บทที่ 24
หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–22
คำนำ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1829 โจเซฟ สมิธว่าจ้างผู้พิมพ์ชื่อเอ็กเบิร์ต บี. แกรนดินให้พิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน 5,000 เล่มในราคา 3,000 ดอลลาร์ แต่แกรนดินจะไม่เริ่มพิมพ์หรือซื้อแบบตัวพิมพ์จนกว่าเขาจะได้เงินค้ำประกันสำหรับงานนี้ ในการเปิดเผยที่อยู่ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19ซึ่งน่าจะได้รับในฤดูร้อน ค.ศ. 1829 พระเจ้าทรงบัญชาให้มาร์ติน แฮร์ริส “แบ่งปันส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติเจ้า … [และ] ชำระหนี้ที่เจ้าทำสัญญากับผู้พิมพ์” (คพ. 19:34–35) มาร์ติน แฮร์ริสแบ่งฟาร์มส่วนหนึ่งของเขาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันค่าพิมพ์ถ้าการขายพระคัมภีร์มอรมอนไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธอธิบายว่าการเปิดเผยนี้ พร้อมด้วยคำสอนเรื่องการชดใช้ในนั้นเป็น “การเปิดเผยครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่ประทานให้ในสมัยการประทานนี้ มีไม่กี่ครั้งที่สำคัญกว่าครั้งนี้” (Church History and Modern Revelation, 2 vols. [1953], 1:85)
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–3
พระผู้ช่วยให้รอดทรงประกาศว่าพระองค์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาสำเร็จ
เมื่อชั้นเรียนเริ่ม ขอให้นักเรียนนึกถึงบางสิ่งที่มีคนขอให้พวกเขาทำหรือจะขอให้ทำเพราะพวกเขาเป็นสมาชิกศาสนจักร เขียนคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดาน จากนั้นขอให้นักเรียนทบทวนรายการบนกระดานและเลือกข้อที่บางคนอาจคิดว่าทำได้ยาก (ตัวอย่างอาจได้แก่ จ่ายส่วนสิบ รับใช้งานเผยแผ่ และกลับใจ)
-
เหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงทำยากสำหรับบางคน
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ของ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19ให้อ่านออกเสียงคำนำของบทนี้
เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–3 ในใจโดยมองหาความจริงเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา นักเรียนพึงระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา ลอกแผนภูมิต่อไปนี้ ไว้บนกระดาน โดยใช้ความจริงเหล่านี้เป็นชื่อคอลัมน์สองคอลัมน์ เชื้อเชิญให้นักเรียนทำแผนภูมิคล้ายกันลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาและเติมแผนภูมิระหว่างบทเรียน เว้นที่บนกระดานให้มากเพื่อจะเติมแผนภูมิให้ครบถ้วนตามที่แสดงให้เห็นต่อไปในบทเรียน
พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล |
พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา |
---|---|
-
การรู้ความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้มาร์ติน แฮร์ริสรู้สึกสงบเกี่ยวกับการตัดสินใจขายฟาร์มส่วนใหญ่ของเขาอย่างไร
หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12
พระเยซูคริสต์ทรงอธิบายเรื่องโทษนิรันดร์และอนันตโทษ
ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12 ใต้ชื่อหัวข้อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4 ในใจโดยมองหาความจริงเกี่ยวกับการพิพากษาที่เราทุกคนควรพิจารณา ขอให้พวกเขารายงานสิ่งที่พบ นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาพึงระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์ เชิญนักเรียนคนหนึ่งเขียนหลักคำสอนนี้ไว้บนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12”
อธิบายว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:5 มีคำอธิบายของพระผู้ช่วยให้รอดว่าพระองค์จะไม่ทรงคืนคำพิพากษาของพระองค์ คำอธิบายนี้บอกเป็นนัยว่าคนที่ไม่กลับใจจะต้องรับโทษบาปของพวกเขา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:5 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงสถานะของคนที่ไม่กลับใจและด้วยเหตุนี้จึงจะรับการพิพากษาของพระองค์ว่าอย่างไร
-
ประสบการณ์ของคนที่ไม่กลับใจจะเป็นอย่างไร
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:5 จะจูงใจเราให้กลับใจได้อย่างไร
เขียนวลี: โทษนิรันดร์หรืออนันตโทษไว้บนกระดานใต้ “มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์”
-
ท่านนึกถึงอะไรเมื่อท่านได้ยินหรืออ่านวลี “โทษนิรันดร์หรืออนันตโทษ”
เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:6–12 ในใจโดยมองหาว่าพระเจ้าทรงนิยามโทษนิรันดร์หรืออนันตโทษว่าอย่างไร หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้ลบคำ นิรันดร์หรืออนันต บนกระดาน และแทนที่ด้วยคำว่า ของพระผู้เป็นเจ้า
-
ท่านนึกถึงอะไรเมื่อท่านอ่านหรือได้ยินวลี “โทษของพระผู้เป็นเจ้า”
ท่านอาจต้องอธิบายว่าในพระคัมภีร์ คำว่า อนันตโทษ และ โทษนิรันดร์ ไม่ได้หมายถึงระยะเวลาที่ผู้คนจะทนทุกข์เพราะบาปของตน พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่า “เราคืออนันต, และโทษซึ่งให้จากมือเราเป็นอนันตโทษ, เพราะอนันตคือนามของเรา” (คพ.:19:10) ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ตรัสถึงอนันตโทษหรือโทษนิรันดร์ พระองค์กำลังตรัสถึงโทษที่พระองค์จะทรงดำเนินการตามกฎสวรรค์และข้อเรียกร้องของความยุติธรรม
หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–22
พระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงการทนทุกข์ของพระองค์เพราะบาป
ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17 ลงในคอลัมน์หัวข้อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” อธิบายว่า ข้อ 13–17 มีพระดำรัสเตือนถึงสมาชิกของศาสนจักร เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17 ในใจโดยมองหาผลลัพธ์สำหรับคนที่เลือกไม่กลับใจ
-
จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เลือกไม่กลับใจจากบาปของพวกเขา (นักเรียนควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: คนที่เลือกไม่กลับใจจะต้องรับโทษเพราะบาปของพวกเขา เขียนความจริงนี้ไว้บนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17”)
เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19 ลงในคอลัมน์ชื่อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาเหตุผลที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพราะบาปของเรา
-
พระผู้ช่วยให้รอดทรงให้เหตุผลที่พระองค์ทรงทนทุกข์เพราะบาปของเราว่าอย่างไร (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพราะบาปของเราเพื่อเราจะกลับใจและไม่ต้องทนทุกข์เช่นพระองค์)
-
ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ อะไรทำให้เราได้รับการอภัยบาป (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เขียนข้อความต่อไปนี้ไว้ในแผนภูมิบนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19”: ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์และพระโลหิตเพื่อการชดใช้ของพระองค์สนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ คนที่กลับใจจึงได้รับความเมตตา)
-
การรู้ความจริงที่เราระบุตั้งแต่ต้นมีผลต่อความปรารถนาจะกลับใจของท่านอย่างไร
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจการเลือกที่เราทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนรับโทษบาปของเรา ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“เราจะลงเอยด้วยการเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตของพระคริสต์หรือไม่ก็เลือกรูปแบบการทนทุกข์ของพระองค์! เลือก ‘ทนทุกข์แม้ดังเรา’ (คพ. 19:16–17) หรือไม่ก็เลือกเอาชนะ ‘แม้ดัง [พระองค์ทรง] … ชนะ (วิวรณ์ 3:21)” (“Overcome … Even As I Also Overcame,” Ensign, May 1987, 72)
ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19 ใต้หัวข้อ “พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล”
อธิบายว่านอกจากพระองค์แล้วมีคนอื่นอีกที่ให้เรื่องราวส่วนใหญ่เกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์ (ดู มัทธิว 26:36–39; ลูกา 22:39–44) หลักคำสอนและพันธสัญญา 19 ประกอบด้วยเรื่องราวส่วนพระองค์ของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระองค์ เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19 ในใจโดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงความทุกขเวทนาที่พระองค์ทรงประสบระหว่างการชดใช้ว่าอย่างไร ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้พวกเขาทำเครื่องหมายสิ่งที่พบ เพิ่มคำตอบของนักเรียนบนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19” แผนภูมิสุดท้าย อาจออกมาในลักษณะนี้:
พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล |
พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา |
---|---|
ความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดอาดูร สาหัส และยากจะทนได้ ความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดทำให้พระองค์สั่นเพราะความเจ็บปวดและเลือดออกจากทุกขุมขน พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์ทั้งกายและวิญญาณ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสวดอ้อนวอนขอให้ไม่ต้องดื่มถ้วยอันขมขื่น พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล และ “ทำให้การเตรียมของ [พระองค์] เสร็จสิ้นเพื่อลูกหลานมนุษย์.” (คพ. 19: 19) |
มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์ โทษของพระผู้เป็นเจ้า คนที่เลือกไม่กลับใจจะต้องรับโทษเพราะบาปของพวกเขา ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์และพระโลหิตเพื่อชดใช้ของพระองค์สนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้คนที่กลับใจจึงได้รับความเมตตา |
-
ท่านรู้สึกอย่างไรที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับโทษเพราะบาปของเรา
-
การรู้เรื่องความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยมาร์ติน แฮร์ริสอย่างไรขณะที่เขาพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างเช่นต้นฉบับ 116 หน้าที่หายไปหรือการสละทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อจ่ายค่าพิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน
-
ความรู้ของท่านเรื่องการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยท่านเผชิญเรื่องยากๆ เมื่อใด (เตือนนักเรียนว่าประสบการณ์บางอย่างศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นส่วนตัวเกินกว่าจะแบ่งปัน)
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:20 ขอให้นักเรียนดูตามโดยมองหาวลีที่กล่าวถึงเวลามาร์ติน แฮร์ริสประสบความทุกข์เพราะบาปของเขา
-
ท่านคิดว่าเหตุใดการถอนพระวิญญาณจึงทำให้เกิดทุกข์
เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13, 15, 20 ในใจโดยมองหาพระบัญชาในแต่ละข้อและพระดำรัสเตือนใน ข้อ 15 และ 20
-
พระบัญญัติของพระเจ้าให้กลับใจเป็นหลักฐานยืนยันความรักที่ทรงมีต่อเราอย่างไร
เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนประจักษ์พยานเกี่ยวกับหลักคำสอนและหลักธรรมประการหนึ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–22ลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา