เซมินารี
หน่วย 12: วัน 4, โมไซยาห์ 15–17


หน่วย 12: วัน 4

โมไซยาห์ 15–17

คำนำ

บันทึกเรื่องศาสดาพยากรณ์อบินาไดสั่งสอนกษัตริย์ โน-อาห์และพวกปุ โรหิตของเขาดำเนินต่อไปใน โมไซยาห์ 15–17 เขาเป็นพยานถึงบทบาทของพระเยซูคริสต์ ในฐานะพระผู้ ไถ่ แอลมาปุ โรหิตคนหนึ่งของโนอาห์เชื่ออบินาได กษัตริย์ โนอาห์ขับไล่แอลมาออกจากราชสำนักและให้เผาอบินาไดจนถึงแก่ความตาย อบินาไดซื่อตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวการณ์

โมไซยาห์ 15–16

อบินาไดสอนเกี่ยวกับบทบาทของพระเยซูคริสต์ในฐานะพระผู้ไถ่

ใช้เวลาสองสามนาทีหาและวงกลมคำว่า ทรงไถ่ และ การไถ่ ใน โมไซยาห์ 15–16 การกล่าวซ้ำคำหนึ่งในช่วงพระคัมภีร์มักส่งสัญญาณให้เห็นประเด็นสำคัญในข่าวสารของผู้เขียน ขณะที่ท่านศึกษาวันนี้ ให้ดูว่าอบินาไดสอนอะไรเกี่ยวกับการไถ่

เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจบทบาทของพระเยซูคริสต์ ในฐานะพระผู้ ไถ่ ให้พิจารณาแผนภาพต่อไปนี้

Stick Figure

สมมติว่าท่านทำผิดกฎข้อหนึ่งและถูกตัดสินให้รับโทษรุนแรงที่สุดตามกฎหมาย การลงโทษอาจได้แก่ จ่ายค่าปรับก้อนโต ติดคุก หรือแม้ต้องโทษประหาร ท่านจะรู้สึกอย่างไรกับการรับโทษดังกล่าว ท่านคิดหาวิธีที่ซื่อสัตย์และถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้พ้นโทษเหล่านี้ได้หรือไม่

เขียน ฉัน ใต้คำว่า ผู้ทำผิด และ ความยุติธรรม ใต้คำว่าการลงโทษ เราทุกคนล้วนทำผิดกฎของพระผู้เป็นเจ้าบางช่วงและต้องสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ข้อเรียกร้องของความยุติธรรมต้องการให้คนบาปแต่ละคนได้รับโทษอันเกี่ยวเนื่องกับบาป

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และขีดเส้นใต้ผลลัพธ์สองประการจากการทำผิดกฎของพระผู้เป็นเจ้า “ความยุติธรรมเรียกร้อง … ว่ากฎทุกข้อที่ถูกฝ่าฝืนต้องมีการชดใช้ เมื่อท่านเชื่อฟังกฎของพระผู้เป็นเจ้าท่านได้รับพร แต่ไม่มีเกียรติคุณที่จะสร้างสมไว้เพื่อมาชดเชยกฎที่ท่านฝ่าฝืน หากไม่แก้ไขกฎที่ถูกฝ่าฝืนสามารถทำให้ชีวิตท่านเศร้าหมองและขัดขวางท่านจากการกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า” (“การชดใช้จะเป็นหลักประกันสันติและความสุขของท่านได้,” เลียโฮนา, พ.ย. 2006, หน้า 52)

ผลจากการทำผิดกฎของพระผู้เป็นเจ้ารวมถึงความเศร้าหมองและไม่สามารถอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าได้ อ่าน โมไซ-ยาห์ 15:1, 7–9 และทำเครื่องหมายวลีที่บ่งบอกว่าการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรมอย่างไร

ใช้พจนานุกรมเพื่อหานิยามของคำต่อไปนี้

ไถ่ ( โมไซยาห์ 15:1)

การวิงวอนแทน ( โมไซยาห์ 15:8)

ระหว่าง ( โมไซยาห์ 15:9)

ท่านอาจต้องการเขียนส่วนหนึ่งของนิยามเหล่านี้ใกล้กับข้อพระคัมภีร์

บางครั้งผู้คนสับสนกับคำอธิบายของอบินาไดเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ใน โมไซยาห์ 15:2–5 ในฐานะ (1) พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา และ (2) ในฐานะพระบิดา คำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายพระลักษณะอันสูงส่งของพระเยซูคริสต์ดังนี้ “ตามที่อบินา-ไดสอน พระคริสต์ทรง “ปฏิสนธิ โดยเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า’ (โมไซยาห์ 15:3) ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีเดชานุภาพของพระบิดาอยู่ ในพระองค์ นอกจากความสัมพันธ์สายตรงกับพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระคริสต์ทรงเป็นพระบิดาด้วยซึ่งในนั้นพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างสวรรค์และแผ่นดินโลก [ดู โมไซยาห์ 15:4] ทรงเป็นพระบิดาแห่งการเกิดใหม่ทางวิญญาณและความรอดของเรา ทรงซื่อสัตย์ ในการให้เกียรติ—และด้วยเหตุนี้จึงทรงเรียกร้องเดชานุภาพแห่ง—พระประสงค์ของพระบิดาเหนือพระประสงค์ของพระองค์เอง” (Christ and the New Covenant [1997], 183–84)

ศึกษา โมไซยาห์ 15:5–7 โดยนึกถึงราคาที่พระเยซูทรงจ่ายเพื่อไถ่ท่าน หรือยืนอยู่ระหว่างท่านกับข้อเรียกร้องของความยุติธรรม เขียน พระเยซูคริสต์ บนแผนภาพข้างต้นระหว่าง ผู้ทำผิด กับ การลงโทษ

นับเป็นสำคัญที่ต้องเข้าใจว่าพระผู้ช่วยให้รอดมิได้ทรงลบข้อเรียกร้องของความยุติธรรมแต่ทรงยืนอยู่ระหว่างความยุติธรรมกับเรา ถ้าเรากลับใจ พระองค์ทรงสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรมโดยทรงรับโทษแทนเรา

  1. ไอคอนสมุดบันทึกทำกิจกรรมต่อไปนี้ในสมุดบันทึกพระคัมภีร์ของท่าน

    1. เขียน คนที่เลือกรับการไถ่ (โมไซยาห์ 15:11–12; 16:13) จากนั้นให้ค้นคว้า โมไซยาห์ 15:11–12; 16:13 โดยดูว่าใครจะได้รับการไถ่ อธิบายสิ่งที่ท่านพบ

    2. เขียน คนที่ไม่ยอมรับการไถ่ (โมไซยาห์ 15:26–27; 16:2–5, 12) จากนั้นให้ค้นคว้า โมไซยาห์ 15:26–27; 16:2–5, 12 โดยดูว่าเหตุใดบางคนจึงจะไม่ได้รับการไถ่ อธิบายสิ่งที่ท่านพบ

  2. ไอคอนสมุดบันทึกใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ในงานมอบหมายก่อนหน้านี้ตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกพระคัมภีร์ของท่าน

    1. อะไรจะกำหนดว่าใครจะได้รับการไถ่จากบาปของพวกเขา

    2. ท่านเรียนรู้อะไรจากการเปรียบเทียบ “พระประสงค์” ของพระเยซูคริสต์ใน โมไซยาห์ 15:7 กับ “ความประสงค์” ของคนทำชั่วใน โมไซยาห์ 16:12

พระเยซูคริสต์ทรงสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรมสำหรับทุกคนที่จะกลับใจ ราคาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงจ่ายเพื่อเราเป็นของประทานส่วนตัวสำหรับคนที่เลือกกลับใจและทำตามพระประสงค์ของพระบิดา อ่าน โมไซยาห์ 15:10 ขีดเส้นใต้ข้อความ “พระองค์จะทอดพระเนตรพงศ์พันธุ์ของพระองค์”

เอ็ลเดอร์เมอร์ริลล์ เจ. เบทแมน

อ่าน โมไซยาห์ 15:10–12 และคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เมอร์ริล เจ. เบทแมนสมาชิกเกียรติคุณแห่งสาวกเจ็ดสิบ

“ศาสดาพยากรณ์อบินาได … กล่าวว่า ‘เมื่อจิตวิญญาณของพระองค์เป็นเครื่องพลีบูชาทดแทนบาปแล้ว พระองค์จะทอดพระเนตรพงศ์พันธุ์ของพระองค์’ ( โมไซยาห์ 15:10) จากนั้นอบินา-ไดบอกว่าพงศ์พันธุ์ของพระผู้ช่วยให้รอดคือศาสดาพยากรณ์และคนที่ทำตามพวกท่าน ข้าพเจ้าคิดอยู่นานหลายปีว่าประสบการณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดในสวนและบนกางเขนเป็นที่ซึ่งบาปมากมายถมทับพระองค์ แต่ถ้อยคำของแอลมา อบินาได อิสยาห์ และศาสดาพยากรณ์ท่านอื่นๆ ทำให้ความเห็นของข้าพเจ้าเปลี่ยนไป พระเยซูทรงรู้สึกถึง ‘ความอ่อนแอของเรา’ (ฮีบรู 4:15) ทรง ‘[แบก] ความเจ็บไข้ของพวกเรา … หอบความเจ็บปวดของเราไป … [และ] บอบช้ำเพราะความบาปผิดของเรา’ (อิสยาห์ 53:4–5)

“การชดใช้คือประสบการณ์ส่วนพระองค์ซึ่งทำให้พระเยซูทรงทราบว่าจะทรงช่วยเราแต่ละคนอย่างไร” (แบบฉบับสำหรับทุกคน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2005, หน้า–89)

พระคริสต์ในเกทเสมนี
  1. ไอคอนสมุดบันทึกตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าการเป็นพงศ์พันธุ์ของพระเยซูคริสต์หมายความว่าอย่างไร (ดู โมไซยาห์ 15:12)

    2. ท่านกำลังทำอะไรเพื่อให้แน่ใจว่าท่านถูกนับอยู่ในบรรดาพงศ์พันธ์ของพระเยซูคริสต์

ท่านอาจต้องการทำให้ โมไซยาห์ 15:10 เป็นเรื่องใกล้ตัวโดยเขียนชื่อท่านแทนคำว่า “พงศ์พันธุ์ของพระองค์” ในส่วนของข้อที่ท่านขีดเส้นใต้ ไว้ ไตร่ตรองสักครู่ว่าการมีพระผู้ ไถ่ผู้ทอดพระเนตรและรู้จักเราเป็นส่วนตัวหมายความว่าอย่างไร

อะไรคือผลของการที่บางคนไม่ ได้รับการไถ่ ดู โมไซยาห์ 16:5 อีกครั้ง เกิดอะไรขึ้นในแผนภาพที่เขียนไว้ช่วงต้นของบทเรียนนี้ถ้าผู้ทำผิดยังขืนทำบาปและไม่ยอมกลับใจ อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–17 เพื่อค้นพบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ ไม่ยอมรับการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอดผ่านการกลับใจ

อบินาไดสอนว่าการไถ่ของพระเยซูคริสต์ ไม่เพียงครอบคลุมการช่วยชีวิตจากบาปเท่านั้นแต่จากความตายด้วย ทุกคนจะฟื้นคืนชีวิต แต่บางคนจะฟื้นคืนชีวิตก่อนคนอื่น อบินาไดใช้คำว่า “การฟื้นคืนชีวิตครั้งแรก” เพื่ออธิบายว่าคนชอบธรรมและผู้บริสุทธิ์จะฟื้นคืนชีวิตก่อนคนกบฏ (ดู โมไซยาห์ 15:21–22) คนชอบธรรมจะได้รับการไถ่จากความตายในการฟื้นคืนชีวิตครั้งแรก และคนชั่วร้ายต้องรอฟื้นคืนชีวิตจนหลังจากมิลเลเนียม (ดู คพ. 76:85, 106)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกใคร่ครวญข้อที่ท่านศึกษาใน โมไซยาห์ 15 สมมติว่าท่านมีโอกาสให้ผู้ส่งสารส่งข่าวสารจากท่านไปถึงพระผู้ช่วยให้รอด บันทึกสิ่งที่ท่านจะเขียนในข่าวสารนั้นโดยอ้างอิงกับสิ่งที่พระองค์ทรงทำเพื่อท่าน

พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการนำเรากลับไป ในที่ประทับของพระบิดาบนสวรรค์ พระองค์ทรงวิงวอนแทน เป็นสื่อกลาง และขอร้องแทนเรา พระผู้ช่วยให้รอดทรงจ่ายข้อเรียกร้องของความยุติธรรมให้เราถ้าเราจะกลับใจ

โมไซยาห์ 17

แอลมาเชื่ออบินาไดและถูกขับไล่ อบินาไดเสียชีวิต

ท่านเคยเห็นคนยืนหยัดเพื่อสิ่งถูกต้องทั้งที่เขาทำได้ยากหรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร

เมื่ออบินาไดสรุปข่าวสารของเขา ปุ โรหิตคนหนึ่งชื่อแอล-มาพยายามโน้มน้าวกษัตริย์ ให้เชื่อว่าอบินาไดพูดความจริงและควรปล่อยตัวท่าน กษัตริย์ขับไล่แอลมาออกไปและส่งคนรับใช้ ไปสังหารเขา แอลมาซ่อนตัวและเขียนถ้อยคำของอบินาได

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมามีความสำคัญ เพราะเขาบันทึกถ้อยคำของอบินาได คนหลายรุ่นและคนจำนวนมากจึงได้รับพร ผลการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อท่านศึกษาบทต่อๆ ไป กษัตริย์และพวกปุ โรหิตหารือกันเป็นเวลาสามวันก่อนตัดสินลงโทษอบินาไดให้ถึงแก่ความตาย (ดู โมไซยาห์ 17:1–6, 13)

  1. ไอคอนสมุดบันทึกโมไซยาห์ 17:7–10 และ โมไซยาห์ 17:11–12 เปรียบเทียบการเลือกของอบินาไดกับกษัตริย์โนอาห์ หลังจากศึกษาข้อเหล่านี้ ให้ตอบคำถามต่อไปนี้สั้นๆ ลงในสมุดบันทึกพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านประทับใจถ้อยคำสุดท้ายของอบินาไดถ้อยคำใดมากที่สุด

    2. ท่านคิดว่าเหตุใดถ้อยคำของอบินาไดจึงส่งผลต่อกษัตริย์โนอาห์แบบนั้น

    3. พวกปุโรหิตมีอิทธิพลแบบใดต่อกษัตริย์โนอาห์

    4. แบบอย่างของอบินาไดช่วยดลใจท่านให้ ซื่อตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวการณ์อย่างไร

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ประกาศว่า “จงเข้มแข็ง—ในการยืนหยัดเพื่อความถูกต้อง เราอยู่ ในยุคของการประนีประนอมและการคล้อยตาม ในสถานการณ์ซึ่งเราเผชิญอยู่ทุกวี่วัน เรารู้ว่าอะไรถูก แต่ภายใต้แรงกดดันจากเพื่อนวัยเดียวกันและเสียงหลอกลวงของคนที่อยากชักชวนเรา เรายอมจำนน เราประนีประนอม เราคล้อยตาม เราโอนอ่อนผ่อนตาม และเราละอายใจ … เราต้องสร้างพลังเพื่อทำตามความเชื่อมั่นของเรา” (“Building Your Tabernacle,” Ensign, Nov. 1992, 52)

เขียนว่า ฉันสามารถซื่อตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวการณ์ ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับโมไซยาห์ 17:9–12

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเพื่อให้ความกล้าหาญทางศีลธรรมและความเชื่อมั่นส่วนตัวของอบินาไดเป็นเรื่องใกล้ตัว ให้อ่านโมไซยาห์ 17:20 และเติมประโยคต่อไปนี้ให้ครบถ้วนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ฉันจำเป็นต้องซื่อตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อ …

ขณะที่ท่านสรุปบทเรียนวันนี้ ให้นึกถึงสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่อาจได้ประโยชน์จากการฟังสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกวันนี้ หากอยู่ ในวิสัยที่ทำได้ ให้แบ่งปันกับเขาถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้และความปรารถนาจะซื่อตรงต่อพระเจ้าในยามยากลำบาก

  1. ไอคอนสมุดบันทึกเขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษา โมไซยาห์ 15–17 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: