บทที่ 17
พระบัญญัติให้ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลก
คำนำ
พระบัญญัติให้ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลกเป็นส่วนสำคัญยิ่งของแผนนิรันดร์ของพระบิดาบนสวรรค์และยังคงมีผลบังคับในทุกวันนี้ บทเรียนนี้จะช่วยให้นักศึกษาเห็นว่าพวกเขาสามารถรับการนำทางในการตัดสินใจเรื่องการนำลูกๆ เข้ามาในโลกขณะพวกเขาศึกษาถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตและแสวงหาการนำทางจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านการสวดอ้อนวอน
ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน
-
นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บุตรธิดา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 34–38
-
รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “การทำแท้ง: การโจมตีผู้ไม่มีทางสู้,” เลียโฮนา, ต.ค. 2008, 14-19
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
ปฐมกาล 1:27–28; 9:1; 35:11
พระบัญญัติให้มีบุตรยังคงมีผลบังคับ
เขียนข้อความต่อไปนี้จาก “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” ไว้บนกระดานก่อนชั้นเรียนเริ่ม
เริ่มชั้นเรียนโดยถามว่า
-
คุณคิดอย่างไรขณะพิจารณาสองประโยคนี้
เชื้อเชิญให้นักศึกษาค้นคว้า ปฐมกาล 1:27-28, ปฐมกาล 9:1, และ ปฐมกาล 35:11โดยมองหาชื่อบุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลก ท่านอาจกระตุ้นให้นักศึกษาโยงพระคัมภีร์อ้างอิงเหล่านี้ทำเป็นห่วงโซ่พระคัมภีร์ในพระคัมภีร์ของพวกเขา นักศึกษาพึงเข้าใจว่าพระบัญญัติข้อนี้ประทานให้ทุกสมัยการประทานพระกิตติคุณ
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“นับเป็นสิทธิพิเศษสูงสุดของสามีภรรยาที่สามารถให้กำเนิดบุตรเพื่อจัดเตรียมร่างกายมรรตัยให้ลูกทางวิญญาณเหล่านี้ของพระผู้เป็นเจ้า เราเชื่อมั่นในครอบครัวและเราเชื่อมั่นในบุตรธิดา
“เมื่อสามีภรรยาให้กำเนิดเด็กคนหนึ่ง พวกเขากำลังทำให้แผนส่วนหนึ่งของพระบิดาบนสวรรค์ในการนำเด็กมายังแผ่นดินโลกเกิดสัมฤทธิผล” (“บุตรธิดา,”เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 34)
เน้นประโยคสุดท้ายในข้อความนี้โดยนำเสนอหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อสามีภรรยานำเด็กคนหนึ่งเข้ามาในโลก พวกเขากำลังทำให้แผนแห่งความสุขส่วนหนึ่งของพระบิดาบนสวรรค์เกิดสัมฤทธิผล พูดถึงประโยคบนกระดานและถามว่า
-
ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าทรงกล่าวย้ำพระบัญญัติให้ “ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลก” ในสมัยของเราผ่านศาสดาพยากรณ์ยุคปัจจุบันของพระองค์ (ยกตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะบอกนักศึกษาว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1960 อัตราเด็กเกิดจากมารดาที่แต่งงานในสหรัฐอเมริกาลดลง 45 เปอร์เซ(43)็นต์)
-
อะไรอาจเป็นสาเหตุให้คู่แต่งงานมีบุตรน้อยลง (คำตอบอาจได้แก่ ขาดเงิน ต้องการเรียนให้จบ และรอเริ่มงานอาชีพ)
-
การเข้าใจแผนของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับบุตรธิดาของพระองค์จะช่วยสามีภรรยาที่กำลังตัดสินใจว่าจะมีบุตรเมื่อไรและจะมีกี่คนได้อย่างไร
อธิบายว่าสามีภรรยาจะได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถรักษาพระบัญญัติเรื่องการมีบุตรแม้ในสภาวการณ์ที่ยากลำบาก แบ่งปันประสบการณ์ต่อไปนี้จากชีวิตของเอ็ลเดอร์เจมส์ โอ. เมสันแห่งสาวกเจ็ดสิบตามที่เล่าโดยเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น
“เอ็ลเดอร์เมสันมีประสบการณ์ [หนึ่ง] หลังจากแต่งงานเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ช่วยให้เขาจัดความรับผิดชอบต่อครอบครัวไว้เป็นอันดับแรก เขากล่าวว่า
“‘ผมกับมารีย์อ้างว่าการที่ผมจะเรียนแพทย์เธอจำเป็นต้องทำงานไปก่อน แม้เราจะไม่ [อยาก] ทำเช่นนั้น แต่ลูกต้องมาทีหลัง [ขณะดูนิตยสารศาสนจักรที่บ้านของพ่อแม่ผม] ผมเห็นบทความของเอ็ลเดอร์สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ ตอนนั้นท่านอยู่ในโควรัมอัครสาวกสิบสอง [โดยเน้น] ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน จากคำพูดของเอ็ลเดอร์คิมบัลล์ ความรับผิดชอบอันศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งคือขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลก บ้านของพ่อแม่ผมอยู่ [ใกล้กับ] อาคารบริหารงานศาสนจักร ผมเดินไปที่สำนักงานทันทีและ 30 นาทีหลังจากอ่านบทความของท่าน ผมพบตนเองนั่งอยู่ตรงข้ามเอ็ลเดอร์สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์’ (สมัยนี้ไม่ง่ายขนาดนั้น)
“‘ผมอธิบายว่าผมอยากเป็นหมอ ไม่มีทางเลือกนอกจากเลื่อนเวลามีบุตรออกไป เอ็ลเดอร์คิมบัลล์ฟังอย่างอดทน และตอบด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนต่อจากนั้นว่า “บราเดอร์เมสัน พระเจ้าทรงต้องการให้คุณฝ่าฝืนพระบัญญัติสำคัญข้อหนึ่งเพื่อคุณจะได้เป็นหมออย่างนั้นหรือ ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้า คุณสามารถมีครอบครัวและจะยังเป็นหมอได้ ศรัทธาของคุณอยู่ที่ไหน’”
“เอ็ลเดอร์เมสันเล่าต่อไปว่า ‘ลูกคนแรกของเราเกิดอีกไม่ถึงปีหลังจากนั้น ผมกับมารีทำงานขยันขันแข็งและพระเจ้าทรงเปิดหน้าต่างสวรรค์’ ครอบครัวเมสันได้รับพรด้วยลูกอีกสองคนก่อนเขาจะเรียนจบแพทย์ในอีกสี่ปีต่อมา” (“บุตรธิดา,” 35)
-
ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับประสบการณ์นี้
เน้นว่าการแต่งงานเป็นส่วนจำเป็นของการรักษาพระบัญญัติเรื่องการมีบุตร อ่านข้อความต่อไปนี้จากถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว
“เด็กมีสิทธิ์ถือกำเนิดภายในพันธะของการสมรสและได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่รักษาคำปฏิญาณของการแต่งงานด้วยความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง”
-
เด็กมีข้อได้เปรียบอะไรเมื่อพวกเขาเกิด “ภายในพันธะของการสมรส”
-
ท่านมีความคิดและความรู้สึกอะไรบ้างเกี่ยวกับการช่วยพระบิดาบนสวรรค์ทำให้แผนของพระองค์เกิดสัมฤทธิผลโดยนำเด็กๆ เข้ามาในโลก
1 นีไฟ 15:11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:6
แสวงหาการนำทางจากพระเจ้า
ให้ดูข้อความต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นและขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“ต้องมีบุตรเมื่อใด และต้องมีบุตร กี่คน เป็นการตัดสินใจส่วนตัวที่ต้องทำระหว่างสามีภรรยากับพระเจ้า นี่เป็นการตัดสินใจที่ศักดิ์สิทธิ์—การตัดสินใจที่ควรทำร่วมกับการสวดอ้อนวอนอย่างจริงใจและทำตามด้วยศรัทธาอย่างมาก” (“บุตรธิดา,” 34; เน้นตัวเอน)
-
เราควร “ทำตามด้วยศรัทธาอย่างมาก” เกี่ยวกับการตัดสินใจเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร
ขอให้นักศึกษาศึกษา 1 นีไฟ 15:11 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:6 เพื่อเรียนรู้หลักธรรมบางข้อที่สามีภรรยาใช้ได้เมื่อกำลังแสวงหาคำตอบของคำถามที่ว่าจะมีบุตร เมื่อใด และจะมีบุตร กี่คน
-
ท่านพบหลักธรรมอะไรบ้างในข้อเหล่านี้ที่สามารถช่วยสามีภรรยาตัดสินใจได้ว่าจะมีบุตรเมื่อใดและจะมีบุตรกี่คน (เน้นหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อสามีภรรยาใช้ศรัทธาและทูลขอพระเจ้าในการสวดอ้อนวอน พระองค์จะทรงนำทางพวกเขาในการตัดสินใจเรื่องการมีบุตร)
-
ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่สามีภรรยาจะปรึกษาพระเจ้าเกี่ยวกับเรื่องสำคัญเหล่านี้
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“สามีภรรยาควรมีบุตรกี่คน มีเท่าที่พวกเขาดูแลไหว! แน่นอนว่าการดูแลบุตรมีความหมายมากกว่าการให้ชีวิต บุตรธิดาต้องได้รับความรัก การบำรุงเลี้ยง การสอน อาหาร เสื้อผ้า ที่พักอาศัย และเริ่มทำให้พวกเขาสามารถเป็นบิดามารดาที่ดี” (“The Great Plan of Happiness,” Ensign, Nov. 1993, 75).
-
คำสอนของเอ็ลเดอร์โอ๊คส์จะช่วยคู่สามีภรรยาตัดสินใจว่าจะมีบุตรกี่คนได้อย่างไร
ระหว่างบทเรียนนี้ ขอให้มีความรู้สึกละเอียดอ่อนต่อนักศึกษาที่อาจไม่มีโอกาสเป็นบิดามารดาในชีวิตนี้ ข้อความต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นอาจเป็นประโยชน์
“การให้กำเนิดบุตรเป็นเรื่องที่สามารถทำร้ายจิตใจสามีภรรยาที่ชอบธรรมผู้แต่งงานและพบว่าไม่สามารถมีบุตรที่พวกเขารอคอยอย่างใจจดใจจ่อ หรือทำร้ายจิตใจสามีภรรยาที่วางแผนจะมีครอบครัวใหญ่แต่ได้รับพรให้มีครอบครัวเล็ก
“เราไม่สามารถอธิบายได้เสมอไปถึงความยุ่งยากของความเป็นมรรตัย บางครั้งชีวิตดูเหมือนไม่ยุติธรรม—โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความปรารถนาสูงสุดของเราคือทำทุกอย่างที่พระเจ้าทรงบัญชา ในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า ข้าพเจ้ารับรองกับท่านว่าสัญญานี้แน่นอน ‘สมาชิกที่ซื่อสัตย์ซึ่งสภาวการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ได้รับพรของการแต่งงานนิรันดร์และการเป็นบิดามารดาในชีวิตนี้จะได้รับพรที่สัญญาไว้ทั้งหมดในนิรันดร [เมื่อ] พวกเขารักษาพันธสัญญาที่ทำไว้กับพระผู้เป็นเจ้า” [คู่มือเล่ม 2: การบริหารงานศาสนจักร 2010, 1.3.3]” (“บุตรธิดา,” 36)
สดุดี 127:3; หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:6
ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต
ขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง สดุดี 127:3
-
“บุตรทั้งหลายเป็นมรดกจากพระเจ้า” หมายความว่าอย่างไร (บุตรธิดาเป็นของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า)
อ่านจากถ้อยแถลงเรื่องครอบครัวดังนี้ “เรายืนยันถึงการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์และความสำคัญของสิ่งนี้ในแผนนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า” เป็นพยานถึงหลักธรรมนี้ เมื่อเราเข้าใจว่าบุตรธิดาเป็นของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า เราจะเข้าใจความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตดีขึ้น ในหลายภูมิภาคของโลก การทำแท้งถือเป็นเรื่องยอมรับได้และแต่ละปีมีการทำแท้งหลายล้านราย เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจนโยบายศาสนจักรเกี่ยวกับการทำแท้ง ให้แบ่งปันข้อความต่อไปนี้และขอให้นักศึกษาฟังสภาวการณ์ที่เห็นควรให้ทำแท้งได้:
“ชีวิตมนุษย์เป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า การเลือกทำแท้งเพื่อความสะดวกสบายส่วนตัวหรือทางสังคมถือว่าขัดแย้งกับพระประสงค์และพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า นักศึกษา ศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายประณามการทำแท้งโดยอ้างคำประกาศของพระเจ้าที่ว่า ‘เจ้าจะไม่… ฆ่า, หรือทำอะไรที่เหมือนกันนี้’ (คพ. 59:6) คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจน สมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายต้องไม่ทำแท้ง ลงมือทำ สนับสนุน ออกค่าใช้จ่าย หรือเตรียมการให้ทำแท้ง สมาชิกศาสนจักรที่สนับสนุนการทำแท้งในลักษณะใดก็ตามจะต้องได้รับโทษทางวินัยของศาสนจักร
“ผู้นำศาสนจักรกล(117)่าวไว้ว่าสภาวการณ์บางอย่างอาจเห็นควรให้ทำแท้ง อาทิ เมื่อการตั้งครรภ์เป็นผลมาจากการร่วมประเวณีกับบุคคลในครอบครัวหรือถูกข่มขืน เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าชีวิตหรือสุขภาพของมารดาอยู่ในอันตรายร้ายแรง เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าทารกในครรภ์มีความพิการขั้นรุนแรงซึ่งจะทำให้เด็กเสียชีวิตหลังคลอด แต่แม้จะเข้าข่ายยกเว้นข้างต้นแต่ก็ใช่ว่าจะทำแท้งได้โดยพลการ ผู้อยู่ในกรณีดังกล่าวจะพิจารณาทำแท้งก็ต่อเมื่อได้ปรึกษากับผู้นำศาสนาจักรในท้องที่แล้วและได้รับการยืนยันผ่านการสวดอ้อนวอนอย่างจริงจัง” (Gospel Topics, “Abortion,” lds.org/topics)
-
ภายใต้สภาวการณ์ยกเว้นอะไรบ้างที่อาจเห็นควรให้ทำแท้ง
-
แม้เมื่ออยู่ในสภาวการณ์เหล่านั้น คนที่คิดจะทำแท้งควรขอคำแนะนำจากใคร
แบ่งปันข้อความต่อไปนี้เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจว่าการยกลูกให้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทำแท้ง
“เรา… ขอสนับสนุนบิดามารดาที่ไม่ได้แต่งงานกันผู้ยกลูกของตนให้เป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวที่เป็นปึกแผ่นซึ่งมีทั้งมารดาและบิดา เราขอสนับสนุนมารดาและบิดาที่แต่งงานแล้วเช่นกันผู้รับเด็กเหล่านี้เป็นบุตรบุญธรรม
“… การมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น บำรุงเลี้ยงและเสมอต้นเสมอปลายกับบิดามารดาจำเป็นต่อความความผาสุกของเด็ก เมื่อเลือกยกลูกให้เป็นบุตรบุญธรรม แสดงว่าบิดามารดาที่ไม่ได้แต่งงานกันยอมให้ลูกของตนได้รับพรสำคัญที่สุดนี้ การยกลูกให้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นการตัดสินใจที่ไร้ความเห็นแก่ตัวและเต็มไปด้วยความรักที่เป็นพรต่อเด็ก ต่อบิดามารดาผู้ให้กำเนิด และบิดามารดาบุญธรรมในชีวิตนี้และตลอดนิรันดร” (ดูจดหมายจากฝ่ายประธานสูงสุด, 4 ต,ค. 2006, ตามที่อ้างใน เลียโฮนา, ต.ค. 2008, 19)
ขณะสรุปบทเรียน ให้แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับปีติที่เด็กๆ นำเข้ามาในชีวิตท่าน กระตุ้นนักศึกษาให้เตรียมอย่างมีค่าควรรับโอกาสอันศักดิ์สิทธิ์ของการนำเด็กๆ เข้ามาในโลก
สิ่งที่นักศึกษาควรอ่าน
-
ปฐมกาล 1:27–28; 9:1; 35:11; สดุดี 127:3; 1 นีไฟ 15:11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:6; 59:6; โมเสส 2:27–28
-
นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บุตรธิดา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 34–38