สถาบัน
บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การสวดอ้อนวอนและการเปิดเผยส่วนตัว


“บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: การสวดอ้อนวอนและการเปิดเผยส่วนตัว คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2021)

“บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู” คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 25 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

การสวดอ้อนวอนและการเปิดเผยส่วนตัว

พระเจ้าพระเยซูคริสต์ทรงบัญชาว่า “เจ้าต้องสวดอ้อนวอนถึงพระบิดาเสมอในนามของเรา” (3 นีไฟ 18:19) พระคัมภีร์มอรมอนแสดงให้เห็นหลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนและการเปิดเผยส่วนตัว ชั้นเรียนนี้สามารถช่วยให้นักเรียนประเมินคุณภาพการสวดอ้อนวอนของตน และระบุสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้เพื่อพัฒนาการสวดอ้อนวอน นอกจากนี้นักเรียนยังมีโอกาสพิจารณาสิ่งที่ตนทำได้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพให้พร้อมรับการเปิดเผยส่วนตัว

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

อมิวเล็คสอนชาวโซรัมถึงความสำคัญของการสวดอ้อนวอน

หมายเหตุ: เมื่อท่านสนทนาถึงวิธีพัฒนาการสวดอ้อนวอนในบทเรียนนี้ ให้ท่านเตือนความจำนักเรียนว่าความพยายามใดๆ ที่จะสวดอ้อนวอนควรค่าแก่การสรรเสริญ ท่านอาจต้องการอธิบายว่าการประเมินตนเองต่อไปนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นผ่านการสวดอ้อนวอน ไม่ใช่เพื่อตัดกำลังใจขณะนักเรียนพยายามสวดอ้อนวอน การประเมินตนเองจะช่วยให้นักเรียนสามารถเตรียมสนทนาสิ่งที่อมิวเล็คสอนเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนใน แอลมา 34:17–28

แสดงข้อความต่อไปนี้และเชื้อเชิญให้นักเรียนประเมินตนเองโดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 (1= ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและ 5= เห็นด้วยอย่างยิ่ง)

  1. ฉันสวดอ้อนวอนส่วนตัวทุกวัน 

  2. การสวดอ้อนวอนของฉันมีความหมายและมาจากใจจริง 

  3. ฉันสวดอ้อนวอนขอความต้องการทางร่างกายและทางวิญญาณ 

  4. ฉันทูลขอความช่วยเหลือเพื่อเอาชนะการล่อลวงของมาร 

  5. ฉันสวดอ้อนวอนให้ผู้อื่น 

  6. ฉันมุ่งมั่นที่จะสวดอ้อนวอนในใจฉันตลอดเวลา 

กระตุ้นให้นักเรียนคิดหาคำตอบของตนขณะที่ท่านสนทนาเรื่องคำสอนของอมิวเล็คเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

เลือกวิธีต่อไปนี้หนึ่งวิธี:

  1. แสดงภาพต่อไปนี้ของผู้ชายที่สวดอ้อนวอนบนแรมีอัมทัม:

    ภาพ
    ชาวโซรัมกำลังสวดอ้อนวอนบนแรมีอัมทัม
  2. ฉายวีดิทัศน์พระคัมภีร์มอรมอน “Alma and Amulek Teach about Faith in Jesus Christ (Alma 31–34)” จนถึงรหัสเวลา 4:15

เชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายวิธีสวดอ้อนวอนของชาวโซรัมพอสังเขป และแบ่งปันสิ่งที่นักเรียนคิดเกี่ยวกับวิธีนี้

ตือนนักเรียนว่าภายหลังอมิวเล็คสอนหลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนให้กับกลุ่มชาวโซรัมผู้นอบน้อมถ่อมตน ให้นักเรียนทบทวน แอลมา 34:17–28 และระบุความจริงที่อาจใกล้เคียงกับสภาวการณ์ปัจจุบันของเรา

ส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ท่านยังสามารถขอให้นักเรียนเล่าวิธีที่นักเรียนอาจเรียบเรียงข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ใหม่เป็นภาษาปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของตนด้วย (ดูกิจกรรม “บันทึกความคิด” ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

นักเรียนอาจแบ่งปันความจริงทำนองนี้: พระบิดาบนสวรรค์ของเราทรงต้องการให้เราเรียกหาพระองค์ผ่านการสวดอ้อนวอนทุกเวลาและในทุกสถานที่ เราควรสวดอ้อนวอนเมื่อเกิดความกังวลทั้งทางโลกและทางวิญญาณ การสวดอ้อนวอนต้องมาจากใจและจริงใจ เราควรสวดอ้อนวอนเป็นส่วนตัว เราควรสวดอ้อนวอนให้ผู้อื่น เราไม่เพียงสวดอ้อนวอนให้ผู้อื่นเท่านั้นแต่ควรมุ่งมั่นรับใช้พวกเขาด้วย

ปรับปรุงการสอนและการเรียนของเรา

เล็งเห็นว่าเมื่อใดที่ท่านควรช้าลงเพื่อเรียนรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การเรียนรู้อย่างลึกซึ้งไม่สามารถกระทำอย่างเร่งรีบ เมื่อท่านฟังความคิดเห็นของนักเรียนและปฏิบัติตามการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านสามารถเล็งเห็นได้ว่าเมื่อใดที่ควรช้าลงและให้นักเรียนพิจารณาความคิด ความรู้สึก คำถาม หรือข้อกังวลของตนเองได้อย่างเต็มที่มากขึ้น พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

  • ถ้านักเรียนกล่าวว่าคำสวดอ้อนวอนสร้างความแตกต่างที่สำคัญในชีวิตของตน ท่านสามารถถามว่า “นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งที่หมายถึงได้หรือไม่?”

  • ถ้านักเรียนคนหนึ่งแสดงความกังวลว่าเขารู้สึกห่างไกลจากพระบิดาบนสวรรค์ ท่านอาจพูดได้ว่า “นี่คือประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง ขอให้เราใช้เวลาในชั้นเรียนเพื่อแบ่งปันสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถใกล้ชิดกับพระบิดาบนสวรรค์ได้มากขึ้น”

  • หากนักเรียนแสดงความคิดเห็นที่ระบุว่าตนไม่สบายใจกับการสนทนาในชั้นเรียน ท่านอาจพูดได้ว่า “ครูไม่แน่ใจว่าครูเข้าใจความกังวลของนักเรียน นักเรียนช่วยแบ่งปันความคิดและความรู้สึกของตนให้มากขึ้นได้หรือไม่?”

(ดู การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา [2012], 64)

เมื่อนักเรียนแบ่งปันหลักธรรมและการเรียบเรียงข้อความในพระคัมภีร์จาก แอลมา 34 ให้เป็นภาษาปัจจุบัน พิจารณาว่าคำถามต่อไปนี้ข้อใดที่ท่านจะถามเพื่อช่วยให้นักเรียนของท่านกระทำอย่างชอบธรรมและมีประสิทธิภาพที่สุด

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้พระบิดาบนสวรรค์เข้ามามีส่วนร่วมทุกด้านในชีวิตของเรา? สิ่งใดคือความแตกต่างที่ท่านเห็นในชีวิตของท่านเมื่อท่านมีส่วนร่วมในการสวดอ้อนวอนด้วยความจริงใจและบ่อยครั้ง?

  • อุปสรรคใดบ้างที่อาจขวางกั้นไม่ให้ท่านมีส่วนร่วมในการสวดอ้อนวอนอย่างจริงใจ? ท่านจะขจัดอุปสรรคเหล่านี้ได้อย่างไร?

  • เมื่อใดที่ท่าน “เรียกหา” หรือ “ทุ่มเท” ใจของท่านแด่พระผู้เป็นเจ้า และผลที่เกิดขึ้นคืออะไร? เราจะเจตนา “ให้ใจ [ของเรา] จงอิ่มเอิบ, และมุ่งไปที่การสวดอ้อนวอนถึงพระองค์ตลอดเวลา” ได้อย่างไร? (แอลมา 34:27)

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอนจึงมีพลังอำนาจที่จะเอาชนะพลังของมารได้? (อาจเป็นประโยชน์ที่จะอ่าน 2 นีไฟ 32:8 และ 3 นีไฟ 18:15, 18) การสวดอ้อนวอนช่วยให้ท่านต้านทานการล่อลวงได้อย่างไร?

  • พรอะไรบ้างที่ท่านได้รับในชีวิตเมื่อท่านสวดอ้อนวอนเพื่อผู้อื่นและรับใช้ผู้อื่น? ท่านเคยรู้สึกถึงการสวดอ้อนวอนของผู้อื่นในนามของท่านเมื่อใด? ใครบ้างที่ท่านรู้จักที่อาจต้องการศรัทธา คำสวดอ้อนวอน และการรับใช้ของท่าน?

ท่านอาจแบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

ข้าพเจ้าคิดว่าเราทุกคนทราบอยู่แล้วว่าการสวดอ้อนวอนจำเป็นต่อการพัฒนาและความคุ้มครองทางวิญญาณ แต่สิ่งที่เรารู้มักไม่สะท้อนอยู่ในสิ่งที่เราทำ แม้เราจะรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการสวดอ้อนวอนแต่เราทุกคนสามารถปรับปรุงความสม่ำเสมอและประสิทธิผลของการสวดอ้อนวอนส่วนตัวและกับครอบครัวได้. (“ทูลขอด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2008, 114)

ขอให้นักเรียนทบทวนคำตอบของตนที่มีต่อการประเมินตนเองในตอนต้นของบทเรียน กระตุ้นให้นักเรียนประเมินความพยายามส่วนตัวของตนเองและบันทึกสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้เพื่อพัฒนาการสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้า

นีไฟแสวงหาและได้รับการเปิดเผยส่วนตัว

แสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานจูลี บี. เบค อดีตประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญ และประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ขอให้นักเรียนอธิบายว่าเหตุใดนักเรียนจึงคิดว่าข้อความเหล่านี้เกี่ยวกับการเปิดเผยจึงอาจมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน

ภาพ
ประธานจูลี บี. เบค

ความสามารถที่จะคู่ควรได้รับการเปิดเผยส่วนตัวและปฏิบัติตามนั้นเป็นทักษะเฉพาะตัวสำคัญที่สุดซึ่งฝึกฝนได้ในชีวิตนี้ (“ในกาลครั้งนั้น เราเทพระวิญญาณของเรามาเหนือกระทั่งคนใช้ชายหญิง,” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2010, 12)

ภาพ
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

ไม่มีเวลาใดจำเป็นมากไปกว่าเวลานี้ที่ต้องรู้ว่าพระวิญญาณตรัสกับท่านอย่างไร …

ข้าพเจ้าขอร้องอีกครั้งให้ท่านทำ ทุกวิถีทาง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางวิญญาณให้พร้อมรับการเปิดเผยส่วนตัว (“ฟังพระองค์,” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2020, 90)

เขียนข้อความและข้อพระคัมภีร์ที่ไม่สมบูรณ์ต่อไปนี้บนกระดาน:

เชิญนักเรียนมาทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ และศึกษาข้อพระคัมภีร์เกี่ยวกับนีไฟหรือเลมันกับเลมิวเอล จากนั้นเติมข้อความใดข้อความหนึ่งบนกระดาน คำตอบของนักเรียนอาจได้แก่

นีไฟเพิ่มสมรรถภาพของตนให้พร้อมรับเปิดเผยด้วยความปรารถนาที่จะรู้ความจริง วางใจในสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ กลับใจและแสวงหาคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างขยันหมั่นเพียร

เลมันกับเลมิวเอลลดสมรรถภาพของตนในการรับการเปิดเผยด้วยการทำใจแข็งกระด้าง ไม่เชื่อว่าพระเจ้าจะทรงตอบพวกเขา โต้เถียงกัน และไม่ได้ทูลถามคำถามของตนต่อพระผู้เป็นเจ้า

  • ชีวิตของนีไฟ เลมัน และเลมิวเอลได้รับอิทธิพลจากสมรรถภาพของพวกเขาในการรับการเปิดเผยอย่างไร? ท่านจะเพิ่มสมรรถภาพของท่านให้พร้อมรับอิทธิพลของการเปิดเผยในชีวิตท่านอย่างไร? (ท่านอาจเชิญนักเรียนให้ทบทวน แอลมา 12:9–10)

ให้เวลานักเรียนพอสมควรเพื่อไตร่ตรองและบันทึกความคิดของตนเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้ ขณะที่นักเรียนไตร่ตรอง ท่านอาจแสดง คำกล่าวของประธานเนลสันจากหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากบทเรียนนี้จากตัวอย่างของนีไฟ เลมัน และเลมิวเอลเกี่ยวกับการรับการเปิดเผย? ท่านควรหยุดทำสิ่งใดหรือเริ่มทำสิ่งใดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของท่านให้พร้อมรับการเปิดเผย?

ท่านอาจสรุปบทเรียนด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนหนึ่งหรือสองคนแบ่งปันเรื่องราวว่าการรับการเปิดเผยเป็นพรแก่ชีวิตของพวกเขาอย่างไร

สำหรับครั้งต่อไป

ขอให้นักเรียนพิจารณาการทดลองปัจจุบันที่นักเรียนหรือคนที่นักเรียนรู้จักกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่พวกเขา เตรียมพร้อมสำหรับชั้นเรียนถัดไป กระตุ้นให้นักเรียนระบุความจริงที่จะช่วยให้เราเผชิญกับการทดลองด้วยศรัทธา ความกล้าหาญ และความหวัง

พิมพ์