สถาบัน
บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: ซาบซึ้งในความยุติธรรม ความเมตตา และความรักของพระผู้เป็นเจ้า


“บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: ซาบซึ้งในความยุติธรรม ความเมตตา และความรักของพระผู้เป็นเจ้า,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

พระ‍หัตถ์​ของ​พระ‍องค์​​ยังคง​เหยียด​ออกมา โดย เอลิซาเบ็ธ เธเยอร์

บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

ซาบซึ้งในความยุติธรรม ความเมตตา และความรักของพระผู้เป็นเจ้า

โมเสสสอนว่าพระเยโฮวาห์ทรง “ยุติธรรมและทรงเที่ยงตรง” (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:4) เขายังกล่าวด้วยว่าพระเจ้าทรง “พระกรุณาและพระคุณ” (ดู อพยพ 34:6) ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงทั้งยุติธรรม และ กรุณาได้อย่างไร? พระคุณลักษณะอันสูงส่งของพระเจ้าไม่เพียงสอนถึงความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อท่านเท่านั้น แต่ยังให้ตัวอย่างด้วยว่าท่านสามารถแสดงความรักต่อผู้อื่นได้อย่างไร

หมายเหตุ: ในพระคัมภีร์ พระนาม พระผู้เป็นเจ้า อาจหมายถึงพระบิดาบนสวรรค์หรือพระเยซูคริสต์ ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระคุณลักษณะอันสูงส่งทั้งหมดอย่างสมบูรณ์แบบ สิ่งใดก็ตามที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์หนึ่งก็จริงเช่นเดียวกันกับอีกพระองค์ (ดู ยอห์น 14:9; 17:21)

หมวดที่ 1

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าสอนอะไรฉันเกี่ยวกับความรักของพระองค์ได้บ้าง?

บางคนมองว่า “พระผู้เป็นเจ้าแห่งพันธสัญญาเดิม” มีพฤติกรรมแตกต่างจาก “พระผู้เป็นเจ้าแห่งพันธสัญญาใหม่” พวกเขามองว่าพระผู้เป็นเจ้าแห่งพันธสัญญาเดิม พระเยโฮวาห์ ทรงมีความคิดพยาบาท เรียกร้อง และเข้มงวด และพวกเขาเห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าแห่งพันธสัญญาใหม่ พระเยซูคริสต์ ทรงมีพระเมตตา ให้อภัย และกรุณา แต่ตามที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนที่แล้วว่า “[พระเยซูคริสต์] ทรงเป็นพระเยโฮวาห์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพันธสัญญาเดิม [และ] พระเมสสิยาห์แห่งพันธสัญญาใหม่” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” ChurchofJesusChrist.org) พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกันจะทั้งเข้มงวด และ กรุณา โกรธ และ อดกลั้น ยุติธรรม และ มีพระเมตตาได้อย่างไร?

พระคุณลักษณะที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเหล่านี้เป็นตัวอย่างของความลึกและความกว้างแห่งพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าใจวิธีที่พระองค์ทรงครอบครองพระคุณลักษณะทั้งหมดเหล่านี้ไว้ทำให้เราวางใจพระองค์ได้ดีขึ้น ลองนึกถึงปัญหาที่เราอาจเผชิญในชีวิตถ้าเราพิจารณาหรือดูว่าถ้าพระผู้เป็นเจ้าทรงมีพระลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง พระองค์ก็ไม่สามารถมีลักษณะอื่นได้อีก—พระองค์ทรงยุติธรรมและเที่ยงตรง หรือ มีความสงสารและให้อภัย อย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่ท่านศึกษาพระคัมภีร์ ให้ตรึกตรองว่าพระคุณลักษณะ ทั้งหมด ของพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวข้องกับความรักอันสมบูรณ์ของพระองค์อย่างไร

เริ่มต้นด้วยพระคุณลักษณะของความยุติธรรม คำนี้ทำให้ท่านนึกถึงอะไร? บางครั้งในพระคัมภีร์ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าอาจฟังดูรุนแรง บางเรื่องราวในพันธสัญญาเดิมใช้คำอย่างเช่น ความเคืองแค้น และ โกรธ เพื่ออธิบายถึงความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าต่อผู้ไม่เชื่อฟังและคนชั่ว (ดู อิสยาห์ 1:4; เยเรมีย์ 32:30) ตัวอย่างเช่น เนื่องจากการไม่เชื่อฟังของผู้คน เมืองโสโดมและโกโมราห์จึงถูกไฟจากสวรรค์ทำลายล้าง (ดู ปฐมกาล 19:15–25) เชื้อสายแห่งอิสราเอลจึงถูกอัสซีเรียทำให้กระจัดกระจาย (ดู 2 พงศ์กษัตริย์ 15:27–31) และประชาชาติของยูดาห์ถูกชาวบาบิโลนจับไปเป็นเชลย (ดู 2 พงศ์กษัตริย์ 24:10–16) กล่าวโดยสรุป คนชั่วมักประสบกับความหนักหนาของความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า

ความพินาศของเยรูซาเล็ม โดย แกรีย์ แอล. แคพพ์

เมื่อเราอ่านเกี่ยวกับพระพิโรธของพระผู้เป็นเจ้า เราไม่ควรทึกทักเอาเองว่าความรู้สึกและการแสดงความโกรธของเราในฐานะมนุษย์ที่ตกนั้นเหมือนกับความโกรธที่ชอบธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตามที่ศาสดาพยากรณ์อิสยาห์เตือนเราว่า “ความคิดของเราไม่ใช่ความคิดของเจ้า และทางของพวกเจ้าก็ไม่ใช่ทางของเรา พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ” (อิสยาห์ 55:8)

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดเสนอมุมมองต่อไปนี้:

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

เราอ่านครั้งแล้วครั้งเล่าในพระคริสตธรรมคัมภีร์และพระคัมภีร์ยุคปัจจุบันเกี่ยวกับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้าต่อคนชั่วร้ายและสิ่งที่พระองค์ทรงแสดงในพระพิโรธของพระองค์ต่อผู้ละเมิดกฎข ความกริ้วและพระพิโรธของพระองค์แสดงถึงความรักของพระองค์อย่างไร? … ความรักของพระผู้เป็นเจ้าบริบูรณ์ยิ่งจนพระองค์ทรงเรียกร้องด้วยความรักให้เราเชื่อฟังพระบัญญัติ เพราะพระองค์ทรงทราบว่าโดยการเชื่อฟังกฎของพระองค์เท่านั้นที่เราจะดีพร้อมเช่นพระองค์ได้ ด้วยเหตุนี้ ความกริ้วและพระพิโรธของพระผู้เป็นเจ้ามิได้ขัดแย้งกับความรักของพระองค์ แต่เป็นเครื่องแสดงถึงความรักของพระองค์ (“ความรักและกฎ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 32)

จังหวะเวลาแห่งความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้ายังเป็นเครื่องหมายของความรักที่พระองค์ทรงมีต่อบุตรธิดาของพระองค์ด้วย พิจารณาตัวอย่างเรื่องราวของโนอาห์กับน้ำท่วม ในสมัยของโนอาห์ “โลกเสื่อมทรามต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า” (โมเสส 8:28) ความรุนแรงแผ่ขยายออกไปและผู้คนก็กระทำการชั่วร้ายอย่างต่อเนื่อง โนอาห์เตือนผู้คนมาประมาณ 120 ปีว่าหากพวกเขาไม่กลับใจ พวกเขาจะถูกทำลายโดยน้ำท่วม (ดู โมเสส 8:17–30) พวกเขาเพิกเฉยต่อคำวิงวอนด้วยความรักของพระผู้เป็นเจ้า และทุกคนยกเว้นโนอาห์และครอบครัวของเขาประสบความพินาศในน้ำท่วม (ดู ปฐมกาล 8:15–21)

เรือในทะเล

เมื่อมองเผินๆ เหตุการณ์นี้อาจดูเหมือนเป็นการปฏิบัติความยุติธรรมที่เข้มงวดและเกรี้ยวกราด แต่จากนิมิตที่ศาสดาพยากรณ์เอโนคได้รับถึงสมัยของโนอาห์ เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้ากับความรักของพระองค์

ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน โมเสส 7:28–29, 32–33, 37 และมองหาหลักฐานยืนยันถึงความรักอันลึกซึ้งของพระผู้เป็นเจ้าแม้กับคนที่ไม่สดับฟังพระบัญญัติของพระองค์

จากฉากที่สะเทือนใจนี้ เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวดังนี้:

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

ภาพน่าสะเทือนใจดังกล่าวสอนพระลักษณะแท้จริงของพระผู้เป็นเจ้าเกินกว่าบทความใดๆ ทางศาสนาจะถ่ายทอดได้…

นี่เป็นภาพที่ไม่อาจลบล้างได้ถึงความเกี่ยวพันของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเรา!… ง่ายเพียงใดที่จะรักพระองค์ ผู้ทรงรักเรายิ่งสิ่งใด! (“ความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2003, 86)

เมื่อท่านนึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อท่าน ให้นึกถึงวิธีที่ดีที่สุดที่จะอธิบายสิ่งนี้ให้คนอื่นฟัง เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

มีหลายวิธีในการอธิบายและพูดถึงความรักของพระเจ้า ความหมายหนึ่งที่เรามักได้ยินในปัจจุบันคือความรักของพระผู้เป็นเจ้านั้น “ไม่มีเงื่อนไข” ซึ่งบางแง่มุมก็เป็นความจริง แต่คำอธิบายที่ว่า ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีปรากฏในพระคัมภีร์ แต่ความรักของพระองค์อธิบายไว้ในพระคัมภีร์ว่าเป็น “ความรักอันประเสริฐและน่าพิศวง” [หลักคำสอนและพันธสัญญา 138:3] “ความรักที่สมบูรณ์” [1 ยอห์น 4:18; โมโรไน 8:16] “ความรักที่ไถ่” [แอลมา 5:26] และ “ความรักนิรันดร์” [เยเรมีย์ 31:3] ความหมายเหล่านี้ดีกว่าเพราะคำว่า ไม่มีเงื่อนไข สามารถสื่อแนวคิดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความรักของพระเจ้า เช่น พระผู้เป็นเจ้าทรงอดทนและให้อภัยทุกสิ่งที่เราทำ เพราะความรักของพระองค์ไม่มีเงื่อนไข; หรือพระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงเรียกร้องอะไรจากเรา เพราะความรักของพระองค์ไม่มีเงื่อนไข; หรือ ทุกคน รอดในอาณาจักรแห่งสวรรค์ของพระผู้เป็นเจ้าเพราะความรักของพระองค์ไม่มีเงื่อนไข ความรักของพระผู้เป็นเจ้าไม่มีที่สิ้นสุดและจะยั่งยืนตลอดกาล แต่จะมีความหมายต่อเราอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับวิธีที่เราตอบสนองความรักของพระองค์ (“ติดสนิทอยู่กับความรักของเรา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 48)

ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

ท่านจะอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้ากับความรักที่พระองค์ทรงมีต่อบุตรธิดาของพระองค์อย่างไร?

หมวดที่ 2

พระเมตตาของพระเจ้าสามารถสอนอะไรฉันเกี่ยวกับความรักของพระองค์?

เรารู้สึกดีที่มีพระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรเราเมื่อเราเชื่อฟัง แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะต้องประสบกับผลที่ตามมาของการเลือกที่ไม่ดีของเราเอง และเมื่อผลที่ตามมาร้ายแรง ก็อาจจะเป็นเรื่องน่ากลัวได้ ในช่วงเวลาดังกล่าว เราอาจทูลขอความเมตตาจากพระเจ้า

อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ กรณี คนที่ทำบาปไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า พิจารณากรณีของโคริแอนทอน ลูกชายคนเล็กของแอลมา หลังจากละทิ้งงานเผยแผ่และทำบาปร้ายแรง โคริแอนทอนรู้สึกว่าเป็น “การอยุติธรรม” ที่คนบาปจะได้รับการลงโทษและประสบกับความทุกข์ยาก (ดู แอลมา 42:1)

ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน แอลมา 42:15, 22, 24–25 และมองหาสิ่งที่แอลมาสอนเกี่ยวกับความยุติธรรม ความเมตตา และการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (หมายเหตุ: คนสำนึกผิดคือ “คนที่กลับใจจากบาป; คนเสียใจเพราะการละเมิดของเขา [หรือเธอ]”

พระคริสต์ในเกทเสมนี โดย แฮร์รีย์ แอนเดอร์สัน

พระเยซูคริสต์ทรงยืนอยู่ระหว่างเรากับความยุติธรรมที่รอเราอยู่ด้วยความรักส่วนพระองค์อย่างสุดซึ้งต่อท่านและทุกคน (ดู โมไซยาห์ 15:9) พระองค์ทรงชดใช้บาปของเราอย่างเจ็บปวด และพระองค์ทรงต้องการแสดงความเมตตาต่อผู้สำนึกผิด (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–18) ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ ที่ปรึกษาในฝ่ายประธานสูงสุดขณะนั้นสอนว่า:

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

เราไม่อาจเปิดทางเข้าสู่สวรรค์ ข้อเรียกร้องของความยุติธรรมขวางกั้นอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีอำนาจจะเอาชนะได้ด้วยตนเอง

แต่ทั้งหมดจะไม่สูญเสีย …

ถึงบาปของเราอาจเป็นเหมือนสีแดงเข้ม ก็จะขาวอย่างหิมะ เพราะผู้ช่วยให้รอดอันเป็นที่รักของเรา “ประทานพระองค์เองให้เป็นค่าไถ่สำหรับทุกคน” [1 ทิโมธี 2:6] ทางเข้าอาณาจักรอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์จึงมีไว้เพื่อเรา (“ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 108)

ไตร่ตรองเกี่ยวกับนิมิตของเอโนคเรื่องน้ำท่วมอีกครั้ง เอโนคเรียนรู้ว่าในโลกวิญญาณ แม้แต่คนที่ไม่เชื่อฟังที่เสียชีวิตในน้ำท่วม ในท้ายที่สุดก็สามารถออกมาและยืน “ทางพระหัตถ์ขวาของพระผู้เป็นเจ้า” หากพวกเขาใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และกลับใจจากบาปของตนเอง (โมเสส 7:57; ดู โมเสส 7:38, 55–56; หลักคำสอนและพันธสัญญา 138:6–8, 28–37 ด้วย)

เอ็ลเดอร์ลินน์ จี. ร็อบบินส์แห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่าพระคุณของพระเจ้าทำให้เรามีโอกาสมากมายที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร:

เอ็ลเดอร์ลินน์ จี. รอบบิน

เราสุดพิศวงต่อพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานโอกาสครั้งที่สองแก่เราในการเอาชนะบาป หรือความล้มเหลวในใจ

ไม่มีใครอยู่ฝ่ายเดียวกับเรามากเท่าพระผู้ช่วยให้รอด …

โดยทราบว่าในทางคับแคบและแคบนั้นจะเต็มไปด้วยการทดลองและความล้มเหลวจะเกิดขึ้นกับเราทุกวัน พระผู้ช่วยให้รอดทรงชดใช้อย่างไร้ขอบเขตเพื่อประทานโอกาสให้เรามากเท่าที่เราจะผ่านการทดลองในชีวิตมรรตัยไปได้อย่างประสบความสำเร็จ…

เพราะเราไม่ต้องการจะ ผ่าน จนกว่าเราจะเป็นเหมือนที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็น เราจึงต้องลุกขึ้นต่อไปทุกครั้งที่เราล้ม พร้อมความปรารถนาที่จะเติบโตและก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แม้เราจะมีความอ่อนแอ (“เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 22, 23)

ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

ท่านคิดหรือรู้สึกอย่างไรต่อพระเยซูคริสต์ โดยรู้ว่าพระองค์ทรงสนองข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมเพื่อที่ท่านจะได้กลับใจและได้รับความเมตตา? ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดงความสำนึกคุณต่อการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ที่พระองค์ทรงทำเพื่อท่าน?