ฉันจะเปรียบเหตุการณ์ของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูกับชีวิตฉันได้อย่างไร
เราควร “เปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมดกับเรา, ว่ามันจะเป็นประโยชน์และเป็นการเรียนรู้ของเรา” (1 นีไฟ 19:23) การเปรียบพระคัมภีร์หมายถึงการดูว่าเหตุการณ์และสภาวการณ์ในพระคัมภีร์เหมือนกับเหตุการณ์และสภาวการณ์ในชีวิตเราอย่างไร ถึงแม้เหตุการณ์ของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูเกิดขึ้นนานแล้ว แต่เราสามารถหาวิธีเรียนรู้จากเหตุการณ์เหล่านี้และเชื่อมโยงกับเราในปัจจุบัน
เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ
จงศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน อะไรจะช่วยเยาวชนเปรียบเหตุการณ์ของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูกับชีวิตพวกเขา
1 นีไฟ 19:23–24 (เราควรเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเรา)
คพ. 61:36 (สิ่งที่พระเจ้าตรัสกับคนหนึ่งพระองค์ตรัสกับทุกคน)
โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:5–20 (โจเซฟ สมิธเปรียบยากอบ 1:5 กับตัวเอง)
“การละทิ้งความเชื่อ,” แน่วแน่ต่อศรัทธา (2004), หน้า 66–67
เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “เรียนบทเรียนจากอดีต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, หน้า 37–40
วีดิทัศน์: “การฟื้นฟูมีความหมายอะไรต่อฉัน”
ทำการเชื่อมโยง
ในช่วงไม่กี่นาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:
-
เชื้อเชิญให้เยาวชนหญิงแบ่งปันบางสิ่งบางอย่างที่พวกเธอเพิ่งเรียนรู้เกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อหรือการฟื้นฟูในชั้นเรียนเยาวชนหญิงกับเยาวชนชาย จากนั้นเชื้อเชิญให้เยาวชนชายแบ่งปันบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อหรือการฟื้นฟูในโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนกับเยาวชนหญิง
-
เชื้อเชิญให้เยาวชนอ่าน 1 นีไฟ 19:23 และสนทนาสิ่งที่นีไฟหมายถึงเมื่อเขาบอกให้ “เปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมดกับเรา” (ท่านอาจต้องแบ่งปันย่อหน้าที่อยู่ต้นโครงร่างนี้กับเยาวชน) ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “การฟื้นฟูมีความหมายอะไรต่อฉัน” และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนมองหาวิธีที่เยาวชนในวีดิทัศน์โยงเหตุการณ์ของการฟื้นฟูกับชีวิตตนเอง
4:50
เรียนรู้ด้วยกัน
กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจวิธีเปรียบเหตุการณ์ของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูกับชีวิตของพวกเขา เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการนำทางของพระวิญญาณ:
-
เชื้อเชิญให้เยาวชนอ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:5–10 เพื่อเรียนรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของโจเซฟ สมิธเมื่อท่านอายุ 14 ปี จากนั้นให้พวกเขาอ่านข้อ 11 ถึง 20 และระบุสิ่งที่โจเซฟทำเพื่อเปรียบพระคัมภีร์ที่ท่านอ่านกับประสบการณ์ของท่าน แบบอย่างของโจเซฟ สมิธสามารถช่วยเยาวชนปรับปรุงการศึกษาพระคัมภีร์ของตนเองได้อย่างไร ให้เวลาพวกเขาจดด้านต่างๆ ที่พวกเขาสามารถเปรียบประสบการณ์ของโจเซฟ สมิธกับชีวิตพวกเขาเอง เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับสมาชิกชั้นเรียนอีกคนหนึ่ง
-
เขียนหัวข้อบนกระดานว่า “การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่” และ “การละทิ้งความเชื่อส่วนตัว” ขอให้เยาวชนอ่าน “การละทิ้งความเชื่อ” ใน แน่วแน่ต่อศรัทธา และเขียนสิ่งที่นำไปสู่หรือเป็นผลจากการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ไว้บนกระดาน ช่วยพวกเขาเปรียบการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่กับตนเองโดยสนทนาว่าสิ่งที่เขียนไว้จะนำไปสู่การละทิ้งความเชื่อส่วนตัวอย่างไร อาทิเช่น คนทุกวันนี้ที่ไม่ยอมรับหรือวิพากษ์วิจารณ์อัครสาวกที่มีชีวิตย่อมอยู่ในอันตรายของการละทิ้งความเชื่อส่วนตัวเฉกเช่นคนที่ฆ่าอัครสาวกหลังการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ เยาวชนสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันการละทิ้งความเชื่อส่วนตัว
-
ถามเยาวชนว่าพวกเขาจะตอบอย่างไรถ้าเพื่อนคนหนึ่งพูดว่า “ฉันไม่ชอบอ่านพระคัมภีร์ พระคัมภีร์พูดเรื่องที่เกิดขึ้นนานแล้ว พระคัมภีร์มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตฉันตอนนี้หรือ” แบ่งคำปราศรัยของเอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดเรื่อง “เรียนบทเรียนจากอดีต” ในหมู่เยาวชน และเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่านหัวข้อที่ได้รับและค้นหาวิธีที่จะใช้ตอบเพื่อน
ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจวิธีเปรียบเหตุการณ์ของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูกับตัวเองหรือไม่ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะคุ้มค่าหรือไม่
เชื้อเชิญให้กระทำ
ถามเยาวชนว่าพวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้กระตุ้นพวกเขาให้กระทำตามความรู้สึกเหล่านี้หาวิธีที่ท่านจะติดตามผล