“สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู บทที่ 21: การเอาชนะความจองหอง” คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2021)
“สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู บทที่ 21” คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู
สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู บทที่ 21
การเอาชนะความจองหอง
บาปแห่งความจองหองคือหัวข้อหลักในพระคัมภีร์มอรมอน ช่วงเวลาแห่งความชอบธรรมและความรุ่งเรืองมักจะตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งความจองหองและความชั่วร้าย บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนค้นพบสัญญาณแห่งความจองหองในชีวิตของตนเอง นอกจากนี้นักเรียนจะได้พิจารณาถึงสิ่งที่ตนสามารถทำได้เพื่อเอาชนะความจองหองและเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
เจคอบกับโมโรไนสอนเรื่องบาปแห่งความจองหอง
เมื่อเริ่มชั้นเรียน ท่านอาจต้องการแสดงข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบ: “เราต้องเลิกเปรียบเทียบตัวเรากับผู้อื่น” (“ฉันดีพอหรือไม่ ฉันจะทำได้ไหม” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 33) ถามนักเรียนว่าเพราะเหตุใดสิ่งนี้จึงเป็นคำแนะนำที่ดี
แบ่งปันสถานการณ์ต่อไปนี้และถามนักเรียนว่านักเรียนหรือคนที่นักเรียนรู้จักเคยรู้สึกเช่นนี้หรือไม่
แสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟที่พูดถึงความจองหองขณะรับใช้เป็นสมาชิกในฝ่ายประธานสูงสุดว่า: “โดยธรรมชาติวิสัยความจองหองคือบาปของการเปรียบเทียบ” (“ความจองหองและฐานะปุโรหิต,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 70) เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน: ความจองหองคือบาปของการเปรียบเทียบ
-
มีวิธีใดบ้างที่การเปรียบเทียบตัวเราเองกับผู้อื่นจะนำไปสู่ความจองหอง?
เตือนนักเรียนว่าพวกเขาเรียนรู้จาก หมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน ว่าเจคอบเตือนผู้คนถึงความจองหอง โมโรไนพยากรณ์ล่วงหน้าถึงความจองหองในวันเวลาสุดท้าย และประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันกล่าวถึงความจองหองในศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเจ้า เชิญนักเรียนแต่ละคนให้เลือกศาสดาพยากรณ์ท่านหนึ่งและทบทวนข้อความของศาสดาพยากรณ์เกี่ยวกับความจองหอง โดยค้นหาวิธีที่ “ความจองหองคือบาปของการเปรียบเทียบ” (“ความจองหองและฐานะปุโรหิต,” 70)
หลังจากนักเรียนใช้เวลาค้นหาข้อพระคัมภีร์เหล่านี้แล้ว ให้เชิญนักเรียนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้ เมื่อนักเรียนแบ่งปันข้อคิดแล้ว ให้พิจารณาว่าคำถามข้อใดต่อไปนี้ที่ควรมุ่งเน้นและจัดลำดับความสำคัญ:
-
ท่านคิดว่าการ “ทะนงตนด้วยความถือดีในใจท่าน” หมายความว่าอย่างไร? (เจคอบ 2:13) ท่านจะทราบได้อย่างไรเมื่อท่านมีความทะนงตนด้วยความถือดีในใจท่าน?
-
บาปเพิ่มเติมประการใดที่สามารถเข้ามาสู่ชีวิตของเราได้เมื่อเราดูถูกผู้อื่นด้วยการอวดอ้าง หรือมองขึ้นไปยังผู้อื่นด้วยความเกลียดชัง? จากประสบการณ์ของท่าน การเปรียบเทียบประเภทเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมห้อง เพื่อนร่วมงาน และพระบิดาบนสวรรค์ได้อย่างไร?
-
สื่อสังคมออนไลน์อาจกระตุ้นให้เกิดการเปรียบเทียบที่อาจนำไปสู่บาปแห่งความจองหองด้วยวิธีใด? ท่านเคยทำสิ่งใดเพื่อต่อต้านการล่อลวงที่จะเปรียบเทียบตัวท่านเองกับผู้อื่น?
หมายเหตุ: หากนักเรียนแสดงความกังวลเกี่ยวกับความท้าทายที่เกิดจากสื่อสังคมออนไลน์ ท่านอาจต้องการแบ่งปันและสนทนาเกี่ยวกับคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง:
ภาพหลายภาพ (ถ้าไม่ใช่ส่วนใหญ่) ที่โพสต์บนสื่อสังคมมักแสดงภาพชีวิตที่ดีที่สุด—มักจะไม่เป็นความจริง …
เมื่อเราเปรียบเทียบความเป็นอยู่โดยเฉลี่ยของเราเองกับชีวิตที่ตัดต่อเป็นอย่างดีและเสริมแต่งจนไร้ที่ติเพื่อนำเสนอบนสื่อสังคม บางครั้งเรารู้สึกท้อ อิจฉา และถึงกับรู้สึกล้มเหลว …
เหมือนกับที่ซิสเตอร์บอนนี่ แอล. ออสคาร์สันเตือนเราเมื่อเช้านี้ว่าความสำเร็จในชีวิตไม่ได้อยู่ที่ว่าเราได้กี่ไลค์หรือเรามีเพื่อนหรือคนติดตามมากเท่าไรบนสื่อสังคม แต่มีบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเชื่อมสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับผู้อื่นและเพิ่มแสงสว่างให้ชีวิตพวกเขา (“อุปราคาทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 46)
ให้นักเรียนไปที่ คำถามในตอนท้ายหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวนคำตอบที่บันทึกไว้ระหว่างการศึกษาส่วนตัว และเสริมความคิดหรือความรู้สึกเพิ่มเติมที่นักเรียนมีนับตั้งแต่การบันทึกคำตอบของตน
ชาวนีไฟเอาชนะความจองหองด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
ขอให้นักเรียนอธิบายจุดประสงค์ของยาถอนพิษ (หากจำเป็น ให้อธิบายว่ายาถอนพิษเป็นยาที่รับประทานเพื่อต้านฤทธิ์ของยาพิษบางชนิด) แสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเบ็นสัน: “ยาถอนพิษความจองหองคือความอ่อนน้อมถ่อมตน—ความอ่อนโยน ความว่าง่าย (ดู แอลมา 7:23)” (“Beware of Pride,” Ensign, May 1989, 6) เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน: ยาถอนพิษความจองหองคือความอ่อนน้อมถ่อมตน
-
ความจองหองสามารถเป็นเหมือนยาพิษในรูปแบบใด?
-
คุณคิดว่าเหตุใดประธานเบ็นสันจึงอธิบายความอ่อนน้อมถ่อมตนในฐานะยาถอนพิษของความจองหอง?
เตือนนักเรียนว่าใน เจคอบ 2:17–21 เจคอบบอกผู้คนของเขาว่าจะต้านทานการล่อลวงของความจองหองได้อย่างไรเมื่อผู้คนเหล่านั้นมีความร่ำรวยมากขึ้น เตือนนักเรียนว่านักเรียนได้เรียนรู้จากการเตรียมเข้าชั้นเรียนแล้วว่า 3 นีไฟ 6:12–14 อธิบายถึงผู้คนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งปฏิเสธที่จะกระทำอย่างจองหอง เชิญนักเรียนทบทวนข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ และมองหาสิ่งที่เราทำได้เพื่อเอาชนะความจองหอง
-
ตามที่กล่าวในข้อเหล่านี้ เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเอาชนะความจองหอง? (ท่านอาจต้องการเขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน คำตอบที่เป็นไปได้บางประการอาจรวมถึงสิ่งต่อไปนี้: จงใจกว้างกับสิ่งที่เรามี แสวงหาอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าเป็นอันดับแรก ได้รับความหวังในพระคริสต์ ดูแลผู้ยากจน มองทุกคนว่ามีค่า ไม่โต้แย้งกับผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตนและสำนึกผิดต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า และรักษาพระบัญญัติ)
-
ทัศนคติและการกระทำเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร?
-
ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับความอ่อนน้อมถ่อมตนจากพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด? เราจะประยุกต์ใช้แบบอย่างแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตนของพระองค์ในชีวิตเราได้อย่างไร?
ให้เวลานักเรียนสองสามนาทีในการทบทวน คำกล่าวของประธานเบ็นสันในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน กระตุ้นให้นักเรียนระบุวิธีปลูกฝังความอ่อนน้อมถ่อมตนในชีวิตของตนและตัดสินใจว่าพวกเขาจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร
ท่านอาจเล่าประจักษ์พยานว่าด้วยความช่วยเหลือจากพระเจ้าเราจะสามารถระบุและเอาชนะความจองหอง รวมทั้งเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้น
สำหรับครั้งต่อไป
ถามนักเรียนว่านักเรียนเคยอ่านหรือได้ยินสิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัยหรือขัดแย้งต่อคำสอนของพระเยซูคริสต์และศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่หรือไม่ ขณะที่นักเรียนศึกษา สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน ครั้งต่อไป เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาคำสอนที่สามารถช่วยนักเรียนปกป้องตนเองจากผู้ที่พยายามทำลายศรัทธาของพวกเขา