เซมินารี
หน่วย 19: วัน 2, แอลมา 36


หน่วย 19: วัน 2

แอลมา 36

คำนำ

หลังจากแอลมากลับจากงานเผยแผ่ ในบรรดาชาวโซ-รัม เขาให้บุตรชายสามคนมาอยู่พร้อมหน้าและให้คำแนะนำแต่ละคน (ดู แอลมา 35:16) คำแนะนำที่ ให้ฮี-ลามันบันทึกไว้ ในแอลมา 36–37 คำแนะนำที่ ให้ชิบลันบันทึกไว้ ในแอลมา 38 และคำแนะนำที่ ให้ โคริแอนทอนบันทึกไว้ ใน แอลมา 39–42 แอลมาเป็นพยานต่อฮีลา-มันว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงปลดปล่อยคนที่มอบความไว้วางใจในพระองค์ เพื่ออธิบายความจริงนี้ แอลมาเล่าว่าเขาได้รับการปลดปล่อยจากความเจ็บปวดของบาปเมื่อหลายปีก่อนอย่างไร หลังจากเรียกหาพระนามของพระเยซูคริสต์ เขาเกิดจากพระผู้เป็นเจ้าและเปี่ยมด้วยปีติ จากนั้นเขาทำงานเพื่อนำผู้อื่นมาหาพระเยซูคริสต์

แอลมา 36:1–5

แอลมาสอนฮีลามันบุตรชายเกี่ยวกับเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อค้ำจุนเราในความเดือดร้อนของเรา

ไตร่ตรองว่าประจักษ์พยานหรือคำสอนที่เฉพาะเจาะจงของสมาชิกครอบครัว เพื่อน หรือผู้นำศาสนจักรเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร

อ่าน แอลมา 36:1–5 สมมติว่าท่านเป็นฮีลามันขณะฟังประจักษ์พยานของบิดา แอลมาต้องการให้ฮีลามันจดจำอะไร (ดู ข้อ 2) แอลมาต้องการให้ฮีลามันเรียนรู้อะไรจากเขา (ดู ข้อ 3)

เขียนหลักธรรมต่อไปนี้ลงในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับแอลมา 36:3: เมื่อเรามอบความไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ย่อมทรงค้ำจุนเราในความเดือดร้อนและความทุกข์ของเรา นึกถึงเวลาที่ท่านมีความเดือดร้อนในชีวิต เขียนสองสามวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยและค้ำจุนท่านในช่วงเวลานั้นลงในช่องว่างที่เตรียมไว้

แอลมา 36:6–22

แอลมาพูดถึงการกบฏของเขาและอธิบายว่าเขาได้รับการให้อภัยอย่างไร

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมา

แอลมาเล่าให้ฮีลามันบุตรชายฟังว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงปลดปล่อยเขาจากความเจ็บปวดของบาปอย่างไร อ่าน แอลมา 36:6–10 ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับแอลมาในวัยเยาว์ขณะเขาตระเวนไปกับพวกบุตรของโมไซยาห์เพื่อหมายมั่นทำลายศาสนจักร

ในพระคัมภีร์มอรมอนมีเรื่องราวสามเรื่องเกี่ยวกับเทพมาเยือนแอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์ แอลมา 36 มีเรื่องราวละเอียดที่สุดเกี่ยวกับสิ่งที่แอลมาประสบในช่วงสามวันสามคืนเมื่อเขาไม่สามารถขยับเขยื้อนหรือพูดได้ (อ่านเรื่องราวอีกสองเรื่องได้จาก โมไซยาห์ 27 และ แอลมา 38) อ่าน แอลมา 36:11–16 ทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่แอลมาใช้บรรยายความกลัวหรือความเจ็บปวดที่เขาประสบหลังจากเทพมาปรากฏ

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองช่วยให้เราเข้าใจว่า ถูกทรมาน ปวดร้าว และ ความทรมาน หมายถึงอะไร

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

ถูกทรมาน หมายถึง ‘ทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวดรุนแรง’ สมัยก่อนเครื่องทรมาน (rack) คือเครื่องมือลักษณะเป็นซี่ๆ มี ไว้รัดข้อมือและข้อเท้าของเหยื่อ อันจะทำให้เจ็บปวดทรมานมาก

“คราด (harrow) คือเหล็กเป็นซี่ๆ ที่มีฟันแหลม เมื่อลากไปบนดินมันจะทำให้ดินร่วน พระคัมภีร์พูดบ่อยๆ ว่าจิตวิญญาณและจิตใจ ‘ปวดร้าว’ (ถูกคราด) ด้วยความรู้สึกผิด” (“รอยสัมผัสของพระอาจารย์,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, 31)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านคิดว่าเหตุใดแอลมาจึงใช้คำรุนแรงเช่นนั้นเพื่อบรรยายความรู้สึกของเขา เขียนด้วยว่าคำเหล่านี้บรรยายความรู้สึกผิดและความเจ็บปวดของคนที่ทำบาปและไม่กลับใจอย่างไร

ท่านอาจต้องการเขียนความจริงต่อไปนี้ลงในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ แอลมา 36:11–16: บาปนำไปสู่ความเจ็บปวดและความเสียใจอย่างมาก

อ่าน แอลมา 36:17–18 มองหาสิ่งที่แอลมาจำได้ว่าบิดาพยากรณ์ ไว้ สังเกตสิ่งที่แอลมาทำเมื่อนึกถึงสิ่งที่บิดาสอนเขา

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้ข้อคิดต่อไปนี้เกี่ยวกับประสบการณ์ของแอล-มา “แอลมาซาบซึ้งในคำสอนของบิดา แต่สำคัญเป็นพิเศษคือคำพยากรณ์ที่เขาจำได้เป็นคำพยากรณ์เกี่ยวกับ ‘การเสด็จมาของพระเยซูคริสต์องค์หนึ่ง, พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, เพื่อทรงชดใช้บาปของโลก’ (แอลมา 36:17.) นั่นเป็นชื่อและนั่นเป็นข่าวสารที่ทุกคนต้องได้ยิน แอลมาได้ยิน และเขาร้องออกมาจากความปวดร้าวของนรกที่ลุกไหม้ตลอดเวลาและมโนธรรมที่รักษาไม่ยอมหาย ‘ข้าแต่พระเยซู, พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, ขอพระองค์ทรงเมตตาข้าพระองค์’ (แอลมา 36:18) … ไม่ว่าเราจะกล่าวคำสวดอ้อนวอนอะไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะต้องการอะไรก็ตาม ทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับคำวิงวอนนี้ ‘ข้าแต่พระเยซู, พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, ขอพระองค์ทรงเมตตาข้าพระองค์’ พระองค์ทรงพร้อมจะประทานพระเมตตานั้น พระองค์ทรงจ่ายด้วยพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อมอบพระชนม์ชีพนั้น” (However Long and Hard the Road [1985], 85)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกจงนึกถึงเวลาที่ท่านสวดอ้อนวอนเพื่อรับพรจากการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ตลอดจนพรของการให้อภัยบาป เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ต้องทูลพระเจ้าเพื่อขอพรแห่งการชดใช้ในชีวิตท่าน

  2. ไอคอนสมุดบันทึกอ่าน แอลมา 36:19–22 ทำเครื่องหมายคำและวลีที่บอกว่าแอลมาเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังจากเขาสวดอ้อนวอนขอพระเมตตา เขียนบางคำและบางวลีเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน อธิบายว่าคำและวลีเหล่านั้นสอนอะไรท่านเกี่ยวกับเดชานุภาพแห่งการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

พระเยซูพระคริสต์

เราเรียนรู้หลักธรรมจากพระคัมภีร์เหล่านี้ว่า หากเราใช้ศรัทธาในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ พระองค์จะทรงปลดปล่อยเราจากความเจ็บปวดของบาปและทำให้เราเปี่ยมปีติ ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อใช้ศรัทธามากขึ้นในพระเยซูคริสต์ ทั้งนี้เพื่อท่านจะสามารถได้รับการปลดปล่อยเช่นเดียวกับแอลมาจากความรู้สึกเจ็บปวดหรือความสำนึกผิดเพราะบาปของท่าน

อ่านสถานการณ์ต่อไปนี้ และพิจารณาว่าท่านจะตอบอย่างไร: เพื่อนคนหนึ่งที่อ่านพระคัมภีร์มอรมอนมาตลอดขอให้ท่านช่วยให้เขาเข้าใจถ้อยคำของแอลมาใน แอลมา 36:19 เพื่อนของท่านถามว่า “ถ้าฉันจำบาปของตนเองได้และยังรู้สึกเสียใจเพราะบาป หมายความว่าฉันยังไม่ ได้รับการให้อภัยอย่างนั้นหรือ”

อ่านคำอธิบายต่อไปนี้จากประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์-ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุด และขีดเส้นใต้ข้อความที่ท่านเชื่อว่าจะช่วยเพื่อนของท่าน

“ซาตานจะพยายามทำให้เราเชื่อว่าบาปของเราไม่ ได้รับการให้อภัยเพราะเราสามารถจำบาปเหล่านั้นได้ ซาตานเป็นนักพูดปด เขาพยายามบดบังวิสัยทัศน์ของเราและนำเราไปจากหนทางแห่งการกลับใจและการให้อภัย พระผู้เป็นเจ้าไม่ ได้ทรงสัญญาว่า เราจะจำบาปของเราไม่ ได้ การจำจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาดเช่นเดิมอีก แต่ถ้าเรามั่นคงและซื่อสัตย์ ความทรงจำเกี่ยวกับบาปของเราจะน้อยลงไปเรื่อยๆ สิ่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่จำเป็นของการรักษาและการทำให้บริสุทธิ์ แอลมาเป็นพยานว่าหลังจากที่เขาวิงวอนขอความเมตตาจากพระเยซู เขาจะยังคงจำบาปของเขาได้ แต่ความทรงจำเกี่ยวกับบาปของเขาจะไม่ทำให้เขาเป็นทุกข์และทรมานอีกต่อไป เพราะเขารู้ว่าเขาได้รับการให้อภัยแล้ว (ดู แอลมา 36:17–19)

“ความรับผิดชอบของเราคือหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะนำความทรงจำเกี่ยวกับบาปเดิมของเรากลับคืนมา เมื่อเรายังมี ‘ ใจที่ชอกช้ำและวิญญาณที่สำนึกผิด’ (3 นีไฟ 12:19) เราจะวางใจว่าพระผู้เป็นเจ้าจะไม่ทรง ‘จำ [บาปของเรา] อีก’ [คพ. 58:42]” (“จุดกลับที่ปลอดภัย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 126)

สำคัญเช่นกันที่จะสังเกตว่าแอลมาไม่พูดว่าเขาจำบาปไม่ ได้อีกแต่เขาจำความเจ็บปวดของบาป ไม่ ได้อีก และเขาไม่ “ปวดร้าว” ด้วยความทรงจำถึงบาปเหล่านั้น (แอล-มา 36:19) การกลับใจที่แท้จริงจะทำให้ความเจ็บปวดและความผิดบาปถูกลบล้างไป (ดู อีนัส 1:6–8)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนคำตอบที่ให้กับเพื่อนดังกล่าวข้างต้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน และใช้ข้อคิดที่ท่านได้จากคำอธิบายของประธานอุคท์ดอร์ฟ รวมไว้ในคำตอบของท่านด้วยว่าท่านคิดว่าเหตุใดจึงเป็นพรที่เรายังจำบาปของเราได้ แม้เราจะไม่ “ปวดร้าวด้วยความทรงจำถึงบาป [ของเรา] อีก” (แอลมา 36:19) หลังจากการกลับใจของเรา

แอลมา 36:23–30

แอลมาอธิบายสาเหตุที่เขาทำงานโดยไม่หยุดเพื่อนำผู้อื่นมาสู่การกลับใจ

ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อท่านแบ่งอาหารอร่อยให้เพื่อน เมื่อท่านได้รับข่าวน่าตื่นเต้น สิ่งแรกที่ท่านต้องการทำคืออะไร ท่านคิดว่าเหตุใดคนส่วนใหญ่จึงมีความปรารถนาแทบจะทันทีอยากบอกสิ่งที่พวกเขาได้ยินกับคนอื่น อ่าน แอลมา 36:23–24 และดูว่าความรู้สึกดังบรรยายไว้ในคำถามเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับประสบการณ์ของแอลมาหลังจากการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเขา แอลมาต้องการให้ผู้อื่นประสบอะไร

อ่าน แอลมา 36:25–26 ระบุว่าการพยายามสอนพระกิตติคุณของแอลมามีผลต่อเขาและคนอื่นๆ อย่างไร เติมหลักธรรมต่อไปนี้ให้ครบถ้วนโดยใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณจากข้อเหล่านี้ เมื่อเราแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น เราได้รับ.

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนข้อความที่เติมหลักธรรมครบถ้วนแล้วลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน และอธิบายว่าเหตุใดท่านจึงเชื่อว่าหลักธรรมนี้เป็นความจริง ท่านอาจต้องการรวมประสบการณ์ที่เคยมีพร้อมด้วยความรู้สึกปีติจากการแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นไว้ในคำอธิบายส่วนหนึ่งของท่านด้วย

นึกถึงคนที่ท่านรู้จัก—เพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือสมาชิกวอร์ดหรือสมาชิกสาขา—ผู้จะได้ประโยชน์จากประจักษ์พยานของท่านในพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณที่ ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์ ไตร่ตรองว่าท่านจะแบ่งปันประจักษ์พยานกับบุคคลนี้อย่างไรว่าพระเยซูคริสต์ทรงสามารถปลดปล่อยเราจากความเจ็บปวดและทำให้เราเปี่ยมด้วยปีติ ท่านอาจต้องการเขียนจดหมายหรืออีเมลถึงบุคคลนี้ หรือท่านอาจต้องการเขียนข้อความสั้นๆ เตรียมไว้สำหรับเวลาที่ท่านจะพูดกับบุคคลนั้น

เยาวชนหญิงกำลังเขียน
  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาแอลมา 36 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: