สถาบัน
บทที่ 23 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: ดำเนินชีวิตด้วยความหวังขณะที่เราเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์


“บทที่ 23 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: ดำเนินชีวิตด้วยความหวังขณะที่เราเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 23 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 23 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

ดำเนินชีวิตด้วยความหวังขณะที่เราเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์

พระเยซูคริสต์ใน “วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จกลับมายังแผ่นดินโลก … [และ] ทรงปกครองอย่างจอมกษัตริย์และทรงครองบัลลังก์อย่างจอมเจ้านาย” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” ChurchofJesusChrist.org) ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะอธิบายว่าเหตุใดตนจึงตั้งตารอการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ได้อย่างมีความหวัง นอกจากนี้พวกเขาจะพิจารณาถึงวิธีเตรียมตนเองและผู้อื่นให้พร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาและการปกครองในมิลเลเนียมของพระผู้ช่วยให้รอด

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

การเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ให้ช่วยรอดจะเริ่มต้นมิลเลเนียม

ก่อนที่นักเรียนจะเข้าชั้นเรียน ท่านอาจเขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน: เครื่องหมายบางประการของการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเจ้า ได้แก่ พระคริสต์ปลอม ศาสดาพยากรณ์ปลอม สงคราม ข่าวลือเรื่องสงคราม ความอดอยาก โรคระบาด แผ่นดินไหว ความชั่วช้าสามานย์ โรคภัยแห่งวิปโยค ความรุนแรง และเครื่องหมายในฟ้าสวรรค์ (ดู โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:22–23, 28–30, 33; หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:26–27, 30–33, 40–42)

ท่านอาจเล่าสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ให้นักเรียนฟังก่อนเริ่มชั้นเรียน:

ระหว่างเรียนเรื่องยุคสุดท้าย ชั้นเรียนโรงเรียนวันอาทิตย์ของอีวานได้จัดทำรายชื่อเครื่องหมายและสภาวะอันน่าวิตก ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมาครั้งที่สอง หลายคนแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งๆ ต่างกำลังเลวร้ายมากน้อยเพียงใด และสิ่งเหล่านั้นก็รังแต่จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ อีวานรู้สึกวิตกกังวลและท้อแท้อย่างมากขณะที่ออกจากโบสถ์

  • ท่านเคยรู้สึกแบบอีวานบ้างไหม?

  • มีอะไรบ้างที่อาจขาดหายไปจากการสนทนาในชั้นเรียนนี้?

เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:34–35, 38–39 เพื่อมองหาคำแนะนำของพระเจ้าสำหรับผู้ที่วิตกกังวลกับเครื่องหมายการเสด็จมาของพระองค์ จากนั้นพิจารณาว่าท่านจะถามคำถามใดต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกมีความหวังยิ่งขึ้น:

  • พระผู้ช่วยให้รอดตรัสกับสานุศิษย์ที่วิตกกังวลกับเครื่องหมายแห่งการเสด็จมาของพระองค์ว่าอย่างไร? (นักเรียนอาจค้นพบความจริงอย่างเช่น: เครื่องหมายแห่งการเสด็จมาของพระเจ้าชี้ให้ผู้ซื่อสัตย์เห็นว่าการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ใกล้มาถึงแล้ว) ความจริงนี้เป็นข่าวสารแห่งความหวังได้อย่างไร?

  • เหตุการณ์ใดของการฟื้นฟูเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าการเสด็จมาครั้งที่สองใกล้มาถึงแล้ว? (ท่านอาจทบทวนตัวอย่างที่พบในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน ท่านอาจเขียนรายการเครื่องหมายเพิ่มลงไปบนกระดาน เครื่องหมายและเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อมุมมองของท่านเกี่ยวกับยุคสุดท้ายอย่างไร?

  • เหตุใดการจดจ่ออยู่กับพระเยซูคริสต์จึงมีความสำคัญเมื่อเราพูดคุยเกี่ยวกับเครื่องหมายอันน่าวิตกที่เกี่ยวเนื่องกับการเสด็จมาครั้งที่สอง? (ท่านอาจทบทวนข้อความของเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) การจดจ่ออยู่กับพระเยซูคริสต์ได้ส่งผลกระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อวิธีที่ท่านมองความท้าทายของยุคสุดท้ายอย่างไร?

เตือนนักเรียนว่าการเสด็จมาครั้งที่สองจะนำมาซึ่งการปกครองในมิลเลเนียมอย่างสันติและความชอบธรรมของพระผู้ช่วยให้รอด เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:26–32, 35 เพื่อมองหาสภาพความเป็นไปในช่วงมิลเลเนียม ท่านอาจบันทึกสิ่งที่นักเรียนพบไว้บนกระดาน

  • ท่านตั้งตารอสภาพใดมากที่สุดในบรรดาสภาพเหล่านี้? เพราะเหตุใด?

ท่านอาจแสดงข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น:

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น

ไม่มีสิ่งใดทำให้ข้าพเจ้าปรารถนาจะพูดถึงพระคริสต์มากไปกว่าการนึกภาพพระองค์เสด็จกลับมา … ประสบการณ์น่าอัศจรรย์นี้จะประทับอยู่ในจิตวิญญาณเราตลอดไป (นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “เราพูดถึงพระคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 91)

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกภาพการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดและมิลเลเนียม ขณะที่นักเรียนนึกภาพ ให้เชื้อเชิญพวกเขาบันทึกความคิดและความรู้สึกของตนเพื่อเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้:

  • การนึกถึงการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดและมิลเลเนียมช่วยให้ท่านดำเนินชีวิตอย่างมีหวังและสันติยิ่งขึ้นได้อย่างไร?

ท่านอาจต้องการขอให้นักเรียนหนึ่งหรือสองคนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเขียนกับชั้นเรียน

พระเจ้าทรงสอนวิธีเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์

เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวนอุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคนใน มัทธิว 25:1–13 หรือชมวีดิทัศน์ “They that are Wise” (ตั้งแต่นาทีที่ 0:00 ถึง 5:46) หากจำเป็น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าหญิงพรหมจารีนั้นหมายถึงสมาชิกของศาสนจักร (ดู ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จมาครั้งที่สอง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 8)

5:58

ปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเรา

วางใจนักเรียนของท่าน ขณะที่นักเรียนแยกทำงานเป็นกลุ่มย่อย ขอให้วางใจว่านักเรียนจะสนทนาและสร้างแรงบันดาลใจให้กันโดยที่ท่านไม่ต้องคอยกำกับดูแล หลังจากแยกกันสนทนาเป็นกลุ่มย่อยแล้ว ให้พิจารณาดูว่าจำเป็นต้องติดตามผลกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น แทนที่จะให้นักเรียนทวนสิ่งที่ตนได้พูดคุยกันไป ให้ลองคิดหาวิธีต่อยอดจากการแบ่งกลุ่มสนทนาแทน

เพื่อช่วยให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของอุปมาเรื่องดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง ท่านอาจให้นักเรียนแบ่งกลุ่มสนทนาเป็นกลุ่มย่อย (กลุ่มละสองถึงสามคน) แจกเอกสาร “หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา” หรือ “หญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา” ให้แต่ละกลุ่ม แจ้งให้นักเรียนทราบว่า หลังจากการสนทนาพวกเขาจะได้รวมกลุ่มกับกลุ่มที่สนทนาอีกหัวข้อ แล้วแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้ให้กันและกัน

หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

  1. สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน:

    • ตะเกียงและน้ำมันเติมตะเกียงในเรื่องน่าจะหมายถึงสิ่งใด? (ท่านอาจทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:56–57 และข้อความของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

    • วลีที่ว่า “เมื่อเจ้าบ่าวมาช้า” (มัทธิว 25:5) และ “เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนก็มีเสียงร้องว่า” (ข้อ 6) น่าจะมีนัยสำคัญอย่างไร?

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีห้าในสิบคนจึงถูกบรรยายว่าโง่เขลา? (ท่านอาจสนทนาว่าวลี “เราไม่รู้จักท่าน” [ข้อ 12] และ “ท่านไม่รู้จักเรา” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 25:11   ) สอนอะไรเราเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของหญิงพรหมจารีเหล่านี้)

  2. ระบุตัวอย่างทั่วไปหนึ่งหรือสองตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ในฐานะสมาชิกของศาสนจักร เราอาจจะกลายเป็นเหมือนหญิงพรหมจารีผู้โง่เขลาได้อย่างไร พร้อมแบ่งปันตัวอย่างของท่านกับกลุ่มที่สนทนาเรื่องหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

เอกสารแจกจากครู

หญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

  1. สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน:

    • ตะเกียงและน้ำมันเติมตะเกียงในเรื่องน่าจะหมายถึงสิ่งใด? (ท่านอาจทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:56–57 และข้อความของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีห้าในสิบคนจึงถูกบรรยายว่ามีปัญญา?

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญาจึงไม่แบ่งน้ำมันตะเกียงให้กับหญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา?

  2. ระบุตัวอย่างหนึ่งหรือสองตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ในฐานะสมาชิกของศาสนจักร เราจะเป็นเหมือนหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญาได้อย่างไร ขณะเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สอง พร้อมแบ่งปันตัวอย่างของท่านกับกลุ่มที่สนทนาเรื่องหญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

หญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

เอกสารแจกจากครู

เมื่อนักเรียนใช้เวลาสนทนาหัวข้อของตนพอสมควรแล้ว บอกให้แต่ละกลุ่มรวมกันกับกลุ่มที่สนทนาอีกหัวข้อ เพื่อแบ่งปันตัวอย่างที่กลุ่มของตนพบให้กันและกัน

หลังจากให้เวลานักเรียนเข้ากลุ่มสนทนาครั้งที่สองพอสมควรแล้ว ท่านอาจเชิญนักเรียนหนึ่งหรือสองคนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้ ท่านอาจเขียนหรือแสดงความจริงที่พวกเขาระบุด้วย ตัวอย่างเช่น: ฉันเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเจ้าได้ โดยการเสริมสร้างประจักษ์พยานของตนเองและให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นผู้นำทาง

เพื่อสรุปคาบเรียน ให้เวลานักเรียนบันทึกความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับวิธีที่น่าจะใช้เพื่อเตรียมตนเองและผู้อื่นให้พร้อมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ได้ดีที่สุด

สำหรับครั้งต่อไป

ระหว่างสัปดาห์ ท่านอาจส่งข้อความต่อไปนี้หรือข้อความของท่านเองให้กับนักเรียน: ขณะที่ท่านศึกษาบทที่ 24 ซึ่งเกี่ยวกับการพิพากษาครั้งสุดท้าย ให้พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์