คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 20: องค์การศาสนาจักรและการปกครอง


บทที่ 20

องค์การศาสนาจักรและการปกครอง

เมื่ออายุ 77 ปี ประธานบริคัม ยังจัดระเบียบฐานะปุโรหิตเพื่อให้แนวทางชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับการรับใช้ด้วยอำนาจนั้นและเพื่อทำให้สิทธิชนเป็นหนึ่ง อีกทั้งเพื่อรวบรวมและ ดูแลแกะแห่งอิสราเอล (สิทธิชนยุคสุดห้าย) ผลของโครงการหลักอันสุดท้ายที่ประธาน ยังจัดขึ้นนั้นได้รับการยกย่องโดยเอ็ลเดอร์จอร์จ คิว แคนนอน ผู้ช่วยที่ปรึกษาของท่าน ท่านกล่าวว่า ประธานยัง “จัดวางฐานะปุโรหิตให้เป็นระเบียบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการจัดตั้งศาสนาจักรบนแผ่นดินโลก ท่านกำหนดหน้าที่ของอัครสาวก.. สาวก เจ็ดสิบ…มหาปุโรหิต…เอ็ลเดอรั…ฐานะปุโรหิตที่ตํ่ากว่า ด้วยความเรียบง่าย ความชัดเจน และอำนาจ —อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า —ในวิธีที่ไม่มีการใช้ภาษาผิดๆ อยู่บนบันทึก ซึ่ง ผู้ที่มีพระวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ยับเขาจะไม่มีทางเช้าใจผิด” (CHC, 5:507)

คำสอนของบริคัม ยัง

พระผู้เป็นเจ้าทรงเปีคเผยพระประสงค์ของพระองค์ โดยฝานประธานของศาสนาจักร

ในการเปิดเผยรายการคำสอนซึงเกียวข้องกับความก้าวหน้าและการเสริมสร้างอาณาจักร ของพระผู้เป็นเจ้าออกไปอีกบนแผ่นดินโลก และการเปิดเผยถึงพระดำริและพระประสงค์ ของพระองค์ พระองค์ทรงมีเพียงปากเดียวเท่านั้นซึ่งโดยปากนั้นจะทรงทำให้พระประสงค์ ของพระองค์เป็นที่รู้แก่ผู้คน เมื่อพระเจ้าทรงปรารถนาจะประทานการเปิดเผยกับผู้คนของ พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงปรารถนาจะเปิดเผยรายการคำสอนใหม่แก่พวกเขา หรือปฏิบัติ การดีสอน พระองค์จะทรงกระทำโดยผ่านชายที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้กับตำแหน่งและการ เรียกนั้น ตำแหน่งและการเรียกที่เหลือของศาสนาจักรคือช่วยและควบคุมในการเสริมสร้าง ศรัทธาในองค์พระคริสต์และทำให้สิทธิชนดีพร้อม ฯลฯ ประธาน อธิการ เอ็ลเดอร์ ปุโรหิต ผู้สอน มัคนายก และสมาชิกทุกคนยืนอยู่ในลำดับของตนและปฏิบัติหน้าที่ในการเรียกและ ตำแหน่งของฐานะปุโรหิตของตนในฐานะผู้ปฏิบัติคำแห่งชีวิตและในฐานะผู้เลี้ยงแกะที่คอย เฝัาดูหน่วยและกลุ่มฝูงแกะของพระผู้เป็นเจ้าในส่วนต่างๆ ทั่วโลก และในฐานะผู้ช่วยเสริม สร้างมือของฝ่ายประธานทั่วทั้งศาสนาจักรให้แข็งแกร่ง (DBY, 137)

การได้มาและรักษาไว้ซึ่งวิญญาณของพระกิตติคุณ การรวมอิสราเอล การไถ่ไชอินและ การช่วยให้โลกรอดจะต้องได้รับความสนใจเป็นอ้นดับแรกและสำคัญที่สุด และควรเป็นที่พึง ปรารถนามากที่สุดในใจของฝ่ายประธานสูงสุด ของเหล่าเอ็ลเดอร์แห่งอิสราเอล ของเจ้าหน้า ที่ทุกคนในศาสนาจักรและอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า (DBY, 137)

ในการพิจารณาเนื้อหาสาระทั้งหมดของคำสอน และเพื่อให้การพิจารณามีผลใช้ได้อย่าง เป็นทางการ จึงจำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุน ศรัทธาและการพิจารณาอย่างเป็นเอกฉันท์ การที่จะให้ได้รับการพิจารณาที่ชอบธรรมในเรื่องสำคัญใดก็ตามที่อยู่ต่อหน้า ในฐานะที่เป็น โควรัมฝ่ายประธานสูงสุดสามคนจะต้องมีเสียงเป็นหนึ่งเสียง อัครสาวกสิบสองจะต้องลงมติ เป็นเอกฉันท์ดังที่ท่านจะอ่านไค์จากคำสอนและพันธสัญญา เมื่อใดก็ตามที่ท่านเห็นโควรัม เหล่านี้มีมติเอกฉันท์ในข้อประกาศของพวกเขา ท่านจะยอมรับว่ามันเป็นความจริง [ดู ค.พ. 107:27] ขอให้เหล่าเอ็ลเดอร์ประชุมกัน จงชื่อสัตย์และจริง และเมื่อพวกเขาเห็นพ้องกันใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ท่านจะรู้ว่ามันเป็นความจริง (DBY, 133)

พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพทรงนำศาสนาจักรนี้ พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ท่านถูกนำไปใน ทางที่ผิดหากท่านกำลังทำหน้าที่ของท่าน ท่านจะกลับบ้านและหลับอย่างสบายราวกับลูก น้อยในอ้อมแขนของแม่โดยไม่ต้องกลัวว่าผู้นำของท่านจะนำท่านไปในทางที่ผิด เพราะหาก พวกเขาพยายามทำเช่นนั้นพระเจ้าจะทรงริบกำจัดพวกเขาออกไปจากโลกโดยเร็วผู้นำของ ท่านกำลังพยายามดำเนินชีวิตตามศาสนาจักรของพวกเขาเท่าที่สามารถจะทำได้ (DBY, 137)

อัครสาวกสิบสองถือกุญแจฐานะปุโรหิตสำหรับ การสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในโลก

กุญแจของฐานะปุโรหิตนิรันดร ซึ่งเป็นไปตามพระฐานะของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ครอบคลุมไปถึงการเรียกอัครสาวก ข้าพเจ้ากล่าวว่า ฐานะปุโรหิตทั้งหมด กุญแจทั้งหมด ของประทานทั้งหมด เอ็นดาวเมนท์ทั้งหมดและทุกสิ่งที่เตรียมไว้สำหรับการกลับเข้าไปในที่ ประทับของพระบิดาและพระบุตร ประกอบอยู่ในความเป็นอัครสาวก (MS, 15:489)

หลังจากเรากลับจากมีสชูรี โจเซฟ ยัง น้องชายของข้าพเจ้าและตัวข้าพเจ้าเองร้องเพลง หลังจากสอนในที่ประชุมแห่งหนึ่ง และเมื่อจบการประชุม บราเดอรัโจเซฟ สมิธกล่าวว่า “มาซิ ไปที่บ้านผมกัน” เราไปและร้องเพลงกับท่านเป็นเวลานาน พร้อมทั้งพูดคุยกับท่าน แล้วท่านก็พูดเรื่องอัครสาวกสิบสองแสะสาวกเจ็ดสิบ นั้นเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเคยคิดถึง เรื่องนี้ ท่านกล่าวว่า “พี่ชาย ผมจะเรียกอัครสาวกสิบสอง ผมคิดว่าเราจะประชุมกันเร็วๆ นี้พร้อมทั้งเลือกอัครสาวกสิบสอง และเราจะเลือกโควรัมสาวกเจ็ดสิบจากผู้ที่เคยไปยังไซอัน…” ในปี 1835 วันสุดท้ายของเดือนมกราคม หรือในเดือนกุมภาพันธ์…เราจัดประชุมวัน แล้ววันเล่าและบราเดอรัใจเซฟเรียกอัครสาวกสิบสอง [ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์] (DBY, 141–42)

การเรียกอัครสาวกเป็นไปเพื่อเสริมสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในทั่วโลก เฉพาะ อัครสาวกเท่านั้นที่ถือกุญแจของอำนาจนี้และไม่มีใครอื่นอีก หากอัครสาวกทำการเรียกของ เขาให้สมบูรณ์ เขาจะเป็นพระคำของพระเจ้าต่อผู้คนของเขาตลอดเวลา (DBY, 139)

พี่น้องชาย ข้าพเจ้าพยายามแสดงให้ท่านเห็นระเบียบของฐานะปุโรหิตอย่างย่อๆ ที่สุด เท่าที่จะทำได้ เมื่อชายผู้หนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสาวก ฐานะปุโรหิตของเขาก็ปราศจาก การเริ่มด้นของวันหรือการสิ้นสุดของชีวิต เช่นเดียวกับฐานะปุโรหิตแห่งเม็ลคิเชเด็ค เพราะ ข้อความดังกล่าวพูดถึงฐานะปุโรหิตของเขาไม่ใช่ตัวเขา (DBY, 141)

เป็นหน้าที่และสิทธิพิเศษของอัครสาวกสิบสองที่จะมีพระวิญญาณปริสุทธิ์เป็นเพื่อนของ เขาเสมอ และดำเนินชีวิตในวิญญาณแห่งการเปิดเผยตลอดเวลา เพื่อจะรู้หน้าที่และเข้าใจ การเรียกของเขา นั้นคือหน้าที่และสิทธิพิเศษของฝ่ายประธานสูงสุดของศาสนาจักรด้วย (DBY, 139–40)

อัครสาวกของพระเจ้าพระเยซูคริสต์มีกุญแจของฐานะปุโรหิตอันศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจ ของมันถูกผนึกไว้บนศีรษะของเขา และโดยสิ่งนี้เขาได้รับอำนาจที่จะประกาศความจริงต่อ ผู้คน และหากผู้คนยอมรับสิ่งนี้ก็จะเป็นการดีสำหรับพวกเขา หากไม่ บาปก็จะตกอยู่บน ศีรษะของพวกเขาเอง (DBY, 136)

เวลานี้ท่านจะเข้าใจได้ว่า ฐานะปุโรหิตที่ตํ่ากว่าอยู่ภายในขอบเขตอำนาจของความเป็น อัครสาวก เพราะชายที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิ์จะกระทำหรือปฎิบีติหน้าที่ในฐานะมหา ปุโรหิต ในฐานะคนหนึ่งในสภาสูง ในฐานะผู้ประสาทพรในฐานะอธิการ เอ็ลเดอร์ ปุโรหิต ผู้สอน และมัคนายก ในทุกตำแหน่งและทุกการเรียกที่มีอยู่ในศาสนาจักร ตั้งแต่ตำแหน่ง ด้นจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เมื่อหน้าที่เรียกร้อง (DBY, 140)

ท่านอ่านการเปิดเผยซึ่งบอกเป็นนัยว่าเมื่ออัครสาวกสิบสองได้รับการเรียกและการแต่งตั้ง พวกเขามีพลังและอำนาจเดียวกับฝ่ายประธานสูงสุดสามคน และเมื่ออ่านต่อไปอีกท่านจะ พบว่าจำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญและผู้ช่วยเหลือที่เกิดขึ้นจากฐานะปุโรหิตนี้ [ดู ค.พ. 107:22–26] สาวกเจ็ดสิบมีพลังและอำนาจเดียวกัน [พวกเขาไต้รับอำนาจเป็นตัวแทน โดยงานที่มอบหมายเพื่อ] การสถาปนา การเสรีมสร้าง การดูแล การแต่งตั้ง และการจัด ระเบียบอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในความสมบูรณ์พร้อมบนแผ่นดินโลก เรามีโควรัมมหา ปุโรหิตและพวกเขามีเป็นจำนวนมาก พวกเขาคือคณะระดับท้องที่-รับใช้ในเขตที่พวกเขา อาศัยอยู่แต่สาวกเจ็ดสิบเดินทางไปสอน มหาปุโรหิตจะทำเช่นนั้นด้วยเมื่อพวกเขาได้รับการ เรียก พวกเขาได้รับฐานะปุโรหิตเดียวกันกับที่สาวกเจ็ดสิบ อัครสาวกสิบสองและฝ่าย ประธานสูงสุดได้รับ คนกลุ่มนี้ได้รับการแต่งตั้งในอำนาจ พลัง และกุญแจทั้งหมดของ ฐานะปุโรหิตหรือไม่? ไม่เลย พากเขาไม่ได้รับการแต่งตั้งเช่นนั้นพากเขายังคงเป็นมหาปุโร-หิตของพระผู้เป็นเจ้า และหากพากเขาทำ [การเรียก] ของฐานะปุโรหิตให้สมบูรณ์ พากเขา จะได้รับอำนาจและพลังทั้งหมดเท่าที่มนุษย์สามารถรับได้เป็นบางครั้ง (DBY, 140)

ตำแหน่งอธิการเป็นของฐานะปุโรหิตแห่งแอรัน และมีอำนาจ ในการปฏิบัติเรืองทางโลกและทางวิญญาณ

ตำแหน่งอธิการ [ที่เป็นประธาน] เป็นของฐานะปุโรหิตแห่งแอรัน] ซึ่งตากว่า เขาเป็น เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดในฐานะปุโรหิตแห่งแอรัน และมี..การปฎิบัติศาสนกิจของเทพ หาก เขาจะมีศรัทธา และดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้รับและได้ประโยชน์จากพรที่แอรันเคยได้ (DBY, 143)

การเรียกและหน้าที่ของอธิการคืออยู่กับศาสนาจักรตลอดเวลา เขาไม่ได้รับเรียกให้เดิน ทางไปทั่วเพื่อสั่งสอน แต่อยู่ที่บ้าน เขาไม่ต้องไปทั่วทุกหัวระแหงในโลกนี้ แต่อยู่กับสิทธิชน (DBY, 144)

อธิการควรเป็นตัวอย่างที่ดีพร้อมแก่วอร์ดของเขาในทุกสิ่ง (DBY, 144)

หากอธิการปฏิบ้ติงานจนถึงขีดจำกัดแห่งการเรียกและตำแหน่งของเขา และทำให้มัน สมบูรณ์ จะไม่มีสมาชิกคนใดในวอร์ดที่ไม่ได้รับการเรียกในศาสนาจักรหรือไม่ได้ทำงานเพื่อ ประโยชน์สูงสุดของตน อธิการจะดูว่าทุกคนดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร เดินด้วยความ ถ่อมใจกับพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ในวอรัด จะไม่มีแม้แต่คนเดียวที่อธิการไม่รู้จัก เขาต้อง รู้ถึงสภาพแวดล้อม ความประพฤติ และความรู้สึกของคนเหล่านั้น [ดู 1 ทิโมธี 3:1–41 (DBY, 145)

อธิการควรแต่งตั้งผู้ที่เขามีความเชื่อมั่น ผู้ที่เขารู้ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ เพื่อให้เป็นยามบนหอ สูงและให้พากเขาค้นหาคนที่กำลังมีความทุกข์ทรมาน (DBY, 145)

ขอให้อธิการทุกคนเข้าร่วมในวอรัดของตนอย่างชื่อสัตย์ และดูว่าชายและหญิงทุกคน ทำงานการเรียกอย่างดี ชื่อสัตย์ และมีประโยชน์ เพื่อคนป่ายและคนชราจะได้รับการดูแล อย่างเหมาะสมจนไม่มีใครที่ต้องทนทุกข์ ขอให้อธิการทุกคนเป็นพ่อที่อ่อนโยนและอะลุ้ม อล่ายต่อสมาชิกในวอรัดของตน ใช้คำพูดที่ให้การปลอบโยนและให้กำลังใจที่นี่ ให้คำแนะนําและคำปรึกษาที่นั้น และกล่าวคำตีสอนอีกที่หนึ่ง หากจำเป็น โดยปราศจากการเลือก ที่รักมักที่ชัง ตัดสินบ้ญหาระหว่างชายกับชายอย่างฉลาด ดูแลเอาใจใส่และแสวงหาอย่าง ตั้งอกตั้งใจเพื่อความผาสุกของทุกคนเฝ้าดูฝูงแกะของพระผู้เป็นเจ้าด้วยตาของผู้เลี้ยงแกะที่ แท้จริง ไม่ให้สุนัขป่าและสุนัขเข้ามาในบรรดาฝูงแกะและกัดพวกมัน (DBY, 144–45)

ข้าพเจ้าพูดกับบรรดาอธิการ…นี่คือกิจธุระและการเรียกของท่าน อย่าให้มีลักที่เดียวใน ที่พักอาศัยของสิทธิชนในวอร์ดของท่าน ซึ่งท่านไม่รู้ (DBY, 146)

โดยผ่านผู้สอนประจำบ้าน อธิการควรดูว่าทุกครอบครัวในวอร์คขอนบริจาคสิ่งที่พวก เขาบริโภคในวันอดอาหารให้กับคนยากจน หากครอบครัวนั้นสามารถทำได้ (DBY, 145)

การลงโทษทางวินัยของศาสนาจักรจะช่วยผู้อื่นให้กลับมาสู่ความชอบธรรม

เราจะไม่มีวันได้รับกุญแจแห่งอำนาจเพื่อเป็นผู้ปกครองจนกว่าเราจะปกครองตังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงปกครองหากพระองค์ประทับอยู่ที่นี่ (DBY, 146)

แต่เมื่อจัดตั้งอาณาจักรสวรรค์ลี้นบนแผ่นดินโลก จะมีเจ้าหน้าที่ กฎและพิธีการทุกอย่าง ที่จำเป็นลำหรับการจัดการกับผู้ที่ไม่รักษาระเบียบวินัย หรือผู้ที่ล่วงละเมิดกฎของมันและ เพื่อปกครองผู้ที่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ลามารถดำเนินตามกฎและหลักธรรมของ พระกิตติคุณได้ เพราะในปัจจุบันพลังและอำนาจทั้งหมดดำรงอยู่ในบรรดาผ้คนเหล่านี้ (DBY, 146)

อธิการ ท่านเคยตั้งศาลหรือไม่? พี่น้องชายในวอรัดของท่านมีความรู้สึกบาดหมางกัน หรือไม่? “มี” พวกเขาควรทำอย่างไรในกรณีเช่นนั้น? พวกเขาควรทำตามกฎที่วางไว้ และ ประนิประนอมกับพื่นัองของเขาโดยทันที ข้าพเจ้าคิดว่าความยุ่งยากส่วนใหญ่ระหว่างพี่น้อง ชายเกิดลี้นจากความเข้าใจผิดมากกว่าความพยาบาทและจิตใจที่ชั่วร้าย และแทนที่จะพูด คุยกันถึงเรื่องที่เกิดลี้นด้วยวิญญาณของสิทธิชน เขากลับโต้เถียงกันจนกระทั้งสร้างความผิด จริงๆ ลี้นมา และนำบาปมาสู่ตัว พี่น้องชายหญิงของข้าพเจ้า เมื่อเราทำความดีเก้าสิบเก้า ครั้งแต่ทำความชั่วเพียงครั้งเดียว ช่างเป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกินที่เรามักจะครุ่นคิดถึงการ กระทำที่ชั่วร้ายตลอดทั้งวัน โดยไม่ได้คิดถึงการทำความดีเลย ก่อนที่เราจะตัดสินกันและกัน เราควรมองดูที่เจตนาหากสิ่งที่เขาทำเป็นความชั่วร้ายก็จงดีลอนผู้นั้นและหาทางนำเขากลับ มาลู่ความชอบธรรมอีกครั้ง (DBY, 149–50)

ข้าพเจ้าอยากเห็นสมาชิกสภาสูง อธิการ และเจ้าหน้าที่ของศาสนาจักรผู้ทำหน้าที่พีพาก ษาเปียมด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพี่อว่าเมื่อบุคคลใดมาอยู่ต่อหน้าพวกเขาเขา จะสามารถวินิจฉัยและเข้าใจผู้นั้น สามารถตัดสินเรื่องนั้นด้วยความฉับไวและเที่ยงธรรม… ข้าพเจ้าอยากให้อธิการและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ มีอำนาจและปัญญาเพียงพอจากพระผู้เป็น เจ้า เพี่อจะรู้อย่างถ่องแท้ถึงลักษณะอันแท้จริงของแต่ละเรื่องที่มาอยู่ต่อหน้าพวกเขา (DBY, 133)

พูดแบบอุปมาอุปไมย ท่านอาจตีศีรษะของเอ็ลเดอร์ผู้หนึ่งด้วยไม้กระบอง แต่เขารู้สึก เพียงว่าท่านยื่นหลอดให้เขาดูดนํ้าหวาน มีบางคนที่ใจของเขาชอกชํ้า หากท่านจะกล่าวคำ พูดกับเขา หรือตีสอนเขาด้วยความนุ่มนวล เขามีความรู้สึกอ่อนโยนเหมือนกับทารกและจะ ถูกหลอมละลายเหมือนกับขี้ผึ้งที่อยู่หน้าเปลวไฟ ท่านต้องไม่ตีสอนคนเช่นนี้รุนแรงท่านต้อง ตีสอนตามวิญญาณที่มีอยู่ในบุคคลนั้น ท่านอาจพูดคุยกับบางคนตลอดทั้งวัน แต่เขาไม่รู้ว่า ท่านกำลังพูดถึงอะไร มีคนหลายแบบหลายจำพวกเหลือเกิน จงปฎิบ้ติต่อผู้คนดังที่พวกเขา เป็น (DBY, 150)

เมื่อท่านถูกผู้อื่นตำหนิ—เมื่อพี่น้องชายมาพบท่านและพูดว่า “นั้นเป็นความผิดของคุณ” ท่านควรรับฟังด้วยยินดี และแสดงความขอบคุณสำหรับข้อตำหนินั้น ยอมรับความผิดนั้น อย่างตรงไปตรงมาและยอมรับว่าท่านทำผิดบ่อยๆ เมื่อท่านไม่รู้ และพูดว่า “ผมอยากให้ คุณนำความเข้าใจมาสู่ความคิดของผม จับมือผมและขอให้เราเดินไปด้วยกัน เพิ่มพลังและ คํ้าจุนซึ่งกันและกัน” ท่านมีความอ่อนแอหรือไม่? มี ท่านคิดว่าจะเห็นสิ่งที่ดีพร้อมหรือไม่? ไม่เลยหากยังอยู่ในความเป็นมตะ (DBY, 150)

ขอให้ข้าพเจ้าพูดกับพี่น้องชายหญิงว่าเมื่อท่านได้รับการตีสอนจากผู้นำคนใดก็ตาม อย่า คิดว่าเขาเป็นศัตรูจึงทำเช่นนั้น แต่จงรับการตีสอนนั้นเหมือนกับรับความเมตตาจากมือของ เพื่อนและไม่ใช่จากศัตูร หากประธานของท่านเป็นศัตรูของท่าน พวกเขาจะปล่อยให้ท่าน อยู่กับความผิดของท่านตามลำพังหากท่านเป็นที่รักของพระเจ้าท่านจะได้รับการตีสอน [ดู ฮีบรู 12:6] จงรับการตีสอนนั้นด้วยใจยินดี (DBY, 133)

ข้อแนะนำสำหรับการศึกษา

พระผู้เป็นเจ้าทรงเปีดเผยพระประสงค์ของพระองค์ โดยฝานประธานของศาสนาจักร

  • พระเจ้าทรงใช้ประธานของศาสนาจักร สภาฝ่ายประธานสูงสุด และโควรัมอัครสาวกสิบ สองในการนำทางศาสนาจักรอย่างไร? ผู้นำที่ดำรงตำแหน่งอื่นๆ ในศาสนาจักรช่วยเหลือ พวกเขาอย่างไร? (ดู ค.พ. 107:21–38;132:7 ด้วย)

  • เราจะมีศรัทธาและความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในโควรัมควบคุมของศาสนาจักรได้อย่างไร? (ดู ค.พ. 107:27)

  • ทำไมพระเจ้าจะไม่ทรงยอมให้ศาสดานำศาสนาจักรไปในทางที่ผิด? ประธานยังสัญญา กับผู้ที่ทำหน้าที่ของตนว่าอย่างไร? (ดู ค.พ. แถลงการณ์–1)

อัครสาวกสิบสองถือกุญแจฐานะปุโรหิตสำหรับ การสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในโลก

  • กุญแจฐานะปุโรหิตของความเป็นอัครสาวกคืออะไร?

  • หน้าที่ของอัครสาวกคืออะไร? (ดู ค.พ. 107:23–24, 33, 58 ด้วย)

  • อภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียกอัครสาวกและตำแหน่งอื่นๆ ในฐานะปุโรหิต แห่งเม็ลคิเชเด็คและแอรัน (ดู ค.พ. 107:58 ด้วย)

  • อะไรคือหน้าที่ของสาวกเจ็ดสิบในน้จจุบันนี้ขณะที่กระทำภายใต้การนำทางของฝ่าย ประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสอง? (ดู ค.พ. 107:34 ด้วย)

ตำแหน่งอธิการเป็นของฐานะปุโรหิตแห่งแอรัน มีอำนาจ ในการปฏิบัติเรื่องทางโลกและทางวิญญาณ

  • อธิการถือกุญแจ ถือพลังและอำนาจอะไร? (ดู ค.พ. 84:26–27; 107:13–17 ด้วย) ความ รับผิดชอบของอธิการในฐานะประธานของฐานะปุโรหิตแห่งแอรันคืออะไร? ความรับผิด ชอบเมื่อเป็นมหาปุโรหิตควบคุมวอร์ดคืออะไร?

  • จากคำพูดของบรีคัม ยัง อธิการผู้ที่ “ปกครองดูแลวอรัดของตนอย่างชื่อสัตย์” ทำอะไร บ้าง? (ดู 1 ทิโมธี 3:1–7 ด้วย)

  • เราซึ่งเป็นผู้สอนประจำบ้านหรือผู้เยี่ยมสอนสามารถดูแลศาสนาจักรโดยทำประโยชน์ ให้มากขึ้นได้อย่างไร?

การลงโทษทางวินัยของศาสนาจักรจะช่วยผู้คนให้กลับมาสู่ความชอบธรรม

  • ประธานยังพรรณนาถึงผู้ที่ล่วงละเมิดไว้อย่างไร?

  • ประธานยังกล่าวว่า “ความยุ่งยากส่วนใหญ่ระหว่างผู้คนเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดมาก กว่าความพยาบาทและจิตใจที่ชั่วร้าย” ท่านแนะนำให้จัดการกับความเข้าใจผิดอย่างไร?

  • ประธานยังอยากเห็นอะไรในสภาวินัย? (ดู ค.พ.107:71–84; 134:10 ด้วย) “อำนาจและ ป้ญญาจากพระผู้เป็นเจ้า” สามารถช่วยผู้ที่จะต้องตัดสินในสภาวินัยอย่างไร? (ดู ค.พ. 121:41–42 ด้วย)

  • ผู้ที่จัดสภาวิจัยของศาสนาจักรต้อง “วินิจฉัยและเข้าใจ” ผู้ที่นั้นสภาวินัยด้วยวิธีใด?

  • ประธานยังพูดเกี่ยวกับ “[การ] ตีสอนตามวิญญาณที่มีอยู่ในบุคคลนั้น” ไว้อย่างไร? (ดู 3 นิไฟ 18:28–32 ด้วย)

  • ประธานยังกล่าวว่าเราควรตอบสนองอย่างไรเมื่อเราได้รับการตีสอนจากผู้นำของเรา? (ดู ค.พ. 95:1 ด้วย)