สถาบัน
บทที่ 26 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น


“บทที่ 26 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 26 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 26 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

การเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น

พระเยซูคริสต์ทรงขอให้เรา ในฐานะสานุศิษย์ของพระองค์ เป็นดังที่พระองค์ทรงเป็น (ดู 3 นีไฟ 27:27) ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะพิจารณาว่าการพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์จะทำให้ตนเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นได้อย่างไร นอกจากนี้ นักเรียนยังจะมีโอกาสเลือกคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์หนึ่งประการ แล้วตัดสินใจว่าตนสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าวให้เต็มที่ยิ่งขึ้น 

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

พระเยซูคริสต์รับสั่งให้เหล่าสานุศิษย์เป็นเหมือนพระองค์

เพื่อเริ่มคาบเรียน ให้แสดงหรือเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านออกเสียงข้อความของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน จากนั้นถามว่า

  • การรู้บางสิ่ง การทำบางสิ่ง และการเป็นบางสิ่งมีความแตกต่างกันอย่างไร?

สรุปบริบทของ 3 นีไฟ 27 จากนั้นอ่าน 3 นีไฟ 27:27 ด้วยกัน หรือท่านอาจชมคลิปที่เกี่ยวข้องจาก Book of Mormon Videos (ChurchofJesusChrist.org) ท่านอาจแสดงความจริงดังต่อไปนี้: พระเยซูคริสต์ทรงขอให้สานุศิษย์ของพระองค์เป็นดังที่พระองค์ทรงเป็น

ท่านอาจแสดงภาพบางภาพที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะของพระคริสต์ จากนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนเลือกอ่านข้อความต่อไปนี้หนึ่งหรือสองข้อ เพื่อมองหาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์:

  • คุณลักษณะของพระเยซูคริสต์ข้อใดบ้างที่ท่านต้องการพัฒนา? (ท่านอาจเขียนคุณลักษณะที่นักเรียนระบุไว้บนกระดาน)

  • ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักได้รับพรอย่างไรจากการเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น? (ท่านอาจทบทวนคำกล่าวของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

ท่านอาจแบ่งปันเหตุการณ์ที่คล้ายเหตุการณ์สมมติต่อไปนี้:

เมื่อดูรายการคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ เอลิซารู้สึกหนักใจ เธอสงสัยว่าเธอจะรวมเอาคุณลักษณะทั้งหมดนั้นมาไว้ในชีวิตเธอได้อย่างไร ดูเหมือนสุดวิสัย

  • ท่านเคยรู้สึกแบบเอลิซาไหม? ท่านจะแนะนำเธอว่าอย่างไร?

  • ความท้าทายอะไรอีกบ้างที่เราอาจเผชิญระหว่างมุ่งพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์?

  • หลักธรรมพระกิตติคุณข้อใดจะช่วยให้เรารู้สึกมีหวังมากขึ้น ขณะเพียรพยายามพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์? (หากจำเป็น นักเรียนอาจพิจารณาข้อความของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนหรือพระคัมภีร์อย่างเช่น: โมไซยาห์ 4:27; อีเธอร์ 12:27; หรือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 78:17–18; 93:13)

ปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเรา

ใช้เรื่องเล่า เรื่องเล่าสามารถสร้างความสนใจ เสริมสร้างความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และแสดงตัวอย่างการนำไปใช้ นอกจากเรื่องเล่าในพระคัมภีร์แล้ว เรื่องเล่าส่งเสริมศรัทธาจากผู้นำศาสนจักรก็สามารถแสดงให้เห็นวิธีประยุกต์ใช้หลักธรรมในบริบทสมัยใหม่ได้เช่นกัน ครูและนักเรียนสามารถแบ่งปันเรื่องเล่าสร้างแรงบันดาลใจจากชีวิตของตนให้แก่กันได้

เพื่อให้เห็นภาพแนวคิดของการเป็นเหมือนพระเจ้าทีละเล็กทีละน้อย ท่านอาจแสดงภาพภูเขาฟูจิ แล้วอ่านประสบการณ์ต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์และซิสเตอร์ไวทิงก์ (หรือท่านอาจรับชมหรือรับฟังเอ็ลเดอร์ไวทิงก์แบ่งปันประสบการณ์ที่ว่านี้ในการประชุมใหญ่สามัญ [ตั้งแต่นาทีที่ 2:35 ถึง 3:09])

10:21
ภูเขาฟูจิ
เอ็ลเดอร์สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์

ไม่กี่ปีก่อน ข้าพเจ้ากับภรรยายืนอยู่ตรงต้นทางเดินขึ้นภูเขาสูงที่สุดของญี่ปุ่น ภูเขาฟูจิ ขณะเริ่มขึ้นไปเราเงยหน้ามองยอดเขาไกลลิบและสงสัยว่าเราจะเดินถึงหรือเปล่า

ระหว่างที่เดิน เรารู้สึกอ่อนแรง เจ็บกล้ามเนื้อ และมีอาการจากการขึ้นที่สูง การจดจ่ออยู่แค่ก้าวต่อไปจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อเราทางใจ เราจะพูดว่า “ฉันอาจจะไปไม่ถึงยอดเขาเร็วๆ นี้ แต่ตอนนี้ฉันยังเดินก้าวต่อไปไหว” ในที่สุดภารกิจที่ดูยากเย็นก็บรรลุผลสำเร็จ—ทีละก้าว (สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์, “การเป็นเหมือนพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 12)

  • ประสบการณ์ของครอบครัวไวทิงก์อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร?

หลังจากนักเรียนแบ่งปันความคิดของตน ให้แสดงข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ไวทิงก์

เอ็ลเดอร์สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์

การเป็นดังที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นจะเรียกร้องให้เราเปลี่ยนแปลงใจและความคิด ที่จริงคือเปลี่ยนอุปนิสัย และเราจะทำเช่นนั้นได้ผ่านพระคุณที่ช่วยให้รอดของพระเยซูคริสต์เท่านั้น …

เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าที่แท้จริง ท่านจะต้องเพียรพยายามต่อไป เหมือนการปีนเขาที่ต้องมีการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ต้องมีความอดทนและความบากบั่นระหว่างปีน การเดินทางครั้งนี้ก็ต้องใช้ความพยายามและการเสียสละจริงๆ เช่นกัน การเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่แท้จริงเรียกร้องความพยายามสุดความสามารถของเราเสมอในการพากเพียรเป็นเหมือนพระอาจารย์ (สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์, “การเป็นเหมือนพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 13, 14)

บอกให้นักเรียนเปิดไปที่กิจกรรม “บันทึกความคิดของท่าน” ในหมวดที่ 3 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน จากนั้นตัดสินใจเลือกว่ากิจกรรมใดต่อไปนี้อาจตรงกับความต้องการของนักเรียนมากที่สุด

  1. เชื้อเชิญให้นักเรียนใช้เวลาทำ“กิจกรรมคุณลักษณะ” ที่อยู่ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา หรือไตร่ตรองว่าตนเรียนรู้หรืออาจเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ดังกล่าว

  2. ให้เวลานักเรียนเลือกและอ่าน (หรือเริ่มอ่าน) หนึ่งในคำปราศรัยในหมวด “ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?” ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน พวกเขายังอาจพบแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาของตนเอง เมื่อค้นหาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ในแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

  3. เชื้อเชิญให้นักเรียนบางส่วนมาแบ่งปันข้อมูลจากพระคัมภีร์ว่า พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างในคุณลักษณะที่ตนเลือกจะพัฒนาอย่างไร (ดูขั้นที่ 2 ในกิจกรรม “บันทึกความคิดของท่าน” ในหมวดที่ 3 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

  4. เชื้อเชิญให้นักเรียนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้จากการพูดคุยกับคนรู้จักในเรื่องการเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น (ดูกิจกรรม “สนทนาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน” ในหมวดที่ 1 หรือขั้นที่สาม ของกิจกรรม “บันทึกความคิดของท่าน” ในหมวดที่ 3 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนเพื่อหาแนวคิด)

ในการสรุปคาบเรียน ท่านอาจแสดงคำถามต่อไปนี้ แล้วเชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองและบันทึกความประทับใจของตน

  • การพัฒนาหรือเสริมสร้างคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ที่ท่านเลือกไว้มีอิทธิพลต่อชีวิตและความสัมพันธ์ของท่านอย่างไร?

  • ท่านสามารถทำตามขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ ในสัปดาห์นี้เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่ว่านี้ได้อย่างไร?

  • ท่านจะขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าในการพัฒนาหรือเสริมสร้างคุณลักษณะที่ว่านี้อย่างไร?

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสองหรือสามคนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนรู้สึก เรียนรู้ หรือเขียนระหว่างการสนทนาวันนี้ ท่านอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเช่นกัน

สำหรับครั้งต่อไป

เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนของคาบถัดไป ท่านอาจส่งข้อความต่อไปนี้หรือของท่านเองให้กับนักเรียน: ขณะที่ท่านเรียนบทที่ 27 ให้พิจารณาความเกี่ยวข้องกันของคำว่าความหวัง ความสว่าง และชีวิต