บทที่ 31
หลักคำสอนและพันธสัญญา 24 และ 26
คำนำ
ในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1830 โจเซฟ สมิธและสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ กำลังประสบการข่มเหงอย่างรุนแรง ในช่วงเวลาที่ยุ่งยากนี้ พระเจ้าทรงเพิ่มพลังให้โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรี พระองค์ทรงแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบของพวกท่านผ่านการเปิดเผยที่อยู่ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 24 พระเจ้าประทานแนวปฏิบัติความเห็นชอบร่วมกันในศาสนจักรด้วย พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 26
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:1–12
โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเรียกของพวกท่าน
ก่อนชั้นเรียนเริ่ม ให้เขียนคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: ท่านทำอะไรเมื่อชีวิตยุ่งยาก
ขอให้นักเรียนนึกถึงเวลายากๆ หรือน่าท้อใจที่พวกเขาเคยมีและพวกเขารับมือกับความยุ่งยากเหล่านั้นอย่างไร เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา (เตือนนักเรียนว่าประสบการณ์บางอย่างศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นส่วนตัวเกินกว่าจะแบ่งปัน)
อธิบายว่าโจเซฟ สมิธประสบการณ์ช่วงเวลายุ่งยากมากมายในชีวิตท่าน ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงหัวเรื่องของภาค 24 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตามและระบุสภาวการณ์ซึ่งทำให้ได้รับการเปิดเผยครั้งนี้และสองครั้งต่อจากนั้น
เพื่ออธิบายการข่มเหงที่โจเซฟ สมิธและคนอื่นๆ กำลังประสบเวลานี้ ท่านอาจจะขอให้นักเรียนสรุปภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ต่อไปนี้ (ท่านอาจต้องให้ข้อมูลนี้ก่อนชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนมีเวลาเตรียม)
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830 โจเซฟ สมิธและเพื่อนร่วมงานไม่กี่คนไปเมืองโคลสวิลล์ รัฐนิวยอร์กเพื่อพูดคุยกับคนที่สนใจจะรับบัพติศมา มีการสร้างทำนบกั้นลำธารเพื่อเตรียมบัพติศมาวันรุ่งขึ้น (วันอาทิตย์) แต่กลุ่มคนร้ายทำลายทำนบตอนกลางคืน เช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันจันทร์ พวกเขาสร้างทำนบขึ้นใหม่และ 13 คนรับบัพติศมา รวมทั้งเอ็มมา สมิธ แต่เมื่อทำพิธีบัพติศมาเสร็จ กลุ่มคนร้ายราว 50 คนมารวมตัวกันเหยียดหยามและขู่จะทำร้ายวิสุทธิชน เย็นวันนั้น วิสุทธิชนประชุมกันเพื่อยืนยันคนที่รับบัพติศมาเช้าวันนั้น แต่ก่อนทำพิธียืนยัน โจเซฟถูกจับข้อหา “ก่อความวุ่นวาย ทำให้ประเทศเกิดความโกลาหลเพราะสั่งสอนเรื่องพระคัมภีร์มอรมอน” (ดู History of the Church, 1:86–88)
ระหว่างทาง โจเซฟหนีรอดจากกลุ่มคนร้ายด้วยความช่วยเหลือของตำรวจที่สงสารท่านและคุ้มกันท่าน หลังจากถูกสอบสวนและประกาศให้พ้นผิด โจเซฟถูกจับอีกทันทีโดยตำรวจนายหนึ่งจากอีกมณฑลหนึ่ง คืนนั้น โจเซฟถูก “คนจำนวนหนึ่ง” เยาะเย้ยและสบประมาท เช้าวันรุ่งขึ้นท่านถูกสอบสวน โจเซฟพ้นข้อกล่าวหาอีกครั้งและหนีรอดจากคนร้ายอีกกลุ่มขณะเดินทางกลับบ้าน (ดู History of the Church, 1:88–96)
โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีพยายามอีกครั้งเพื่อไปรวมกับสมาชิกที่เพิ่งรับบัพติศมาในเมืองโคลสวิลล์ แต่คนร้ายมารวมตัวกันหลังจากพวกท่านมาถึงไม่นาน โจเซฟและออลิเวอร์จำต้องหลบหนี และหนีมาได้อย่างหวุดหวิดขณะคนร้ายไล่ตามพวกท่านตลอดคืน (ดู History of the Church, 1:97) โจเซฟพูดถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ว่า “ทั้งๆ ศัตรูรุกรานเรารอบด้าน แต่เรามีความอบอุ่นใจมาก และเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศรัทธาของเราและให้กำลังใจเรา” (ใน History of the Church, 1:101)
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงประโยคสุดท้ายตรงหัวเรื่องของ หลักคำสอนและพันธสัญญาภาค 24 ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายประโยคนี้ เชื้อเชิญให้พวกเขาพิจารณาระหว่างบทเรียนว่าคำแนะนำที่พระเจ้าประทานแก่โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีจะช่วยพวกเขาได้อย่างไรเมื่อพวกเขาประสบความยุ่งยาก
เขียนบนกระดาน ดังนี้
เพิ่มพลังและให้กำลังใจ |
แนะนำ |
---|---|
มอบหมายให้นักเรียนศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:1–12 เป็นคู่ๆ เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านข้อเหล่านี้ในใจ โดยมองหาวลีที่จะเพิ่มพลังและให้กำลังใจท่านศาสดาพยากรณ์และออลิเวอร์ คาวเดอรี เชิญนักเรียนอีกคนหนึ่งอ่านข้อเหล่านี้ โดยค้นหาคำแนะนำที่พระเจ้าประทาน หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบกับคู่ของพวกเขา ขอให้ทั้งคู่เลือกหนึ่งวลีที่มีความหมายต่อพวกเขาและรวมไว้ในการสนทนาว่าพวกเขาคิดว่าคำพูดให้กำลังใจหรือคำแนะนำใดจากพระเจ้าจะช่วยโจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีได้
หลังจากแต่ละคู่สนทนา หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:1–12แล้ว ให้นักเรียนสองสามคนรายงานสิ่งที่เรียนรู้ ขณะที่นักเรียนเสนอข้อคิด ให้เขียนคำให้กำลังใจและคำแนะนำที่พวกเขาค้นพบไว้ใต้หัวข้อที่เหมาะสมบนกระดาน
-
เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:8 เกี่ยวกับสิ่งที่ช่วยเราได้ในความทุกข์ของเรา (ท่านอาจต้องอธิบายว่า ความทุกข์ เป็นสาเหตุหรือสภาพของความเจ็บปวด ความกังวลใจ หรือความทุกข์ทรมาน นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาพึงระบุหลักธรรมต่อไปนี้: หากเราอดทนและทนรับความทุกข์ พระเจ้าจะทรงอยู่กับเรา เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน)
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักธรรมนี้ ขอให้พวกเขาเขียนลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาว่าพวกเขารู้สึกว่าอดทนและทนรับหมายถึงอะไร เชิญนักเรียนสองสามคนอ่านออกเสียงคำอธิบายของพวกเขา เพิ่มเติมข้อคิดของพวกเขาโดยอธิบายว่าในบริบทพระกิตติคุณ ทนรับความทุกข์หมายความได้ว่าเรายังคงซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและต้านทานการล่อลวงด้วยความกล้าหาญ
-
เหตุใดจึงอดทนได้ยากระหว่างเกิดความทุกข์
-
ท่านเคยเห็นคนใช้ความอดทนและยังคงซื่อสัตย์ระหว่างเกิดความทุกข์เมื่อใด
-
พระเจ้าทรงแสดงให้ผู้คนเห็นอย่างไรว่าพระองค์ทรงอยู่กับพวกเขา
เพื่อช่วยให้นักเรียนค้นพบความจริงเกี่ยวกับหลักธรรมที่เขียนไว้บนกระดาน ให้เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:10–12 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตามและระบุพรที่พระเจ้าทรงสัญญากับออลิเวอร์ คาวเดอรีหากเขาจะทำอย่างซื่อสัตย์ต่อไปในการเรียกให้ประกาศพระกิตติคุณ
-
พระเจ้าทรงสัญญาพรอะไรบ้างกับออลิเวอร์หากเขาจะทำอย่างซื่อสัตย์ต่อไปในสิ่งที่พระเจ้าทรงขอให้ทำ (ช่วยให้นักเรียนเห็นคำสัญญาต่อไปนี้: “เราอยู่กับเขาจนถึงที่สุด” [ข้อ 10] “ในเราเขาจะได้รับการสรรเสริญ” [ข้อ 11] “เราจะให้พละกำลังเขาอย่างที่ไม่เคยรู้จักมาในบรรดามนุษย์” [ข้อ 12])
เขียนบนกระดานดังนี้: หาก … เมื่อนั้น …
เชื้อเชิญให้นักเรียนระบุข้อความ “หาก–เมื่อนั้น” เพื่อบอกหลักธรรมที่สอนไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:10–12 (นักเรียนอาจระบุหลักธรรมหลากหลาย แต่พึงเน้นหลักธรรมต่อไปนี้: หากเราทำสิ่งที่พระเจ้าทรงขอให้เราทำอย่างชื่อสัตย์ เมื่อนั้นพระองค์จะทรงเพิ่มพลังให้เรา เติมคำในช่องว่างบนกระดานเพื่อให้หลักธรรมครบถ้วน)
-
พระเจ้าทรงเพิ่มพลังท่านอย่างไรเมื่อท่านซื่อสัตย์ต่อพระองค์
เชื้อเชิญให้นักเรียนจดสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่ออดทนและยังคงซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเมื่อเผชิญความยุ่งยากในชีวิตพวกเขา ท่านอาจจะแบ่งปันว่าท่านได้รับพลังและมีพระเจ้าอยู่กับท่านเพราะความซื่อสัตย์อดทนในยามยากลำบากอย่างไร
หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:13–19
พระเจ้าทรงแนะนำโจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีเกี่ยวกับงานของพวกท่านและคนที่ต่อต้านพวกท่าน
สรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:13–19 โดยอธิบายว่าพระเจ้าทรงแนะนำโจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ที่พวกท่านจะทำในพระนามของพระองค์ พระองค์รับสั่งกับพวกท่านเช่นกันเกี่ยวกับความคุ้มครองที่พวกท่านจะได้รับเมื่อผู้คนต่อต้านพวกท่าน ท่านอาจต้องการอธิบายว่าพระเจ้าประทานคำแนะนำบางอย่างแก่พวกท่านต่างจากที่ผู้สอนศาสนาได้รับในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น พระองค์ประทานอนุญาตให้พวกท่าน “สลัดฝุ่นจากเท้า [ของพวกท่าน] ” อันเป็นประจักษ์พยานต่อต้านคนที่ไม่ยอมรับพวกท่าน (คพ. 24:15) การปฏิบัตินี้สงวนไว้สำหรับสภาวการณ์ร้ายแรงมากเท่านั้น ผู้สอนศาสนาเต็มเวลาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำเช่นนั้นในปัจจุบัน โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีได้รับบัญชาเช่นกันว่าต้อง “ไม่ถือกระเป๋าเงินหรือกระเป๋าสัมภาระ” (คพ. 24:18) นั่นหมายความว่าพวกท่านเดินทางโดยไม่มีเงิน อาศัยความกรุณาของสมาชิกศาสนจักรและคนอื่นๆ ให้จัดหาอาหารและที่พัก ปัจจุบัน ผู้สอนศาสนาเต็มเวลาไม่ได้รับบัญชาให้ไปโดยไม่มีกระเป๋าเงินหรือกระเป๋าสัมภาระ
หลักคำสอนและพันธสัญญา 26
พระเจ้าทรงแนะนำโจเซฟ สมิธ, ออลิเวอร์ คาวเดอรี และเดวิด วิตเมอร์
อธิบายว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 26:1 ประกอบด้วยคำแนะนำเพิ่มเติมต่อโจเซฟ สมิธ, ออลิเวอร์ คาวเดอรี และจอห์น วิตเมอร์เกี่ยวกับงานฝ่ายโลกและฝ่ายวิญญาณที่พวกท่านต้องทำ จากนั้นพระเจ้าทรงเน้นย้ำหลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับการปกครองศาสนจักร เพื่อให้รู้จักหลักธรรมนี้ ขอให้นักเรียนสมมติว่าเขากับเพื่อนอีกศาสนาหนึ่งไปการประชุมหนึ่งซึ่งมีการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ศาสนจักร ถามว่าพวกเขาจะอธิบายเรื่องการสนับสนุนให้เพื่อนฟังอย่างไร (ท่านอาจจะเชิญนักเรียนสองคนแสดงบทบาทสมมติของเหตุการณ์นี้)
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 26:2 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาวลีเกี่ยวกับการสนับสนุน หลังจากอ่านข้อนั้นแล้ว ให้ถามนักเรียนว่าพวกเขาค้นพบอะไร ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายคำที่แสดงหลักธรรมต่อไปนี้: สิ่งทั้งปวงในศาสนจักรจะทำโดยความเห็นชอบร่วมกัน
-
ท่านคิดว่า “ความเห็นชอบร่วมกัน” หมายความว่าอย่างไร (ท่านอาจจะต้องอธิบายว่า “ความเห็นชอบร่วมกัน” หมายถึงสมาชิกศาสนจักรใช้สิทธิ์เสรีแสดงความเต็มใจหรือไม่เต็มใจสนับสนุนการเสนอชื่อจากผู้นำศาสนจักร ในการประชุมศีลระลึก การประชุมใหญ่สเตค และการประชุมใหญ่สามัญ เราแสดงความเห็นชอบโดยยกมือขวา)
-
อะไรคือความแตกต่างระหว่างการสนับสนุนโดยความเห็นชอบร่วมกันกับการออกเสียง
ท่านอาจต้องอธิบายว่าในอาณาจักรของพระเจ้า พระเจ้ามักจะทรงเปิดเผยการตัดสินใจต่อผู้นำที่พระองค์ทรงกำหนด แต่ในบางกรณีพระองค์ทรงยอมให้ผู้นำตัดสินใจผ่านสิทธิอำนาจที่มอบให้พวกเขา พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงยืนยันการตัดสินใจเหล่านั้น และจากนั้นสมาชิกศาสนจักรใช้สิทธิ์เสรีแสดงความเต็มใจสนับสนุนการตัดสินใจดังกล่าว กฎของความเห็นชอบร่วมกันใช้ได้กับการเรียกในศาสนจักร การแต่งตั้งฐานะปุโรหิต และการเปิดเผย เรามีส่วนร่วมในกฎแห่งความเห็นชอบร่วมกันทุกครั้งที่เรายกมือสนับสนุนบุคคลหรือการตัดสินใจในการประชุมของศาสนจักร
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเราสนับสนุนผู้อื่น ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ ขอให้ชั้นเรียนฟังสามสิ่งที่เราให้คำมั่นว่าจะทำเมื่อเราสนับสนุนผู้อื่นโดยความเห็นชอบร่วมกัน
“ขั้นตอนในการสนับสนุนเป็นมากกว่าการยกมือตามพิธีศาสนา การสนับสนุนเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะค้ำจุน สนับสนุน และช่วยเหลือคนที่ได้รับเลือก” (“This Work Is Concerned with People,” Ensign, May 1995, 51)
-
เราให้คำมั่นว่าจะทำอะไรเมื่อเรายกมือสนับสนุนผู้อื่น
ถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยได้รับการสนับสนุนสำหรับการแต่งตั้ง การเลื่อนชั้น หรือการเรียกหรือไม่
-
ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับการสนับสนุน
-
เราจะสนับสนุนผู้อื่นในสามวิธีที่ประธานฮิงค์ลีย์พูดถึงได้อย่างไร (เขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน)
เชื้อเชิญให้นักเรียนจดชื่อคนที่พวกเขาสนับสนุนโดยยกมือ (ตัวอย่างเช่น ศาสดาพยากรณ์ อัครสาวก อธิการ หรือผู้นำเยาวชน) ขอให้นักเรียนจดการกระทำหนึ่งอย่างที่พวกเขาจะทำเพื่อสนับสนุนบุคคลนี้ได้ดีขึ้น แสดงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับพรที่มาจากการสนับสนุนผู้นำศาสนจักร