ฉันจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเชื่อฟังพระบัญญัติได้อย่างไร
ในฐานะวิสุทธิชนยุคสุดท้าย—และครูสอนพระกิตติคุณ—เราควรเป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณแบบอย่างของเราสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเชื่อฟังพระบัญญัติพระผู้ช่วยให้รอดรับสั่งกับเหล่าสานุศิษย์ของพระองค์ว่า “ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก” (มัทธิ 5:14)สันติและความสุขที่เรารู้สึกจากการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณจะแสดงให้เห็นในการกระทำของเรา ในคำพูดของเรา และในพลังแห่งประจักษ์พยานของเรา
เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ
ศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน อะไรจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจว่าแบบอย่างและประจักษ์พยานของพวกเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเชื่อฟังพระบัญญัติอย่างไร
มัทธิว 5:14–16; 1 ทิโมธี 4:12; แอลมา 17:11; 39:11 (ความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดี)
แอลมา 4:19 (พลังของประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์)
โธมัส เอส.มอนสัน, “จงเป็นแบบอย่างและแสงสว่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 86–88
แอล. ทอม เพอร์รีย์, “ความรักที่สมบูรณ์นั้นก็ได้ขจัดความกลัวเสีย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 52–55
แอน เอ็ม. ดิบบ์, “จงลุกขึ้นและฉายส่องออกไป,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 117–119
วีดิทัศน์: “ให้แสงของเจ้าส่องเช่นนั้น”
ทำการเชื่อมโยง
ในช่วงไม่กี่นาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ)ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไรแนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:
-
ถามเยาวชนว่าพวกเขาได้ยินพระบัญญัติข้อใดบ่อยๆ ในชั้นเรียนหรือการประชุมของศาสนจักรพวกเขาคิดว่าเหตุใดจึงเน้นพระบัญญัติเหล่านี้พวกเขากำลังเรียนรู้อะไรพวกเขามีคำถามอะไรบ้าง
-
เชื้อเชิญให้เยาวชนนึกถึงคนรู้จัก (แต่ไม่ต้องบอกชื่อ) ที่พวกเขาประสงค์จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนเหล่านั้นเชื่อฟังพระบัญญัติให้ชั้นเรียนสนทนาว่าอะไรสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณแบบอย่าง ประสบการณ์ และประจักษ์พยานของเยาวชนสามารถช่วยให้พวกเขาสัมผัสใจคนที่พวกเขารักได้อย่างไร
เรียนรู้ด้วยกัน
กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจวิธีสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเชื่อฟังพระบัญญัติ เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการดลใจของพระวิญญาณ:
-
เชื้อเชิญเยาวชนให้อ่าน มัทธิว 5:16 และ 1 ทิโมธี 4:12ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่ดลใจคำพูดของประธานมอนสันเรื่อง “จงเป็นแบบอย่างและแสงสว่าง” ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้สอนอะไรกับพวกเขาเกี่ยวกับพลังของแบบอย่างพวกเขา เชื้อเชิญให้เยาวชนค้นคว้าคำพูดของประธานมอนสันและหาคุณลักษณะที่ท่านขอให้เราเป็นแบบอย่าง ขอให้พวกเขาแบ่งปันในเวลาที่มีบางคนเป็นแบบอย่างคุณลักษณะนั้นและสนทนาผลที่ประสบการณ์มีต่อพวกเขา เยาวชนสามารถทำอะไรเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีมากขึ้นที่บ้าน ทางออนไลน์ ที่โรงเรียน และในชุมชน
-
มอบหมายให้เยาวชนอ่านพระคัมภีร์คนละหนึ่งข้อเกี่ยวกับการเป็นแบบอย่างในโครงร่างนี้แล้วหาคนในชั้นที่อ่านข้ออื่นแล้วแบ่งปันกันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไร ดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไปจนกว่าเยาวชนได้ยินพระคัมภีร์ทุกข้อ เหตุใดการเป็นแบบอย่างจึงสำคัญในการสอนพระกิตติคุณ ขอให้เยาวชนเขียนโอกาสการสอนที่พวกเขามีบางครั้งไว้บนกระดาน—ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากนั้นให้เปิดไปที่หน้า 19 ของ ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน และอ่านรายชื่อพรที่มาถึงครูผู้ขวนขวายเชื่อฟังพระกิตติคุณ พรเหล่านี้จะช่วยให้เยาวชนใช้โอกาสการสอนที่เขียนไว้บนกระดานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร
-
แบ่งปันคำพูดต่อไปนี้จากคำพูดของเอ็ลเดอร์แอล ทอม. เพอร์รีย์เรื่อง “ความรักที่สมบูรณ์นั้นก็ได้ขจัดความกลัวเสีย”: “ชีวิตเราควรเป็นแบบอย่างของความดีงามและคุณธรรมขณะที่เราพยายามทำตามแบบอย่างของพระองค์ให้โลกเห็น งานดีของเราแต่ละคนจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่พระผู้ช่วยให้รอดและศาสนจักรของพระองค์ ขณะที่เราทำความดีดี เป็นชายและหญิงที่น่ายกย่องและซื่อตรง แสงสว่างของพระคริสต์จะแสดงให้เห็นในชีวิตเรา” ขอให้เยาวชนแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งแบบอย่างที่ดีของคนบางคนดลใจให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ หรือฉายวีดิทัศน์เรื่อง “ให้แสงของเจ้าส่องเช่นนั้น” เชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองอิทธิพลที่แบบอย่างของพวกเขาอาจมีต่อผู้อื่น และกระตุ้นให้พวกเขาตั้งเป้าหมายส่วนตัวว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ รักษาพระบัญญัติโดยการเป็นแบบอย่างที่ดี
4:28 -
แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับตอนที่ท่านเลือกเชื่อฟังพระบัญญัติข้อหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่ท่านแบ่งปัน ให้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้: อย่าพูดถึงประสบการณ์ศักดิ์สิทธิ์ยกเว้นว่าท่านได้รับการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณ อย่าเสริมแต่งประสบการณ์ของท่าน อย่าเล่าประสบการณ์เพียงเพื่อดึงความสนใจมาสู่ตัวท่าน และอย่าพูดถึงบาปหรือการล่วงละเมิดที่ผ่านมา สนทนาเกี่ยวกับคำแนะนำเหล่านี้กับเยาวชน และเชื้อเชิญพวกเขาให้ทำตามคำแนะนำขณะที่พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวของพวกเขาเกี่ยวกับการรักษาพระบัญญัติ ถามเยาวชนว่าเหตุใดที่พวกเขาคิดว่าประสบการณ์ส่วนตัวเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสอนผู้อื่นเกี่ยวกับพระบัญญัติ
-
เชื้อเชิญชั้นเรียนให้สรุปบริบทจาก แอลมา 4:19 (หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ แนะนำให้พวกเขาอ่านหัวบทของบทที่ 4) อ่านข้อ 19 ด้วยกัน และถามเยาวชนว่าพวกเขาคิดว่า “กดดันด้วยประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์” น่าจะหมายความว่าอะไรและจะกระตุ้นให้สมาชิกของศาสนจักรเชื่อฟังพระบัญญัติได้อย่างไร เยาวชนได้รับอิทธิพลจากประจักษ์พยานของคนอื่นอย่างไร (เช่นพ่อแม่ ครู ผู้นำ หรือเยาวชนคนอื่น) ขอให้เยาวชนนึกถึงตัวอย่างของประจักษ์พยานในพระคัมภีร์ (ตัวอย่างเช่น, มัทธิว 16:13–19; โมไซยาห์ 3:17; แอลมา 5:45–48; 7:13; คพ. 76:22–24) อ่านพระคัมภีร์เหล่านี้ด้วยกัน และเชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันสาเหตุที่พวกเขาคิดว่าประจักษ์พยานเหล่านี้ให้การดลใจ (หมายเหตุ: กิจกรรมนี้เป็นโอกาสที่จะสอนเยาวชนเกี่ยวกับวิธีแสดงประจักษ์พยานเมื่อพวกเขาสอนพระกิตติคุณผู้อื่น ให้ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด [2016], 11เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้)
-
หรือเชื้อเชิญเยาวชนให้อ่านเรื่องหนึ่งในคำพูดของซิสเตอร์แอน เอ็ม. ดิบบ์ เรื่อง “จงลุกขึ้นและฉายส่องออกไป” (เรื่องของแซมสัน ดาเนียล โจอันนา และคาเร็น) ขอให้พวกเขาสนทนาสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับพลังของแบบอย่างซึ่งส่งผลให้ผู้อื่นเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟังพระบัญญัติ เยาวชนเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างซึ่งพวกเขามีอิทธิพลต่อคนบางคนหรือคนอื่นมีอิทธิพลให้พวกเขาเชื่อฟัง
ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจวิธีสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเชื่อฟังพระบัญญัติหรือไม่ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะมีประโยชน์หรือไม่
เชื้อเชิญให้เยาวชนกระทำ
เชื้อเชิญให้เยาวชนนึกถึงบางสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่พวกเขารู้จักเชื่อฟังพระบัญญัติหากเห็นเหมาะสม เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ในชั้นเรียนคราวหน้า