คลังค้นคว้า
ฉันจะเข้าใจสัญลักษณ์ที่ใช้สอนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองได้อย่างไร


ฉันจะเข้าใจสัญลักษณ์ที่ใช้สอนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองได้อย่างไร

เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดและผู้รับใช้ของพระองค์สอนเรื่องการเสด็จมาครั้งที่สอง พระองค์และพวกท่านมักใช้สัญลักษณ์และอุปมาเราสามารถเข้าใจเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเสด็จมาครั้งที่สองลึกซึ้งขึ้นเมื่อเราเรียนรู้วิธีแปลความหมายของสัญลักษณ์เหล่านี้

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

สัญลักษณ์และอุปมาใดในพระคัมภีร์ได้ช่วยให้ท่านเข้าใจการเสด็จมาครั้งที่สองดีขึ้น การเปรียบเทียบเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ท่านเตรียมรับการเสด็จกลับของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

สัญลักษณ์และอุปมาใดเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองอาจจะทำให้เยาวชนที่ท่านสอนสนใจ ท่านจะช่วยให้พวกเขารับรู้สัมฤทธิผลของคำพยากรณ์เหล่านี้ในโลกรอบตัวได้อย่างไร

ศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน อะไรจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจสัญลักษณ์และอุปมาเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง

มัทธิว 13:24–30; คพ. 86:1–7 (อุปมาเรื่องข้าวสาลีและข้าวละมาน)

1 เธสะโลนิกา 5:2–8; 2 เปโตร 3:10–14; คพ. 106:4–5; โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:46–48 (การเสด็จมาครั้งที่สองจะมาดังขโมยในเวลากลางคืน)

มัทธิว 25:1–13; คพ. 45:56–57; 63:54 (อุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคน)

คพ. 45:34–39; โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:38–39 (อุปมาเรื่องต้นมะเดื่อ)

โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:49–54 (การเสด็จมาครั้งที่สองเปรียบกับพระเจ้าเสด็จเยือนผู้รับใช้ชั่วและผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์)

ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จมาครั้งที่สอง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, หน้า 7–11

วีดิทัศน์: “พวกเขาที่มีปัญญา”, “อย่ากังวลใจ”

5:54
4:56

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเล่าเรื่องราวเรียบง่าย ธรรมดา อุปมา และยกตัวอย่างชีวิตจริงเพื่อทำให้คนที่พระองค์ทรงสอนเข้าใจ พระองค์ทรงช่วยให้พวกเขาค้นพบบทเรียนพระกิตติคุณในประสบการณ์ของพวกเขาเองและในโลกรอบตัว ท่านจะใช้อุปมาและสัญลักษณ์ช่วยให้เยาวชนเข้าใจการเสด็จมาครั้งที่สองอย่างไร

วีดิทัศน์: “เราแบ่งปัน”

3:35

ดูเพิ่มเติม

ทำการเชื่อมโยง

ในช่วงสองสามนาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:

  • ขอให้เยาวชนเขียนความจริงพระกิตติคุณที่พวกเขาเรียนรู้มาตลอดและสนทนาว่าความจริงเหล่านั้นสัมพันธ์กันอย่างไร

เรียนรู้ด้วยกัน

กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจสัญลักษณ์ที่ใช้สอนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นที่จะได้ผลกับชั้นเรียนของท่านตามการดลใจของพระวิญญาณบริสุทธิ์:

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนอ่านข้อพระคัมภีร์ในโครงร่างนี้ที่พูดถึงอุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคน (หรือฉายวีดิทัศน์เรื่อง “พวกเขาที่มีปัญญา”) ขอให้เยาวชนสร้างสองคอลัมน์ในกระดาษแผ่นหนึ่งและเขียนชื่อคอลัมน์ว่า “อุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคน” และ “การเสด็จมาครั้งที่สอง” และต่างคนต่างพิจารณาการเปรียบเทียบที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำ เชื้อเชิญให้เยาวชนเขียนองค์ประกอบของอุปมาในคอลัมน์แรก เช่น หญิงพรหมจารีที่ฉลาด เจ้าบ่าว และน้ำมัน และเขียนในคอลัมน์ที่สองว่าสิ่งเหล่านี้แทนอะไรเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ให้แบ่งปัน “อุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคน” ( เลียโฮนา, มี.ค. 2009, หน้า 20–21) สนทนากันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรและพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจให้ทำอะไรหลังจากศึกษาอุปมาเรื่องนี้

    5:54
  • ขอให้เยาวชนแต่ละคนอ่านพระคัมภีร์อ้างอิงที่รวมไว้ในโครงร่างนี้ซึ่งเปรียบเทียบการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์กับขโมยในเวลากลางคืน ขอให้เยาวชนสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง การเสด็จมาครั้งที่สองเปรียบใครเหมือนกับขโมย พระคัมภีร์กล่าวว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมให้พร้อม เชื้อเชิญให้เยาวชนนึกถึงการเปรียบเทียบของตนซึ่งจะอธิบายการเสด็จมาครั้งที่สองและแบ่งปันการเปรียบเทียบกับชั้นเรียน

  • ให้ชั้นเรียนอ่าน โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:49–54 ขอให้เยาวชนสนทนาความแตกต่างระหว่างผู้รับใช้สองคน บางคนในสมัยของเราเหมือนผู้รับใช้ชั่วอย่างไร อะไรเป็นผลจากการกระทำของผู้รับใช้ ขอให้เยาวชนเลือกพระคัมภีร์ข้อหนึ่งในเชิงอรรถของข้อนั้นและอ่าน เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อคิดเพิ่มเติมที่เรียนรู้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบจากการอ่านพระคัมภีร์เพิ่มเติมเหล่านี้

  • ขอให้เยาวชนจินตนาการว่าเพื่อนแสดงความกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดก่อนการเสด็จมาครั้งที่สอง พวกเขาจะพูดอะไรกับเพื่อนเพื่อปลอบโยนเขา ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “อย่ากังวลใจ” และขอให้เยาวชนจดเพิ่มเติมในสิ่งที่พวกเขาจะแบ่งปันกับเพื่อนได้ รวมไปถึงข้อพระคัมภีร์ เชื้อเชิญให้เยาวชนใช้สิ่งที่เรียนรู้แสดงบทบาทสมมติเพื่อปลอบเพื่อนที่กังวลเรื่องการเสด็จมาครั้งที่สอง

    4:56
  • ขอให้ครึ่งห้องอ่านหัวข้อ 3 จากคำพูดของเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์เรื่อง “การเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จมาครั้งที่สอง,” และขอให้อีกครึ่งห้องอ่านหัวข้อ 4 ขอให้พวกเขาระบุและแบ่งปันสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองที่เอ็ลเดอร์โอ๊คส์พูดถึง สัญลักษณ์เหล่านี้แทนอะไรได้บ้าง ให้เวลาเยาวชนเขียนคำตอบของพวกเขาสำหรับคำถามต่อไปนี้ที่เอ็ลเดอร์โอ๊คส์ถาม: “จะเป็นอย่างไรถ้าพระองค์เสด็จมาพรุ่งนี้ … วันนี้เราจะทำอะไร เราจะสารภาพอะไร เราจะเลิกทำสิ่งใด เราจะสะสางเรื่องใด เราจะให้อภัยใคร เราจะแสดงประจักษ์พยานเรื่องใด” (ดู เลียโฮนา, พ.ค. 2004, หน้า 10)

ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขาเข้าใจอุปมาและสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองหรือไม่ พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะคุ้มค่าหรือไม่

ทักษะการศึกษาพระกิตติคุณ

การเข้าใจสัญลักษณ์ เพื่อเข้าใจอุปมาและสัญลักษณ์ในพระคัมภีร์ เยาวชนต้องสามารถมองสัญลักษณ์ออก ระบุส่วนต่างๆ ของสัญลักษณ์ และตีความ วิธีหนึ่งในการมองสัญลักษณ์ให้ออกคือมองหาคำเช่น เหมือน เปรียบเสมือน เหมือนกับ ดัง หรือ ประหนึ่ง จากนั้นเยาวชนก็จะสามารถทำรายการส่วนต่างๆ ของสัญลักษณ์ได้ (เช่น น้ำมัน ตะเกียง หญิงพรหมจารี และเจ้าบ่าว) เพื่อตีความสัญลักษณ์ พวกเขาสามารถดูแหล่งข้อมูลอื่นของศาสนจักรได้ (เช่น เลียโฮนา คำพูดการประชุมใหญ่ และพระคัมภีร์ข้ออื่น) และพิจารณาว่าสัญลักษณ์ช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณอย่างไร กระตุ้นให้พวกเขาทำเช่นนี้ทุกครั้งที่พบอุปมาหรือสัญลักษณ์ในการศึกษาพระกิตติคุณเป็นส่วนตัว

เชื้อเชิญให้กระทำ

ถามเยาวชนว่าพวกเขารู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ทำอะไรจากสิ่งที่เรียนรู้วันนี้กระตุ้นให้พวกเขากระทำตามความรู้สึกเหล่านี้เยาวชนมีโอกาสใดบ้างในการสอนผู้อื่นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของการเสด็จมาครั้งที่สอง