คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 23: ‘ใจเดียวและความคิดเดียว’’


บทที่ 23

“ใจเดียวและความคิดเดียว’’

เมื่อเราเป็นหนึ่งเดียวในพระกิตติคุฌ เราย่อมพร้อมรับพรลํ้าค่าที’สุดของสวรรค์

จากชีวิตของวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ้

ประ ธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟรักมิตรภาพของสมาชิกศาสนาจักรคนอื่นๆ บัน ทึกการเดินทางส่วนใหญ่ของท่านจะมีคำพูดแสดงความซาบซึ้งต่อ “วิญญาณ แห่งความสามัคคีและความรัก่” ที่อยู่ในการประชุมของศาสนาจักรรวมอยู่ด้วย1 หลังจากการประชุมเช่นนั้นครั้งหนึ่ง ท่านบันทึกว่าผู้พูดสองคนต้องไปประชุม ต่ออีกที่หนึ่ง แต่มีอุปสรรคในการไปตามนัดเพราะ “แทบจะออกจากห้องประ ชุมไม่ได้เลย มีคนมากมายประสงค์จะจับมือทักทายเขา” ท่านเขียนถึงการประ ชุมเดียวกันนี้ว่า “พระวิญญาณของพระเจ้าสถิตกับเรา ความรักและความสามัค คีแผ่คลุมไปทั่ว ข้าพเจ้าดีใจที่ได้เห็นสิทธิชนจำนวนมากเปีนหนึ่งเดียวในพันธ สัญญาใหม่และเป็นนิจ”2

ประธานวูดรัฟฟ็หวังว่าจะได้เห็นวิญญาณของความเป็นหนึ่งเดียวตังกล่าว ขยายจากการประชุมของศาสนาจักรไปส่ชีวิตทุกด้าน ท่านกระตุ้นสิทธิชนผ่าน โอวาทต่อสาธารณชนและตัวอย่างประจำวันของท่านให้เปีนหนึ่งเดียวกันในบ้าน ในความรับผิดชอบต่อศาสนาจักร และในงานทางโลกของเขา มัทธีอัส เอฟ. คาวลีย์เขียนว่า “ตามความเห็นของท่าน ไม่มืที่สำหรับความขัดแย้ง ความ ระแวงสงสัย และการต่อต้านในศาสนาจักร งานนี้เปีนงานของพระผู้เป็นเจ้า- นนพอแล้ว มีเจ้าหน้าที่ผู้ไต้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้อง ความรับผิดชอบของอาณา จักรตกอยู่กับคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่เป็นห่วงสิ่งที่ผู้อื่นคิดเพราะนั่นคือ การขาดปัญญาในตัวเขา ท่านไม่โลภโมโทสัน [ละโมบ] และตามความเห็นของ ท่าน ความผันผวนทางการเงินจะไม่ขัดขวางจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และ ท่านไม่กังวลว่าวัตถุทางโลกจะมาอยู่ในความครอบครองของท่านมากเท่าใด แผ่นดินโลกได้รับข่าวสารอันลํ้าเลิศแล้ว และท่านต้องการให้ทุกคนรู้คุณค่าของ ข่าวสารที่มีต่อครอบครัวมนุษย์และเข้าใจพรแห่งความรอดซึ่งจะมาถึงผู้ที่ยอม เชื่อฟ้ง

“วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ็ร้สืกเสมอว่าไม่ควรอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ท่านหลีก เลี่ยงความขัดแย้ง และไม่อยากคบหาคนที่หมกมุ่นอยู่กับการจับผิด การวิพากษ์ วิจารณ์ และความทุกข์โศกของตนเอง ท่านไม่เห็นความจำเปีนของการคบหา คนเหล่านั้น ไม่ยากที่ท่านจะเห็นด้วยกับพี่น้องของท่าน ท่านไม่เคยเลยเถิดใน ความต้องการของท่าน ไม่เคยคิดแต่จะส่งเสริมตนเอง และไม่เคยลังเลเมื่อมี เรื่องสำคัญต้องทำ ท่านจงรักภักดีต่อศาสดา และซื่อสัตย์ต่อพี่น้องของท่าน”3

คำสอนฃองวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ้

ความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกันมีอยู่ในพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ และในอาณาจักรชั้นสูง

พระผู้ช่วยให้รอดตรัสกับอัครสาวกของพระองคัในสมัยโบราณ และกับอัคร สาวกในสมัยของเราว่า “เรากล่าวกับเจ้าว่า จงเปีนหนึ่ง และหากเจ้าไม่เปีนหนึ่ง เจ้าก็มิใช่ของเรา” [ค.พ. 38:27] “เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” [ยอห์น 10:30] มีหลักธรรมเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญมากต่อพวก เราและศาสนาจักรของเราบนแผ่นดินโลก แม้จะมีความแตกแยก ความไม่พอใจ การทะเลาะเบาะแว้ง และการต่อต้านในหมู่ผู้มีอำนาจบนแผ่นดินโลก หรือที่เคย เปิดเผยจากสวรรค์ ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินว่าเคยเปีดเผยต่อลูกหลานมนุษย์ว่ามี ความแตกแยกระหว่างพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา พระผู้เป็นเจ้าพระบุตร และพระผู้ เป็นเจ้าพระวิญญาณบริสุทธี้ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียว พระองค์ทรงเป็นหนึ่ง เดียวเสมอมา พระองค์จะทรงเป็นหนึ่งตลอดไปจากนิรันดรถึงนิรันดร พระบิดา บนสวรรค์ของเราทรงเปีนพระประมุข โดยทรงเป็นผู้ลิขิตความรอดของลูก หลานมนุษย์ ทรงสร้างและทำให้มีคนอยู่ในโลก และประทานกฎแก่ผู้อาศัยของ แผ่นดินโลก4

พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา พระองค์ตรัสว่า “เพราะว่าเราได้ลงมา จากสวรรค์ มิใช่เพี่อกระทำตามความประสงค์ของเราเอง แต่เพี่อกระทำตาม พระประสงค์ของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา” [ยอห์น 6:38] ไม่เคยมีความร้าวราน ระหว่างพระบิดาและพระบุตร การเปีดเผยครั้งแรกที่ประทานแก่โจเซฟ สมิธคือ การเปิดเผยของพระบิดาและพระบุตร สวรรค์เปิด และพระบิดากับพระบุตรทรง ปรากฎต่อโจเซฟเพี่อตอบคำสวดอ้อนวอนของท่าน และพระองค์ทรงชี้พระหัตถ์ ไปทางพระบุตรและตรัสว่า “นี่คือบุตรที่รักของเรา จงฟ้งท่าน” [ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:17]5

มีอาณาจักรชั้นสูง อาณาจักรชั้นกลาง และอาณาจักรชั้นต้น มีรัศมีภาพของ ดวงอาทิตย์ รัศมีภาพของดวงจันทร์ และรัศมีภาพของดวงดาว และดาวดวง หนึ่งมีรัศมีภาพแตกต่างจากดาวอีกดวงหนึ่งฉันใด การฟ้นคืนชีวิตของคนตาย ก็เปีนฉันนั้น [ดู 1 โครินธ์ 15:41–42] ในอาณาจักรชั้นสูงของพระผู้เปีนเจ้ามี ความเปีนนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน มีความปรองดอง6

เมื่อใช้การเปรียบเทียบ ใครคาดหวังว่าตนจะมีที่ดินสีสิบเอเคอร์!นอาณาจักร ของพระผู้เป็นเจ้าหรือในสวรรค์เมื่อเราไปที่นั่น ไม่มีใครคาดหวังเช่นนั้น เพราะ ในอาณาจักรนั้น ในสวรรค์หรือบนแผ่นดินโลก เราจะพบความเป็นหนึ่ง และ พระเจ้าทรงเรียกร้องจากมือเราให้เราเป็นหนึ่งเดียวกันตามหลักธรรมของกฎชั้น สูง7

ศาสดาต้องเปีนหนึ่งเดียวกันกับพระผู้เปีนเจ้าสามพระองค์ และสมาชิกทุกคนในศาสนาจักรควรแสวงหา ความเปีนหนึ่งอย่างเดียวกัน

เมื่ออ่านประวัติการติดต่อของพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ จากพระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์มอรมอน พระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญา เราจะเห็นว่า ตั้งแต่สมัย ของคุณพ่อแอดัมพระเจ้าทรงตั้งคนระดับหนึ่งในทุกสมัยการประทานและมอบ ฐานะปุโรหิตให้เขา พระองค์ทรงมอบพลังและอำนาจให้เขาทำงานของพระองค์ บนพื้นพิภพในบรรดาลูกหลานมนุษย์ คนเหล่านี้ครอบครองหลักธรรมของความ สามัคคีกับพระผู้เป็นเจ้า กับพระบุตรของพระเป็นเจ้า และกับพระวิญญาณ บริสุทธี้ คุณพ่อแอดัมได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ้ ในวันเวลาสุดท้ายของท่าน ท่านเต็มไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ้เมื่อให้พรบุตรชายผู้เป็นมหาปุโรหิตและลูก หลานที่เหลือ [ดู ค.พ. 107:53–56].

คุณพ่อแอดัม อีนิค โมเสส โนอา เอบราแฮม อิสอัค และยาโคบ ตลอดจน ปีตุและศาสดาทุกท่านในสมัยโบราณจำต้องมีการติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า เขาอยู่ ภายใต้ความจำเป็นของการร้องทูลพระเจ้า เพราะหากไม่มีการติดต่อดังกล่าว เขา ก็ไม่เหมาะจะทำหน้าที่ของเขา เขาพึ่งพระเจ้าสำหรับการเปีดเผย ความสว่าง และการแนะนำสั่งสอนเพื่อให้มีพลังดำเนินตามพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ความสามัคคีที่พระเจ้าทรงเรียกร้องจากปีตุและศาสดาสมัยโบราณ และซึ่งพระ เยซูทรงเรียกร้องจากอัครสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงเรียกร้องจากโจเซฟ สมิธและพี่น้องของท่านด้วย และทรงเรียกร้องจากสิทธิชนทุกคนของพระผู้เป็น เจ้านับแต่การวางรากฐานของโลกจวบจนปัจจุบัน8

ข้าพเจ้าทราบดีว่าฝ่ายประธานของศาสนาจักรยืนอยู่ระหว่างคนเหล่านี้กับพระ เจ้า เพราะเขาเป็นหัวหน้า และข้าพเจ้าทราบดีว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเปีดเผยพระ ประสงค์ของพระองค์ต่อเขา และด้วยเหตุนี้เราจึงควรพึ่งพาอาศัยความสว่างและ ข้อมูลจากเขา หัวหน้าอาจเต็มไปด้วยความสว่าง การดลใจ การเปีดเผย พระดำริ และพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าแต่หากเจ้าหน้าที่ผู้ยืนถัดจากเขาและหากตัว เราบกพร่องต่อหน้าที่ และไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะจะรับความสว่างนั้น ท่านจะ ไม่เห็นหรือว่าแม้นํ้าถูกกักสายนํ้าไว้ที่ด้นนํ้า ไม่มีกระแสหรือส์อกลางใดที่ความ สว่างและความรู้จะไหลมาถึงสมาชิกของศาสนาจักร

ข้าพเจ้าทราบดีว่า นั่นไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของเราผู้ดำรงฐานะปุโรหิตเท่านั้น แต่ของคนเหล่านี้ด้วย ที่จะถวายตัวในความอ่อนน้อมถ่อมตนและศรัทธาต่อ พระพักตร์พระเจ้าเพึ่อเราจะได้รับพรซึ่งเตรียมไวให้เรา และเราจะได้ความสว่าง ความรู้ ศรัทธา สติปัญญา และพลังอำนาจทั้งหมดซึ่งจำเป็นต่อความรอดของ เราด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน การเชื่อฟ้ง และการยอมตามพระประสงค์ของ พระผู้เป็นเจ้า เราควรเอาใจใส่สิ่งนี้เพื่อความคิดของเราจะพร้อมและร่างกายของ เราจะอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การรับพระวิญญาณบริสุทธี้ ทั้งนี้เพื่อพระวิญญาณ ของพระผู้เป็นเจ้าจะไหลผ่านทั่วร่างของเราอย่างอิสระตั้งแต่คีรษะจดปลายเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ เราทุกคนจะเห็นเหมือนกัน ร้สืกเหมือนกัน และเป็นเหมือนกัน และเป็นหนึ่งเท่าที่เกี่ยวข้องกับพระกิตติคุณและอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ดัง ที่พระบิดาและพระบุตรทรงเป็นหนึ่ง และเมื่อนั้นคนเหล่านี้จะเริ่มเห็นจุดยืน และความสัมพันธ์ที่เรามืต่อกันและต่อพระผู้เป็นเจ้า เราจะร้สืกถึงความสำคัญ ของการเอาใจใส่หน้าที่และเราจะเต็มใจก้าวไปข้างหน้าและปรับปรุงเวลาของเรา ใช้ประโยชน์จากพรสวรรค์ของเราและได้พรที่พระเจ้าทรงมืให้เรา แต่ท่านจะไม่ เห็นหรือว่าหากผู้คนนอนหลับ เกียจคร้าน และไม่ดำเนินชีวิตสมกับสิทธิพิเศษ ของเขา ในไม่ช้าพระวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าที่เริ่มไหลจากสืรษะลงมาที่ตัวจะ ถูกกักและไม่ไหลลงมาอีก

เราอาจตามรอยหลักธรรมนี้ผ่านศาสนาจักรและอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า และท่านอาจนำไปใช้ในการปกครองครอบครัว…เปรียบเสมือนต้นองุ่นที่มีกิ่ง ก้าน และแขนง [ดู ยอห์น 15:1–11] นี่คือเรื่องเปรียบเทียบที่สอนหลักธรรม แห่งความชอบธรรมไต้ดีมาก

เพื่อให้เราพร้อมทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า อยู่ในฐานะที่จะเสริม สร้างอาณาจักรของพระองค์บนแผ่นดินโลก และดำเนินตามจุดประสงค์ของ พระองค์ เราต้องไม่เพียงเป็นหนึ่งและกระทำเสมือนหนึ่งใจของคนๆ เดียว แต่เราต้องมีพระวิญญาณศักดิ้สิทธี้ของพระผู้เป็นเจ้า พระดำริและพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวกับตัวเราด้วย และให้พระวิญญาณองค์นั้นปกครองและ ควบคุมเราในการเคลื่อนไหวและการกระทำทั้งหมดของเราเพื่อตัวเราจะปลอด ภัยและได้รับความรอด9

ความเปีนนํ้าหนึ่งใจเดียวกันก่อให้เกิดพลัง

ข้าพเจ้าไม่คิดว่าจะต้องมีการถกเถียงมากมายเพื่อพิสูจน์ให้เราเห็นว่าความ สามัคคีคือพลัง และคนที่เป็นหนึ่งมีพลังอำนาจซึ่งคนที่แตกแยกไม่มี10

เราควรเป็นหนึ่งและยืนอยู่ด้วยกันท่ามกลางการต่อด้านที่เราจะต้องเผชิญ11

คนชั่วมิได้ถูกกำหนดให้มีพลังก่อเกิดความชั่วร้ายกับเรา หากเราเป็นหนึ่ง เดียวกัน12

แบบิลอนอาจแตกแยก ผู้อาศัยของแผ่นดินโลกอาจมีความแตกแยกทั้งหมด ที่เขาปรารถนา แต่เขาจะได้รับผลของความแตกสามัคคี และได้รับตลอดไป เมืองแล้วเมืองเล่า ประเทศแล้วประเทศเล่าถูกทำลายเพราะการพิพากษาของ พระผู้ทรงมหิทธิฤทธิไมื่อสุกงอมในความเลวร้าย เฉกเช่นในกรณีของเมืองโส โดมและโกโมราห์ แบบิลอน นีนะเวห์ ไทระและไซดอน เมืองและประเทศอีก มากมายในสมัยโบราณ แต่สิทธิชนของพระผู้เป็นเจ้าจะรุ่งเรืองไม่ได้เว้นแต่พวก เขาจะเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน13

ขณะที่นิกายศาสนามีมากขึ้น และอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าได้รับการ สถาปนาอย่างสมบูรณ์มากขึ้นนั้น ความสำคัญของความสามัคคีในหมู่สมาชิกยิ่ง ต้องประจักษ์ชัดมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไม่สักแต่พูดว่าสามัคคี แต่การ เชื่อมประสานใจและจิตวิญญาณควรอยู่คับประธานทุกคน รวมทั้งสภา และสา ขาทุกแห่งของศาสนาจักรของพระคริสต์ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามแผนของพระผู้ เป็นเจ้าในการเสริมสร้างไซอันหรือในการไต้รับพรเหล่านั้นซึ่งเขามีสิทธี้ไต้รับ เพราะจงเชื่อเถิดสิทธิชนทั้งหลายของพระผ้สูงสุด ว่าท้องฟ้าจะหยุดนิ่งอย่เหนือ สืรษะฝ่ายประธาน โควรม สภา หรือสาขา’ทแตกแยกในใจและความเสืก และ จะเป็นเช่นนั้นเรื่อยไป และพรจะถูกยับยั้งจนกว่าจะเอาความชั่วร้ายออกไป เพราะพระเจ้าจะไม่หลั่งพรลํ้าค่าที่สุดของสวรรค์ ฐานะปุโรหิต และของประ ทานแห่งพระกิตติคุณ [นอกจาก] จะมีหลักธรรมแห่งความสามัคคีซึ่งกฎชั้นสูง ของพระผู้เป็นเจ้าเรียกร้อง…มีเพียงความพยายามเป็นหนึ่งของสิทธิชนของ พระผู้เป็นเจ้าในสมัยการประทานสุดท้ายนี้เท่านั้นที่การเสริมสร้างไซอันจะบังเกิด ผล และอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลกจะพร้อมรวมกับอาณาจักร ของพระผู้เป็นเจ้าในสวรรค์ และด้วยเหตุนี้สายโซ่ซึ่งผูกชาวสวรรค์ไว้ด้วยกันจะ ขยายไปถึงและโอบล้อมทุกคนที่เชื่อฟ้งพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า14

เราควรเปีนหนึ่งเดียวในคำสอนของเรา ในการทำงานของเราในอาณาจักรของพระผู้เปีนเจ้า และในความรักที่เรามีให้กัน

หลักคำสอน

ข้าพเจ้าปลื้มปีติเสมอเมื่อได้เห็นเพื่อนมนุษย์บรรลุถึงความรู้ในความจริงโดย การเชื่อฟ้งพระกิตติคุณที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าสอน เมื่อมนุษย์ออกไปในนํ้าแห่ง บัพติศมา และได้รับการวางมือเพื่อของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ้ เขา ได้รับความจริงและความสว่างอย่างเดียวกับที่เราได้รับ และด้วยเหตุนี้เราจึงมีใจ เดียวและความคิดเดียว และทำตามการดลใจของพระวิญญาณบริสุทธิ้ ซึ่งติด มากับพระกิตติคุณของพระองค์ ในการสั่งสอนพระกิตติคุณและปฏิบัติพิธีการ แห่งพระนิเวศของพระเจ้านั้น วิญญาณแห่งการดลใจของสวรรค์จะอยู่กับผู้ปฎิ บัติหน้าที่ และจะอยู่กับเขาตลอดไปหากเขาซึ่อสัตย์ไนหน้าที่แห่งชีวิต

เมื่อข้าพเจ้าได้ยินพี่น้องชายพูดถึงการติดต่อของพระผู้เป็นเจ้ากับคนรุ่นป็จจุ บัน ข้าพเจ้าดูออกว่าความคิดของเขาไปด้วยกัน ประจักษ์พยานของเขาเป็นหนึ่ง ทุกคนเห็นพ้องในประจักษ์พยาน เขาเป็นหนึ่งในการแถลงว่างานของพระเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของเราจะมีชัยเหนือศัตรูทั้งหมดของงานนี้15

มีลักษณะเด่นประการหนึ่งเกี่ยวกับการสั่งสอนพระกิตติคุณ นั่นคือ ท่านอาจ จะส่งเอ็ลเดอร์พันคนออกไปและทุกคนจะสอนคำสอนเดียวกัน ทุกคนจะทำ งานเพี่อเสริมสร้างศาสนาจักรเดียวกัน ทุกคนจะเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นเพราะ การเปีดเผยของพระผู้เป็นเจ้าทำให้เขารู้จักศรัทธาของเขา คำสอนของเขา และ องค์กรศาสนาจักร ด้วยเหตุนี้เขาจึงเห็นพ้องเกี่ยวกับหลักธรรมแห่งพระกิตติ คุณ…ความสามัคคีและความรู้สืกเป็นหนึ่งเดียวของเราถือเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่ง ขององค์กรอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า16

การทำงานในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

เราต้องเสริมสร้างอาณาจักรนี้ด้วยความสามัคคีและทำตามคนเหล่านี้ที่ถูกกำ หนดให้นำเราด้วยความชื่อสัตย์ หาไม่แล้วเราจะกระจัดกระจาย พรของพระผู้ เป็นเจ้าจะถูกนำไปจากเราหากเราใช้เสันทางอื่น17

ข้าพเจ้ามีหน้าที่ผูกมิตรกับพระผู้เป็นเจ้าในฐานะเครื่องมือที่อ่อนแอในพระ หัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ามีหน้าที่ประสานพลังกับพระผู้เป็นเจ้า และเมื่อ ใดที่ข้าพเจ้ามีสิ่งนี้ เมื่อนั้นที่ปรึกษาของข้าพเจ้าจะยืนเคียงข้างและยืนกับข้าพเจ้า เราควรมีใจเดียวและความคิดเดียวทั้งทางโลกและทางวิญญาณในทุกเรื่องที่มา อยู่ตรงหน้าเราในการทำงานของศาสนาจักรและอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ข้าพ เจ้าร้สีกขอบพระทัยที่จะพูดว่าเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับเรียกส่ตำแหน่ง หรือตั้งแต่จัดตั้งฝ่ายประธาน [ชุดนี้] ของศาสนาจักร อัครสาวกสิบสอง เป็น หนึ่งเดียวกับเราที่นึ่ หน้าที่ของเขาคือมีใจเดียวและความคิดเดียว เขาไม่มีสิทธี้ เป็นอย่างอื่น เขาจะเป็นอื่นและรุ่งเรืองไม่ได้ต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า เขาควร เป็นหนึ่งเดียวกับเรา และเราเป็นหนึ่งเดียวกับเขา เขามีสิทธี้ เขามีสิทธิใสรี แต่ เมื่อฝ่ายประธานของศาสนาจักรพูดกับคนใดคนหนึ่งในพวกเขาว่า “นี่คือพระ ดำรัสของพระเจ้า” หรือ “นี่ถูกต้อง” เขาควรยอมรับและทำงานกับเรา กฎของ พระผู้เป็นเจ้าเรียกร้องความเป็นหนึ่งจากมือเรา หน้าที่ของสาวกเจ็ดสิบคือเปีน หนึ่งกับอัครสาวกสิบสอง อัครสาวกขอให้สาวกเจ็ดสิบออกไปทำงานในสวน องุ่นของพระเจ้า และเขาทำงานด้วยกัน พี่น้องชายหญิงทั้งหลาย ทุกองค์กรใน ศาสนาจักรนี้ก็เช่นกัน ควรมีความสามัคคี ไม่ควรมีความไม่ลงรอย การแตก สามัคคี หากมี พระเจ้าย่อมไม่พอพระทัย และเราจะถูกขัดขวางในงานของเรา18

เราเห็นได้ทุกแห่งหนบนพื้นพิภพว่าผลของการแตกสามัคคีคืออะไร ยิ่งประ เทศชาติ ชุมชน ครอบครัว หรือกลุ่มคนภายใต้ฟ้าสวรรค์แตกแยกกันมากเพียง ใด พลังอำนาจที่เขาครอบครองเพี่อดำเนินตามจุดประสงค์หรือหลักธรรมใดที่คิด ไว้ก็จะลดลงมากเพียงนั้น ยิ่งเขามีความสามัคคีมากเพียงใด ไม่ว่าจะในแง,กฎ หมายหรือแง,อื่น เขาจะยิ่งมีพลังอำนาจทำสิงที่ตนปรารถนาให้บรรลุผลสำเร็จมาก เพียงนั้น เราจะเห็นได้ว่าคนของโลกแตกแยกมากขึ้นทุกวัน และความชั่วร้าย จากการนั้นมีให้เห็นทุกที่ เราได้รับเรียกให้เสริมสร้างไซอันและเราจะสร้างไม่ได้ เว้นแต่เราจะเป็นหนึ่งเดียวกัน และในความสามัคคีนั้นเราด้องปฏิบัติตามพระ บัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เรา และเราต้องเชื่อฟ้งผู้ที่ถูกกำหนดให้นำ และนำทางกิจการงานในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า …

… หลักธรรมแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ซึ่งเปีดเผยในสมัยของเราคือ พลังอำนาจของพระผู้เปีนเจ้าอันจะนำทุกคนที่เชื่อไปส่ความรอด ทั้งชาวยิวและ คนต่างชาติ ในยุคนี้ของโลกเช่นเดียวกับในยุคอื่น และตราบที่เราจะเป็นหนึ่งใน การดำเนินตามคำแนะนำที่ได้รับ เราจะสามารถเอาชนะความชั่วร้ายทุกอย่างที่อยู่ ในเส้นทางของเรา เสริมสร้างไซอันของพระผู้เป็นเจ้า และวางตัวเราไว้ในตำ แหน่งที่เราจะรอด19

ความรักที’มีไห้กัน

จงอ่อนโยนต่อกัน อย่าจับผิดกัน…จงช่วยเหลือเกื้อกูลกัน20

ไม่ควรมีความรู้สืกเห็นแก่ตัวในส่วนใดส่วนหนึ่งของครอบครัว—“ฉันไม่สน ว่า จะเกิดอะไรขึ้น ขอให้ฉันได้อย่างที่ด้องการก็พอ” นี่คือความเห็นแก’ตัวอันก่อ ให้เกิดการแตกสามัคคีและไม่สอดคล้องกับคำประกาศตนของสิทธิชนของพระ ผู้เป็นเจ้า เราแต่ละคนและทุกคนควรพยายามนำความรู้สืกเช่นนั้นออกจากใจ เรา และจากนั้นในองค์กรครอบครัวของเรา เราควรพยายามส่งเสริมความสนใจ โดยทั่วไปของสมาชิกในครอบครัว21

หากศาสนาของเราไม่นำเราให้รักพระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์และติดต่อ คบหากับทุกคนด้วยความยุติธรรมและซื่อตรง เมื่อนั้นคำประกาศตนของเรา ย่อมไม่เกิดประโยชน์ อัครสาวกกล่าวว่า

“ถ้าผู้ใดว่าข้าพเจ้ารักพระเจ้า และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตน ผู้นั้นก็เป็น คนพูดมุสา เพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว จะรักพระเจ้าที่ไม่เคย เห็นไม่ได้” [1 ยอห์น 4:20]

เราจะแสดงให้เห็นความรักที่เรามีต่อพระผู้เป็นเจ้าได้ดีที่สุดโดยดำเนินชีวิต ตามศาสนาของเรา นับว่าไร้ประโยชน์ที่จะประกาศความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าขณะ พูดให้ร้ายหรือทำผิดต่อลูกๆ ของพระองค์ พันธสัญญาศักดี้สิทธี้ที่เราทำกับพระ องค์บีบเราให้ทำหน้าที่ที่มีต่อกัน และภาระหน้าที่สำคัญของศาสนาคือสอนให้ เรารู้วิธีปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นจนก่อให้เกิดความสุขอันยิ่งใหญ่ที่สุดแก่ตัวเราและ เพื่อนมนุษย์ของเรา เมื่อเราปฏิบัติตามข้อผูกมัดของศาสนา คำพูดหรือการกระ ทำของเราจะไม่ทำร้ายเพื่อนบ้าน หากสิทธิชนยุคสุดท้ายดำเนินชีวิตตามที่ควร ทำ และตามที่ศาสนาสอนเขาให้ทำ จะไม่มีความร้สีกใดในใจเขานอกจากความ รักและความเอ็นดูฉันพี่น้อง การกลั่นแกล้งลับหลังและการพูดให้ร้ายจะไม’มีอยู่ ในบรรดาพวกเรา แด,สันติสุข ความรัก และไมตรีจิตจะครองใจเรา และแผ่คลุม ไปทั่วถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของเรา เราจะเป็นผู้มีความสุขมากที่สุดบนผืนแผ่น ดินโลก พรและสันติสุขแห่งสวรรค์จะอยู่กับเราและกับทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่ง ของเรา

หากมีความไม่เป็นสุข ความอิจฉาตาร้อน การทะเลาะเบาะแว้ง และความ เกลียดชังในหมู่พวกเรา นั่นเป็นเพราะเราไม’ปฏิบัติตามศาสนาที่เรายอมรับ นั่น ไม่ใช่ผลของศาสนา ที่ใดมีความชั่วร้ายเหล่านี้ ที่นั่นต้องมีการกลับใจ …

ในฐานะสิทธิชนยุคสุดท้าย เรามีธรรมเนียมปฏิบัติของการรับส่วนสืลระลึก สัปดาห์ละครั้ง หากเราเอาใจใส่คำสอนของพระเจ้าผู้ที่เราระลึกถึงพระองค์ขณะ ปฏิบัติพิธีการศักดิ๙สิทธิ”น คนที่ล่วงเกินกันจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับส่วนจนกว่า เขาจะคืนดีกัน นึ่คือพระบัญชาของพระเจ้าพระเยซูที่ระบุชัดว่าจะไม่มีใครได้รับ อนุญาตให้รับส่วนเนื้อหนังและโลหิตของพระองค์โดยไร้ค่า [ดู 3 นีไฟ 18:28–32]. เรานึกไม่ออกว่าจะมีระบบใดป้องกันความรู้สืกไม่เหมาะสมและเรื่องเลวร้าย ในหมู่พี่น้องชายหญิงได้สมบูรณ์กว่านี้ หากสิทธิชนทำหน้าที่ของตน ปัญหายุ่ง ยากจะได้รับการแก้ไขก่อนถึงวันของพระเจ้าเมื่อเขามาประชุมเพื่อกินและดื่ม ในความระลึกถึงพระองค์22

ข้าพเจ้าใคร่ขอแนะนำสิทธิชนทุกคนให้พร้อมใจกันปฏิบัติตามพระดำรัสของ พระ เจ้าดังบันทึกไวัในข้อ 12, 13 และ 14 ของยอห์น [บทที่ 15]—หากเรา รักกันเช่นพระคริสต์ทรงรักเรา เราจะสามารถแก้ไขปัญหายุ่งยากทั้งหมดที่เกิด ขึ้นท่ามกลางเราได้โดยง่าย ให้อภัยกัน เปียมด้วยความเมตตา และความสว่าง ความรัก ปีติ ความสามัคคี สันติสุข และมิตรภาพจะสร้างเสถียรภาพในเวลา ของเรา ซึ่งในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า ในสายตาของเหล่าเทพและมนุษย์ แล้ว สิ่งเหล่านี้ดีกว่าการจับจ้องเพื่อจะหาเรื่องพี่น้องของเรา23

เราควรมีใจเดียวและความคิดเดียว และไม่ยอมให้เรื่องทางโลกหรือทางวิญ ญาณมาแยกเราออกจากความรักของพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์24

ฃ้อเลโนอแนะสำพรับศึกษาและลโอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะสืกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่ หน้า ⅴ-ⅸ.

  • ทบทวนย่อหน้าแรกในหน้า 243 ท่านเคยมีประสบการณใดบ้างที่คล้ายกับ ประสบการณ์นี้

  • พระบิดาบนสวรรค์ พระเยซูคริสต์ และพระวิญญาณบริสุทธิ๙ทรงเป็น “หนึ่ง” ในทางใด (ดูหน้า 245-246)

  • ศาสดาเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ไนทางใด (ดูหน้า 246- 248) เราทุกคนจะบรรลุความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกันเช่นนั้นได้อย่างไร (ดู หน้า 248-249)

  • ทบทวนหน้า 246-248 เพื่อหาความคิดเห็นของประธานวูดรัฟฟ็เกี่ยวกับ ที่ดิน 40 เอเคอร์ แม่นํ้า และด้นองุ่น เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเรื่องเปรียบ เทียบเหล่านี้

  • อ่านย่อหน้าสามในหน้า 248 ประสบการณ์ใดแสดงให้ท่านเห็นว่า “ความ สามัคคีคือพลัง”

  • พิจารณาหรือสนทนาภูมิหลัง ลักษณะนิสัย ความสนใจ พรสวรรค์ และ หน้าที่ที่แตกต่างกันของสมาชิกในวอร์ด สาขา หรือในครอบครัว ท่านคิดว่า แต่ละคนจะเป็นหนึ่งเดียวตลอดเวลาได้อย่างไร

  • เราไดรับพรอะไรบางเมื่อเราเปีนหนึ่งเดียวตลอดเวลาในบานของเรา และใน องค์การต่างๆ ของศาสนาจักร ผลของความไม่เป็นหนึ่งเดียวที่บ้านและที่ โบสถ์มีอะไรบ้าง

  • ศาสนาจักรจัดเตรียมสิ่งใดไว้ช่วยใหเราเป็นหนึ่งเดียวในคำสอนที่เราสอน เราทำอะไรได้บ้างเพื่อใหแนไจว,าคำสอนของเราเป็นหนึ่งเดียวกับคำสอนของ ศาสดาที่มี’ชีวิต

  • เหตุใดจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพูดวำเรารักพระผู้เป็นเจาแต่เกลียดชังพี่น่องของ เรา (ลูหน่า 252)

  • สืกษาย่อหน่าสุดทายในหน่า 252 สืลระลึกช่วยใหเราเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างไร

ขอพระคัมภีร์ที่เกี่ยวของ: สดุดี 133:1; โมไซยา 18:21; 3 นีไฟ 11:28–29

อ้างอิง

  1. บันทึกส่วนตัวของวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ็ 21 มิถุนายน 1840 หอจดหมายเหตุศาสนา จักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุค สุดท้าย; ดู บันทึกส่วนตัวของวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ็ 2 เมษายน 1841; 5 เมษายน 1841; 16 กุมภาพันธ์ 1845; 20 กรกฎาคม 1845; 31 สิงหาคม 1845; 26 มีนาคม 1847 ด้วย

  2. บันทึกส่วนตัวของวิลฟอร์ด วูดรัฟ่ฟ็ 16 กุมภาพันธ์ 1845

  3. Wilford Woodruff: History of His Life and Labors as Recorded in His Daily Journals (1964), 70.

  4. ใน Brian H. Stuy, comp., Collected Discourses Delivered by President Wilford Woodruff, His Two Counselors, the Twelve Apostles, and Others, 5 vols. (1987-92), 2:81-82.

  5. ใน Collected Discourses, 2:83.

  6. ใน Collected Discourses, 2:82.

  7. The Discourses of Wilford Woodruff, sel. G. Homer Durham (1946), 83.

  8. ใน Collected Discourses, 2:82.

  9. Deseret News, February 4, 1857, 379.

  10. The Discourses of Wilford Woodruff, 172.

  11. ใน Collected Discourses, 1:220.

  12. ใน Collected Discourses, 1:264.

  13. ใน Collected Discourses, 2:82.

  14. “Union,” Millennial Star, November 15, 1845, 168.

  15. Deseret News, June 26, 1861, 130.

  16. The Discourses of Wilford Woodruff, 135.

  17. Deseret News, May 13, 1857, 76.

  18. The Discourses of Wilford Woodruff, 89.

  19. Deseret News: Semi-Weekly, May 25, 1867, 3.

  20. ใน Collected Discourses, 3:161.

  21. Deseret News: Semi-Weekly, September 20, 1870, 2.

  22. “An Epistle to the Members of The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints,” Millennial Star, November 14, 1887, 729–30.

  23. “To the Officers and Members of The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints in the British Islands,” Millennial Star, February 1845, 142.

  24. ใน Collected Discourses, 5:47.

grape vines

ประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ็เน้นความจำเป็นของความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน โดยเปรียบเทียบการปกครองศาสนาจักรและครอบครัวกับ “ต้นองุ่นที’ปีกิ่ง ก้าน และแขนง”

First Presidency in 1894

ฟื้ายประธานสูงสุดในปี ค.ศ. 1894 จากซ้ายไปขวา ประธานจอร์จ คิว. แคนนอน ที่ปรึกษาที่หนึ่ง; ประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟื; และประธานโจเซฟ เอฟ. สมิธ ที่ปรึกษาที่สอง