เซมินารีและสถาบัน
บทที่ 12: ศาสนพิธีและพันธสัญญาพระวิหาร


บทที่ 12

ศาสนพิธีและพันธสัญญาพระวิหาร

คำนำ

ศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายประกาศว่า “ศาสนพิธีและพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในพระวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ทำให้เกิดความเป็นไปได้สำหรับแต่ละบุคคลที่จะกลับไปยังที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า” (“ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 165) ในบทเรียนนี้ นักศึกษาจะเรียนรู้ว่าโดยผ่านการรับศาสนพิธีพระวิหาร พวกเขาจะได้ชื่นชมพรศักดิ์สิทธิ์ในช่วงความเป็นมรรตัยและได้รับชีวิตนิรันดร์

ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน

  • บอยด์ เค. แพคเกอร์, “พระวิหารศักดิ์สิทธิ์,” เลียโฮนา, ต.ค. 2010, 29–35

  • ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “พลังแห่งพันธสัญญา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 23–27

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:10–17; 109:12-21; 124:37-40, 55

จุดประสงค์ของพระวิหาร

ให้ชั้นเรียนดูรูปพระหารที่ท่านชอบเป็นพิเศษ และแบ่งปันว่าเหตุใดจึงชอบ

  • เหตุใดเราจึงมีพระวิหาร

เพื่อช่วยตอบคำถามนี้ ให้เขียนข้อความต่อไปนี้บน กระดาน เชื้อเชิญให้นักศึกษาอ่านพระคัมภีร์หนึ่งในสองตอนนี้ โดยมองหาเหตุผลว่าทำไมพระบิดาบนสวรรค์ทรงจัดเตรียมพระวิหารให้

หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:10–17

หลักคำสอนและพันธสัญญา 124:37–40, 55

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ อะไรคือเหตุผลที่ว่าทำไมพระบิดาบนสวรรค์ทรงจัดเตรียมพระวิหารให้ (ขณะที่นักศึกษาตอบ จงช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมต่อไปนี้: พระบิดาบนสวรรค์ทรงจัดเตรียมพระวิหารให้เพื่อลูกๆ ของพระองค์จะได้รับศาสนพิธีที่จำเป็นและความรู้และเตรียมอยู่ในที่ประทับของพระองค์)

  • วลีใดในข้อเหล่านี้สอนว่าพระวิหารช่วยเตรียมเราให้พร้อมอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

บอกนักศึกษาว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 109 มีคำสวดอ้อนวอนอุทิศพระวิหารเคิร์ทแลนด์ ขอให้นักศึกษาอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 109:12–21 และเขียนวิธีที่พระวิหารเตรียมเราให้พร้อมอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ พระวิหารเตรียมเราให้พร้อมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร (นักศึกษาอาจเสนอแนะดังนี้: ในพระวิหารเรารู้สึกถึงเดชานุภาพของพระเจ้า เรียนรู้ปัญญา และรับความสมบูรณ์แห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราได้รับการกระตุ้นให้กลับใจโดยเร็วในพระวิหาร และเราถูกเรียกร้องให้สะอาดเมื่อเราเข้าพระวิหาร หากเวลาเอื้ออำนวย ท่านอาจให้นักศึกษาอ่าน อพยพ 19:10–14 ซึ่งอธิบายว่าโมเสสพยายามเตรียมอิสราเอลสมัยโบราณทั้งทางกายและทางวิญญาณให้พร้อมเข้าเฝ้าพระเจ้าอย่างไร)

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองและประธานบริคัม ยังก์ (1801–1877)

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

“จุดประสงค์เบื้องต้นของพระวิหารคือจัดทำศาสนพิธีที่จำเป็นต่อความสูงส่งของเราในอาณาจักรซีเลสเชียล ศาสนพิธีพระวิหารนำทางเราไปหาพระผู้ช่วยให้รอดและประทานพรที่มาถึงเราผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์” (“พรของพระวิหาร,” เลียโฮนา, ต.ค. 2009, 48)

ประธานบริคัม ยังก์

“เอ็นดาวเม้นท์ [พระวิหาร] ของท่านคือการได้รับศาสนพิธีทั้งหมดในพระนิเวศน์ของพระเจ้าซึ่งจำเป็นสำหรับท่าน หลังจากที่ท่านจากชีวิตนี้ไปแล้วท่านจะสามารถเดินกลับไปยังที่ประทับของพระบิดาผ่านเหล่าเทพที่ยืนเป็นยามเฝ้าประตู” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: บริคัม ยัง [1997], 338)

  • ข้อความเหล่านี้ช่วยให้ท่านเห็นค่าความสำคัญของการได้รับศาสนพิธีพระวิหารอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:19–21

ศาสนพิธีฐานะปุโรหิตที่ได้รับในพระวิหารช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น

ให้ดูข้อความต่อไปนี้ และเชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง

“ในศาสนจักร ศาสนพิธีเป็นการกระทำที่ศักดิ์สิทธิ์และมีรูปแบบ ประกอบโดยผู้มีอำนาจฐานะปุโรหิต ศาสนพิธีบางอย่างจำเป็นต่อความสูงส่งของเรา ศาสนพิธีเหล่านี้เรียกว่าศาสนพิธีแห่งความรอด ซึ่งมีบัพติศมา การยืนยัน การวางมือแต่งตั้งฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค (สำหรับผู้ชาย) เอ็นดาวเม้นท์พระวิหาร และการผนึกการแต่งงาน” (ดู แน่วแน่ต่อศรัทธา: ศัพทานุกรมพระกิตติคุณ [2004], 207)

  • “ศาสนพิธีแห่งความรอด” ต่างจากศาสนพิธีพระกิตติคุณอื่นๆ อย่างไร (ศาสนพิธีอื่นๆ อาทิ การให้พรทารกและการให้พรผู้ป่วย ไม่จำเป็นต่อความสูงส่ง)

ก่อนดำเนินบทเรียนต่อ ชี้ให้เห็นว่าศาสนพิธีแห่งความรอดบางอย่าง อาทิ บัพติศมาและการวางมือแต่งตั้งสู่ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค ทำก่อนที่เราได้รับศาสนพิธีพระวิหาร แต่บทเรียนส่วนนี้เน้นเฉพาะศาสนพิธีแห่งความรอดที่ประกอบในพระวิหาร เชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:19–21 ขอให้ชั้นเรียนดูว่าเราจะได้รับอะไรเมื่อเรามีส่วนร่วมในศาสนพิธีที่ประกอบโดยฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค

  • ท่านคิดว่าคำว่า “พลังอำนาจของความเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า” หมายความว่าอะไร (ท่านอาจจะอธิบายว่า “พลังอำนาจของความเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า” คือพลังอำนาจที่จะกลับเป็นอย่างพระผู้เป็นเจ้าหรือเหมือนพระผู้เป็นเจ้า)

  • ท่านจะกล่าวถึงหลักธรรมที่สอนไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:20–21 ว่าอย่างไร (ขณะที่นักศึกษาตอบ ให้เขียนบนกระดานดังนี้: โดยผ่านศาสนพิธีและพันธสัญญาพระวิหารเราสามารถเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้าได้มากขึ้น)

แจกสำเนาคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้นักศึกษาแต่ละคน ขอให้นักศึกษาทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่สอนว่าการมีส่วนร่วมในศาสนพิธีพระวิหารช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นอย่างไร

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

“พรยิ่งใหญ่ที่สุดของฐานะปุโรหิตซึ่งมีไว้สำหรับ [เยาวชนชายหรือเยาวชนหญิง] มีอยู่ในพระวิหาร ที่นั่นพวกเขาจะได้รับความเข้าใจเรื่องสวรรค์ … ปีติแห่งนิรันดร ซึ่งดูเหมือนอยู่ห่างไกลเหลือเกินเมื่อเราอยู่นอกพระวิหาร พลันอยู่ใกล้แค่เอื้อมเมื่อเราอยู่ในพระวิหาร

“ในพระวิหารมีการอธิบายแผนแห่งความรอดและการทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ พันธสัญญาเหล่านี้ รวมกับการใส่การ์เม้นท์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระวิหาร จะทำให้บุคคที่ได้รับเอ็นดาวเม้นท์เข้มแข็งและคุ้มครองเขาให้พ้นอำนาจของปฏิปักษ์ …

“ในศาสนพิธีสูงสุดของพระวิหาร—การแต่งงานนิรันดร์—เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้รับสัญญาว่าถ้าพวกเขาซื่อสัตย์ พวกเขาจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขเป็นครอบครัวกับลูกๆ ของพวกเขา และกับพระเจ้าชั่วนิจนิรันดร์ นั่นเรียกว่าชีวิตนิรันดร์” (ดู “พรของฐานะปุโรหิต,” เลียโฮนา, ม.ค. 1996, 37)

สนทนาสิ่งที่นักศึกษาทำเครื่องหมาย

  • การมีส่วนร่วมในศาสนพิธีพระวิหารเป็นพรแก่ท่านคล้ายกับที่เอ็ลเดอร์เฮลส์อธิบายไว้อย่างไร

ให้เวลานักศึกษาสักครู่จดสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อทำให้การนมัสการในพระวิหารมีความหมายมากขึ้นและมุ่งช่วยให้พวกเขาเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น

อพยพ 19:3–6; หลักคำสอนและพันธสัญญา 109:22–26

การรักษาพันธสัญญาพระวิหาร

บอกนักศึกษาว่ามีจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งของการนมัสการในพระวิหารซึ่งเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการได้รับศาสนพิธีพระวิหาร ขอให้พวกเขาฟังจุดประสงค์นั้นขณะที่ท่านแบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

“ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมีอำนาจฐานะปุโรหิตไว้ประกอบศาสนพิธีให้เราได้เข้าสู่พันธสัญญาที่ผูกมัดกับพระบิดาบนสวรรค์ในพระนามของพระบุตรศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงรักษาสัญญาเมื่อท่านให้เกียรติพันธสัญญาที่ทำกับพระองค์” (“พลังแห่งพันธสัญญา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 27)

  • เมื่อเรารับศาสนพิธีแห่งความรอดของพระกิตติคุณ เราเข้าสู่อะไร

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์และเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเชื้อเชิญให้นักศึกษามองหาลักษณะสำคัญของพันธสัญญาที่เราทำกับพระเจ้า

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

“พันธสัญญาคือข้อตกลงระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับลูกๆ ของพระองค์บนแผ่นดินโลก และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดเงื่อนไขของพันธสัญญาพระกิตติคุณทั้งหมด ท่านและข้าพเจ้ามิได้กำหนดรูปแบบหรือองค์ประกอบของพันธสัญญา แต่โดยใช้สิทธิ์เสรีทางศีลธรรมของเรา เรายอมรับเงื่อนไขและข้อกำหนดของพันธสัญญาตามที่พระบิดานิรันดร์ของเราทรงตั้งไว้” (เดวิด เอ. เบดนาร์, “เพื่อเราจะมีพระวิญญาณของพระองค์อยู่กับเราตลอดเวลา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2006, 34)

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“พันธสัญญาคือข้อตกลงทางวิญญาณ สัญญาอันศักดิ์สิทธิ์กับพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาของเราว่าเราจะดำเนินชีวิต คิด และกระทำในวิธีที่กำหนด—วิธีของพระบุตรของพระองค์ พระเจ้าพระเยซูคริสต์ ในทางกลับกัน พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสัญญาจะประทานสง่าราศีของชีวิตนิรันดร์แก่เราเป็นการตอบแทน” (เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, Keeping Covenants: A Message for Those Who Will Serve a Mission, New Era, Jan. 2012, 3)

  • อะไรโดดเด่นสำหรับท่านในคำกล่าวเหล่านี้เกี่ยวกับพันธสัญญา

  • เหตุใดจึงสำคัญที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดเงื่อนไขของพันธสัญญาพระกิตติคุณทั้งหมด (เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้เสนอชีวิตนิรันดร์ให้เรา พระองค์จึงทรงมีสิทธิ์ตั้งเงื่อนไขเพื่อรับชีวิตนิรันดร์ สิ่งเดียวที่เราสามารถถวายแด่พระองค์ได้คือสิทธิ์เสรีของเราขณะที่เราเลือกเชื่อฟัง ส่วนหนึ่งของการสนทนาเรื่องนี้คือ ให้เน้นว่า: ขณะที่เรารักษาพันธสัญญาของเรากับพระเจ้า เราได้รับพรในความเป็นมรรตัยและจะได้รับชีวิตนิรันดร์)

ขอให้นักศึกษาจับคู่กัน ขอให้นักศึกษาคนหนึ่งในแต่ละคู่ศึกษา อพยพ 19:3–6 และอีกคนหนึ่งศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 109:22–26 เชื้อเชิญให้นักศึกษามองหาพรที่มีให้คนเหล่านั้นผู้รักษาพันธสัญญาของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธสัญญาพระวิหาร หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชิญหลายๆ คู่แบ่งปันสิ่งที่พบ (เกี่ยวกับข้อพระคัมภีร์ในอพยพ ท่านอาจต้องการให้นักศึกษาเข้าใจว่าในพระวิหารศักดิ์สิทธิ์นั่นเองที่เราเริ่มมีคุณสมบัติเป็นกษัตริย์และราชินีผู้ซึ่งสักวันหนึ่งจะสามารถเป็นประชาชาติศักดิ์สิทธิ์และอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าได้; ดู วิวรณ์ 1:6; 5:10; 19:16; คพ. 76:55–56)

  • พันธสัญญาของท่านกับพระเจ้าเป็นพรหรือเป็นเครื่องคุ้มครองท่านมาแล้วอย่างไร

ขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ (1876–1972)

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

“หากเราเข้าไปในพระวิหาร เรายกมือขึ้นและทำำพันธสัญญาว่าเราจะรับใช้พระเจ้าและถือรักษาพระบัญญัติของพระองค์ รักษาตนให้พ้นมลทินจากโลก หากเราตระหนักได้ว่าเรากำลังทำอะไรในเวลานั้น เอ็นดาวน์เม้นท์จะคุ้มครองเราตลอดชีวิต—การคุ้มครองที่คนไม่ได้ไปพระวิหารไม่มี

“ข้าพเจ้าได้ยินบิดาข้าพเจ้า [ประธานโจเซฟ เอฟ. สมิธ] กล่าวว่าในโมงยามของการทดลอง ในโมงยามของการล่อลวง ท่านจะคิดถึงสัญญา พันธสัญญาที่ท่านทำในพระนิเวศน์ของพระเจ้าและสิ่งนี้คุ้มครองท่าน … การคุ้มครองนี้คือสาเหตุของการมีพิธีการ พิธีการเหล่านั้นทำให้เรารอดเวลานี้และมีความสูงส่งหลังจากนี้ หากเราจะให้เกียรติ” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ [2013], 236)

  • ท่านมีความคิดหรือความประทับใจอะไรบ้างระหว่างบทเรียนนี้ที่ท่านต้องการแบ่งปันกับชั้นเรียน

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“ชีวิตเป็นการเดินทางกลับบ้านสำหรับเราทุกคน กลับไปที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าในอาณาจักรซีเลสเชียล

“ศาสนพิธีและพันธสัญญากลายเป็นหนังสือรับรองสำหรับการเข้าในที่ประทับของพระองค์ การรับศาสนพิธีอย่างมีค่าควรเป็นการแสวงหาชั่วชีวิต การรักษาพันธสัญญาหลังจากนั้นเป็นเรื่องท้าทายของชีวิตมรรตัย” (Covenants, Ensign, May 1987, 24)

เป็นพยานว่าการได้รับศาสนพิธีพระวิหารแท้จริงแล้วเป็น “การแสวงหาชั่วชีวิต” ศาสนพิธีพระวิหารช่วยให้เราได้รับหนังสือรับรองที่จำเป็นต่อการเข้าในที่ประทับของพระบิดาบนสวรรค์

เชื้อเชิญให้นักศึกษาไตร่ตรองว่าการนมัสการและการได้รับศาสนพิธีในพระวิหารมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในชีวิตพวกเขาหรือไม่ ขอให้พวกเขาเขียนสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อจดจ่อมากขึ้นกับพันธสัญญาที่ได้ทำไว้หรือจะทำในพระวิหาร

สิ่งที่นักศึกษาควรอ่าน