สถาบัน
บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: มุ่งมั่นเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์


“บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: มุ่งมั่นเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

มุ่งมั่นเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์

การเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์นั้นไม่สูญเปล่าเพราะ “ทางของพระองค์คือเส้นทางที่นำไปสู่ความสุขในชีวิตนี้และชีวิตนิรันดร์ในโลกที่จะมาถึง” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” ChurchofJesusChrist.org) ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะระบุสิ่งที่พระเจ้าทรงเรียกร้องจากสานุศิษย์ของพระองค์ นอกจากนี้นักเรียนยังจะได้พิจารณาสิ่งที่ตนทำได้เพื่อเป็นสานุศิษย์ที่มุ่งมั่นและซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์ยิ่งกว่าเดิม

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

พระเยซูคริสต์ทรงเชื้อเชิญให้ทุกคนมาเป็นสานุศิษย์ของพระองค์

ท่านอาจแสดงภาพพระเยซูทรงล้างเท้าอัครสาวกของพระองค์ แล้วขอให้นักเรียนหนึ่งหรือสองคนมาแบ่งปันความรู้สึกของตนเอง หากพระผู้ช่วยให้รอดทรงล้างเท้าให้พวกเขา

พระเยซูทรงล้างเท้าของเปโตร

ท่านอาจแสดงคำถามต่อไปนี้ แล้วขอให้นักเรียนไตร่ตรองเกี่ยวกับคำถามดังกล่าวหนึ่งนาที:

  • ฉันได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระคุณลักษณะของพระผู้ช่วยให้รอดจากสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่ออัครสาวก? ฉันจะเลียนแบบคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร?

อธิบายแก่นักเรียนว่า คำถามจำพวกนี้เป็นคำถามที่เราไว้ใช้ถามตนเองได้ เมื่อเราเพียรพยายามเป็นสานุศิษย์ที่ดีขึ้นของพระเยซูคริสต์ สานุศิษย์ของพระคริสต์คือบุคคลที่ติดตามพระผู้ช่วยให้รอดและดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 41:5) หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงล้างเท้าอัครสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงสอนพวกเขาเรื่องการเป็นสานุศิษย์

เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวน ยอห์น 13:14–17, 34–35; 14:15 แล้วเติมข้อความต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ …

เชื้อเชิญนักเรียนบางคนมาแบ่งปันข้อความที่เติมสมบูรณ์แล้ว ซึ่งอาจมีวลีอย่างเช่น “รับใช้ผู้อื่น,” “รักผู้อื่น” และ “รักษาพระบัญญัติของพระองค์” ขณะที่นักเรียนตอบ ท่านอาจจะถามติดตามผลดังนี้:

  • บุคคลใดในพระคัมภีร์หรือในชีวิตของท่านเองถือเป็นแบบอย่างในด้านนี้ของการเป็นสานุศิษย์? แบบอย่างของบุคคลดังกล่าวส่งผลต่อท่านอย่างไร?

ปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเรา

เปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินตนเอง การประเมินตนเองเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นการเติบโตส่วนบุคคล แต่ในบางกรณี ก็อาจทำให้นักเรียนรู้สึกผิดและท้อแท้ได้ ขณะที่นักเรียนทำการประเมินตนเอง เตือนให้นักเรียนอดทนและมีเมตตาต่อตนเอง พระเจ้าตรัสว่า “เราจะเมตตาต่อความอ่อนแอของเจ้า” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 38:14)

แสดงหรือแจกสำเนาแบบประเมินตนเองต่อไปนี้ให้แก่นักเรียน

การประเมินตนเองในด้านการเป็นสานุศิษย์

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 25

พิจารณาแต่ละข้อความแล้วให้คะแนนตนเอง โดยใช้มาตรคะแนนต่อไปนี้: 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง, 2 = ไม่ค่อยเห็นด้วย, 3 = เฉยๆ, 4 = ค่อนข้างเห็นด้วย และ 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง

  1. ฉันเพียรพยายามเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ด้วยใจจริง

  2. ฉันพยายามรักษาพระบัญญัติของพระผู้ช่วยให้รอดทุกวัน

  3. ฉันพยายามรักและรับใช้ผู้คนรอบข้างดังที่พระเยซูคริสต์จะทรงปฏิบัติ

  4. ฉันเพียรพยายามเสียสละความปรารถนาทางโลกเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอด

การประเมินตนเองในด้านการเป็นสานุศิษย์

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 25

เอกสารแจก การประเมินตนเองในด้านการเป็นสานุศิษย์

หลังจากนักเรียนใช้เวลาบันทึกคำตอบของตนแล้ว เชื้อเชิญให้พวกเขาสละเวลาสักครู่เพื่อไตร่ตรองสิ่งที่ตนเรียนรู้จากการประเมินตนเองนี้

เล่าให้นักเรียนฟังว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื้อเชิญให้เศรษฐีหนุ่มทำการประเมินตัวของเขาเอง เชื้อเชิญให้นักเรียนสรุปเรื่องราวของชายหนุ่มผู้นี้ (ดูหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

2:26
  • นัยสำคัญของคำถามที่ว่า “ข้าพเจ้ายังขาดอะไรอีกบ้าง?” คืออะไร? (มัทธิว 19:20) เหตุใดจึงสำคัญที่สานุศิษย์ทั้งหมดของพระเยซูคริสต์ต้องถามคำถามนี้?

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน มาระโก 10:21 เพื่อมองหาว่ามาระโกอธิบายความรู้สึกที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีต่อเศรษฐีหนุ่มผู้นี้อย่างไร

  • การรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอดจะช่วยท่านได้อย่างไร เมื่อท่านค้นพบบางสิ่งที่ท่านต้องเปลี่ยน?

  • “รับกางเขน [ของท่าน] แบก” และตามพระเยซูคริสต์มาหมายความว่าอย่างไร? (ท่านควรทบทวน งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 16:25–26 [ในงานแปลของโจเซฟ สมิธ] และข้อความของเอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสจากหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

จากนั้นท่านอาจให้นักเรียนทบทวนข้อความของเอ็ลเดอร์แลร์รีย์ อาร์. ลอว์เร็นซ์ ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน จากนั้นจึงแสดงคำถามต่อไปนี้ แล้วเชื้อเชิญให้นักเรียนบันทึกความคิดของตนเกี่ยวกับคำถามที่ตนเห็นว่าสำคัญมากที่สุด:

  • สิ่งใดฉุดรั้งไม่ให้ท่านก้าวหน้าทางวิญญาณ?

  • ท่านจะแสดงให้พระเจ้าทรงเห็นความปรารถนาที่จะรับกางเขนของท่านและแบกตามพระองค์ไปได้อย่างไร?

  • เวลานี้มีสิ่งใดที่ท่านรู้สึกว่าท่านจำเป็นต้องสละเพื่อจะเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ได้ดียิ่งขึ้น?

พระเจ้าทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สานุศิษย์ของพระองค์

ท่านอาจแสดงข้อความต่อไปนี้ของประธานเจมส์ อี. เฟาสท์ แล้วเชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาพรที่สัญญาไว้กับผู้เต็มใจจ่ายราคาของการเป็นสานุศิษย์:

ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์

หลายคนอาจคิดว่าการเป็นสานุศิษย์ต้องเสียสละมากและเป็นภาระหนักเกินไป สำหรับบางคนต้องละเลิกมากมายเกินไป แต่กางเขนไม่ได้หนักอย่างที่เห็น โดยผ่านการเชื่อฟัง เรามีกำลังที่จะแบกกางเขนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก

“บรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก

“จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพอ่อนโยนและใจอ่อนน้อม และจิตใจของพวกท่านจะได้หยุดพัก

“ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา” (มัทธิว 11:28–30) (เจมส์ อี. เฟาสท์, “การเป็นสานุศิษย์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 26)

ท่านอาจบอกให้นักเรียนจับคู่หรือจับกลุ่มเล็กๆ แล้วทบทวน โรม 8:16–18, 28, 35, 38–39 เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาความจริงที่อาจช่วยตนได้ในระหว่างเผชิญความท้าทายจากการเป็นสานุศิษย์ (นักเรียนอาจระบุความจริงดังนี้: หากเราเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ เราสามารถเป็นทายาทร่วมกับพระเยซูคริสต์และได้รับรัศมีภาพกับพระองค์ หากเรารักพระผู้เป็นเจ้า สิ่งทั้งปวงจะร่วมกันส่งผลเพื่อความดีของเรา)

ขณะนักเรียนแบ่งปันความจริงที่ตนค้นพบ ท่านอาจถามคำถามต่อไปนี้:

  • การเชื่อว่าเราสามารถเป็นทายาทร่วมกับพระเยซูคริสต์ช่วยให้เรายังคงเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ได้อย่างไร? (ท่านอาจทบทวน 2 นีไฟ 9:18 โดยท่านต้องชี้ให้เห็นว่า ทายาทร่วมจะได้รับมรดกทัดเทียมกับอีกคน [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:50, 55–59; 84:38])

  • ความรักที่ท่านมีต่อพระผู้เป็นเจ้าและความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อท่านเคยค้ำจุนท่านอย่างไร เมื่อเส้นทางการเป็นสานุศิษย์ยากลำบาก?

เพื่อสรุปคาบเรียน ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านถึงหลักธรรมของการเป็นสานุศิษย์ที่สนทนาในชั้นเรียน หรือท่านอาจรับชม “การดำเนินชีวิตอย่างเบิกบานในพระกิตติคุณ” (1:40) ของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ สมาชิกของฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้น

1:40