ความคารวะช่วยให้ฉันได้รับการเปิดเผยอย่างไร
เมื่อเรามีความคารวะ เราแสดงให้เห็นว่าเรารักพระผู้เป็นเจ้าและสามารถรับการเปิดเผยส่วนตัวได้ดีขึ้นท่าทีแสดงความความคารวะช่วยทำให้เรารู้สึกละเอียดอ่อนมากขึ้นต่อสุรเสียงสงบแผ่วเบาของพระวิญญาณถ้าเราปฏิบัติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความคารวะ พระบิดาบนสวรรค์จะทรงไว้วางใจเราและทรงเปิดเผยความจริงเพิ่มเติมต่อเรา
เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ
จงศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน ท่านพบอะไรที่จะช่วยเยาวชนพัฒนาสำนึกของความคารวะ
1 พงศ์กษัตริย์ 19:12; 3 นีไฟ 11:1–7 (พระผู้เป็นเจ้าทรงสื่อสารผ่านสุรเสียงสงบแผ่วเบา)
สดุดี 46:10 (“จงนิ่งเสีย และรู้เถิดว่าเราคือพระเจ้า”)
คพ. 63:64; 84:54–57 (ปฏิบัติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความคารวะ)
พอล บี. ไพเพอร์, “ธำรงความศักดิ์สิทธิ์,” Ensign หรือ เลียโฮนา, พ.ค. 2012, หน้า 109–111
“ความคารวะ,” แน่วแน่ต่อศรัทธา (2003), หน้า 100-101
“การเปิดเผย,” แน่วแน่ต่อศรัทธา (2003), หน้า 46–51
ทำการเชื่อมโยง
ในช่วงแรกของชั้นเรียนทุกครั้ง จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ)ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไรแนวคิดด้านล่างอาจจะช่วยท่านได้:
-
เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันคำถามที่พวกเขามีเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนอื่น
-
เขียนบนกระดานว่า “ความคารวะคือ _________”ขอให้สมาชิกชั้นเรียนมาที่กระดานและเขียนคำจำกัดความของความคารวะเชื้อเชิญให้เยาวชนเพิ่มคำจำกัดความเหล่านี้ให้มากขึ้นขณะเรียนเรื่องความคารวะในบทเรียนวันนี้
เรียนรู้ด้วยกัน
กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความคารวะกับการเปิดเผย เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการดลใจของพระวิญญาณ:
-
ขอให้เยาวชนอ่าน “ความคารวะ” ใน แน่วแน่ต่อศรัทธา หรือคำปราศรัยหลายตอนของเอ็ลเดอร์พอล บี. ไพเพอร์เรื่อง“ธำรงความศักดิ์สิทธิ์” โดยมองหาคำตอบของคำถามว่า “ความคารวะช่วยให้ฉันได้รับการเปิดเผยอย่างไร” เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบ เยาวชนรู้สึกว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้มีความคารวะมากขึ้น
-
แบ่งชั้นเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ และขอให้แต่ละกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์หนึ่งหรือสองข้อในโครงร่างนี้ด้วยกัน เชื้อเชิญให้ทุกกลุ่มสนทนาว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากพระคัมภีร์เหล่านี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความคารวะกับการเปิดเผย ขอให้แต่ละกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้กับนักเรียนที่เหลือ
ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจหรือไม่ว่าความคารวะเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยอย่างไร พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะคุ้มค่าหรือไม่
เชื้อเชิญให้กระทำ
ถามเยาวชนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรวันนี้เกี่ยวกับความสำคัญของความคารวะต่อการได้รับการเปิดเผยพวกเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาวะแวดล้อมได้อย่างไรเพื่อให้ได้รับการเปิดเผยส่วนตัวมากขึ้น