เซมินารีและสถาบัน
บทที่ 15: การเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า


บทที่ 15

การเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า

คำนำ

พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นข่าวสารแห่งสันติสุขสำหรับโลกที่วุ่นวาย คนที่กลายเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าสามารถแบ่งปันพระกิตติคุณและช่วยให้ผู้อื่นเปลี่ยนใจเลื่อมใส ในบทนี้ นักเรียนจะศึกษาและประยุกต์ใช้หลักธรรมจากเรื่องราวพระคัมภีร์มอรมอนเกี่ยวกับผู้สอนศาสนาที่กลายเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าและช่วยให้ผู้อื่นได้รับชีวิตนิรันดร์

ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน

  • เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “จงวางใจในพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 43–45

  • ดอน แอล. คลาร์ก, “เป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 122-124

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 นีไฟ 13:37; โมไซยาห์ 15:14–19, 26–28

พรสัญญาไว้กับคนที่แบ่งปันพระกิตติคุณ

เขียนข้อความต่อไปนี้ของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ (1805-1844) จาก คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ (2007), 330ไว้บนกระดาน:

“จากทั้งหมดที่กล่าวมา หน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดคือสั่งสอนพระกิตติคุณ” (ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ)

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านข้อความดังกล่าวในใจ แล้วถามว่า

  • เหตุใดหน้าที่สำคัญที่สุดของเราคือแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น

  • ท่านเคยได้รับพรอะไรบ้างจากการยอมรับและทำหน้าที่นี้ให้เกิดสัมฤทธิผล

อธิบายว่านีไฟเห็นการฟื้นฟูพระกิตติคุณและการออกมาของพระคัมภีร์มอรมอนล่วงหน้า (ดู 1 นีไฟ 13:34-36) นีไฟกล่าวไว้เช่นกันว่ามีพรให้คนเหล่านั้นผู้จะประกาศพระกิตติคุณและช่วยให้คนอื่นๆ มาหาพระคริสต์

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 1 นีไฟ 13:37 ในใจและกระตุ้นให้พวกเขาทำเครื่องหมายหรือใช้ปากกาเน้นข้อความตรงพรที่สัญญาไว้กับผู้พยายามแบ่งปันพระกิตติคุณในวันเวลาสุดท้าย

  • พรใดมาถึงคนที่พยายามนำไซอันออกมาและประกาศสันติ (นักเรียนควรเข้าใจหลักธรรมต่อไปนี้: เมื่อเราพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ เราได้รับพรด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และจะได้รับการช่วยให้รอดในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า)

บอกนักเรียนว่าอบินาไดอ้างอิงอิสยาห์และอธิบายความหมายของการประกาศสันติพร้อมทั้งเหตุผลที่เราควรพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ (ดู อิสยาห์ 52:7) เชิญนักเรียนสองสามคนอ่านออกเสียงจาก โมไซยาห์ 15:14-19, 26-28 ขณะชั้นเรียนมองหาสิ่งที่อบินาไดสอน

  • ประกาศสันติและความรอดหมายความว่าอย่างไร (ดู ข้อ 14)

  • เหตุใดจึงต้องประกาศความรอดแก่ทุกประชาชาติ ตระกูล ภาษา และผู้คน

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจถ้อยคำของอบินาไดมากขึ้น เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“สันติและข่าวประเสริฐ ข่าวประเสริฐและสันติ สิ่งเหล่านี้เป็นพรสูงสุดประการหนึ่งที่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์นำมาให้โลกที่วุ่นวายและคนที่เป็นทุกข์ผู้มีชีวิตอยู่ในนั้น เป็นทางออกของการดิ้นรนส่วนตัวและความผิดบาปของมนุษย์ เป็นแหล่งพลังสำหรับวันที่เหนื่อยล้าและโมงที่ท้อแท้สิ้นหวังอย่างแท้จริง … พระบุตรองค์เดียวที่ถือกำเนิดจากพระผู้เป็นเจ้าคือผู้ประทานความช่วยเหลือนี้และความหวังนี้แก่เรา …

“การค้นหาสันติเป็นการแสวงหาอันสูงสุดประการหนึ่งของจิตวิญญาณมนุษย์ … มีหลายครั้งในชีวิตเราทุกคนที่ความเศร้าโศกสุดซึ้งหรือความทุกข์ ความกลัวหรือความเหงาทำให้เราร้องขอสันติซึ่งพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้นจะนำมาให้ได้ นี่เป็นช่วงเวลาของความหิวโหยทางวิญญาณอย่างรุนแรงแม้แต่เพื่อนรักที่สุดก็ไม่สามารถมาช่วยเราได้อย่างเต็มที่” (“สิ่งที่ให้สันติแห่งอาณาจักร,” เลียโฮนา, ม.ค. 1997, 96, 97)

  • พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นข่าวสารแห่งสันติในด้านใด

เพื่อช่วยตอบคำถามนี้ ท่านอาจจะสนทนาคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานมาเรียน จี. รอมนีย์ (1897-1988) แห่งฝ่ายประธานสูงสุด

ประธานมาเรียน จี. รอมนีย์

“การทำให้เกิดสันติจำเป็นต้องขจัดอิทธิพลของซาตาน ซาตานอยู่ที่ใด สันติจะอยู่ที่นั่นไม่ได้ นอกจากนี้ การอยู่ร่วมกับเขาอย่างสันติไม่มีทางเป็นไปได้ … เขาไม่ส่งเสริมสิ่งใดนอกจากงานของเนื้อหนัง …

“ฉะนั้น เพื่อให้เกิดสันติ จึงต้องกำราบอิทธิพลของซาตานให้หมดสิ้น …

“งานของเนื้อหนังมีการประยุกต์ใช้เป็นสากลฉันใด พระกิตติคุณแห่งสันติก็ฉันนั้น ถ้าคนหนึ่งดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เขาย่อมมีสันติในตนเอง ถ้าสองคนดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ทั้งสองย่อมมีสันติในตนเองและมีสันติต่อกัน ถ้าพลเมืองดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ประเทศชาติย่อมมีสันติจากคนในชาติ เมื่อมีประเทศชาติได้รับผลของพระวิญาณมากพอที่จะควบคุมสถานการณ์โลก เมื่อนั้นความปรารถนาจะก่อสงครามคงไม่มีอีกต่อไป” (The Price of Peace, Ensign, Oct. 1983, 4, 6)

  • ท่านเคยเห็นพระกิตติคุณนำสันติมาสู่ชีวิตคนบางคนเมื่อใด

  • มีวิธีใดบ้างที่เราจะแบ่งปันพระกิตติคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขารู้จักคนที่พวกเขาสามารถช่วยให้มีสันติที่มาจากพระกิตติคุณหรือไม่ เชื้อเชิญให้พวกเขาเริ่มวางแผนแบ่งปันพระกิตติคุณกับคนนั้น และกระตุ้นให้พวกเขาคิดขณะบทเรียนดำเนินต่อไปว่าจะประยุกต์ใช้หลักธรรมที่เรียนรู้ได้อย่างไร

โมไซยาห์ 28:3; แอลมา 17:2–3, 6, 9–12, 16, 25; 18:10; 21:16; 22:1, 12–14; 26:11–12, 26–29; 31:30–34

การเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า

ผู้หญิงกำลังสีไวโอลิน
เครื่องมือช่าง
เครื่องมือแพทย์

ท่านอาจจะให้นักเรียนดูภาพทั้งหมดด้านบน (ไวโอลิน เครื่องมือช่าง เครื่องมือแพทย์) หรือภาพคล้ายกัน จากนั้นให้ถามว่า

  • สิ่งเหล่านี้ทำอะไรได้บ้างในมือคนที่ชำนาญการใช้สิ่งดังกล่าว

  • การเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าหมายความว่าอย่างไร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 17:2-3, 9-11 ขอให้นักเรียนหาดูว่าพวกบุตรของโมไซยาห์ทำอะไรเพื่อจะกลายเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า

  • เราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างของพวกบุตรของโมไซยาห์เกี่ยวกับวิธีเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน เมื่อเราสวดอ้อนวอน อดอาหาร ค้นคว้าพระคัมภีร์ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น เราสามารถเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้)

อธิบายว่าพระคัมภีร์มอรมอนมีแบบอย่างอีกมากมายของสิ่งที่แอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์ทำเพื่อจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า เขียนพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้บนกระดาน (ไม่ต้องเขียนข้อความสรุปในวงเล็บ) มอบหมายให้นักเรียนคนละหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้น ขอให้นักเรียนมองหาสิ่งที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าทำซึ่งเอื้อต่อความสำเร็จของพวกเขาในการแบ่งปันพระกิตติคุณ

โมไซยาห์ 28:3 (ปรารถนาจะประกาศความรอดเพื่อไม่ให้จิตวิญญาณใดต้องพินาศ)

แอลมา 17:6 (เต็มใจสละเกียรติยศของโลกเพื่อจะได้สั่งสอนพระกิตติคุณ)

แอลมา 17:11-12 (อดทน กล้าหาญ และเป็นแบบอย่างที่ดี)

แอลมา 17:16 (ปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นกลับใจและเรียนรู้แผนแห่งการไถ่)

แอลมา 17:25; 18:10 (ปรารถนาจะเป็นผู้รับใช้)

แอลมา 21:16; 22:1 (มีพระวิญญาณทรงนำ)

แอลมา 22:12-14 (สอนจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับพระคริสต์และแผนแห่งการไถ่)

แอลมา 26:11–12 (อ่อนน้อมถ่อมตน โดยยอมรับว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นที่มาของพละกำลังของพวกเขา)

แอลมา 26:26–29 (ไม่ยอมแพ้เมื่อพวกเขาท้อแท้) เต็มใจอดทนต่อความทุกข์เพื่ออุดมการณ์ของพระคริสต์ สอนพระกิตติคุณในสภาพแวดล้อมต่างๆ)

แอลมา 31:30-34 (สวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือในการนำผู้อื่นมาหาพระคริสต์)

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ขอให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ท่านอาจจะสรุปคำตอบของนักเรียนโดยเขียนสรุปข้อนั้นๆ ไว้บนกระดาน ท่านอาจจะกระตุ้นให้พวกเขาจดพระคัมภีร์อ้างอิงเหล่านี้และหลังชั้นเรียนให้สร้างห่วงโซ่พระคัมภีร์ชื่อว่า “องค์ประกอบสำคัญของการแบ่งปันพระกิตติคุณ”

  • ถ้าท่านมีโอกาสแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น ท่านสามารถแบ่งปันประสบการณ์หรือแสดงประจักษ์พยานได้หรือไม่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้เอื้อต่อความสำเร็จของท่านอย่างไร

  • หลักธรรมที่บันทึกไว้ในข้อเหล่านี้ประยุกต์ใช้กับการเรียกอื่นๆ หรือการเป็นมิตรสหายและเพื่อนบ้านที่ดีได้อย่างไร

  • ท่านเคยมีโอกาสช่วยให้คนอื่นๆ เป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าเมื่อใด

แอลมา 18:33–35; 23:5–6; 26:2–5, 15; 29:9–10

การช่วยให้ผู้อื่นเปลี่ยนใจเลื่อมใส

เตือนนักเรียนว่านอกจากจะสอนเราว่าเราสามารถเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระคัมภีร์มอรมอนยังสอนเกี่ยวกับผลที่เราจะมีต่อผู้อื่นขณะเป็นเครื่องมือเหล่านี้ด้วย

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 18:33–35 ขณะชั้นเรียนมองหาสิ่งที่แอมันทำสำเร็จเมื่อเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนสรุปสิ่งที่พวกเขาค้นพบเป็นหลักธรรมหนึ่งประโยค (ช่วยให้นักเรียนค้นพบดังนี้: เมื่อเราเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ย่อมประทานพลังความสามารถให้เราช่วยคนอื่นๆ ได้ความรู้เรื่องความจริง)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นผลของการช่วยให้ผู้อื่นได้ความรู้เรื่องความจริงให้ชั้นเรียนอ่าน แอลมา 23:5-6ในใจ ขอให้นักเรียนหาดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับชาวเลมันเมื่อพวกเขาได้ความรู้เรื่องความจริง

  • วลีหรือถ้อยคำใดพูดถึงผลที่เกิดกับชาวเลมันเนื่องจากการสั่งสอนพระกิตติคุณ

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรานำผู้อื่นมาสู่ความรู้เรื่องความจริง (นักเรียนควรค้นพบความจริงต่อไปนี้: เมื่อเรานำผู้อื่นมาสู่ความรู้เรื่องความจริง เท่ากับเราช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้า)

อธิบายว่าทั้งแอมันกับแอลมาแสดงประจักษ์พยานถึงความจริงเหล่านี้ ขอให้นักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก แอลมา 26:2-5, 15 และ แอลมา 29:9–10 ขณะชั้นเรียนมองหาอิทธิพลที่เราสามารถมีต่อผู้อื่นเมื่อเราแบ่งปันพระกิตติคุณขณะเป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า

  • ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับความรู้สึกที่แอมันกับแอลมาสรุป

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเคยประสบเมื่อพวกเขาแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น

กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองโอกาสที่พวกเขาช่วยให้ผู้อื่นเรียนรู้พระกิตติคุณและเปลี่ยนใจเลื่อมใส เชื้อเชิญให้พวกเขาพิจารณาวิธีนำหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติที่ได้เรียนรู้ในบทนี้มาใช้ขณะพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณทุกวัน

สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน