวด้วยความเพียรทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, หน้า 54)
มองหาหลักฐานใน แอลมา 12:7–8 ที่ยืนยันว่าซีเอสรอมเริ่มเต็มใจจ่าย “ค่าเล่าเรียน” ทางวิญญาณเพื่อให้ ได้ความรู้ทางวิญญาณ ท่านเห็นอะไรที่บ่งบอกว่าซีเอสรอมได้เริ่มเปลี่ยนแปลงใจเพื่อเขาจะเรียนรู้ความจริงทางวิญญาณได้
มองหาสิ่งที่แอลมาสอนซีเอสรอมเกี่ยวกับการได้ความรู้ทางวิญญาณขณะที่ท่านอ่าน แอลมา 12:9–11 อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า “ความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าคือความจริงต่างๆ ทางวิญญาณซึ่งจะรู้ได้จากการเปิดเผยเท่านั้น … ต่อผู้ที่เชื่อฟังพระกิตติคุณ” (คู่มือพระคัมภีร์, “ความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้า,” scriptures.lds.org) ท่านอาจต้องการเขียนนิยามนี้ไว้ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ แอลมา 12:9 ใน แอลมา 12:9 แอลมาอธิบายว่าพระผู้เป็นเจ้าจะประทานพระวจนะส่วนหนึ่งให้มนุษย์ตามอะไร
ตามที่กล่าวไว้ ใน แอลมา 12:10–11 อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสภาพของใจเรากับการได้รับความจริงทางวิญญาณ
ทำใจท่าน “แข็งกระด้าง” หมายความว่าอย่างไร (ดู แอล-มา 12:10–11) ท่านคิดว่าสภาพเช่นนั้นแสดงให้เห็นในชีวิตคนบางคนอย่างไร
ข่าวสารของแอลมาถึงซีเอสรอมสอนหลักธรรมต่อไปนี้ พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงทางวิญญาณต่อเราตามความเอาใจใส่และความขยันหมั่นเพียรที่เรามีต่อพระวจนะของพระองค์
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับพระบัญญัติหรือคำแนะนำจากพระเจ้าที่ท่านขวนขวายทำตามโดยให้ “ความใส่ใจและความขยันหมั่นเพียร” พระเจ้าประทานพรท่านในวิธีใดบ้างด้วยการนำทางเพิ่มเติม ความเข้าใจ หรือเสียงกระซิบของพระวิญญาณของพระองค์เพราะท่านปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงสอนท่าน
หลังจากแอลมาอธิบายว่าเราจะรู้ความจริงทางวิญญาณได้อย่างไรแล้ว เขาก็เริ่มตอบคำถามที่ซีเอสรอมถามใน แอลมา 12:8 ว่าเราจะได้รับการพิพากษาอย่างไร มองหาสิ่งที่แอลมาสอนซีเอสรอมใน แอลมา 12:12–15 เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิตและการพิพากษา เติมคำในช่องว่างต่อไปนี้ เราจะต้องรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าสำหรับ, และ.
ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้: สิ่งนั้นจะส่งผลอะไรในการเลือกประจำวันของท่านถ้าท่านจดจำว่าท่านจะต้องรับผิดชอบคำพูด งาน และความนึกคิดของท่าน
ทำเครื่องหมายข้ออ้างโยงในเชิงอรรถ 14 ก กับข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ โมไซยาห์ 4:30 จากนั้นให้อ่านหรือท่อง โมไซยาห์ 4:30
-
อ้างสิ่งที่ท่านเขียนไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านสำหรับงานมอบหมาย 1 ในบทเรียนวันนี้—ว่าท่านจะรู้สึกไวต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์มากขึ้นได้อย่างไร เพิ่มความนึกคิดของท่านเกี่ยวกับวิธีที่ความเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของตัวท่านต่อพระผู้เป็นเจ้าจะเพิ่มความปรารถนาให้ท่านรู้ทันและหลีกเลี่ยงการล่อลวงได้อย่างไร
แอลมา 12:19–37
แอลมาอธิบายวิธีที่มนุษยชาติจะเอาชนะผลของการตกผ่านแผนแห่งการไถ่
หัวหน้าผู้ปกครองในแอมันไนฮาห์ชื่อแอนทิ โอนาห์ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นอมตะได้ โดยบอกว่าการตกทำให้สิ่งนี้เป็นไป ไม่ ได้ (ดู แอลมา 12:20–21) ค้นคว้าข้อต่างๆ จาก แอลมา 12 ดังระบุไว้ ในแผนภูมิต่อไปนี้และเขียนสิ่งที่แอลมาสอนลงในคอลัมน์ ใต้หัวข้อ
ผลของการตก (แอลมา 12:22, 24) |
สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำเพื่อให้เกิดการไถ่เรา (แอลมา 12:24–25, 28–33) |
สิ่งที่เราทำต้องทำเพื่อได้รับการไถ่ (แอลมา 12:24, 30, 34, 37) |
---|---|---|
-
เมื่อท่านเติมคำในแผนภูมิเสร็จแล้ว ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ช่วยให้เราเอาชนะผลของการตกอย่างไร
-
ตามที่กล่าวไว้ใน แอลมา 12:24 แอลมาสอนว่าอะไรคือจุดประสงค์ของชีวิตเวลานี้ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้เอาชนะผลของการตกได้
-
คำว่า “สภาพแห่งการทดลอง” ใน แอลมา 12:24 เป็นวลีที่แอลมาใช้ ในพระคัมภีร์มอร-มอนเท่านั้น (ดู แอลมา 42:4, 10, 13 ด้วย) เอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายสภาพแห่งการทดลองดังนี้ “จุดประสงค์หลักของชีวิตบนโลกนี้คือยอมให้วิญญาณของเรา ซึ่งดำรงอยู่ก่อนโลกเป็นมา ได้รวมกับร่างกายเราชั่วคราวอันเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในความเป็นมรรตัย การรวมกันของทั้งสองให้สิทธิพิเศษแก่เราได้เติบโต พัฒนา และเจริญวัยก็ต่อเมื่อวิญญาณและร่างกายของเรามารวมกันเท่านั้น เนื่องด้วยร่างกายของเรา เราจึงประสบการทดลองจำนวนหนึ่งในสภาพที่เรียกว่าสภาพแห่งการทดลองของการดำรงอยู่ของเรา นี่เป็นเวลาของการเรียนรู้และการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเรามีค่าควรรับโอกาสนิรันดร์ นี่คือส่วนทั้งหมดของแผนซึ่งพระบิดาทรงมี ให้บุตรธิดาของพระองค์” (“Proclaim My Gospel from Land to Land,” Ensign, May 1989, 14)
แอลมาเป็นพยานว่า ความเป็นมรรตัยเป็นเวลาให้เราเตรียมพบพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลีที่สอนหลักคำสอนนี้ใน แอลมา 12:24 อ่าน แอลมา 34:32 และอ้างโยงข้อนี้กับ แอลมา 12:24
-
เพื่อประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ ให้ตอบคำถามต่อไปนี้หนึ่งหรือสองข้อลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
การรู้จุดประสงค์ของความเป็นมรรตัยช่วยนำทางท่านในชีวิตท่านอย่างไร
-
ศรัทธาของท่านในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ช่วยท่านอย่างไรในการทดลองขณะเป็นมรรตัย
-
อ่าน แอลมา 12:33–35 สังเกตความแตกต่างในสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับคนกลับใจและกับคนไม่กลับใจ อาจจะช่วยให้ท่านเข้าใจข้อเหล่านี้ดีขึ้นถ้ารู้ว่าการเข้าไป ในสถานพักผ่อนของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับการรับการปลดบาปของเราและการเข้าไปสู่รัศมีภาพแห่งที่ประทับของพระเจ้าในท้ายที่สุด (ดู คพ. 84:24)
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาแอลมา 12 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: