พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยฉันสอนพระกิตติคุณอย่างไร
เมื่อเราสอนพระกิตติคุณ เราควรยอมรับด้วยความอ่อนน้อมว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นครูตัวจริงสิทธิพิเศษของเราคือรับใช้เป็นเครื่องมือที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงสามารถสอน เป็นพยาน ปลอบโยน และดลใจผู้อื่นผ่านเราได้เราควรดำเนินชีวิตให้คู่ควรรับพระวิญญาณ สวดอ้อนวอนขอการนำทางจากพระองค์ขณะเตรียมและสอน และสร้างบรรยากาศให้คนที่เราสอนรู้สึกถึงอิทธิพลของพระองค์ได้
เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ
ศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้แบ่งปันอะไรกับเยาวชน
ยอห์น 15:26; คพ. 50:13–22; 52:9 (พระบิดาทรงส่งพระผู้ปลอบโยนมาสอนความจริง)
2 นีไฟ 33:1–2 (พระวิญญาณบริสุทธิ์นำถ้อยคำของเราไปสู่ใจของลูกหลานมนุษย์)
แอลมา 17:3 (พวกบุตรของโมไซยาห์เตรียมตัวสอนด้วยพลังอำนาจและสิทธิอำนาจ)
คพ. 11:21; 84:85 (พระวิญญาณจะทรงช่วยให้เรารู้ว่าต้องพูดอะไรถ้าเราหมายมั่นให้ได้คำของพระผู้เป็นเจ้า)
คพ. 42:11–17 (ถ้าเราไม่มีพระวิญญาณ เราจะไม่สอน)
แมทธิว โอ. ริชาร์ดสัน, “สอนตามวิธีของพระวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 120–123
“อำนาจของพระวิญญาณในการเปลี่ยนใจเลื่อมใส,” สั่งสอนกิตติคุณของเรา (2004), หน้า 98–99
ทำการเชื่อมโยง
ในช่วงไม่กี่นาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:
-
ขอให้เยาวชนนึกถึงเวลาที่พวกเขาเคยรู้สึกถึงพระวิญญาณระหว่างชั้นเรียนศาสนจักร ในเซมินารี หรือที่การสังสรรค์ในครอบครัว ครูทำอะไรเพื่ออัญเชิญพระวิญญาณ
-
เชื้อเชิญเยาวชนให้เขียนโอกาสสอนพระกิตติคุณที่พวกเขามีกับผู้อื่น กระตุ้นพวกเขาให้รวมช่วงการสอนที่ไม่เป็นทางการและไม่ได้วางแผนไว้ และงานมอบหมายการสอนอย่างเป็นทางการไว้ด้วย เขียนบนกระดานว่า “การสอนโดยพระวิญญาณหมายความว่าอะไร” เชื้อเชิญเยาวชนให้ไตร่ตรองตลอดบทเรียนว่าพวกเขาจะตอบคำถามนี้อย่างไรอันเกี่ยวเนื่องกับโอกาสการสอนที่พวกเขาเขียนไว้ เชื้อเชิญพวกเขาให้แบ่งปันความคิดตอนจบบทเรียน
เรียนรู้ด้วยกัน
กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างนี้จะช่วยให้เยาวชนเข้าใจว่าการสอนโดยพระวิญญาณหมายความว่าอะไร เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่าน ตามการดลใจของพระวิญญาณ:
-
ให้เยาวชนเลือกคำถามต่อไปนี้หนึ่งข้อ: เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องสอนโดยพระวิญญาณ พระวิญญาณประทานพรเราในฐานะครูอย่างไร พระวิญญาณประทานพรคนที่เราสอนอย่างไร เราควรทำอะไรเพื่ออัญเชิญพระวิญญาณในการสอนของเรา ขอให้สมาชิกแต่ละคนในชั้นเรียนอ่านพระคัมภีร์ข้อหนึ่งเกี่ยวกับการสอนโดยพระวิญญาณ (เช่นข้อที่เสนอไว้ในโครงร่างนี้) และหาคำตอบในพระคัมภีร์ให้กับคำถามที่เขาหรือเธอเลือก เปิดโอกาสให้สมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันข้อพระคัมภีร์และคำตอบที่พวกเขาพบ
-
เลือกหัวข้อต่างๆ ร่วมกับการสวดอ้อนวอนจาก ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน, หน้า 40–48 ที่ท่านรู้สึกว่าจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจว่าการสอนโดยพระวิญญาณหมายความว่าอะไร แบ่งชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และขอให้แต่ละกลุ่มอ่านหัวข้อต่อไปนี้ด้วยกันและเขียนรายการสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อสอนโดยพระวิญญาณ เชิญกลุ่มต่างๆ แบ่งปันกันในสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ และกระตุ้นพวกเขาให้เพิ่มเข้าไปในรายการขณะฟังกลุ่มอื่น ขอให้พวกเขาไตร่ตรองว่าพวกเขาจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้กับโอกาสการสอนในอนาคตได้อย่างไร
-
เชื้อเชิญเยาวชนให้อ่านคำปราศรัยของแมทธิว โอ. ริชาร์ดสันเรื่อง “สอนตามวิธีของพระวิญญาณ” โดยหาคำตอบของคำถาม “พระวิญญาณทรงสอนอย่างไร” และ “เราเลียนแบบพระองค์ในการสอนของเราอย่างไร” ขอให้พวกเขาแบ่งปันกันในสิ่งที่พบ พวกเขาเคยมีประสบการณ์ใดบ้างที่ครูสอน “ตามวิธีของพระวิญญาณ” พวกเขาจะทำตามแบบอย่างของครูคนนั้นในครั้งต่อไปที่สอนได้อย่างไร
-
แจกสำเนา “อำนาจของพระวิญญาณในการเปลี่ยนใจเลื่อมใส” จากสั่งสอนกิตติคุณของเรา (หน้า 98–99) ให้สมาชิกแต่ละคนในชั้นเรียน ขอให้แต่ละคนอ่านโดยมองหาคำตอบของคำถาม “การสอนโดยพระวิญญาณหมายความว่าอะไร” เชื้อเชิญพวกเขาให้แบ่งปันสิ่งที่พบ ถามเยาวชนว่าเหตุใดพวกเขาจึงรู้สึกว่าสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตอนนี้ก่อนจะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลา กระตุ้นพวกเขาให้ทำกิจกรรม “การศึกษาส่วนตัว” และ “การศึกษาพระคัมภีร์” ของตนเอง (หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ท่านอาจจะให้เวลาพวกเขาเริ่มทำในชั้นเรียน) เชื้อเชิญพวกเขาให้จดสิ่งที่ดลใจพวกเขาขณะอ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และแบ่งปันกับชั้นเรียนในบทเรียนคราวหน้า
ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขาเข้าใจหรือไม่ถึงการสอนโดยพระวิญญาณ พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้คุ้มค่าหรือไม่
เชื้อเชิญให้ลงมือทำ
ถามเยาวชนว่าพวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ กระตุ้นพวกเขาให้ลงมือทำตามความรู้สึกเหล่านี้ แสวงหาพระวิญญาณขณะที่ท่านพิจารณาวิธีติดตามผลร่วมกับการสวดอ้อนวอน