คลังค้นคว้า
บทที่ 96: กิจการของอัครทูต 20–22


บทที่ 96

กิจการของอัครทูต 20–22

คำนำ

เปาโลสั่งสอนพระกิตติคุณในเอเชียไมเนอร์ (ตุรกีในปัจจุบัน) และขณะที่เขาอยู่ในมิเลทัส เมืองที่อยู่ใกล้เมืองเอเฟซัส เขาเตือนถึงการละทิ้งความเชื่อในอนาคตและกระตุ้นผู้นำฐานะปุโรหิตให้จรรโลงใจสมาชิกศาสนจักร จากนั้นเขาเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเขาถูกข่มเหงและถูกจับกุม ขณะยืนอยู่บนบันไดป้อมอันโทเนีย (ป้อมปราการที่กองทหารโรมันรักษาการณ์) เปาโลเล่าเรื่องการกลับใจของเขา

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

กิจการของอัครทูต 20:1–21:40

เปาโลปฏิบัติศาสนกิจในเอเชียไมเนอร์และเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเขาถูกตีและจับกุม

ขอให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่พวกเขาต้องจากครอบครัว เพื่อน หรือคนอื่นๆ ที่พวกเขาห่วงใยเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน

  • ท่านหรือคนที่ท่านอยู่ด้วยมีความรู้สึกอย่างไรก่อนที่ท่านจะจากไป

  • ท่านพูดอะไรกันก่อนจะจากไป

อธิบายว่าระหว่างการเดินทางเผยแผ่ศาสนาครั้งที่สามของเปาโล เขาใช้เวลาในแคว้นมาซิโดเนีย ประเทศกรีก และเอเชียไมเนอร์ ระหว่างการเดินทางนี้ เขารู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้กลับไปกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทาง เขาแวะสั่งสอนและบอกลาสมาชิกศาสนจักรตามทาง คืนก่อนการเดินทางออกจากเมืองโตรอัส ในวันสะบาโตใหม่ (วันอาทิตย์) เปาโลและสานุศิษย์มาประชุมกันเพื่อรับศีลระลึก (ดู กิจการของอัครทูต 20:7) จากนั้นเปาโลพูดกับวิสุทธิชนทั้งคืน

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 20:9–12 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อยุทิกัสหลังจากเขาผลอยหลับระหว่างการเทศนาของเปาโล

  • เกิดอะไรขึ้นกับยุทิกัส

  • เปาโลทำอะไรที่แสดงถึงความรักความห่วงใยต่อชายหนุ่มคนนี้

  • การกระทำของเปาโลสะท้อนถึงการปฏิบัติศาสนกิจของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

อธิบายว่าในส่วนหนึ่งของการเดินทางเผยแผ่ศาสนาครั้งที่สาม เปาโลใช้เวลาสามปีในเมืองเอเฟซัสทำงานท่ามกลางผู้คนที่นั่น สรุป กิจการของอัครทูต 20:13–17 โดยอธิบายว่าระหว่างทางมากรุงเยรูซาเล็ม เปาโลแวะที่เมืองมิเลทัส ซึ่งอยู่แค่นอกเมืองเอเฟซัส และส่งข่าวบอกผู้นำศาสนจักรของเมืองเอเฟซัสมาพบเขา

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 20:18–23 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลอธิบายเกี่ยวกับการรับใช้ของเขา

  • เปาโลบรรยายถึงการรับใช้งานเผยแผ่ศาสนาของเขาอย่างไร

  • คำพูดของเปาโลที่ว่าเขา “ไม่ได้ละเว้นที่จะทำ” (ข้อ 20) ให้คนที่เขาสอนอาจหมายความว่าอย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 23 เปาโลเต็มใจเผชิญอะไรในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า

อธิบายว่าเปาโลมีโอกาสได้รับอันตรายในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งผู้นำชาวยิวมองว่าเขาเป็นกบฏเนื่องจากเขาพยายามสั่งสอนพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 22 เหตุใด เปาโลจึงเต็มใจไปกรุงเยรูซาเล็ม

เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก กิจการของอัครทูต 20:24–27 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลพร้อมจะทำอะไรในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 24 เปาโลพร้อมจะทำอะไรในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า

  • เปาโลบอกว่าเขารู้สึกอย่างไรในการทำสิ่งที่พระเจ้าทรงนำ

  • เราสามารถเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของเปาโลในการรับใช้ (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุความจริงต่อไปนี้ ผู้รับใช้ที่แท้จริงของพระเจ้าทำหน้าที่ของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์ และในการทำเช่นนั้นพวกเขารู้สึกปีติ)

  • การทำหน้าที่ของท่านอย่างซื่อสัตย์มีความหมายต่อท่านอย่างไร

  • เราจะประยุกต์ใช้ความจริงนี้ในชีวิตเราได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันถึงเวลาที่พวกเขาหรือบางคนที่พวกเขารู้จักเลือกรับใช้พระเจ้าด้วยสุดพลังความสามารถและประสบปีติอย่างยิ่ง

เตือนนักเรียนว่าเปาโลไปเยี่ยมผู้นำศาสนจักรในเมืองเอเฟซัสเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็ม

  • หากท่านอยู่ในสถานการณ์แบบเปาโลและรู้ว่าท่านจะไม่ได้เจอผู้นำศาสนจักรของเมืองเอเฟซัสอีก ท่านจะให้คำแนะนำอะไรพวกเขาก่อนที่ท่านจะจากไป

ขอให้นักเรียนอ่าน กิจการของอัครทูต 20:28–31 ในใจ โดยมองหาคำเตือนของเปาโลที่ให้แก่ผู้นำศาสนจักร

  • พระเจ้าเตือนผู้นำเหล่านี้เกี่ยวกับอะไร

อธิบายว่าเปาโลใช้สุนัขป่าเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ซื่อสัตย์ซึ่งจะหลอกลวงสมาชิกศาสนจักรที่ซื่อสัตย์

  • เราใช้คำใดบรรยายสภาพของคนที่ปฏิเสธความจริงและพยายามนำผู้อื่นออกไปจากความจริง (การละทิ้งความเชื่อ อธิบายว่าเปาโลกำลังเตือนผู้นำศาสนจักรถึงการละทิ้งความเชื่อในอนาคตภายในศาสนจักร)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 20:36–38 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าผู้นำศาสนจักรตอบสนองอย่างไรเมื่อเปาโลจากไป เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

สรุป กิจการของอัครทูต 21:1–10 โดยอธิบายว่าเปาโลยังคงเดินทางไปที่กรุงเยรูซาเล็มและแวะพักตามเขตต่างๆ เพื่อใช้เวลากับสมาชิกศาสนจักรตามทาง เมื่อเปาโลแวะพักในเมืองที่ชื่อว่าไทระ สานุศิษย์บางคน—กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเปาโลอย่างเห็นได้ชัด—แนะนำเปาโลไม่ให้ไปกรุงเยรูซาเล็ม (ดู กิจการของอัครทูต 21:4)

ในเมืองซีซารียา ผู้เผยพระวจนะคนหนึ่งชื่ออากาบัสพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเปาโลในกรุงเยรูซาเล็ม เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 21:11 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่อากาบัสพยากรณ์ (ท่านอาจต้องการอธิบายคำว่า เข็มขัด หมายถึงสายคาดเอว เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 21:12–14 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลและคู่ของเขาตอบสนองต่อคำพยากรณ์อย่างไร

  • คู่ของเปาโลมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคำพยากรณ์

  • เปาโลมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคำพยากรณ์ ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับคำตอบของเปาโล

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจากแบบอย่างของเปาโลเกี่ยวกับการเป็นผู้รับใช้ที่แท้จริงของพระเจ้า (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุความจริงต่อไปนี้ ผู้รับใช้ที่แท้จริงของพระเจ้าเต็มใจทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ตนเองจะสูญเสีย)

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าการเสียสละแบบใดที่อาจมีผู้ขอให้เราทำในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า

  • ท่านเคยเต็มใจทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ท่านจะสูญเสียเมื่อใด เหตุใดท่านจึงเต็มใจทำเช่นนั้น

เชื้อเชิญนักเรียนอ่านออกเสียงสรุปความต่อไปของ กิจการของอัครทูต 21:17–40

เปาโลมาถึงกรุงเยรูซาเล็มและรายงานการทำงานเผยแผ่ศาสนาของเขาต่อผู้นำศาสนจักรในท้องที่ เปาโลไปที่พระวิหาร และเมื่อกลุ่มชาวยิวที่รู้จักเปาโลจากการเดินทางเผยแผ่ศาสนาเห็นเขา พวกเขาประกาศว่าเปาโลเป็นผู้สอนปลอมที่สอนขัดต่อกฎของโมเสสและนำคนต่างชาติเข้าพระวิหารอย่างผิดกฎ เนื่องจากการกล่าวหานี้ ฝูงชนจึงจับเปาโลออกจากพระวิหารและเริ่มทุบตีเปาโล พวกทหารโรมันเข้ามาขวางและจับเปาโลไปพิจารณาคดี ขณะยืนอยู่บนบันไดป้อมอันโทเนีย (ดู แผนที่พระคัมภีร์ไบเบิล, แผนที่ 12, “เยรูซาเล็ม ณ สมัยของพระเยซู”) เปาโลถามทหารว่าเขาขอพูดกับผู้คนได้หรือไม่

กิจการของอัครทูต 22:1–30

เปาโลเล่าเรื่องการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเขาและเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์

เขียนคำว่า เปลี่ยนใจเลื่อมใส และอธิบายว่า การเปลี่ยนใจเลื่อมใส หมายถึงการเปลี่ยน ถามนักเรียนว่าน้ำจะเปลี่ยนอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะนำมาใช้สำหรับจุดประสงค์อื่น (ยกตัวอย่างเช่น น้ำสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง) ขอให้นักเรียนไตร่ตรองว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสมาสู่พระกิตติคุณทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบใด

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กิจการของอัครทูต 22:1–5 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลบรรยายถึงตัวเขาเองอย่างไรเมื่อเขาพูดกับชาวยิวจากบันไดป้อมอันโทเนียในกรุงเยรูซาเล็ม

  • เปาโลเป็นอย่างไรก่อนที่เขาจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสและมาเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

คัดลอกคำถามต่อไปนี้และเขียนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ไว้บน กระดาน หรือทำเป็นเอกสารแจกให้นักเรียน แบ่งนักเรียนออกเป็นห้ากลุ่ม มอบหมายคำถามให้กลุ่มละหนึ่งข้อ ขอให้นักเรียนอ่านพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับคำถามที่ได้รับมอบหมายในใจ จากนั้นให้ตอบคำถามในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

  1. เปาโลบรรยายถึงนิมิตครั้งแรกของเขาอย่างไร (กิจการของอัครทูต 22:6–9)

  2. เปาโลได้รับบัญชาให้ทำอะไร (กิจการของอัครทูต 22:10–11)

  3. เปาโลพบใครในดามัสกัส และเปาโลได้รับอะไร (กิจการของอัครทูต 22:12–13)

  4. อานาเนียพยากรณ์อะไรเกี่ยวกับเปาโล (กิจการของอัครทูต 22:14–15)

  5. เปาโลแสดงศรัทธาของเขาในพระเยซูคริสต์อย่างไร (กิจการของอัครทูต 9:18; 22:16)

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานคำตอบของพวกเขา เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนสรุปสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเปาโล (ท่านอาจต้องการอธิบายว่าระหว่างที่เปาโลได้รับนิมิตครั้งแรกและช่วงที่เขารับใช้เป็นผู้สอนศาสนา เขาใช้เวลาสามปีในประเทศอาระเบีย ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาของการเตรียมทางวิญญาณและการเติบโต [ดู กาลาเทีย 1:11–18]) จากนั้นให้ถามคำถามต่อไปนี้

  • ท่านคิดว่าเปาโลเปลี่ยนเนื่องจากผลของการเปลี่ยนใจเลื่อมใสในทางใด

  • อะไรเกิดขึ้นที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นได้

  • การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเปาโลสามารถสอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถเปลี่ยนใจเลื่อมใส (นักเรียนอาจใช้คำพูดที่ต่างออกไป แต่พวกเขาควรระบุความจริงต่อไปนี้ เมื่อเราเชื่อฟังพระคำของพระเยซูคริสต์ เราจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างสมบูรณ์)

  • หลักธรรมนี้อาจช่วยบางคนที่ต้องการเปลี่ยนใจเลื่อมใสได้อย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้โดยซิสเตอร์บอนนี่ แอล. ออสคาร์สัน ประธานเยาวชนหญิงสามัญ เธออธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการมีประจักษ์พยานถึงพระกิตติคุณและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณอย่างแท้จริง

ภาพ
บอนนี่ แอล. ออสคาร์สัน

“การเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่แท้จริงเป็นมากกว่าการมีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณเท่านั้น และหมายถึงต้องมีมากกว่าแค่การมีประจักษ์พยานเกี่ยวกับหลักธรรมเหล่านั้น เป็นไปได้ที่จะมีประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระกิตติคุณโดยไม่ได้ดำเนินชีวิตตามนั้น การเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่แท้จริงหมายถึงเรากระทำตามสิ่งที่เราเชื่อ …

“… การเปลี่ยนใจเลื่อมใส เกิดขึ้นเมื่อเราประพฤติตามหลักธรรมอันชอบธรรมที่เราเรียนรู้ในบ้านและในชั้นเรียนของเรา การเปลี่ยนใจเลื่อมใสเกิดขึ้นเมื่อเราดำเนินชีวิตอย่างสะอาดบริสุทธิ์และชื่นชมการมีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นเพื่อน” (“จงเปลี่ยนใจเลื่อมใส,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 76,77-78)

อ่านออกเสียงคำถามต่อไปนี้หรือเขียนไว้บนกระดาน ฉันจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณอย่างแท้จริงได้อย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนบันทึกคำตอบของตนเองลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

สรุป กิจการของอัครทูต 22:17–30 โดยอธิบายว่าเปาโลบอกคนที่ฟังเขาว่าหลังจากการเปลี่ยนใจเลื่อมใจของเขาพระเจ้าทรงส่งเขาไปจากกรุงเยรูซาเล็มเพื่อเป็นผู้สอนศาสนาท่ามกลางคนต่างชาติ คนที่ฟังจึงประกาศว่าเปาโลควรถูกประหารชีวิต เปาโลถูกนำมาอยู่ต่อหน้านายพันของกองทัพโรมันในกรุงเยรูซาเล็ม ผู้ที่ตัดสินว่าเปาโลควรถูกเฆี่ยนหรือโบยซึ่งปรกติเป็นการลงโทษที่ใช้ทำให้ละอายและได้ข้อมูลจากอาชญากร อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าราชการโรมันรู้ว่าเปาโลเป็นคนสัญชาติโรมัน พวกเขาตัดสินใจว่าจะไม่เฆี่ยนเขาเพราะผิดกฎหมายโรมันที่จะมัดหรือเฆี่ยนคนสัญชาติโรมัน “ก่อนตัดสินโทษ” (ข้อ 25) พวกเขานำเปาโลไปต่ออยู่ต่อหน้าสภายิว สภาปกครองชาวยิวแทน

สรุปโดยแสดงประจักษ์พยานของท่านถึงหลักธรรมที่สอนใน กิจการของอัครทูต 20–22

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

กิจการ 22:1–24 เปาโลมีความกล้าหาญในการแบ่งปันพระกิตติคุณ

อัครสาวกเปาโลมีความกล้าหาญในการแบ่งปันประจักษ์พยานของเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ถึงแม้จะส่งผลร้ายแรง (ดู กิจการของอัครทูต 22:1–24) ประธานโธมัส เอส. มอนสันสอนว่าความกล้าหาญที่จะทำสิ่งถูกต้อง แม้ไม่เป็นที่นิยม ยังคงเป็นสิ่งที่เรียกร้องจากสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

“ความกล้าหาญมาในหลายรูปแบบ ชารลส์ สวินดอลล์ นักประพันธ์ชาวคริสต์เขียนไว้ดังนี้ ‘ความกล้าหาญมิได้จำกัดอยู่แต่ในสนามรบ…หรือมีไว้เพื่ออาจหาญจับขโมยในบ้านท่าน บททดสอบความกล้าหาญแยบยลยิ่งกว่านั้น เป็นบททดสอบภายในตัวเรา เช่นการรักษาความซื่อสัตย์เมื่อไม่มีใครมองอยู่ …เช่นการยืนอย่างโดดเดี่ยวเมื่อถูกเข้าใจผิด’ ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมว่าความกล้าหาญภายในที่ว่านี้รวมถึงการทำสิ่งถูกต้องแม้ว่า เราอาจจะหวั่นกลัว การปกป้องความเชื่อของเราแม้ต้องเสี่ยงต่อการถูกหัวเราะเยาะ และการยึดมั่นต่อความเชื่อเหล่านั้นแม้มีเค้าลางว่าจะต้องสูญเสียเพื่อนหรือสถานะทางสังคม ผู้ที่ยืนหยัดอย่างแน่วแน่เพื่อสิ่งถูกต้องบางครั้งต้องเสี่ยงต่อการไม่เป็นที่ยอมรับและขาดคนนิยม” (“จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 67)

พิมพ์