หน่วย 20: วัน 1
แอลมา 39
คำนำ
แอลมาตำหนิโคริแอนทอนบุตรชายที่ดื้อรั้นผู้ละทิ้งการปฏิบัติศาสนกิจและทำบาปร้ายแรงทางเพศ แอลมาสอนโคริแอนทอนเรื่องความร้ายแรงของการกระทำของเขาและแสดงความผิดหวังที่ โคริแอนทอนทำความผิดร้ายแรงเช่นนั้น แอลมาบัญชาโคริแอนทอนให้เลิกหลงอยู่กับ “ตัณหาราคะในสิ่งที่เห็น” และกลับใจ (แอลมา 39:9) ข่าวสารของแอลมาถึงโคริแอนทอนมีอยู่ ใน แอล-มา 39–42
แอลมา 39:1–6
แอลมาอธิบายความร้ายแรงของบาปทางเพศให้โคริแอน-ทอนบุตรชายฟัง
พิจารณาคำกล่าวต่อไปนี้: บาปบางอย่างร้ายแรงกว่าบาปอื่น
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าบาปบางอย่างร้ายแรงกว่าบาปอื่น เหตุใดจึงใช่หรือไม่ใช่
ดังที่บันทึกไว้ ใน แอลมา 39 แอลมาให้คำแนะนำแก่ โค-ริแอนทอนบุตรชายซึ่งสามารถช่วยให้ท่านเข้าใจความร้ายแรงของบาปบางอย่างได้ โคริแอนทอนติดตามแอล-มาและชิบลันพี่ชายไปทำงานเผยแผ่เพื่อสั่งสอนพระกิตติคุณแก่ชาวโซรัม ขณะอยู่ที่นั่น โคริแอนทอนทำบาปร้ายแรงทางเพศ
อ่าน แอลมา 39:1–4 และมองหาสิ่งที่ โคริแอนทอนทำผิด เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจข้อเหล่านี้ อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่าหญิงโสเภณีคือหญิงที่ทำผิดศีลธรรมหรือหญิงค้าประเวณี สำคัญที่ต้องเข้าใจว่า “พระเจ้าไม่อาจมองดูบาปด้วยระดับความยินยอมแม้เล็กน้อยที่สุด” (คพ. 1:31); บาปทางเพศร้ายแรงอย่างยิ่ง สังเกตด้วยว่าโคริแอนทอนจงใจทิ้งงานเผยแผ่เพื่อตามอิสะเบ็ลหญิงโสเภณีซึ่งนำไปสู่ความร้ายแรงของบาปนั้น
อ่าน แอลมา 39:5 ดูว่าแอลมาอธิบายความร้ายแรงของบาปทางเพศอย่างไรเมื่อเทียบกับบาปอื่น ความน่าชิงชังคือสิ่งที่เป็นบาป ชั่วร้าย หรือต่ำช้า จากข้อเหล่านี้เราเรียนรู้ว่า บาปทางเพศเป็นความน่าชิงชังในสายพระเนตรของพระเจ้า ไตร่ตรองว่าเหตุใดท่านจึงคิดว่าบาปทางเพศร้ายแรงรองจากฆาตกรรม
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำอธิบายนี้ว่าเหตุใดบาปทางเพศจึงน่าชิงชังต่อพระเจ้า “ โดยกำหนดความรุนแรงเช่นนั้นให้แก่ความปรารถนาทางกายเพื่อมอบให้คนทั่วโลก พระผู้เป็นเจ้าทรงพยายามบอกอะไรเราเกี่ยวกับความสำคัญของเรื่องนี้ในแผนของพระองค์สำหรับชายและหญิงทุกคน ข้าพเจ้ายอมรับกับท่านว่าพระองค์ทรงทำอย่างถูกต้อง—ทรงอรรถาธิบายเกี่ยวกับแผนของชีวิต เห็นได้ชัดว่าข้อกังวลใหญ่หลวงที่สุดประการหนึ่งของพระองค์เกี่ยวกับศีลธรรมคือวิธีที่คนๆ หนึ่งเข้ามาในโลกนี้และวิธีที่คนๆ หนึ่งออกจากโลกนี้ พระองค์ทรงวางข้อจำกัดเคร่งครัดมากในเรื่องเหล่านี้” (“ความบริสุทธิ์ส่วนตัว,” เลียโฮนา, ม.ค. 1999, 89)
อ่านย่อหน้าต่อไปนี้ มองหาและทำเครื่องหมายคำตอบของคำถามต่อไปนี้: อะไรคือพรบางประการของการรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ
“ความสัมพันธ์ทางร่างกายระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้เพื่อให้กำเนิดบุตรและแสดงความรักระหว่างสามีภรรยา พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้สงวนความสัมพันธ์ทางเพศไว้สำหรับการแต่งงาน
“เมื่อท่านบริสุทธิ์ทางเพศ ท่านกำลังเตรียมตัวทำและรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ ในพระวิหาร ท่านเตรียมตัวสร้างชีวิตแต่งงานที่มั่นคงและนำลูกๆ มาในโลกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนิรันดร์อันเปี่ยมด้วยความรัก ท่านป้องกันตนเองจากอันตรายทางวิญญาณและทางอารมณ์ที่เกิดจากการมีความสัมพันธ์ทางเพศนอกสมรส ท่านป้องกันตนเองจากโรคร้ายด้วย การรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศช่วยให้ท่านมั่นใจ มีความสุขอย่างแท้จริง และสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในเวลานี้และในอนาคต” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน [จุลสาร, 2011], 35)
ตอนนี้ให้อ่านย่อหน้าต่อไปนี้โดยมองหาคำตอบของคำถามที่ว่า อะไรคือมาตรฐานของพระเจ้าสำหรับการรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ
“มาตรฐานของพระเจ้าเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลง อย่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และซื่อสัตย์โดยสมบูรณ์ต่อคู่ครองของท่านหลังจากแต่งงานแล้ว อย่ายอมให้สื่อ เพื่อน หรือคนอื่นๆ ชักชวนท่านให้เชื่อว่าความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นเรื่องยอมรับได้ ไม่ใช่เช่นนั้น ในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า บาปทางเพศร้ายแรงที่สุด บาปดังกล่าวทำให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เราเพื่อการสร้างชีวิตเสื่อมลง ศาสดาพยากรณ์แอลมาสอนว่าบาปทางเพศร้ายแรงกว่าบาปอื่นยกเว้นการฆาตกรรมหรือการปฏิเสธพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ดู แอลมา 39:5)
“อย่าทำสิ่งใดอันจะนำท่านให้ล่วงละเมิดทางเพศ จงปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ พวกเขาไม่ ใช่วัตถุสิ่งของที่ท่านจะใช้สนองความปรารถนาที่เต็มไปด้วยตัณหาราคะและเห็นแก่ตัว ก่อนแต่งงาน อย่าจูบกันอย่างเร่าร้อน นอนทับร่างของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสัมผัสส่วนลับและศักดิ์สิทธิ์ของร่างกายอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งใส่เสื้อผ้าและไม่ ใส่เสื้อผ้า อย่าทำสิ่งใดเพื่อปลุกความรู้สึกทางเพศ อย่าปลุกอารมณ์เหล่านั้นในร่างกายท่าน จงเอาใจใส่การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณเพื่อท่านจะสะอาดและบริสุทธิ์ พระวิญญาณของพระเจ้าจะถอนไปจากคนที่อยู่ ในการล่วงละเมิดทางเพศ
“หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการล่อลวงเพิ่มขึ้น เช่น กิจกรรมยามดึกหรือกิจกรรมค้างคืนไกลบ้านหรือกิจกรรมที่ ไม่มีผู้ ใหญ่ดูแล อย่ามีส่วนร่วมในการสนทนาหรือสื่อใดๆ ที่ปลุกความรู้สึกทางเพศ อย่ามีส่วนร่วมในสื่อลามกทุกรูปแบบ พระวิญญาณทรงสามารถช่วยให้ท่านรู้ ได้ว่าเมื่อใดท่านอยู่ ในภาวะเสี่ยงและให้พลังท่านเพื่อนำตนเองออกจากสถานการณ์นั้น จงมีศรัทธาและเชื่อฟังคำแนะนำที่ชอบธรรมของผู้ปกครองและผู้นำของท่าน
“พฤติกรรมรักร่วมเพศและเลสเบียนเป็นบาปร้ายแรง ถ้าท่านพบว่าตนเองกำลังต่อสู้กับความรู้สึกชอบเพศเดียวกันหรือท่านกำลังถูกชักชวนให้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม จงขอคำแนะนำจากผู้ปกครองและอธิการ พวกเขาจะช่วยท่าน
“เหยื่อของการกระทำทารุณกรรมทางเพศไม่ ได้ทำบาปและไม่ต้องกลับใจ ถ้าท่านเป็นเหยื่อของการกระทำทารุณกรรม จงรู้ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์และพระผู้เป็นเจ้าทรงรักท่าน พูดคุยกับผู้ปกครองหรือผู้ ใหญ่อีกคนที่ ไว้ ใจได้ และขอคำแนะนำจากอธิการทันที พวกเขาสามารถสนับสนุนท่านทางวิญญาณและช่วยเหลือท่านได้ ในการให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือที่ท่านต้องการ ขั้นตอนการเยียวยาอาจใช้เวลา จงวางใจพระผู้ช่วยให้รอด พระองค์จะทรงเยียวยาท่านและประทานสันติสุขแก่ท่าน
“หากท่านถูกล่อลวงให้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศแบบใดก็ตาม จงขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครองและอธิการ สวดอ้อนวอนพระบิดาในสวรรค์ผู้จะทรงช่วยท่านต่อต้านการล่อลวงและเอาชนะความคิดตลอดจนความรู้สึกที่ ไม่เหมาะสม หากท่านกระทำการล่วงละเมิดทางเพศ ให้พูดคุยกับอธิการเสียแต่บัดนี้และเริ่มขั้นตอนการกลับใจเพื่อท่านจะพบสันติสุขและมีความเป็นเพื่อนโดยสมบูรณ์ของพระวิญญาณ
“ ให้คำมั่นกับตนเองว่าจะบริสุทธิ์ทางเพศ กระตุ้นผู้อื่นโดยคำพูดและการกระทำของท่านให้พวกเขาทำเช่นเดียวกัน” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน, 35–37)
ไตร่ตรองว่าท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงประสงค์ ให้ท่านมุ่งเน้นข่าวสารใดจากสิ่งที่ท่านเพิ่งอ่าน
แอลมา 39:7–19
แอลมากระตุ้นโคริแอนทอนให้กลับใจ
สมมติว่าท่านกำลังสนทนากับบิดามารดา ผู้นำเยาวชนชายหรือผู้นำเยาวชนหญิง หรืออธิการหรือประธานสาขาของท่านเกี่ยวกับความสำคัญของความบริสุทธิ์ทางเพศ พิจารณาว่าท่านจะตอบรับบิดามารดาหรือผู้นำศาสนจักรอย่างไรเมื่อพวกท่านแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความบริสุทธิ์ทางเพศ อ่าน แอลมา 39:7–8 เพื่อหาดูว่าจุดประสงค์ของแอลมาคืออะไรในการ-สอนโคริแอนทอนเกี่ยวกับความร้ายแรงของบาปของเขา ไตร่ตรองว่าการรู้ว่านั่นเป็นคำเชื้อเชิญด้วยความรักให้รักษาความบริสุทธิ์หรือกลับใจและหลีกเลี่ยงการพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้าจะส่งผลอย่างไรต่อการตอบรับคำแนะนำของบิดามารดาหรือผู้นำศาสนจักร
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองบอกว่าเหตุใดบิดามารดาอย่างแอลมาจึงเชื้อเชิญบุตรธิดาให้กลับใจ “คำเชื้อเชิญให้กลับใจเป็นการแสดงออกถึงความรัก … หากเราไม่ ได้เชื้อเชิญให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงหรือหากเราไม่ ได้เรียกร้องให้ตนเองกลับใจ เราย่อมล้มเหลวในหน้าที่หลักที่เรามีต่อกันและต่อตนเอง ในความเป็นจริงบิดามารดาที่ตามใจ เพื่อนที่ยอมผ่อนผัน ผู้นำศาสนจักรที่เกรงกลัวล้วนแต่ห่วงตนเองมากกว่าความผาสุกและความสุขสบายของผู้ที่ตนอาจช่วยได้ จริงอยู่ บางครั้งผู้คนมองว่าการเรียกให้กลับใจเป็นการไม่ผ่อนปรนหรือทำให้ขุ่นเคือง และอาจถูกแค้นเคืองได้ แต่เมื่อได้รับการนำทางจากพระวิญญาณ ความจริงแล้วนั่นคือการกระทำที่มาจากความห่วงใยอย่างแท้จริง” (“ของประทานอันสูงส่งแห่งการกลับใจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 49)
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านดังนี้ การกลับใจรวมถึง … จากนั้นขณะที่ท่านศึกษา แอลมา 39:9–14 ให้ทำรายการสิ่งที่แอลมาสอนโคริแอนทอนเกี่ยวกับการกลับใจลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านซึ่งอาจจะช่วยทำให้ข้อความนี้สมบูรณ์
ใช้คำถามและความเห็นต่อไปนี้ช่วยให้ท่านเข้าใจและประยุกต์ ใช้คำแนะนำของแอลมา พยายามระบุและเขียนความจริงอย่างน้อยหนึ่งอย่างสำหรับแต่ละข้อที่บอกไว้ด้านล่างซึ่งอาจจะช่วยทำให้ข้อความในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านสมบูรณ์ ท่านไม่จำเป็นต้องตอบคำถามในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
อ่าน แอลมา 39:9 (แอลมา 39:9 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายให้ชัดเจนเพื่อท่านจะสามารถหาเจอได้ ในอนาคต) วลี “ ไม่หลงอยู่กับตัณหาราคะในสิ่งที่เห็นอีกต่อไป” และ “ห้ามตนเองจากสิ่งเหล่านี้” เกี่ยวข้องอะไรกับการละทิ้งบาป
ในสมัยของเรา วลี “ตัณหาราคะในสิ่งที่เห็น” มีความสัมพันธ์เหนียวแน่นกับการผิดศีลธรรมและภาพหรือความบันเทิงที่ลามกทุกรูปแบบ วลี “ห้ามตนเอง” ตามที่ใช้ ใน แอลมา 39:9 หมายถึงควบคุมตนเองไม่ให้ทำบางสิ่ง วลีนี้เหมือนไม่คุ้นกับเราในปัจจุบัน แต่ ในสมัยของโจเซฟ สมิธ ความหมายบางอย่างของคำกริยา ห้าม คือ “ลบ ยกเลิก …ต่อต้าน … หยุด” (Noah Webster’s First Edition of an American Dictionary of the English Language, facsimile ed. [1967]) หากเราประยุกต์ ใช้นิยามเหล่านี้กับสิ่งที่แอลมากำลังสอนบุตรชาย เราจะสามารถเข้าใจความสำคัญของการขจัดการผิดศีลธรรมทุกด้าน (รวมไปถึงต้นเหตุของการล่อลวงให้ทำผิดศีลธรรมที่อยู่ ในความควบคุมของเรา) ออกจากชีวิตเรา เพื่อเราจะ “สืบทอดอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าเป็นมรดก” เยาวชนวิสุทธิชนยุคสุดท้ายในทุกวันนี้จะสามารถขีดเส้นให้ตนเองในเรื่องความบริสุทธิ์ทางเพศและหลีกเลี่ยงการหลงอยู่กับตัณหาราคะในสิ่งที่เห็นด้วยวิธี ใดบ้าง
อ่าน แอลมา 39:10 การแสวงหาการบำรุงเลี้ยงทางวิญญาณ—จากบิดามารดา ผู้นำศาสนจักร พี่น้อง หรือเพื่อนที่ ไว้ ใจได้ช่วยให้คนบางคนกลับใจได้อย่างไร
อ่าน แอลมา 39:11–12 และไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้
-
อะไรต้องเปลี่ยนในใจบุคคลระหว่างขั้นตอนการกลับใจทั้งนี้เพื่อเขาจะไม่ถูกมารชักนำให้ทำบาปอีก
-
การหลีกเลี่ยงการแสวงหาสิ่งไร้ประโยชน์หรือโง่เขลาจะช่วยให้คนบางคนกลับใจได้อย่างไร
อ่าน แอลมา 39:13 จำไว้ว่าแอลมาบอกโคริแอนทอนว่าเมื่อชาวโซรัมเห็นความประพฤติของโคริแอนทอนพวกเขาจะไม่เชื่อถ้อยคำของแอลมา (ดู แอลมา 39:11) อาจจะช่วยได้ถ้าเข้าใจว่าในพระคัมภีร์ วลี “หันไปหาพระเจ้า” หมายถึงการกลับใจ การกลับใจคือ “การหันใจและความประสงค์ ไปหาพระผู้เป็นเจ้า” (Bible Dictionary, “Repentance”)
-
ท่านคิดว่ากลับใจด้วยสุด “ความคิด พลัง และพละกำลัง” ของท่านหมายความว่าอย่างไร
-
เมื่อบาปของเรามีผลต่อผู้อื่น เราต้องทำอะไรอันเป็นส่วนหนึ่งของการกลับใจของเรา
-
เมื่อทำบาปร้ายแรง เหตุใดจึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอธิการหรือประธานสาขา
จากแอลมา 39:9–13 เราเรียนรู้ว่า: การกลับใจรวมถึงการยอมรับและทิ้งบาปของเรา และหันมาหาพระเจ้าด้วยสุดความนึกคิด พลัง และพละกำลังของเรา
ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ท่านทำเพื่อหันใจและความประสงค์ของท่านไปหาพระองค์อย่างเต็มที่มากขึ้น ท่านจะทำอะไรได้บ้างวันนี้เพื่อเริ่มทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านี้
หากปราศจากพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ ท่านคงจะไม่ ได้รับการให้อภัยบาปของท่าน อ่าน แอลมา 39:15–16, 19 และหาดูว่าแอลมาอธิบายความรู้อย่างไรว่าพระเยซูคริสต์จะเสด็จมารับเอาบาปของโลกไป
-
เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าเหตุใดการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์จึงเป็นข่าวดีสำหรับโคริ-แอนทอนและสำหรับท่าน
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—แอลมา 39:9
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวดังนี้เกี่ยวกับการท่องจำพระคัมภีร์
“การเรียนรู้ ไตร่ตรอง ค้นคว้า และท่องจำพระคัมภีร์เป็นเหมือนการเก็บมิตรสหาย คุณค่า และความจริงเข้าตู้เอกสารซึ่งจะเรียกใช้ ได้ทุกที่ทุกเวลาในโลกนี้
“พลังยิ่งใหญ่อาจมาจากการท่องจำพระคัมภีร์ การท่องจำพระคัมภีร์เป็นการสร้างมิตรภาพใหม่ เปรียบเสมือนการค้นพบบุคคลอีกคนหนึ่งที่สามารถช่วยเราได้ยามจำเป็น ให้การดลใจและการปลอบโยนตลอดจนเป็นบ่อเกิดของแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น” (ดู “พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 7)
-
พยายามท่องจำ แอลมา 39:9 เขียนหนึ่งหรือสองประโยคลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการท่องจำข้อนี้จะเป็นการคุ้มครองท่านในชั่วขณะของการล่อลวงได้อย่างไร
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษาแอลมา 39 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: