หน่วย 14: วัน 1
โมไซยาห์ 26
คำนำ
ดังบันทึกไว้ ใน โมไซยาห์ 26 ชาวนีไฟบางคนซึ่งเป็นอนุชนรุ่นหลังที่ ไม่เชื่อได้ชักจูงสมาชิกศาสนจักรด้วยคำพูดป้อยอและชักนำพวกเขาให้ทำบาป แอลมาสวดอ้อนวอนขอให้รู้วิธีตัดสินสมาชิกเหล่านี้ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าทรงเปิดเผยต่อแอล-มาว่าจะให้สมาชิกศาสนจักรรับผิดชอบบาปของพวกเขาอย่างไร พระเจ้าทรงเสนอเงื่อนไขสำหรับการกลับใจ แอลมาเรียนรู้เกี่ยวกับความเต็มพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าที่จะให้อภัยคนเหล่านั้นผู้กลับใจอย่างแท้จริง
โมไซยาห์ 26:1–6
อนุชนรุ่นหลังจำนวนมากไม่เชื่อและพวกเขาทำบาป
ใช้เวลาสักครู่ตรึกตรองคำถามต่อไปนี้: ท่านคิดว่าเหตุใดเยาวชนบางคนจึงไม่มีประจักษ์พยานหรือไม่มีประจักษ์พยานที่เข้มแข็ง ทั้งที่พวกเขาเคยฟังศาสดาพยากรณ์และได้รับการสอนจากบิดามารดามาแล้ว
โมไซยาห์ 26 ให้ข้อคิดเกี่ยวกับคำถามนี้ ศึกษาข้อพระคัมภีร์และตอบคำถามในแผนภูมิต่อไปนี้ (เขียนคำตอบลงในคู่มือของท่าน)
สิ่งที่อนุชนรุ่นหลังจำนวนมากไม่เชื่อสามสิ่งมีอะไรบ้าง | |
การอ่านพระคัมภีร์หรือฟังศาสดาพยากรณ์ด้วยเจตคติของความไม่เชื่อจะมีผลต่อเราได้อย่างไร | |
เหตุผลหลักข้อหนึ่งที่คนเหล่านี้ไม่มีศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดและไม่เข้าร่วมศาสนจักรคืออะไร | |
เขียนหลักธรรมหนึ่งข้อที่ท่านเรียนรู้จากการศึกษาข้อเหล่านี้ |
วลี “ประเพณีบรรพบุรุษของตน” ใน โมไซยาห์ 26:1 หมายถึงความจริงพระกิตติคุณที่ถ่ายทอดมาจากคนรุ่นก่อน วลีดังกล่าวบางครั้งอาจหมายถึงแนวคิดผิดๆ ด้วย (ตัวอย่างเช่น ดู แอลมา 9:16) หลักธรรมหนึ่งข้อที่สอนใน โมไซยาห์ 26:1–4 คือ: ความปรารถนาจะเชื่อและความพยายามส่วนตัวจำเป็นต่อการพัฒนาประจักษ์พยาน
อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุด และขีดเส้นใต้การกระทำที่จำเป็นต่อการได้รับและรักษาประจักษ์พยาน
“ประจักษ์พยานเรียกร้องการบำรุงเลี้ยงโดยการสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธา ความหิวโหยพระคำของพระผู้เป็นเจ้าในพระคัมภีร์ และการเชื่อฟังความจริงที่เราได้รับ มีอันตรายเมื่อเราละเลยการสวดอ้อนวอน มีอันตรายของประจักษ์พยานของเราเมื่อเราเพียงศึกษาและอ่านพระคัมภีร์แบบขอไปที สิ่งเหล่านั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อประจักษ์พยานของเรา …
“การดื่มด่ำพระคำของพระผู้เป็นเจ้า การสวดอ้อนวอนด้วยความจริงใจ และการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าต้องนำมาประยุกต์ ใช้อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเพื่อให้ประจักษ์พยานของท่านเจริญงอกงาม” (“ประจักษ์พยานที่มีชีวิต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, หน้า 162)
สังเกตว่าในสมัยของแอลมา อนุชนรุ่นหลังไม่ทำสิ่งที่ประธานอายริงก์กล่าว
-
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ในประสบการณ์ของท่าน เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องมีเจตคติของผู้เชื่อเมื่อท่านสวดอ้อนวอน อ่านพระคัมภีร์ และพยายามเชื่อฟังพระบัญญัติ
-
บรรยายประสบการณ์เมื่อการสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธา การอ่านพระคัมภีร์ หรือการเชื่อฟังพระบัญญัติเสริมสร้างประจักษ์พยานของท่าน
-
พิจารณาสักครู่ว่าท่านเคยเห็นคนไม่มีประจักษ์พยานในพระกิตติคุณมีอิทธิพลต่อสมาชิกศาสนจักรหรือไม่ อ่าน โมไซยาห์ 26:5–6 และดูว่าผู้ ไม่เชื่อมีอิทธิพลต่อคนในศาสนจักรอย่างไร
ขณะที่ท่านศึกษาต่อไป จะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ความหมายของข้อความนี้จาก โมไซยาห์ 26:6 “จึงสมควรที่คนซึ่งอยู่ ในศาสนจักรซึ่งกระทำบาป, จะถูกศาสนจักรตักเตือน [เตือนและแก้ ไข]” นี่หมายความว่าสมาชิกศาสนจักรที่กบฏจำเป็นต้องถูกตัดสินตามบาปของพวกเขาและมี โอกาสกลับใจ
โมไซยาห์ 26:7–39
แอลมาสอบถามวิธีตัดสินคนที่ทำบาป
เพื่อเตรียมศึกษาส่วนที่เหลือของ โมไซยาห์ 26 ให้สมมติว่าท่านเป็นอธิการของวอร์ดหนึ่งและมีสมาชิกบางคนทำบาปร้ายแรง ในฐานะอธิการ พระเจ้าทรงมอบหน้าที่ ให้ท่านดูแลสมาชิกที่ท่านรับผิดชอบและช่วยให้พวกเขากลับใจ พิจารณาว่าท่านจะปฏิบัติต่อสมาชิกเหล่านี้อย่างไรและท่านจะช่วยพวกเขาให้ดีที่สุดได้อย่างไร
สถานการณ์เช่นนี้ยากสำหรับแอลมา เฉกเช่นผู้นำฐานะปุ โรหิตที่ ได้รับมอบอำนาจในปัจจุบัน เขามีความรับผิดชอบในการช่วยให้สมาชิกศาสนจักรที่ทำบาปร้ายแรงกลับใจ ได้รับการให้อภัย และหวนคืนสู่ความแข็งขันและน่ายกย่องในศาสนจักร อ่าน โมไซยาห์ 26:7–14 ดูว่าแอลมามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อสถานการณ์นี้และเขาทำอะไรเพื่อให้ ได้รับคำตอบจากพระเจ้า
-
เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าเหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องรู้ว่าผู้นำฐานะปุโรหิตแสวงหาและได้รับการนำทางของพระเจ้าเมื่อช่วยคนเหล่านั้นที่ทำบาป
จำไว้ว่าแอลมาเคยเป็นปุ โรหิตของกษัตริย์ โนอาห์ที่ชั่วร้ายก่อนการเปลี่ยนใจเลื่อมใส อ่าน โมไซยาห์ 26:15–18 ระบุสิ่งที่แอลมาและผู้คนของเขาทำเพื่อกลับมาหาพระเจ้าและพระเจ้าประทานพรอะไรแก่พวกเขา
-
อ่าน โมไซยาห์ 26:29–30 จากนั้นให้ตอบคำถามต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือทั้งสองข้อ
-
อธิบายว่าท่านคิดว่าเหตุใดทุกคนจึงจำเป็นต้องเข้าใจหลักธรรมต่อไปนี้ รวมถึงคนที่อาจจะทำบาปร้ายแรง: พระเจ้าจะทรงให้อภัยคนที่กลับใจด้วยน้ำใสใจจริงแห่งใจพวกเขา
-
เขียนประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับหลักธรรมต่อไปนี้ พระเจ้าจะทรงให้อภัยคนที่กลับใจด้วยน้ำใสใจจริงแห่งใจพวกเขา
-
หลังจากแอลมาสวดอ้อนวอนขอการนำทางเกี่ยวกับวิธีช่วยสมาชิกศาสนจักรที่ทำบาปร้ายแรง พระเจ้าประทานคำแนะนำแก่เขา เขาต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกกลับใจ แต่ถ้าพวกเขาไม่กลับใจ พวกเขาจะไม่ถูกนับอยู่ ในบรรดาผู้คนของพระเจ้า คำแนะนำเหล่านี้ ให้ข้อคิดที่สำคัญเกี่ยวกับหลักธรรมแห่งการกลับใจ อ่าน โมไซยาห์ 26:21–31 โดยมองหาข้อคิดเรื่องการกลับใจ
-
เพื่อช่วยท่านวิเคราะห์สิ่งที่ท่านอ่านในข้อเหล่านี้ ให้ตอบคำถามสองข้อต่อไปนี้หรือมากกว่านั้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน
-
ท่านจะสรุปพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดใน โมไซยาห์ 26:23 ว่าอย่างไร ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องตระหนักว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงชำระค่าบาปของเราด้วยพระองค์เอง
-
วลีใดใน โมไซยาห์ 26:21–31 แสดงให้เห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื่อมั่นและไว้วางใจแอลมาผู้นำฐานะปุโรหิต การมีความช่วยเหลือของผู้นำฐานะปุโรหิตสามารถช่วยเหลือคนที่ต่อสู้กับบาปหรือการล่อลวงยากๆ ได้อย่างไร
-
ท่านคิดว่าการกลับใจ “ด้วยน้ำใสใจจริงแห่งใจ [คนๆ นั้น]” หมายความว่าอย่างไร (โมไซยาห์ 26:29)
-
ท่านคิดว่าเหตุใดเราจึงต้องให้อภัยผู้อื่นเพื่อเราจะได้รับการให้อภัยจากพระเจ้า (ดู โมไซยาห์ 26:31)
-
เขียนหลักธรรมหนึ่งข้อที่ท่านค้นพบใน โมไซยาห์ 26:21–31 ด้วยคำพูดของท่านเอง
ถึงแม้ท่านอาจจะระบุหลักธรรมต่างกัน หรือท่านอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของหลักธรรมที่สอนใน โมไซยาห์ 26:21–31:
-
อธิการและประธานสาขาเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการช่วยให้เรากลับใจและได้รับการให้อภัย
-
การสารภาพบาปของเรานำไปสู่การให้อภัย (เราต้องสารภาพบาปทั้งหมดต่อพระผู้เป็นเจ้า และควรสารภาพบาปร้ายแรงต่อผู้นำฐานะปุโรหิตผู้สามารถช่วยเรื่องขั้นตอนการกลับใจ)
-
เราต้องให้อภัยผู้อื่นจึงจะได้รับการให้อภัยจากพระเจ้า
-
เพื่อช่วยท่านวิเคราะห์หลักธรรมเหล่านี้ ให้อ่านกรณีศึกษาต่อไปนี้ เลือกกรณีศึกษาหนึ่งกรณีและเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าข้อพระคัมภีร์และหลักธรรมที่ท่านศึกษาวันนี้จะช่วยผู้คนในสถานการณ์ดังที่บรรยายไว้อย่างไร
-
เยาวชนหญิงคนหนึ่งทำบาปร้ายแรง แต่เธอกลัวไม่กล้าพูดกับอธิการ
-
เยาวชนชายคนหนึ่งปรารถนาจะกลับใจ แต่เขาไม่รู้วิธี
-
เยาวชนหญิงคนหนึ่งกลับไปทำบาปที่เคยทำ เธอกังวลว่าพระเจ้าจะไม่ทรงให้อภัยเธออีก
-
เยาวชนชายคนหนึ่งตัดสินใจกลับใจ แต่เขาไม่ยอมให้อภัยคนที่ทำให้เขาขุ่นเคือง
-
-
เลือกหลักธรรมที่ระบุไว้ในบทนี้มาหนึ่งหลักธรรมและไตร่ตรองว่าท่านจะประยุกต์ใช้กับการพยายามกลับใจของท่านได้อย่างไร เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านจะประยุกต์ใช้หลักธรรมนี้อย่างไร
อ่าน โมไซยาห์ 26:37–39 เพื่อค้นพบว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อแอลมาปฏิบัติตามคำแนะนำของพระเจ้า ประสบการณ์ของแอลมากับผู้คนของเขาสอนว่าเมื่อเรากลับใจและดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม เราสามารถมีสันติสุขและรุ่งเรืองได้เช่นกัน
-
เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า
ฉันได้ศึกษา โมไซยาห์ 26 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)
คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: