บทนำ
ฝ่ยประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองจัดทำหนังสือชุด คำสอนของประธานศาสนจักร เพื่อช่วยให้ท่านใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์และมีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นในพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเยซูคริสต์ เมื่อศาสนจักรเพิ่มหนังสือในชุดนี้ ท่านจะมีหนังสืออ้างอิงพระกิตติคุณสะสมไว้ใช้ที่บ้านมากขึ้น หนังสือเหล่านี้ออกแบบไว้ให้ใช้ศึกษาส่วนตัวและใช้เป็นแหล่งข้อมูลการสอน อีกทั้งสามารถช่วยท่านเตรียมบทเรียนการสังสรรค์ในครอบครัว เตรียมบทเรียนอื่นหรือเตรียมคำพูด และตอบคำถามเกี่ยวกับหลักคำสอนของศาสนจักร
หนังสือเล่มนี้เน้นคำสอนของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ผู้รับใช้เป็นประธานศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1995 จนถึงวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008
ศึกษาส่วนตัว
ขณะที่ท่านศึกษาคำสอนของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ จงแสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ร่วมกับการสวดอ้อนวอน คำถามท้ายบทแต่ละบทจะช่วยให้ท่านไตร่ตรอง เข้าใจ และประยุกต์ใช้คำสอนของประธานฮิงค์ลีย์ แนวคิดต่อไปนี้อาจช่วยท่านได้เช่นกัน:
-
เขียนความคิดและความรู้สึกที่มาถึงท่านจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ท่านศึกษา
-
ขีดเส้นใต้ข้อความที่ท่านต้องการจำ ท่านอาจท่องจำข้อความเหล่านี้หรือเขียนในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับข้อที่เกี่ยวข้อง
-
อ่านบทเรียนหรือข้อความมากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อท่านจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น
-
ถามคำถามตัวท่านเองเช่น “คำสอนของประธานฮิงค์ลีย์ทำให้ฉันเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณเพิ่มขึ้นอย่างไร” หรือ “พระเจ้าทรงต้องการให้ฉันเรียนรู้อะไรจากคำสอนเหล่านี้ พระองค์ทรงต้องการให้ฉันทำอะไร”
-
ถามตัวท่านว่าคำสอนในหนังสือเล่มนี้จะช่วยท่านเรื่องความท้าทายและข้อกังวลส่วนตัวได้อย่างไร
-
แบ่งปันสิ่งที่ท่านเรียนรู้กับสมาชิกครอบครัวและเพื่อนๆ
สอนจากหนังสือเล่มนี้
แนวทางต่อไปนี้จะช่วยท่านสอนจากหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่โบสถ์
เตรียมสอน
แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะเตรียมสอน ศึกษาบทเรียนเพื่อให้มั่นใจว่าท่านเข้าใจคำสอนของประธานฮิงค์ลีย์ และสวดอ้อนวอนเลือกคำสอนที่ท่านรู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุด
ท่านอาจต้องการกระตุ้นคนที่ท่านสอนให้ศึกษาบทนั้นด้วยตนเองและให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษกับหมวด “ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน” ที่อยู่ท้ายบท
ส่งเสริมให้มีการสนทนาเกี่ยวกับคำสอนของประธานฮิงค์ลีย์
ขณะที่ท่านสอนจากหนังสือเล่มนี้ จงเชื้อเชิญให้คนอื่นๆ แบ่งปันความคิด ถามคำถาม เป็นพยาน และสอนกัน เมื่อพวกเขามีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น พวกเขาจะพร้อมเรียนรู้และรับการเปิดเผยส่วนตัวมากขึ้น
ปล่อยให้การสนทนาที่ดีดำเนินต่อไปแทนที่จะพยายามสอนครอบคลุมคำสอนทั้งหมด นำการสนทนาเพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมได้อ่านคำสอนของประธานฮิงค์ลีย์และค้นพบวิธีประยุกต์ใช้คำสอนเหล่านั้นในชีวิตพวกเขา
คำถามท้ายบทแต่ละบทเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับกระตุ้นการสนทนา ท่านอาจตั้งคำถามของท่านเองเพื่อใช้ถามเฉพาะคนที่ท่านกำลังสอน แนวคิดอื่นๆ สำหรับกระตุ้นการสนทนามีดังต่อไปนี้
-
ขอให้ผู้มีส่วนร่วมแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการศึกษาบทเรียนเป็นส่วนตัว
-
มอบหมายคำถามที่เลือกมาจากท้ายบทให้แต่ละคนหรือกลุ่มเล็ก ขอให้ผู้มีส่วนร่วมมองหาคำสอนในบทที่เกี่ยวข้องกับคำถามนั้น จากนั้นเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันความคิดเห็นและข้อคิด
-
อ่านคำสอนบางส่วนของประธานฮิงค์ลีย์ในบทนั้นด้วยกัน ขอให้ผู้มีส่วนร่วมยกตัวอย่างจากพระคัมภีร์หรือจากประสบการณ์ของพวกเขาเองที่เชื่อมโยงกับคำสอนเหล่านั้น
-
ขอให้ผู้มีส่วนร่วมเลือกหนึ่งหัวข้อและอ่านในใจ เชิญคนที่เลือกหัวข้อเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มๆ ละสองหรือสามคนและสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้
กระตุ้นให้ประยุกต์ใช้และแบ่งปัน
คำสอนของประธานฮิงค์ลีย์จะมีความหมายมากที่สุดเมื่อแต่ละคนประยุกต์ใช้คำสอนในชีวิตของเขาและแบ่งปันกับผู้อื่น ท่านอาจต้องการใช้แนวคิดต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้น
-
ถามผู้มีส่วนร่วมว่าพวกเขาจะประยุกต์ใช้คำสอนของประธานฮิงค์ลีย์ในความรับผิดชอบของพวกเขาที่บ้าน ในศาสนจักร และในสภาวะแวดล้อมอื่นได้อย่างไร
-
เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมีเมื่อทำตามคำแนะนำของประธานฮิงค์ลีย์
-
กระตุ้นให้ผู้เข้าเรียนแบ่งปันคำสอนบางอย่างของประธานฮิงค์ลีย์กับสมาชิกครอบครัวและเพื่อนๆ
สรุปการสนทนา
สรุปบทเรียนพอสังเขปหรือขอให้คนหนึ่งหรือสองคนสรุป เป็นพยานถึงคำสอนที่ท่านสนทนาไปแล้ว และกระตุ้นให้ผู้เข้าชั้นเรียนประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ท่านอาจต้องการเชิญคนอื่นๆ แบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขา
ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหา
คำสอนในหนังสือเล่มนี้เป็นข้อความอ้างอิงโดยตรงจากโอวาท ข้อเขียน และบทสัมภาษณ์ของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ ข้อความอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เคยจัดพิมพ์ยังคงมีเครื่องหมายวรรคตอน ตัวสะกด ตัวเขียนใหญ่ และการแบ่งย่อหน้าของต้นฉบับเดิม เว้นแต่ต้องเปลี่ยนบทบรรณาธิการหรือเทคนิคการพิมพ์เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เพราะข้อความอ้างอิงคงความถูกต้องของแหล่งข้อมูลที่จัดพิมพ์ ท่านอาจเห็นความลักลั่นบ้างเล็กน้อยในเนื้อความ ตัวอย่างเช่น สรรพนามที่กล่าวถึงพระผู้เป็นเจ้าเป็นตัวพิมพ์เล็กในข้อความอ้างอิงบางตอนและเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในที่อื่น
ประธานฮิงค์ลีย์มักจะใช้คำว่า มนุษย์ และ มนุษยชาติ เพื่อหมายถึงคนทั้งปวง ทั้งชายและหญิง ท่านมักจะใช้สรรพนาม เขา และ ของเขา เพื่อหมายถึงคนทั้งสองเพศ แบบแผนทางภาษาเหล่านี้มีให้เห็นทั่วไปในยุคของท่าน