สถาบัน
บทที่ 21 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การฟังสุรเสียงของพระเจ้าในยุคสุดท้าย


“บทที่ 21 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การฟังสุรเสียงของพระเจ้าในยุคสุดท้าย,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 21 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 21 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

การฟังสุรเสียงของพระเจ้าในยุคสุดท้าย

“ในโลกปัจจุบัน [พระเยซูคริสต์] และพระบิดาของพระองค์ทรงปรากฏต่อเด็กหนุ่มโจเซฟ สมิธเพื่อนำ ‘สมัยการประทานความสมบูรณ์แห่งเวลา’” ออกมาตามที่ทรงสัญญาไว้นานแล้ว (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” ChurchofJesusChrist.org) ในบทนี้ นักเรียนจะได้รับเชิญให้พิจารณาว่าพยานของโจเซฟ สมิธเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์สามารถเสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาในพระองค์ได้อย่างไร นักเรียนจะได้รับเชิญให้พิจารณาด้วยว่าพวกเขาจะเพิ่มความสามารถในการฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

โจเซฟ สมิธเป็นสักขีพยานถึงพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาและพระเยซูคริสต์

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้จากประธาน กอร์ดอนบี. ฮิงค์ลีย์:

ภาพ
ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเป็นพยานอันโดดเด่นของพระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์ (กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์, “What Hath God Wrought through His Servant Joseph!,” Ensign, ม.ค. 1997, 2)

  • อะไรทำให้โจเซฟ สมิธเป็น “พยานอันโดดเด่นของพระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์”? (หากจำเป็น ให้เตือนนักเรียนว่า โดดเด่น หมายถึง เหนือกว่าคนอื่นๆ ทั้งหมด)

เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน: โดยผ่านประสบการณ์ตรง โจเซฟ สมิธเรียนรู้ว่า …

เชื้อเชิญให้นักเรียนแต่ละคนเลือกและทบทวน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:16–17, หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:22–24 หรือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 110:2–4 โดยมองหาวิธีเติมข้อความบนกระดานให้สมบูรณ์ จากนั้นให้เชิญนักเรียนแบ่งปันข้อความที่สมบูรณ์ ซึ่งอาจรวมถึงความจริงต่อไปนี้: พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงพระชนม์อยู่จริง พระเยซูคริสต์และพระบิดาบนสวรรค์ทรงเป็นพระสัตภาวะที่แยกจากกันและแตกต่างกัน พระเยซูคริสต์ทรงมีพระวรกายที่ฟื้นคืนพระชนม์มีรัศมีภาพ พระเยซูคริสต์ทรงรู้จักชื่อเรา พระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์เดียวที่ถือกำเนิดจากพระบิดา พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้สร้าง พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้วิงวอนกับพระบิดาของเรา

ขณะนักเรียนแบ่งปัน ท่านอาจถามคำถามที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจความจริงที่พวกเขาค้นพบลึกซึ้งขึ้น ตัวอย่างเช่น:

  • เหตุใดการรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จึงเป็นความจริงที่สำคัญ?

  • ความจริงนี้เสริมสร้างประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

  • การรู้ความจริงนี้จะเพิ่มความปรารถนาของท่านที่จะติดตามพระองค์ได้อย่างไร?

หลังจากสนทนากันแล้ว ให้เชิญนักเรียนหนึ่งหรือสองคนแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับโจเซฟ สมิธในฐานะพยานถึงพระผู้ช่วยให้รอด

เราสามารถฟังสุรเสียงของพระเจ้า

ปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเรา

ส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมายมากขึ้น ให้มองหาวิธีเชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้กับสภาวการณ์ ความสนใจ และคำถามของพวกเขา ใช้แหล่งข้อมูลจากสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนและประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนเพื่อสำรวจว่าความจริงพระกิตติคุณส่งผลกระทบหรืออาจส่งผลต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร

ท่านอาจแบ่งปันสถานการณ์สมมติต่อไปนี้หรือสถานการณ์ของท่านเอง:

ผู้สอนศาสนาบอกเพื่อนของท่านว่าถ้าเธอหันไปหาพระเจ้า เธอจะได้รับการเปิดเผยและได้ยินสุรเสียงของพระองค์ แม้ว่าเธอต้องการเชื่อคำสัญญานี้ แต่เธอรู้สึกกังวลว่าเธอจะเข้าใจผิดว่าความคิดของตัวเองเป็นสุรเสียงของพระองค์ เธอถามว่า “คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าได้ยินสุรเสียงของพระเจ้า?”

เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันว่าพวกเขาจะตอบอย่างไร ท่านอาจให้นักเรียนแบ่งปันความท้าทายหรือข้อกังวลอื่นๆ ที่พวกเขาต้องพบเจอเมื่อฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดได้เช่นกัน

เตือนนักเรียนว่าออลิเวอร์ คาวเดอรีได้รับการสอนเกี่ยวกับการฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อเขามีคำถามค้างคาใจเกี่ยวกับการเรียกศาสดาพยากรณ์ของโจเซฟ สมิธ เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:14–15, 22–23 โดยมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงสอนออลิเวอร์ คาวเดอรีเกี่ยวกับการฟังสุรเสียงของพระองค์

  • เราเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับการฟังสุรเสียงของพระเจ้าจากประสบการณ์ของออลิเวอร์? (นักเรียนอาจระบุความจริงในทำนองนี้: เราสามารถฟังสุรเสียงของพระเจ้าผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดทำให้ความนึกคิดของเราสว่างและประทานความสงบแก่เรา)

  • เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องพยายามฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดเสมอ—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของเรา?

  • ชีวิตของท่านได้รับพรอย่างไรจากการฟังสุรเสียงของพระเจ้า?

ท่านอาจแสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

ภาพ
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

“เมื่อเราพยายามฟัง—ตั้งใจฟัง—พระบุตรของพระองค์ เราจะได้รับการนำทางให้รู้ว่าต้องทำอะไรในสภาวการณ์นั้นๆ

ขณะที่เราหมายมั่นเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เราต้องพยายามตั้งใจ ฟังพระองค์ มากขึ้น (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ฟังพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 89)

ท่านอาจยกตัวอย่างของวิธีที่ท่านฟังสุรเสียงของพระเจ้าในชีวิตท่านเอง หรือท่านอาจยกตัวอย่างจากผู้นำศาสนจักรในชุดวีดิทัศน์ “Hear Him” ใน Gospel Media (ChurchofJesusChrist.org)

แจกเอกสารต่อไปนี้ให้นักเรียนแต่ละคน

ฟังพระองค์!

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 21

จินตนาการว่าท่านได้รับโอกาสให้สร้างวิดีโอสั้นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าท่านฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร เขียนโครงร่างสั้นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ท่านจะแบ่งปันเพื่อตอบว่า “ฉันฟังพระองค์อย่างไร” คำถามต่อไปนี้อาจช่วยท่านขณะสร้างโครงร่างได้

  • ประสบการณ์ใดช่วยให้ท่านเข้าใจได้ดีขึ้นว่าพระเจ้าตรัสกับท่านอย่างไร?

  • ท่านอาจรวมแนวคิดใดบ้างจากคำกล่าวของ ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน และ ซิสเตอร์มิเชลล์ ดี. เครก ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน?

  • ท่านจะแบ่งปันความคิดและความรู้สึกในแบบที่คนอื่นเข้าใจง่ายได้อย่างไร?

จากโครงร่างของท่าน ให้สร้างข้อความสั้นๆ (หนึ่งถึงสองย่อหน้า) ที่ท่านสามารถแบ่งปันกับชั้นเรียนได้

หากท่านต้องการ ท่านสามารถไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่ท่านต้องการทำแทนเพื่อเพิ่มความสามารถในการฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอด

ฟังพระองค์!

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 21

ภาพ
เอกสารแจกจากครู

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้เชิญนักเรียนบางคนแบ่งปันข้อความเกี่ยวกับ “ฟังพระองค์” ของตนเองกับชั้นเรียน กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันข้อความเกี่ยวกับ “ฟังพระองค์” ของตนนอกชั้นเรียนด้วย ซึ่งอาจเป็นการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน การโทร หรือข้อความหรือบนโซเชียลมีเดีย

หากมีเวลา ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนตั้งใจฟังพระเจ้ามากขึ้น พวกเขาอาจใช้เวลาสองสามนาทีในการวางแผนและกำหนดเวลาว่าจะฟังพระเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร

สำหรับครั้งต่อไป

ท่านอาจส่งข้อความต่อไปนี้หรือข้อความของท่านเองล่วงหน้าสองสามวันก่อนชั้นเรียนถัดไป ขณะที่ท่านศึกษา สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนบทที่ 22 ให้พิจารณาว่าการฟื้นฟูต่อเนื่องมีความหมายต่อท่านอย่างไร  

พิมพ์