หน่วย 28: วัน 4
มอรมอน 7:1–8:11
คำนำ
หลังจากการสู้รบครั้งสุดท้ายระหว่างชาวนีไฟกับชาวเล-มัน มอรมอนเขียนถึงผู้สืบตระกูลในอนาคตของผู้คนในพระคัมภีร์มอรมอนเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้ว่าพวกเขาเป็นใครและพวกเขาต้องทำอะไรจึงจะได้รับการช่วยให้รอด เนื่องด้วยความรักมากมายต่อผู้สืบตระกูลในอนาคตของศัตรู มอรมอนจึงสอนความสำคัญของการทำตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เพื่อ“จะดีกับท่านในวันแห่งการพิพากษา” (มอรมอน 7:10) หลังจากมอรมอนสิ้นชีวิต โมโรไนมีชีวิตอยู่เพียงลำพังเพื่อเขียนเกี่ยวกับความพินาศของผู้คนของเขา
มอรมอน 7
ในประจักษ์พยานสุดท้ายของมอรมอน เขากระตุ้นชาวเลมันที่เหลือให้เชื่อในพระเยซูคริสต์และทำตามพระกิตติคุณของพระองค์
ใน มอรมอน 6 ท่านเรียนรู้ว่ามีชาวนีไฟ 230,000 คนล้มตายในการรบครั้งสุดท้ายกับชาวเลมัน สมมติว่าท่านรอดชีวิตจากการรบครั้งใหญ่เช่นนี้ แต่เพื่อนๆ และครอบครัวไม่รอด ท่านจะรู้สึกอย่างไรกับผู้สืบตระกูลของคนที่ฆ่าบุคคลที่ท่านรักและรบชนะประเทศของท่าน อ่าน มอรมอน 7:1–4 มองหาสิ่งที่มอรมอนเขียนถึงผู้สืบตระกูลของชาวเลมัน
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
มอรมอนต้องการให้ชาวเลมันและผู้สืบตระกูลของพวกเขารู้อะไร
-
เรื่องนี้เปรียบเทียบอย่างไรกับการคิดว่าท่านจะรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับผู้สืบตระกูลของคนที่ฆ่าเพื่อนและครอบครัวท่านในสถานการณ์สมมติ
-
ท่านเห็นคุณลักษณะใดของพระผู้ช่วยให้รอดในการตอบโต้ศัตรูของมอรมอน
-
มอรมอนเขียนถึงผู้สืบตระกูลของชาวเลมันต่อ อ่าน มอร-มอน 7:5–7 ทำเครื่องหมายความจริงอย่างน้อยสามข้อที่มอรมอนชักชวนผู้สืบตระกูลของชาวเลมันให้เชื่อเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์
-
เลือกความจริงหนึ่งข้อเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่ท่านระบุไว้ และเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการเชื่อหลักคำสอนนั้นส่งผลต่อชีวิตท่านอย่างไร
มอรมอนอาจรู้สึกว่ามีเหตุผลสมควรให้เขียนถ้อยคำประณามชาวเลมันผู้ฆ่าคนของเขามากมาย แต่เพราะเขารู้ความจริง เขาจึงเขียนเพื่อสอนคนเหล่านั้นว่าพวกเขา (และเรา) ต้องทำอะไรจึงจะไม่มีความผิดต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าที่บัลลังก์พิพากษา อ่าน มอรมอน 7:8–10 ระบุสิ่งที่มอรมอนเป็นพยานว่าบุคคลนั้นต้องทำ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านระบุในพระคัมภีร์ของท่าน
ข้อเหล่านี้สอนว่า พระเจ้าทรงเสนอความรอดให้ทุกคนและจะทรงไถ่คนที่ยอมรับหลักธรรมและศาสน-พิธีแห่งพระกิตติคุณของพระองค์ ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ในพระคัมภีร์ของท่าน สังเกตว่ามอร-มอนสอนว่าวิธีที่เราจะรู้วิธีดำเนินชีวิตตามหลักธรรมนี้คือผ่านการศึกษาพระคัมภีร์ (ดู มอรมอน 7:8) อาจเป็นประโยชน์ถ้าเข้าใจว่าวลี “บันทึกนี้” หมายถึงพระคัมภีร์มอรมอน และ “บันทึกซึ่งจะมาสู่คนต่างชาติจากชาวยิว” หมายถึงพระคัมภีร์ ไบเบิล ทำนองเดียวกัน “นี้” ใน มอรมอน 7:9 หมายถึงพระคัมภีร์มอรมอน และ “นั้น” หมายถึงพระคัมภีร์ ไบเบิล ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายความแตกต่างเหล่านี้ในพระคัมภีร์ของท่าน
ขณะที่ท่านสรุป มอรมอน 7 ให้ ใช้เวลาสักครู่ ไตร่ตรองแบบอย่างเรื่องจิตกุศลและการุณยธรรมเฉกเช่นพระคริสต์ของมอรมอนในการเขียนข่าวสารแห่งความหวังและกำลังใจถึงผู้สืบตระกูลของคนที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของเขา
-
ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านให้บันทึกความคิดของท่านเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้ ฉันจะทำตามแบบอย่างของมอรมอนและปฏิบัติต่อผู้อื่น รวมทั้งคนที่อาจจะปฏิบัติไม่ดีต่อฉัน ในระดับที่สะท้อนคุณค่านิรันดร์ของพวกเขาได้อย่างไร
มอรมอน 8:1–11
โมโรไนเขียนเกี่ยวกับมรณกรรมของบิดา ความพินาศของผู้คน และการคงอยู่แต่เพียงผู้เดียวของเขา
นึกถึงเวลาที่ท่านอยู่คนเดียว ท่านรู้สึกอย่างไรกับการอยู่คนเดียว สมมติว่าอยู่คนเดียวหลายปี
สังเกตปี ในสรุปบทหรือด้านล่างของหน้าหนังสือใน มอร-มอน 7 และ 8 ผ่านไปกี่ปีระหว่างเวลาที่มอรมอนเขียนถ้อยคำสุดท้ายในบทที่ 7 กับเวลาที่ โมโรไนเริ่มเขียนบนแผ่นจารึกในบทที่ 8
อ่าน มอรมอน 8:1–2 มองหาสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการสู้รบครั้งใหญ่ที่คาโมราห์ จากนั้นให้อ่าน มอรมอน 8:3–9 และทำเครื่องหมายวลีที่บรรยายสภาวการณ์ของโมโรไนหลังความพินาศของผู้คนของเขา ไตร่ตรองว่าท่านจะรู้สึกอย่างไรถ้าท่านอยู่ ในสภาวการณ์คล้ายกัน
นึกถึงเวลาที่ท่านรู้สึกโดดเดี่ยวในความเชื่อหรือมาตรฐานของท่าน ความตั้งใจจะทำตามพระผู้ช่วยให้รอดและรักษาพระบัญญัติ ในช่วงเวลานั้นเพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง เพราะเหตุใด
ดู มอรมอน 8:1, 3 อีกครั้งเพื่อหาสิ่งที่ โมโรไนตั้งใจทำไม่ว่าสภาวการณ์ของเขาจะเป็นอย่างไร แบบอย่างของโม-โรไนแสดงให้เห็นว่า แม้เมื่อท่านอยู่คนเดียว ท่านยังคงเลือกที่จะดำรงความซื่อสัตย์ ได้ท่านอาจต้องการเขียนความจริงนี้ลงในพระคัมภีร์ของท่าน
มีอีกหลายคนในพระคัมภีร์มอรมอนผู้ยังคงซื่อสัตย์เหมือนโมโรไนแม้อยู่คนเดียว อบินาไดยืนเป็นพยานคนเดียวต่อหน้ากษัตริย์โนอาห์และปุ โรหิตของเขา (ดู โมไซยาห์ 12–17) แอลมาเป็นปุ โรหิตคนเดียวที่เชื่อถ้อยคำของอบินาไดและพยายามปกป้องท่าน (ดู โมไซ-ยาห์ 17:1–4)
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์เล่าเรื่องต่อไปนี้เกี่ยวกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่เลือกซื่อสัตย์แม้เมื่ออยู่คนเดียว
“จงพิจารณาตัวอย่างของเยาวชนชาย [คนนี้] ตลอดหลายปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าเฝ้าดูพ่อแม่ของเขาสอนตั้งแต่เป็นทารกให้ดำเนินชีวิตตามพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว พ่อแม่ ใช้แบบอย่างและหลักคำสอนอบรมเลี้ยงดูเขากับลูกคนอื่นๆ ด้วยความจริง ท่านทั้งสองส่งเสริมการพัฒนาระเบียบวินัยและการเสียสละเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันทรงคุณค่า เยาวชนชายคนนี้เลือกใช้การว่ายน้ำปลูกฝังคุณลักษณะเหล่านี้ในอุปนิสัยของเขา การฝึกว่ายน้ำตอนเช้าตรู่ต้องมีวินัยและเสียสละ เมื่อเวลาผ่านไปเขาเป็นเลิศในกีฬาดังกล่าว
“และแล้วการท้าทายก็มาถึง—อย่างเช่น การแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศจัดวันอาทิตย์ เขาจะร่วมแข็งขันหรือไม่ เขาจะหาเหตุผลมาทำให้กฎการไม่ว่ายน้ำในวันอาทิตย์ของเขาเป็นข้อยกเว้นเพื่อช่วยให้ทีมของเขาชนะเลิศหรือไม่ ไม่เลย เขาจะไม่ยอม แม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันของเพื่อน เขาถูกตั้งฉายาต่างๆ นานา แม้ถึงกับถูกทำร้ายร่างกาย แต่เขาไม่ยอม การถูกปฏิเสธจากเพื่อน ความเหงา และแรงกดดันทำให้เขาเศร้าเสียใจและร้องไห้ แต่เขาไม่ยอม เขากำลังเรียนรู้ โดยตรงถึงสิ่งที่เราแต่ละคนต้องรู้ ความเป็นจริงของคำแนะนำที่เปาโลให้แก่ทิ โมธีว่า ‘ทุกคนที่ตั้งใจจะดำเนินชีวิตตามทางพระเจ้าในพระเยซูคริสต์จะถูกข่มเหง’ (2 ทิโมธี 3:12) ตลอดหลายปีที่ผ่านมารูปแบบการดำเนินชีวิตให้ชอบธรรมอยู่เสมอ—สืบสานขึ้นมาจากการตัดสินใจอย่างถูกต้องนับร้อยๆ ครั้งและบางครั้งต้องเผชิญกับการท้าทายอันหนักหน่วง—ได้พัฒนาคุณสมบัติของความเข้มแข็งและความสามารถ บัดนี้ ในฐานะผู้สอนศาสนา เพื่อนๆ ชื่นชมความสามารถในการทำงานของเขา ชื่นชมความรู้เรื่องความจริง การอุทิศตนเสมอต้นเสมอปลาย และความตั้งใจในการแบ่งปันพระกิตติคุณของเขา ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเพื่อนๆ ปฏิเสธบัดนี้กลายเป็นผู้นำที่เพื่อนๆ ให้ความนับถือ” (ดู “จงวางสิ่งสำคัญที่สุดไว้เป็นอันดับแรก,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, 9)
อ่าน มอรมอน 8:10–11 ระบุวิธีหนึ่งที่พระเจ้าทรงค้ำจุนโมโรไนกับมอรมอน (ก่อนเขาสิ้นชีวิต) ในช่วงสภาวการณ์ยากๆ ที่พวกเขาเผชิญ กำลังใจต่อไปนี้จากประธานโธมัส เอส. มอนสันสามารถช่วยท่านได้ ในความตั้งใจว่าจะซื่อสัตย์แม้เมื่อท่านอยู่คนเดียว
“ขณะที่เราดำเนินชีวิตในแต่ละวัน แทบหลีกเลี่ยงไม่ ได้เลยที่ศรัทธาของเราจะถูกท้าทาย บางครั้งเราอาจรู้สึกตัวว่ามี ใครต่อใครแวดล้อมเราอยู่ แต่เรายังเป็นคนกลุ่มน้อยหรือแม้เป็นคนเดียวที่ยืนยันว่าอะไรยอมรับได้และอะไรยอมรับไม่ได้ เรามีความกล้าหาญทางศีลธรรมเพื่อยืนหยัดตามความเชื่อของเราหรือไม่ แม้ต้องยืนหยัดคนเดียว …
“… ขอให้เรากล้าหาญและพร้อมจะยืนหยัดในสิ่งที่เราเชื่อ และถ้าเราต้องยืนคนเดียวในระหว่างนั้น ขอให้เรายืนอย่างกล้าหาญ ได้รับพลังจากความรู้ที่ว่าแท้จริงแล้วเราไม่มีวันโดดเดี่ยวเมื่อเรายืนกับพระบิดาในสวรรค์ของเรา” (“กล้ายืนคนเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 77, 85)
-
เขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ท่านรู้จักใครอีกบ้างที่เป็นแบบอย่างของการยืนหยัดอย่างซื่อสัตย์แม้เมื่อยืนคนเดียว
-
คำกล่าวของประธานมอนสันช่วยให้ท่านตั้งใจซื่อสัตย์ต่อไปแม้เมื่อท่านอยู่คนเดียวอย่างไร
-
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษามอรมอน 7:1–8:11 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: