บทที่ 14
เดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า
คำนำ
พระคัมภีร์มอรมอนมีเรื่องราวมากมายของบุคคลและสังคมที่ตกเป็นทาสบางอย่าง เรื่องราวมากมายเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ปลดปล่อยที่ยิ่งใหญ่และทรงเป็นแหล่งความช่วยเหลือเมื่อดูเหมือนการหนีหรือการช่วยชีวิตเป็นสิ่งสุดวิสัย เมื่อเราเข้าใกล้พระเจ้าผ่านการกลับใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการสวดอ้อนวอน เราย่อมพร้อมทางวิญญาณมากขึ้นที่จะร้องขอและรับเดชานุภาพแห่งการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า
ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน
-
แอล. ทอม เพอร์รีย์, “พลังแห่งการปลดปล่อย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 94–97
-
ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “พระองค์ทรงรักษาผู้ที่แบกภาระหนัก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 6–9
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 87–90
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
1 นีไฟ 1:20; แอลมา 36:1–3, 27–29
พระผู้เป็นเจ้าทรงมีเดชานุภาพในการปลดปล่อย
เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาเคยประทับใจเมื่อใดกับความกล้าหาญและความเข้มแข็งของคนที่ประสบความท้าทายหรือความยุ่งยากมากมาย ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นพอสังเขป
ขอให้นักเรียนอ่าน 1 นีไฟ 1:1 ในใจโดยหาดูว่านีไฟกล่าวอะไรเกี่ยวกับความยุ่งยากที่เขาประสบในชีวิต
-
นีไฟสรุปความรู้สึกของเขาอย่างไรหลังจากประสบ “ความทุกข์หลายอย่าง”
-
ท่านคิดว่าเหตุใดคนๆ หนึ่งจึงรู้สึกได้ว่าเขา “เป็นที่โปรดปรานมากของพระเจ้า” ทั้งที่เขาประสบความท้าทายหรือความยุ่งยาก
บอกนักเรียนให้ทำการอ้างโยง 1 นีไฟ 1:1 กับ 1 นีไฟ 1:20 และมองหาเหตุผลประการหนึ่งว่าทำไมนีไฟจึงบอกว่าเขารู้สึก “เป็นที่โปรดปรานมากของพระเจ้า”
-
หลักธรรมอะไรในข้อนี้อาจช่วยให้คนๆ หนึ่งรู้สึกมีความหวังเมื่อประสบความท้าทายหรือความยุ่งยาก (นักเรียนควรค้นพบหลักธรรมต่อไปนี้: เมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เราจะได้รับพระเมตตาและการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า)
อธิบายว่าประโยค “ข้าพเจ้า, นีไฟ, จะแสดงต่อท่าน” บอกเป็นนัยว่านีไฟเจตนาจะบันทึกตัวอย่างเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 1 นีไฟ บทที่ 1–8 และ 16–18 โดยมองหาตัวอย่างจากชีวิตของนีไฟที่แสดงให้เห็นเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนยกตัวอย่างที่ค้นพบพอสังเขป ถ้านักเรียนหาตัวอย่างไม่เจอ ท่านอาจจะให้พวกเขาอ่านข้อต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้น 1 นีไฟ 3:23–31; 4:1–18; 7:16–19; 8:7–12; 16:10, 18–31, 36–39; 17:48–55; และ 18:1–3, 11–21.
อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอรืรีย์ (1922-2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“เรื่องราวมากมายในพระคัมภีร์มอรมอนเป็นเรื่องราวของการปลดปล่อย ลีไฮกับครอบครัวออกเดินทางสู่แดนทุรกันดารเป็นเรื่องราวการปลดปล่อยจากความพินาศของเยรูซาเล็ม เรื่องราวของชาวเจเร็ดเป็นเรื่องราวการปลดปล่อย เฉกเช่นเรื่องราวของชาวมิวเล็ค แอลมาผู้บุตรได้รับการปลดปล่อยจากบาป เหล่านักรบหนุ่มของฮีลามันได้รับการปลดปล่อยในการสู้รบ นีไฟและลีไฮได้รับการปลดปล่อยจากเรือนจำ ประเด็นของการปลดปล่อยชัดเจนตลอดเล่มพระคัมภีร์มอรมอน ” (“พลังแห่งการปลดปล่อย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 94)
เพื่อยกตัวอย่างการปลดปล่อยทางวิญญาณ ให้อธิบายว่าแอลมาพูดกับฮีลามันบุตรชายเรื่องการปลดปล่อยตัวท่านจากบาป ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 36:1–3 และเชิญนักเรียนอีกคนอ่านออกเสียง แอลมา 36:27–29 (สังเกตว่า แอลมา 5:1–12 มีคำแนะนำคล้ายกัน) ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาข้อคิดที่อาจจะช่วยคนที่กำลังล้มลุกคลุกคลานอยู่กับความทุกข์หรือความยุ่งยากทั้งหลาย
-
ท่านพบข้อคิดอะไรบ้างในข้อเหล่านี้ที่อาจจะช่วยผู้กำลังประสบความยุ่งยากทางกายหรือทางวิญญาณ
-
ผู้คนทุกวันนี้เผชิญกับการเป็นทาสทางวัตถุหรือทางวิญญาณแบบใด (ตัวอย่าง ได้แก่ สุขภาพไม่ดี การติดยาและสื่อลามก ความยากจน การกระทำทารุณกรรม การเหยียดผิว บาป ความไม่เชื่อ และความดื้อรั้น)
ให้ดูและอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“ท่านกำลังสู้รบกับปีศาจร้ายแห่งการเสพติด—บุหรี่หรือยาเสพติดหรือการพนัน หรือภัยพิบัติร้ายแรงร่วมสมัยของสื่อลามกอนาจารหรือไม่ ชีวิตแต่งงานของท่านมีปัญหาหรือลูกของท่านตกอยู่ในอันตรายหรือไม่ ท่านสับสนกับอัตลักษณ์ทางเพศหรือกำลังแสวงหาความภาคภูมิใจในตนเองหรือไม่ ท่าน—หรือคนที่ท่านรัก—เผชิญโรคร้ายหรือความซึมเศร้าหรือความตายหรือไม่ ไม่ว่าท่านจะต้องใช้กระบวนการอื่นใดก็ตามเพื่อแก้ไขแก้ปัญหาเหล่านี้ ก่อนอื่น จงมาสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ จงวางใจในคำสัญญาจากสวรรค์ ในเรื่องนี้ประจักษ์พยานของแอลมาคือประจักษ์พยานของข้าพเจ้า ‘พ่อรู้’ ท่านกล่าว ‘ว่าผู้ใดก็ตามที่มอบความไว้วางใจของพวกเขาในพระผู้เป็นเจ้าจะได้รับการค้ำจุนในความเดือดร้อนของพวกเขา, และความยุ่งยากของพวกเขา, และความทุกข์ของพวกเขา’ [แอลมา 36:3]” (“แตกสลาย แต่ซ่อมได้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2006, 85)
-
เอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์กล่าวว่าอะไรจะช่วยเราเริ่มแก้ไขปัญหาและความท้าทายของเรา
1 นีไฟ 6:4; โมไซยาห์ 21:2–5, 14–16; 23:23–24; 24:13–15, 21; แอลมา 34:9; ฮีลามัน 5:9
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของการปลดปล่อย
เชื้อเชิญให้นักเรียนบอกเหตุผลต่างๆ ว่าทำไมนักเขียนจึงได้รับแรงจูงใจให้เขียนหนังสือ (ตัวอย่างเช่น นักเขียนอาจต้องการเล่าเรื่อง แบ่งปันความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น หรือหารายได้) หลังจากนักเรียนสองสามคนบอกแนวคิดกับชั้นเรียนแล้ว ให้เชิญนักเรียนอ่าน 1 นีไฟ 6:4 ในใจโดยมองหาเหตุผลประการหนึ่งว่าทำไมนีไฟได้รับแรงจูงใจให้เขียน
-
ศาสดาพยากรณ์นีไฟกล่าวว่าอะไรเป็นจุดประสงค์ของเขาในการเขียนบันทึกนี้ (เขาปรารถนาจะชักชวนผู้คนให้มาหาพระผู้เป็นเจ้าและรับการช่วยให้รอด)
เป็นพยานต่อนักเรียนว่าเดชานุภาพการช่วยให้รอดของพระผู้เป็นเจ้าคือเดชานุภาพในการปลดปล่อย
คัดลอกข้อความต่อไปนี้ไว้บน กระดาน และอธิบายให้นักเรียนฟังว่าข้อความเหล่านี้พูดถึงคนที่จำเป็นต้องได้รับการปลดปล่อย
ผู้คนของลิมไฮ |
ผู้คนของแอลมา |
ทุกคน |
---|---|---|
ขอให้นักเรียนอ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านั้นในใจโดยดูว่าแต่ละข้อสอนอะไรเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของการปลดปล่อยจากความท้าทายและความยุ่งยาก
-
ท่านเรียนรู้อะไรจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของการปลดปล่อย (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เน้นหลักคำสอนต่อไปนี้ พระเยซูคริสต์ทรงมีเดชานุภาพในการปลดปล่อยเราจากสภาพที่หลงไปและตก และจากความท้าทายอื่นๆ ในความเป็นมรรตัย)
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุด และขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“ข้าพเจ้าประสงค์จะกล่าวคำพยานถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้า ณ จุดใดจุดหนึ่งในชีวิตเราทุกคนจะต้องการเดชานุภาพนั้น ทุกคนที่มีชีวิตล้วนอยู่ท่ามกลางการทดสอบ … เราทุกคนจะมีสองอย่างเหมือนกัน สองอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนสำหรับชีวิตมรรตัย
“หนึ่ง บางครั้งการทดสอบจะทำให้เราตึงเครียดจนเรารู้สึกว่าต้องการความช่วยเหลือนอกเหนือตัวเรา และสอง ในพระเมตตาและพระปรีชาญาณของพระองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้เดชานุภาพการปลดปล่อยมีผลต่อเรา (“The Power of Deliverance” [Brigham Young University devotional, Jan. 15, 2008], 1; speeches.byu.edu)
-
ท่านเคยได้รับ “ความช่วยเหลือนอกเหนือตัว [ท่าน]” เมื่อใดในช่วงที่ยากลำบาก
หากเวลาเอื้ออำนวย ท่านอาจจะกล่าวถึงเรื่องราวของผู้คนของแอลมาใน โมไซยาห์ 24:13–15 เพื่ออธิบายแนวคิดที่ว่าการปลดปล่อยของพระผู้เป็นเจ้ามิได้หมายความเสมอไปว่าพระองค์จะทรงนำเอาภาระของเราออกไป แต่พระผู้เป็นเจ้ามักจะทรงปลดปล่อยเราโดยเพิ่มความสามารถให้เราแบกภาระของเราได้ ความอดทนอดกลั้นจำเป็นต่อสถานการณ์เหล่านี้ เช่นเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังตลอดชีวิตของคนคนหนึ่ง การปลดปล่อยมาในวิธีของพระผู้เป็นเจ้าและตามเวลาของพระองค์
โมไซยาห์ 7:33; 29:20; แอลมา 58:10–11; 3 นีไฟ 4:33
การเข้าถึงเดชานุภาพการปลดปล่อย
เป็นพยานว่ามีความหวังสำหรับเราแต่ละคนเมื่อเราพบตนเองอยู่ในสภาวการณ์ที่ดูเหมือนการหนีหรือการช่วยชีวิตเป็นสิ่งสุดวิสัย เตือนนักเรียนว่าพระคัมภีร์มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเข้าถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้ช่วยให้รอด
เขียนข้ออ้างอิงต่อไปนี้ไว้บน กระดาน (ไม่ต้องเขียนข้อความในวงเล็บ ซึ่งเตรียมไว้ให้ครูใช้) เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านแต่ละข้อ โดยค้นหาการกระทำที่ช่วยให้เราเข้าถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้ช่วยให้รอด
หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันและสนทนาการกระทำที่พวกเขาค้นพบ และเขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน เน้นหลักธรรมต่อไปนี้: เมื่อเราหันมาหาพระผู้เป็นเจ้าด้วยความตั้งใจเด็ดเดี่ยวและสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ โดยมีวิญญาณของการกลับใจและความอ่อนน้อมถ่อมตน เราจะเข้าถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระองค์
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์
“พระเจ้ามักจะทรงต้องการนำเราไปถึงการปลดปล่อยผ่านการเป็นคนชอบธรรมมากขึ้นของเรา สิ่งนั้นเรียกร้องการกลับใจ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยเหตุนี้ หนทางสู่การปลดปล่อยจึงเรียกร้องความอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอเพื่อพระเจ้าจะทรงสามารถนำเราโดยพระหัตถ์ไปในที่ซึ่งพระองค์ทรงต้องการพาเราผ่านพ้นความเดือดร้อนไปสู่การชำระให้บริสุทธิ์” (“The Power of Deliverance” [Brigham Young University devotional, Jan. 15, 2008], 4; speeches.byu.edu)
-
การกลับใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการสวดอ้อนวอนช่วยให้เราเข้าถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระเจ้าอย่างไร
-
ท่านหรือคนรู้จักเคยหันมาหาพระเจ้าเพื่อรับการปลดปล่อยและได้รับเมื่อใด ประสบการณ์นี้เพิ่มความวางใจที่ท่านมีต่อพระเยซูคริสต์อย่างไร
กระตุ้นนักเรียนให้ไตร่ตรองเวลาที่พวกเขาประสบเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา กระตุ้นให้พวกเขาบันทึกประสบการณ์ไว้เตือนความจำในอนาคต ท่านอาจจะเชิญนักเรียนแบ่งปันประสบการณ์ที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นส่วนตัวมากเกินไป
สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน
-
1 นีไฟ 1:20; 6:4; โมไซยาห์ 7:33; 21:2–5, 14–16; 23:23–24; 24:13–15, 21; 29:20; แอลมา 34:9; 36:1–3, 27–29; 58:10–11; ฮีลามัน 5:9; 3 นีไฟ 4:33
-
แอล. ทอม เพอร์รีย์, “พลังแห่งการปลดปล่อย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 94–97