คลังค้นคว้า
ฉันจะใช้เรื่องเปรียบเทียบสอนคนอื่นเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร


ฉันจะใช้เรื่องเปรียบเทียบสอนคนอื่นเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดนามธรรมทางวิญญาณอย่างเรื่องการชดใช้ การเปรียบเทียบเรื่องนี้กับบางอย่างที่จับต้องได้และคุ้นเคยจะช่วยได้ พระเจ้าและศาสดาพยากรณ์ของพระองค์มักกล่าวถึงรูปธรรมหรือประสบการณ์ที่คุ้นเคยเพื่อช่วยคนที่พระองค์และพวกท่านสอนให้เข้าใจหลักธรรมทางวิญญาณ ขณะที่เราศึกษาเรื่องเปรียบเทียบเหล่านี้ ตัวเราจะเข้าใจการชดใช้ดีขึ้น และเราจะสอนเรื่องนี้แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

การเปรียบเทียบเรื่องใดหรือบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์บทใดช่วยให้ท่านเข้าใจการชดใช้
ดีขึ้น

เยาวชนมีโอกาสใดบ้างในการสอนผู้อื่นเกี่ยวกับการชดใช้ การใช้เรื่องเปรียบเทียบจะช่วยให้เยาวชนสอนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร

อิสยาห์ 1:18 (อิสยาห์กล่าวถึงหิมะและขนแกะเพื่อสอนเรื่องการกลับใจ)

มัทธิว 11:28–30 (พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบความช่วยเหลือที่ประทานแก่เรากับแอก)

ลูกา 15:11–32 (อุปมาเรื่องบุตรหายไป)

2 นีไฟ 1:15 (ลีไฮเปรียบเทียบการไถ่กับการโอบไว้ในพาหุแห่งความรักของพระผู้เป็นเจ้า)

เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ซึ่งความเที่ยงธรรมความรักเมตตาประสาน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 104–106

ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การชดใช้และศรัทธา,” เลียโฮนา เม.ย. 2010, 8–13

วีดิทัศน์: “พระผู้เป็นสื่อกลาง”

13:1

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเล่าเรื่องที่เรียบง่าย อุปมา และยกตัวอย่างจากชีวิตจริงเพื่อช่วยให้คนที่พระองค์ทรงสอนค้นพบบทเรียนพระกิตติคุณในโลกรอบตัว ท่านจะช่วยให้เยาวชนสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร (ดู การสอนพระกิตติคุณในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, หน้า 4–5)

ทำการเชื่อมโยง

ในช่วงแรกของชั้นเรียนทุกครั้ง จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างอาจจะช่วยท่านได้:

  • ถามเยาวชนว่าครู ผู้นำ และพ่อแม่ของพวกเขาได้ทำอะไรบ้างเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจเรื่องการชดใช้

เรียนรู้ด้วยกัน

กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างนี้จะช่วยให้เยาวชนเรียนรู้วิธีใช้เรื่องเปรียบเทียบเพื่อสอนคนอื่นๆ เกี่ยวกับการชดใช้ เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการนำทางของพระวิญญาณ:

  • ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “พระผู้เป็นสื่อกลาง” เชื้อเชิญให้เยาวชนแต่ละคนเขียนองค์ประกอบต่างๆ ของเรื่องเปรียบเทียบที่ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ใช้ (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หนี้ และอื่นๆ) และจดว่าแต่ละอย่างแทนอะไร แบ่งชั้นเรียนเป็นคู่ๆ และขอให้พวกเขาสอนกันเกี่ยวกับการชดใช้โดยใช้เรื่องเปรียบเทียบของประธานแพคเกอร์ การเปรียบเทียบเรื่องนี้ช่วยให้เยาวชนเข้าใจเรื่องการชดใช้ดีขึ้นอย่างไร

    13:1
  • ขอให้เยาวชนนึกถึงและยกตัวอย่างเรื่องเปรียบเทียบในพระคัมภีร์ที่นำมาใช้สอนเกี่ยวกับการชดใช้ได้ (ดูตัวอย่างข้อพระคัมภีร์ที่เสนอไว้ในโครงร่างนี้) พวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการชดใช้จากการเปรียบเทียบเหล่านี้ เขียนบนกระดานว่า “______________เปรียบเหมือน _______________” เชื้อเชิญให้เยาวชนเติมหลักธรรมเกี่ยวกับการชดใช้ตรงที่ว่างด้านหน้า (เช่น การกลับใจ การให้อภัย หรือ การฟื้นคืนชีวิต)และเติมสิ่งคุ้นเคยที่พวกเขาจะนำมาใช้สอนคนอื่นๆ เกี่ยวกับหลักธรรมนั้นตรงที่ว่างด้านหลัง เปิดโอกาสให้เยาวชนหลายๆ คนฝึกสอนวิธีนี้

  • แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่ม มอบหมายให้กลุ่มหนึ่งอ่านและสนทนา เรื่องราวของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์เกี่ยวกับพี่น้องที่ปีนหุบผาชัน (ในคำพูดของท่านเรื่อง “ซึ่งความเที่ยงธรรมความรักเมตตาประสาน”) ขอให้อีกกลุ่มหนึ่งอ่านและสนทนาตัวอย่างของเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์เรื่องต้นไม้ลู่ตามลม (ในบทความของท่านเรื่อง  “การชดใช้และศรัทธา”) ขอให้แต่ละกลุ่มสอนอีกกลุ่มว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการชดใช้จากเรื่องเปรียบเทียบที่พวกเขาศึกษา 

ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจวิธีใช้เรื่องเปรียบเทียบสอนผู้อื่นเกี่ยวกับการชดใช้หรือไม่ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการสอน

“ครูที่ชำนาญจะไม่คิดว่า ‘วันนี้ฉันจะทำอะไรในชั้นเรียน’ แต่ถามว่า ‘วันนี้จะให้นักเรียนของฉันทำอะไร’ ไม่ถามว่า ‘วันนี้ฉันจะสอนอะไร’ แต่ถามว่า ‘ฉันจะช่วยให้นักเรียนค้นพบสิ่งที่เขาต้องการรู้ได้อย่างไร’” (เวอร์จิเนีย เอช. เพียร์ซ, ใน ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน[1999], หน้า 61)

เชื้อเชิญให้ลงมือทำ

  • ขอให้เยาวชนตรึกตรองสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนวันนี้ พวกเขารู้สึกถึงการดลใจให้ทำอะไรเพื่อสอนคนอื่นเกี่ยวกับการชดใช้ หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ให้พวกเขาสอนกันในช่วงชั้นเรียน หรือเตรียมการให้พวกเขาสอนในสภาพแวดล้อมอื่น

  • แสดงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับพรที่เยาวชนจะนำไปให้ผู้อื่นเมื่อพวกเขาสอนเรื่องการชดใช้