บทที่ 5
สภาพของความเป็นมรรตัย
คำนำ
ในโลกก่อนเกิดเรา “ยอมรับแผน [ของพระบิดาบนสวรรค์] ซึ่งตามแผนนั้นลูกๆ ของพระองค์จะได้รับร่างกายอันเป็นเนื้อหนังและได้รับประสบการณ์ทางโลกเพื่อพัฒนาไปสู่ความดีพร้อม” (“ครอบครัว:ถ้อยแถลงต่อโลก,”เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 165) ร่างกายมรรตัยของเราเป็นพรอันประเสริฐ แต่ร่างกายนั้นต้องประสบการล่อลวงมากมายของซาตาน โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราสามารถเอาชนะการล่อลวงเหล่านี้และกลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ของเรา
ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “เรื่องดังที่เป็นจริง,”เลียโฮนา, มิ.ย. 2010, 22–31
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 40–47
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
2 นีไฟ 2:27–29; อับราฮัม 3:25
ประสบการณ์มรรตัยของเราจำเป็นต่อชีวิตนิรันดร์
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“ท่านเคยพิจารณาจริงๆ หรือไม่ว่าเหตุใดการมีร่างกายจึงสำคัญอย่างยิ่ง …ท่านเข้าใจจริงๆ หรือไม่ว่าเหตุใดร่างกายจึงสำคัญยิ่งต่อแผนแห่งความสุขของพระบิดา บางทีเราอาจจะท่องคำตอบนี้บ่อยมากและเป็นประจำจนเราไม่ตระหนักในความสำคัญที่แท้จริงของคำตอบนี้หรือไม่ ข้าพเจ้าประสงค์จะให้เราเจาะลึกลงไปอีกนิดในคำถามที่มีความสำคัญนิรันดร์นี้ว่าเหตุใดร่างกายจึงสำคัญมาก ท้ายที่สุดคำตอบส่งผลต่อทุกสิ่งที่เราทำ” (“Ye Are the Temple of God,” Ensign, Sept. 2001, 14)
-
ตามที่เอ็ลเดอร์เบดนาร์กล่าว เหตุใดเราจึงควรพยายามเข้าใจว่าเหตุใดร่างกายของเราจึงสำคัญมาก
เชื้อเชิญให้นักศึกษาเขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ ขณะที่บทเรียนดำเนินต่อไป จงกระตุ้นพวกเขาให้เขียนความคิดและแนวคิดเพิ่มเติม
-
เหตุใดร่างกายของเราจึงสำคัญมากในแผนแห่งความสุขของพระบิดาบนสวรรค์
เชื้อเชิญให้นักศึกษาอ่านย่อหน้าที่สามของ “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” ในใจและมองหาข้อความที่อธิบายชัดเจนว่าเหตุใดร่างกายจึงจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้านิรันดร์ของเรา
ขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนฟังว่าเหตุใดร่างกายของเราจึงสำคัญอย่างยิ่งยวดในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ ท่านอาจจะแจกสำเนาคำกล่าวนี้ให้นักศึกษาแต่ละคนก่อนให้อ่าน
“ร่างกายทำให้เราได้รับประสบการณ์ทั้งกว้าง ลึก และเข้มข้นซึ่งเราไม่อาจได้มาในการดำรงอยู่ก่อนเกิดของเรา ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ ประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนไว้ว่า ‘ร่างกายกับวิญญาณเรารวมเข้าด้วยกันจนร่างกายเรากลายเป็นเครื่องมือของความคิดและเป็นรากฐานแห่งอุปนิสัยของเรา’ [“The Instrument of Your Mind and the Foundation of Your Character” (Brigham Young University fireside address, Feb. 2, 2003), speeches.byu.edu ด้วยเหตุนี้ สัมพันธภาพของเรากับบุคคลอื่น ความสามารถในการตระหนักรู้และปฏิบัติตามความจริง ตลอดจนความสามารถในการเชื่อฟังหลักธรรมและศาสนพิธีแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จึงถูกขยายโดยทางร่างกายของเรา ในห้องเรียนของความเป็นมรรตัย เราประสบความอ่อนโยน ความรัก ความเมตตา ความสุข ความทุกข์ ความผิดหวัง ความเจ็บปวด และแม้กระทั่งความท้าทายของข้อจำกัดทางกายเพื่อเตรียมเราให้พร้อมรับความเป็นนิรันดร์ กล่าวอย่างเรียบง่ายคือ มีบทเรียนที่เราต้องเรียนรู้และประสบการณ์ที่เราต้องได้รับ ‘ตามเนื้อหนัง’ ดังพระคัมภีร์อธิบายไว้ (1 นีไฟ 19:6; แอลมา 7:12–13)” (“เรื่องดังที่เป็นจริง,”เลียโฮนา, มิ.ย. 2010, 23)
-
เอ็ลเดอร์เบดนาร์สอนอะไรเกี่ยวกับสาเหตุที่ร่างกายจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้านิรันดร์ของเรา (แม้คำตอบอาจหลากหลาย แต่ให้เน้นความจริงนี้: ด้วยร่างกาย เราจึงประสบสภาพของความเป็นมรรตัยที่สามารถเตรียมเราให้พร้อมรับความเป็นนิรันดร์)
-
ร่างกายของเรา “เป็นเครื่องมือของความคิดและรากฐานแห่งอุปนิสัยของเรา” ในด้านใด
-
“ความสามารถในการเชื่อฟังหลักธรรมและศาสนพิธีแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์…ขยายโดยทางร่างกายของเรา” อย่างไร (คำตอบอาจได้แก่: ร่างกายทำให้เราสามารถเชื่อฟังพระบัญชาให้ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลก ร่างกายอำนวยให้เราประสบปีติของการอยู่ในครอบครัว ที่ซึ่งเราเรียนรู้และปฏิบัติหลักธรรมพระกิตติคุณในบ้าน—ตัวอย่างเช่น เราเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ในครอบครัวของเรา)
เชิญนักศึกษาหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก อับราฮัม 3:25 และ 2 นีไฟ 2:27–28 ขณะที่นักศึกษาคนอื่นๆ ดูว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ทำงานด้วยกันอย่างไรเพื่อช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงจุดประสงค์ของการมีร่างกาย
-
ถึงแม้การมีร่างกายจะเป็นพรอันประเสริฐ แต่การมีร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบมรรตัยของเราอย่างไร (การล่อลวงมากมายของซาตานถูกขยายเพราะเรามีร่างกาย)
-
การเลือก “ความประสงค์ของเนื้อหนัง” ให้ “พลังความสามารถแก่มารที่จะจับเป็นเชลย” อย่างไร
โมไซยาห์ 3:19; โมเสส 6:49, 53–55
“มนุษย์ปุถุชนเป็นศัตรูต่อพระผู้เป็นเจ้า”
เชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมเสส 6:53–54 และขอให้ชั้นเรียนดูว่าข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับสภาพของเราตอนเราเกิดและอธิบาย สังเกตว่า คำว่า “ปลอดบาป” ในบริบทนี้หมายถึงเป็นอิสระจากผลการล่วงละเมิดของอาดัม
จากนั้นขอให้นักศึกษาคนนั้นอ่าน โมเสส 6:49 และ 55 และถามสมาชิกชั้นเรียนว่า่
-
ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับการตกของอาดัมกับเอวาว่ามีผลต่อเราตลอดชีวิตมรรตัยของเราอย่างไร (เมื่อเรายอมต่อการล่อลวงของซาตาน เราลิ้มรสผลขมของการที่เราเลือกมีตัณหา ราคจริต และชั่วร้าย ท่านอาจจะอ้าง อีเธอร์ 3:2 ซึ่งสอนว่า “เพราะการตกนิสัยของพวกข้าพระองค์จึงกลับชั่วตลอดเวลา”)
ขอให้นักศึกษาอ่านออกเสียงสองสามบรรทัดแรกของ โมไซยาห์ 3:19 เขียนคำถามต่อไปนี้บน กระดาน
ให้เวลานักศึกษาสักครู่ค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านี้และขยายความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับคำว่า “มนุษย์ปุถุชน” โดยศึกษาเชิงอรรถสำหรับ ข้อ 19 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชิงอรรถ ก และข้ออื่นที่อ้างไว้ในเชิงอรรถ) หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้สนทนาสิ่งที่นักศึกษาพบ ชี้ให้เห็นว่าคำนี้พูดถึงสภาพที่ประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับชายและหญิง
-
ถ้าบุคคลหนึ่งมีลักษณะของมนุษย์ปุถุชน นี่มีผลอะไรต่อการแต่งงานหรือครอบครัว
ขอให้นักศึกษาคนเดิมอ่าน โมไซยาห์ 3:19 ต่อจนจบและเชื้อเชิญให้นักศึกษามองหาหลักธรรมที่ว่าเราจะเอาชนะความเป็นมนุษย์ปุถุชนได้อย่างไร (ขณะที่นักศึกษาตอบ ให้เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน: โดยผ่านการยอมรับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์และยอมต่อการชักจูงของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ เราสามารถทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชนและกลับเป็นวิสุทธิชนได้)
อธิบายว่าในบริบทนี้ ยอม หมายถึงเชื่อฟังหรือยอมรับการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์
-
คนๆ หนึ่งจะสามารถเล็งเห็นสิ่งที่พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทรงกำลังกระตุ้นเตือนเขาหรือเธอให้ทำได้อย่างไร
-
ท่านจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ไม่เป็นส่วนตัวมากเกินไปได้หรือไม่ซึ่งในประสบการณ์นั้นพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์กระตุ้นเตือนท่านให้ทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชน
เป็นพยานว่าเมื่อเรายอมต่อการชักจูงของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ เราได้เข้าถึงเดชานุภาพของการชดใช้
โมไซยาห์ 3:19; 16:3–6
การประยุกต์ใช้การชดใช้ของพระคริสต์
เชิญนักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมไซยาห์ 16:3–6 ขณะชั้นเรียนดูตามโดยมองหาสิ่งที่จะช่วยเราเอาชนะผลของการตกในชีวิตเรา
-
ข้อกำหนดอะไรในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ทำให้เราสามารถเอาชนะธรรมชาติที่ตกแล้วของเรา (เขียนหลักคำสอนต่อไปนี้บนกระดาน: โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราสามารถรับการไถ่จากสภาพที่หลงไปและตกของเรา)
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ และขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“ความทะยานอยาก ความปรารถนา ความมีใจชอบ และแรงผลักดันของมนุษย์ปุถุชนจะเอาชนะได้โดยและผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราอยู่บนแผ่นดินโลกเพื่อพัฒนาคุณสมบัติเหมือนอย่างพระผู้เป็นเจ้าและควบคุมกิเลสตัณหาทุกอย่างของเนื้อหนัง” (“เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,”เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 43)
อธิบายให้นักศึกษาฟังว่าเมื่อเรามีศรัทธาในการชดใช้ เราย่อมได้รับพระคุณของพระเยซูคริสต์ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยการพลีพระชนม์เพื่อชดใช้ของพระองค์ แนวคิดหลักของคำว่า พระคุณ คือ “ความช่วยเหลือหรือพลังจากสวรรค์ ประทานผ่านพระเมตตาและความรักมากมายของพระเยซูคริสต์” “พระเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถ” นั่นเองที่ช่วยให้เรากลับใจและพัฒนาคุณลักษณะที่เราไม่สามารถพัฒนาเองได้ (ดู Bible Dictionary, “Grace”) เพื่อช่วยนักศึกษาระบุคุณลักษณะเหมือนอย่างพระคริสต์ที่เราควรพัฒนา ขอให้พวกเขาทบทวนคุณสมบัติที่นำเราให้กลับเป็นวิสุทธิชนตามที่พบใน โมไซยาห์ 3:19
-
พระผู้ช่วยให้รอดได้ทรงช่วยท่านพัฒนาคุณลักษณะประการหนึ่งใน โมไซยาห์ 3:19 อย่างไร
-
ท่านเคยเห็นบุคคลที่มีคุณลักษณะเหล่านี้หนึ่งประการหรือมากกว่านั้นเป็นพรในครอบครัวของพวกเขาอย่างไร
-
การพัฒนาคุณลักษณะเหล่านี้หนึ่งประการหรือมากกว่านั้นผ่านพระเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถแห่งพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดอาจจะช่วยให้ท่านกลายเป็นสามีหรือภรรยา บิดาหรือมารดาที่ดีขึ้นได้อย่างไร
อธิบายให้นักศึกษาฟังว่าบทเรียนวันนี้ฝากคำถามสำคัญให้เราแต่ละคนตอบ ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์และขอให้นักศึกษาอ่านในใจ
“ความแม่นยำของการทดสอบในความเป็นมรรตัยสามารถสรุปได้ในคำถามต่อไปนี้: ฉันจะตอบสนองความโน้มเอียงของการเป็นมนุษย์ปุถุชนไหม หรือฉันจะยอมต่อการชักจูงของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชน และกลับเป็นวิสุทธิชนผ่านการชดใช้ของพระคริสต์พระเจ้าหรือไม่ (ดู โมไซยาห์ 3:19) นั่นคือการทดสอบ” (“เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,” 43)
ให้เวลานักศึกษาสักครู่ขียนคำตอบของคำถามของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ เชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ตามที่พบใน โมไซยาห์ 3:19 และวางแผนเริ่มพัฒนาคุณลักษณะเหล่านั้นหนึ่งประการอย่างเต็มที่มากขึ้น
สิ่งที่นักศึกษาควรอ่าน
-
2 นีไฟ 2:27–29; โมไซยาห์ 3:19; 16:3–6; โมเสส 6:49, 53–55; อับราฮัม 3:25
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 40–47