คลังค้นคว้า
ฉันจะยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร


ฉันจะยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

เมื่อเรารับบัพติศมา เราทำพันธสัญญาว่าจะ “ยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาและในทุกสิ่ง, และในทุกแห่ง” (โมไซยาห์ 18:9) เพราะมาตรฐานของโลกเบี่ยงเบนไปจากพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า บ่อยครั้งที่เราต้องปกป้องศรัทธาของเรา ในการทำเช่นนั้นเราควรทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงทั้งกล้าหาญและรักในการปกป้องความจริง ถ้าเราสร้างบน “ศิลาของพระผู้ไถ่” “ลมอันมีกำลังแรง” ของวันเวลาสุดท้ายจะ “ไม่มีพลังเหนือ [เรา] เพื่อลากเอา [เรา] ลงไป … เพราะศิลาซึ่งบนนั้น [เรา] ได้รับการสร้างขึ้น” (ฮีลามัน 5:12)

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

ท่านเคยจำเป็นต้องปกป้องความเชื่อของท่านเมื่อใด อะไรช่วยให้ท่านพร้อมรับช่วงเวลาเช่นนั้น ท่านจะแบ่งปันประสบการณ์อะไรกับเยาวชนได้บ้าง

ท่านเคยเห็นเยาวชนยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าเมื่อใด พวกเขาเผชิญสถานการณ์อะไรบ้างซึ่งอาจมีคนโจมตีความเชื่อของพวกเขา พวกเขาจะเพิ่มพลังและสนับสนุนกันได้อย่างไร

ศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน อะไรจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนกล้ายืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

1 นีไฟ 8:24–34 (นิมิตของลีไฮเรื่องต้นไม้แห่งชีวิตและอาคารใหญ่และกว้าง)

โรม 1:16–17 (อย่าละอายในเรื่องพระกิตติคุณ)

1 ทิโมธี 4:12 (เป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้เชื่อ)

1 เปโตร 3:15 (จงพร้อมให้คำตอบเสมอแก่คนที่ถามเกี่ยวกับความเชื่อของเรา)

คพ. 100:5–8 (คำสัญญาถึงคนที่ประกาศพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า)

1 นีไฟ 17:48–55; โมไซยาห์ 13:1–9; 17:1–4; โมโรไน 1:1–3 (แบบอย่างของคนที่แน่วแน่ต่อพระกิตติคุณแม้มีการข่มเหง)

โธมัส เอส. มอนสัน, “จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 66-69

เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ราคา—และพร—ของการเป็นสานุศิษย์,”เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 6-9

นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “ลมหมุนทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 18-21

วีดิทัศน์: “ชมรมต่อต้านคำสบถ”

4:57

ทำการเชื่อมโยง

ในช่วงแรกของชั้นเรียนทุกครั้ง จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างอาจจะช่วยท่านได้:

  • ขอให้เยาวชนแบ่งปันประสบการณ์การเรียนหรือการสอนเมื่อเร็วๆ นี้ที่พวกเขามีนอกห้องเรียน หลักธรรมที่สอนในสัปดาห์ก่อนได้ช่วยพวกเขาอย่างไร

  • นำแม่เหล็กสองก้อนมาชั้นเรียน และสาธิตว่าแม่เหล็กดูดกันอย่างไร จากนั้นให้กลับด้านแม่เหล็กชิ้นหนึ่ง แล้วสาธิตว่าแม่เหล็กผลักกันอย่างไร ถามเยาวชนว่าจะใช้แม่เหล็กเหล่านี้อธิบายคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานโธมัส เอส. มอนสันอย่างไร “ครั้งหนึ่งมาตรฐานของศาสนจักรกับมาตรฐานของสังคมสอดคล้องกันแทบทุกอย่าง แต่บัดนี้มีช่องกว้างระหว่างเรา ซึ่งกำลังกว้างออกไปเรื่อยๆ” (“อำนาจฐานะปุโรหิต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 84)

เรียนรู้ด้วยกัน

ดู แนวคิดการสอนและการเรียนรู้ อื่นๆ

กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าแม้มีการต่อต้าน เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการนำทางของพระวิญญาณ:

  • ให้ชั้นเรียนอ่าน 1 นีไฟ 8:24–34 และถามเยาวชนว่าพวกเขาเห็นความสัมพันธ์อะไรระหว่างนิมิตส่วนนี้ของลีไฮกับชีวิตของพวกเขา แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งท่านได้ยึดมั่นความเชื่อของท่านขณะเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์และการต่อต้าน เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันประสบการณ์คล้ายกันที่พวกเขาเคยมี

  • เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนยกตัวอย่างบุคคลในพระคัมภีร์ที่ยังคงแน่วแน่ต่อพระกิตติคุณแม้จะมีการข่มเหง (พระคัมภีร์ในโครงร่างนี้ให้ตัวอย่างของบางคน) ให้ชั้นเรียนอ่านเรื่องราวของคนเหล่านี้ สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้อะไรบ้างจากตัวอย่างเหล่านี้ซึ่งประยุกต์ใช้กับพวกเขาในปัจจุบันได้ ส่วนหนึ่งของการสนทนานี้คือเยาวชนอาจจะสำรวจพระคัมภีร์ข้ออื่นบางข้อที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้

  • เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้ดูวีดิทัศน์เรื่อง “ชมรมต่อต้านคำสบถ” และมองหาคำพูดในวีดิทัศน์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขายืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาเผชิญกับสถานการณ์อะไรบ้างซึ่งท้าทายความเชื่อและมาตรฐานของพวกเขา พวกเขากำลังทำอะไรเพื่อปกป้องความเชื่อของตน พวกเขาจะทำตามแบบอย่างในวีดิทัศน์ได้อย่างไร

    4:57
  • แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสามกลุ่ม และแจกคำพูดในโครงร่างนี้ให้กลุ่มละหนึ่งเรื่อง ขอให้กลุ่มทบทวนคำพูดเหล่านั้นและเขียนข้อความอันเปี่ยมด้วยพลังที่พวกเขาจะแบ่งปันได้เพื่อกระตุ้นให้คนบางคนปกป้องความจริงของพระกิตติคุณ ให้แต่ละกลุ่มบอกคนที่เหลือในชั้นเรียนว่าพวกเขาจะแบ่งปันข้อความเหล่านี้กับคนอื่นๆ ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะสร้าง รูปภาพพร้อมข้อความอ้างอิง และแบ่งปันกับสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ ระหว่างสัปดาห์เพื่อเตือนให้นึกถึงสิ่งที่ท่านได้สนทนาในชั้นเรียน

ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ พวกเขารู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ยืนเป็นพยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะมีประโยชน์หรือไม่

เชื้อเชิญให้กระทำ

ถามเยาวชนว่าพวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ กระตุ้นให้พวกเขากระทำตามความรู้สึกเหล่านี้ หาวิธีที่ท่านจะติดตามผล