เซมินารี
หน่วย 12: วัน 1, โมไซยาห์ 7–8


หน่วย 12: วัน 1

โมไซยาห์ 7–8

คำนำ

กษัตริย์เบ็นจามินมอบอาณาจักรให้โมไซยาห์

กษัตริย์โมไซยาห์เป็นบุตรชายของกษัตริย์เบ็นจามินผู้เป็นบุตรชายของโมไซยาห์ที่หนึ่งดังที่กล่าวไว้ ในพระคัมภีร์มอรมอน ประมาณ 80 ปีก่อนโมไซยาห์เป็นกษัตริย์ ชายชื่อซีนิฟฟ์นำชาวนีไฟกลุ่มหนึ่งออกจากเซราเฮ็มลากลับไปอยู่ในแผ่นดินแห่งนีไฟ (ดู ออมไน 1:27–30) โมไซยาห์ 7 อธิบายว่ากษัตริย์โมไซยาห์มอบอำนาจให้ “คนแข็งแรงและมีพละกำลัง” ชื่อแอมัน ( โมไซยาห์ 7:3) และคนกลุ่มเล็กเดินทางไปแผ่นดินแห่งนีไฟ (บางครั้งเรียกว่าแผ่นดินแห่งลีไฮ-นีไฟ) และกำหนดชะตากรรมกลุ่มของซีนิฟฟ์ แอมันค้นพบผู้สืบตระกูลผู้คนของซีนิฟฟ์ ผู้ซึ่งเวลานี้มีลิมไฮหลานชายของซีนิฟฟ์เป็นผู้นำของพวกเขา การมาถึงของแอมันนำความหวังมาให้ลิมไฮกับผู้คนของเขา ผู้ซึ่งความชั่วช้าสามานย์ทำให้พวกเขาตกอยู่ในความเป็นทาสของชาวเลมัน ก่อนหน้านี้ ขณะพยายามหาเซราเฮ็มและขอความช่วยเหลือ คนของลิมไฮกลุ่มหนึ่งพบแผ่นจารึกทองคำ 24 แผ่นพร้อมอักขระบนนั้น เมื่อลิมไฮถามแอ-มันว่าเขาแปลอักขระได้หรือไม่ แอมันอธิบายว่าผู้หยั่งรู้เช่นกษัตริย์โมไซยาห์สามารถแปลบันทึกโบราณได้

คำอธิบายพอสังเขปของโมไซยาห์ 7–24

ท่านเคยต้องการได้รับการปลดปล่อยจากความรู้สึกไม่ดี สถานการณ์ที่เจ็บปวด สภาวการณ์ท้าทายหรือบีบคั้นหรือความรู้สึกผิดจากบาปหรือไม่ ประสบการณ์ของผู้คนที่ท่านจะศึกษาใน โมไซยาห์ 7–24 สามารถสอนท่านได้เกี่ยวกับการปลดปล่อย—จะแสวงหาการปลดปล่อยที่ใด จะเชื้อเชิญการปลดปล่อยอย่างไร และแม้กระทั่งว่าจะรอคอยการปลดปล่อยอย่างไร จงมองหาวิธีที่ท่านสามารถประยุกต์ ใช้เรื่องราวของผู้คนของซีนิฟฟ์และผู้สืบตระกูลของเขา รวมถึงความปรารถนาจะได้รับการปลดปล่อยจากสิ่งที่กำลังบีบคั้นพวกเขา

ก่อนศึกษา โมไซยาห์ 7 จะเป็นประโยชน์ถ้าท่านคุ้นเคยกับการเดินทางแต่ละครั้งดังบันทึกไว้ ใน โมไซยาห์ 7–24 กิจกรรมต่อไปนี้จะให้คำอธิบายพอสังเขปเกี่ยวกับการเดินทางเหล่านี้ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 80 ปี (200 ปี ก่อนคริสตกาล ถึง 120 ปี ก่อนคริสตกาล) ข้อมูลในกรอบสี่เหลี่ยมแรเงาบนแผนภูมิอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง

การเดินทาง

ใครเดินทางไปที่ใด

1

ซีนิฟฟ์กับชาวนีไฟคนอื่นๆ เดินทางจากเซราเฮ็ม-ลาไปแผ่นดินแห่งนีไฟ ซึ่งถูกชาวเลมันยึดครอง ชาวนีไฟเหล่านี้ต่อสู้กันเองและบรรดาคนที่รอดชีวิตกลับไปเซราเฮ็มลา (ดู ออมไน 1:27–28; โมไซยาห์ 9:1–2)

2

ซีนิฟฟ์และคนอื่นๆ ออกจากเซราเฮ็มลาไปตั้งถิ่นฐานในแผ่นดินแห่งนีไฟ (ดู ออมไน 1:29–30; โมไซยาห์ 9:3–7)

หลังจากซีนิฟฟ์สิ้นชีวิต โนอาห์บุตรชายปกครองด้วยความชั่วร้าย พระเจ้าทรงส่งศาสดาพยากรณ์อบินาไดมาเตือนผู้คนให้กลับใจ แอลมาปุโรหิตคนหนึ่งของกษัตริย์โนอาห์เชื่อฟังข่าวสารของอบินาไดและสอนคนอื่นๆ (ดู โมไซยาห์ 11–18)

3

แอลมาหนีไปผืนน้ำแห่งมอรมอนและต่อมานำผู้เชื่อกลุ่มหนึ่งไปแผ่นดินแห่งฮีลัม (ดูโมไซยาห์ 18:4–5, 32–35; 23:1–5, 19–20)

ชาวเลมันโจมตีผู้คนของโนอาห์ในแผ่นดินแห่งนีไฟ ต่อมาโน-อาห์เสียชีวิต และลิมไฮบุตรชายปกครองแทน ผู้คนของลิมไฮอยู่ในความเป็นทาสของชาวเลมัน (ดู โมไซยาห์ 19–20)

4

ลิมไฮส่งชาวนีไฟกลุ่มหนึ่งไปหาเซราเฮ็มลา หลังจากหลงทางในแดนทุรกันดารคนกลุ่มนั้นค้นพบซากปรักหักพังของประชาชาติหนึ่งที่ถูกทำลายและบันทึกที่เขียนไว้บนแผ่นจารึกทองคำ 24 แผ่น (ดู โมไซยาห์ 8:7–9; 21:25–27)

5

แอมันกับคนอื่นๆ อีก 15 คนเดินทางจากเซราเฮ็ม-ลาไปหาคนที่กลับไปแผ่นดินแห่งนีไฟ (ดู โมไซ-ยาห์ 7:1–6; 21:22–24)

6

ลิมไฮกับผู้คนของเขาหนีจากชาวเลมันและแอมันกับพี่น้องของเขาพาไปเซราเฮ็มลา (ดู โมไซยาห์ 22:10–13)

หลังจากผู้คนของลิมไฮหนีไป ชาวเลมันส่งกองทัพไล่ตาม กองทัพหลงทางในแดนทุรกันดารเมื่อพวกเขาค้นพบแอลมากับผู้คนของเขาในแผ่นดินแห่งฮีลัม ชาวเลมันนำพวกเขาไปเป็นทาส ผู้คนของแอลมาสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือเพื่อให้หนีพ้น (ดู โมไซยาห์ 22–24)

7

พระเจ้าทรงปลดปล่อยแอลมากับผู้คนของเขาและทรงนำทางพวกเขาไปเซราเฮ็มลา (ดู โมไซ-ยาห์ 24:20–25)

ใส่ตัวเลขของการเดินทางแต่ละครั้งในวงกลมที่เหมาะสมบนแผนที่

แผนภาพการเดินทาง

โมไซยาห์ 7:1–8:4

แอมันพบแผ่นดินแห่งนีไฟ (ลีไฮ–นีไฟ) และกษัตริย์ลิมไฮอธิบายว่าผู้คนของเขาอยู่ในความเป็นทาสอย่างไร

ใน โมไซยาห์ 7 แอมันกับคนแข็งแรงอีก 15 คนเดินทางจากเซราเฮ็มลาไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนที่ซีนิฟฟ์พาไปแผ่นดินแห่งนีไฟเมื่อ 80 ปีก่อน (ดู โมไซยาห์ 7:2; ดูการเดินทาง 5 บนแผนที่ด้วย) เมื่อมาถึงแผ่นดินแห่งนีไฟ แอมันกับพี่น้องสามคนถูกจับเข้าเรือนจำ (ดูโม-ไซยาห์ 7:6–11) สองวันต่อมาพวกเขาถูกนำตัวออกจากเรือนจำไปให้กษัตริย์ลิมไฮผู้เป็นหลานชายของซีนิฟฟ์ซักถาม อ่าน โมไซยาห์ 7:12–15 เพื่อดูว่าแอมันอธิบายการปรากฏตัวของเขาในแผ่นดินแห่งนีไฟอย่างไรและลิมไฮตอบสนองอย่างไร

สังเกตว่าเชิงอรรถ สำหรับ โมไซยาห์ 7:14 บอกให้ท่านดู โมไซยาห์ 21:25–26 อ่านข้อเหล่านี้เพื่อเข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใดลิมไฮจึง “ยินดียิ่ง” เมื่อรู้ว่าแอมันมาจากไหน

ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ ใน โม-ไซยาห์ 21:25–26 อธิบายโดยสังเขปว่าเหตุใดลิมไฮจึงดีใจเมื่อทราบว่าแอมันมาจากเซราเฮ็มลา

กลุ่มที่ลิมไฮส่งไปขอความช่วยเหลือพบซากปรักหักพังของประชาชาติเจ-เร็ด พวกเขาเชื่อผิดๆ ว่าเป็นเซราเฮ็มลาและชาวนีไฟที่นั่นถูกทำลายแล้ว (ดูการเดินทาง 4 บนแผนที่) ท่านจะเรียนรู้เกี่ยวกับประชาชาติเจเร็ดในหนังสือของอีเธอร์

กษัตริย์ลิมไฮให้ผู้คนของเขามารวมกันเพื่อแนะนำแอมันให้รู้จัก ลิมไฮพูดกับผู้คนของเขาเกี่ยวกับการเป็นทาสชาวเลมันและแสดงความหวังว่าอีกไม่นานพระผู้เป็นเจ้าจะทรงปลดปล่อยพวกเขา (ดู โมไซยาห์ 7:17–19) อ่านโมไซยาห์ 7:20, 24–26 ทำเครื่องหมายเหตุผลที่ผู้คนของลิมไฮถูกนำมาสู่ความเป็นทาส (ศาสดาพยากรณ์ที่ โมไซยาห์ 7:26 กล่าวถึงคืออบินาได ท่านถูกผู้คนเผาจนถึงแก่ความตายในช่วงการปกครองของกษัตริย์โนอาห์ที่ชั่วร้ายก่อนแอมันมาถึงแผ่นดินนั้น)

กษัตริย์ลิมไฮกล่าว

ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายตรงประโยคที่ว่า “มีเหตุผลอยู่มากที่เราจะโศกเศร้า” ใน โมไซยาห์ 7:24 เพื่อช่วยให้ท่านจดจำว่าความชั่วช้าสามานย์หรือบาปมีผลของมัน ในกรณีนี้ หลายคนถูกสังหารขณะชาวเลมันโจมตีและผู้คนถูกนำไปสู่ความเป็นทาส โศกเศร้าหมายถึงรู้สึกเสียใจหรือเศร้าโศก ไตร่ตรองสักครู่ว่าท่านเคยโศกเศร้า “เพราะความชั่วช้าสามานย์” หรือไม่

ถึงแม้ไม่ทำบาปจะดีกว่า แต่การเรียนรู้จากความผิดพลาด หันไปขอความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้า และกลับใจทำให้ท่านใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น อ่าน โม-ไซยาห์ 7:29–32 มองหาหลักฐานเพิ่มเติมที่ยืนยันว่าลิมไฮเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความชั่วช้าสามานย์ของผู้คนกับความเสียใจที่พวกเขากำลังประสบ (“เก็บเกี่ยวแกลบ” ในข้อ 30 หมายถึงได้รับสิ่งไร้ประโยชน์; “เก็บเกี่ยวลมตะวันออก” ในข้อ 31 หมายถึงถูกทำลาย)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ผลของบาปสามารถเป็นประโยชน์ต่อชีวิตท่านในด้านใดบ้าง เราสามารถประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเราและไม่ทำบาปซ้ำได้อย่างไร

    2. เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องสำนึกและยอมรับว่าบาปของเราร้ายแรงเพียงใด เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องรู้สึกเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าเพราะบาปเหล่านั้น (ดู 2 โครินธ์ 7:10; ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าคือความตระหนักในส่วนลึกว่าการกระทำของเราสร้างความขุ่นเคืองให้พระบิดาในสวรรค์) เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องไม่ผัดผ่อนความสำนึกและรู้สึกเสียใจเพราะบาปของเรา

หลังจากลิมไฮอธิบายให้ผู้คนเข้าใจความร้ายแรงของบาปที่พวกเขาทำ เขากระตุ้นคนเหล่านั้นให้ทำบางอย่าง ทำเครื่องหมายสิ่งที่ลิมไฮกระตุ้นให้ผู้คนทำใน โมไซยาห์ 7:33

จากประสบการณ์ของผู้คนของลิมไฮ เราเรียนรู้ว่า การสำนึกผิดและรู้สึกเสียใจเพราะความชั่วช้าสามานย์ของเราสามารถนำเราให้หันไปหาพระเจ้าเพื่อขอการปลดปล่อย

สมมติว่าเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวสำนึกผิดที่เขาทำบาปและมีความปรารถนาจะกลับใจหันไปหาพระเจ้าอย่างจริงใจแต่ ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ให้ค้นคว้า โมไซ-ยาห์ 7:33 ทบทวนวลีที่สอนวิธี “หันมาสู่พระเจ้า” จริงๆ อย่างไร

  1. ไอคอนสมุดบันทึกในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวคนนี้เพื่อสอนเขาให้รู้วิธีหันไปหาพระเจ้า แบ่งปันวลีสามวลีจาก โมไซยาห์ 7:33 ที่ท่านค้นพบ และอธิบายความหมายของแต่ละวลีโดย (1) อธิบายด้วยคำพูดของท่านเองหรือ (2) ยกตัวอย่างการกระทำหรือเจตคติที่เราเห็นในชีวิตของคนที่กำลังพยายามประยุกต์ใช้วลีนั้น

พิจารณาว่าท่านมีบาปที่ ไม่ ได้กลับใจอันอาจส่งผลให้ท่านและคนที่ท่านรักเกิดความเศร้าโศกเสียใจหรือไม่ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำแนะนำต่อไปนี้เกี่ยวกับการเริ่มขั้นตอนการกลับใจ “จงศึกษาและไตร่ตรองเพื่อพิจารณาว่าพระเจ้าทรงนิยามการล่วงละเมิดของท่านร้ายแรงเพียงใด สิ่งนั้นจะเยียวยาความเสียใจและความสำนึกผิด อีกทั้งทำให้เกิดความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงอย่างจริงใจและเต็มใจยอมรับข้อเรียกร้องทั้งหมดสำหรับการให้อภัย” (“Finding Forgiveness,” Ensign, May 1995, 76)

โมไซยาห์ 8:5–21

แอมันทราบเรื่องแผ่นจารึกชาวเจเร็ด 24 แผ่นและบอกลิมไฮเกี่ยวกับผู้หยั่งรู้ที่สามารถแปลแผ่นจารึกเหล่านั้นได้

เราคงจำได้จากแผนที่การเดินทาง 4 ตอนต้นบทเรียนนี้ว่าคนที่พยายามหาทางไปเซราเฮ็มลาค้นพบซากปรักหักพังของประชาชาติหนึ่งที่ถูกทำลายไปแล้ว พวกเขาพบแผ่นจารึกทองคำ 24 แผ่นที่พวกเขานำกลับมาให้ลิมไฮ (ดู โมไซยาห์ 8:5–9) ลิมไฮถามแอมันว่าเขารู้จักคนที่สามารถแปลแผ่นจารึกได้หรือไม่ (ดู โมไซยาห์ 8:12) แอมันอธิบายว่ามีบางคนได้รับพลังความสามารถจากพระผู้เป็นเจ้าให้แปล อ่าน โมไซยาห์ 8:13 และทำเครื่องหมายคำที่แอมันเรียกคนเหล่านั้นผู้ได้รับความสามารถนี้

แอมันอธิบายว่าโมไซยาห์กษัตริย์ชาวนีไฟ ในเซราเฮ็ม-ลาเป็นผู้หยั่งรู้ ค้นคว้า โมไซยาห์ 8:16–18 และทำเครื่องหมายความสามารถที่ผู้หยั่งรู้ ได้รับนอกเหนือจากพลังความสามารถในการแปล

ข้อเหล่านี้สอนว่า พระเจ้าทรงจัดเตรียมศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ ปัจจุบันสมาชิกแต่ละท่านในฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองคือศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผย

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “บุรุษ 15 ท่านซึ่งเราสนับสนุนในฐานะศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยได้รับอำนาจจากสวรรค์ ให้เห็นในสิ่งที่บางครั้ง [คนอื่น] ไม่เห็น” (“จงระวังความชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่หลังนัยน์ตาที่แย้มยิ้ม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2005, หน้า 60)

ภายในศูนย์การประชุมใหญ่
  1. ไอคอนสมุดบันทึกตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าเหตุใดการฟังคนเหล่านั้นผู้สามารถเห็นสิ่งที่ท่านไม่เห็นจึงเป็นความฉลาด

    2. ท่านได้รับประโยชน์อย่างไรจากการฟังศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยยุคปัจจุบัน

    3. ท่านสามารถเรียนรู้ด้านใดบ้างจากศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยยุคปัจจุบัน

  2. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษา โมไซยาห์ 7–8 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: