บทที่ 103
1 โครินธ์ 1–2
คำนำ
หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาที่สมาชิกศาสนจักรในโครินธ์กำลังประสบ เปาโลเขียนถึงสมาชิกเหล่านี้และแนะนำให้พวกเขาขจัดความขัดแย้งและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เขาอธิบายด้วยว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกคนที่อ่อนแอและอ่อนน้อมถ่อมตนมาสั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์ เราจะรู้จักและเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระวิญญาณเท่านั้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
1 โครินธ์ 1:1–16
เปาโลเขียนไปหาวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์และแนะนำให้พวกเขาขจัดความขัดแย้งและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ให้ดูภาพครอบครัว ทีมกีฬา และกลุ่มเพื่อน (หรือเขียน ครอบครัว ทีมกีฬา กลุ่มเพื่อน บนกระดาน)
-
สิ่งใดอาจทำให้เกิดความแตกแยกและความขัดแย้งในแต่ละกลุ่มเหล่านี้
-
ความแตกแยกและความขัดแย้งเช่นนั้นส่งผลต่อครอบครัว ทีม และกลุ่มเพื่อนอย่างไร
-
ความแตกแยกและความขัดแย้งเช่นนั้นท่ามกลางสมาชิกศาสนจักรจะส่งผลต่อศาสนจักรอย่างไร
ขณะที่พวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 1 เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเกี่ยวกับความแตกแยกและความขัดแย้งที่เปาโลสอนวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์
เชื้อเชิญให้นักเรียนเปิดไปที่แผนที่พระคัมภีร์ไบเบิล แผนที่ 13 “เส้นทางในการเผยแผ่ศาสนาของอัครสาวกเปาโล” ที่อยู่ในคู่มือพระคัมภีร์และหาเมืองโครินธ์ในแผนที่
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงย่อหน้าต่อไปนี้
ระหว่างการเดินทางเผยแผ่ศาสนาครั้งที่สอง เปาโลเดินทางไปเมืองหนึ่งที่เรียกว่าโครินธ์ เขาสั่งสอนพระกิตติคุณที่เมืองนี้ หลายคนรับบัพติศมาในตอนนั้น (ดู กิจการของอัครทูต 18:1–18) หลังจากนั้น ขณะที่เปาโลกำลังสั่งสอนในเมืองเอเฟซัส เขาเรียนรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นท่ามกลางสมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์เนื่องจากผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใจบางคนกลับไปนับถือศาสนาเก่าของพวกเขาและถือปฏิบัติการนมัสการรูปเคารพ เปาโลเขียนถึงสมาชิกศาสนจักรในโครินธ์เพื่อเสริมสร้างพวกเขาและเตือนพวกเขาถึงข้อผูกมัดในการรับใช้พระเจ้า
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 1:1–2 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลพูดกับสมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์ว่าอย่างไร
-
เปาโลพูดกับสมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์ว่าอย่างไร
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 1 เปาโลมีตำแหน่งอะไรในศาสนจักร
สรุป 1 โครินธ์ 1:3–9 โดยอธิบายว่าเปาโลบอกวิสุทธิชนในโครินธ์ว่าเขาขอบพระทัยพระผู้เป็นเจ้าแทนพวกเขาสำหรับพระคุณที่พวกเขาได้รับผ่านพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นพรแก่พวกเขาในทุกๆ ด้าน ชี้ให้เห็นว่าเมื่อเปาโลพูดกับวิสุทธิชนเขาใช้ภาษาที่ระบุว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระสัตภาวะที่แยกกัน (ดู ข้อ 3)
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 1:10–11 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลแนะนำวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ทำ
-
ตามที่กล่าวไว้ใน 1 โครินธ์ 1:10 พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราทำอะไรในฐานะสมาชิกศาสนจักร (โดยใช้คำพูดของพวกเขาเอง นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ พระเจ้าทรงคาดหวังจากเราในฐานะวิสุทธิชนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและให้ขจัดความแตกแยกและความขัดแย้ง)
-
เราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะสมาชิกศาสนจักรเพื่อขจัดความแตกแยกและความขัดแย้งในครอบครัวของเรา ในวอร์ดของเรา (เขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน)
-
เราจะได้รับพรอะไรบ้างจากการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการขจัดความแตกแยกและความขัดแย้ง
-
ท่านเคยได้รับพรอันเป็นผลมาจากการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชั้นเรียน โควรัม วอร์ดหรือสาขาหรือไม่
บอกให้นักเรียนดูคำตอบที่เขียนไว้บนกระดาน กระตุ้นให้พวกเขาเลือกวิธีหนึ่งที่พวกเขาจะขจัดความแตกแยกและความขัดแย้งพร้อมกับตั้งเป้าหมายเพื่อนำไปปฏิบัติ
สรุป 1 โครินธ์ 1:12–16 โดยอธิบายว่าวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์กำลังแตกแยกเป็นกลุ่มตามคนให้บัพติศมาพวกเขา ความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะพวกเขาเชื่อว่าสถานะของพวกเขาในศาสนจักรถูกกำหนดจากความสำคัญของคนที่ให้บัพติศมาพวกเขา
1 โครินธ์ 1:17–31
เปาโลสอนว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกคนที่อ่อนแอให้สั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์
อธิบายว่าระหว่างสมัยของเปาโล พวกกรีกหลายคนอาศัยอยู่ในเมืองโครินธ์ พวกกรีกเหล่านี้นับถือแนวคิดทางปรัชญาและปัญญาทางโลก
-
เหตุใดจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ให้ความสำคัญกับปรัชญาทางโลกที่จะยอมรับพระกิตติคุณ (ท่านอาจต้องการอ่าน 2 นีไฟ 9:28)
เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 1:17–31 ที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจความผิดพลาดของปัญญาของโลก
แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสี่กลุ่ม มอบหมายหนึ่งในข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ต่อไปนี้กับแต่ละกลุ่ม 1 โครินธ์ 1:17–18; 1 โครินธ์ 1:19–20; 1 โครินธ์ 1:21–22; and 1 โครินธ์ 1:23–24 เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านข้อเหล่านี้ในกลุ่ม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลพูดเกี่ยวกับปัญญาฝ่ายโลกเปรียบเทียบกับปัญญาฝ่ายพระผู้เป็นเจ้า อธิบายว่าวลี “เพราะว่าพระคริสต์ไม่ได้ทรงส่งข้าพเจ้าไปเพื่อบัพติศมา” ใน ข้อ 17 แนะนำว่าเปาโลไม่ได้ถูกส่งไปสร้างชื่อเสียงตามจำนวนผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่ที่เขาทำได้ ท่านอาจต้องการอธิบายว่าวลี “สติปัญญาของคนมีปัญญา” ใน ข้อ 19 และ “ปัญญาฝ่ายโลก” ใน ข้อ 20 หมายถึงประเพณีอันเกี่ยวข้องกับปรัชญาที่มีตำหนิของยุคนั้น
หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งจากแต่ละกลุ่มสรุปกับชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกี่ยวกับปัญญา หลังจากทุกกลุ่มรายงานแล้ว ให้ถามว่า
-
ท่านคิดว่าเหตุใดผู้ที่ไม่เชื่อคิดว่าข่าวสารเรื่องการชดใช้ของพระเยซูคริสต์เป็นเรื่องเขลา
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 1:25 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับปัญญาของมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า อธิบายว่าเปาโลใช้ข้อความดังนี้ “ความเขลาของพระเจ้ายังมีปัญญายิ่งกว่าปัญญาของมนุษย์” และ “ความอ่อนแอของพระเจ้าก็ยังมีกำลังมากยิ่งกว่ากำลังของมนุษย์” พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงเขลา และไม่ทรงมีความอ่อนแอใดๆ
-
ความจริงอะไรที่เปาโลสอนเกี่ยวกับปัญญาของมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน ปัญญาของพระผู้เป็นเจ้ายิ่งใหญ่กว่าปัญญาของมนุษย์)
-
การเข้าใจความจริงนี้ส่งผลต่อวิธีที่บางคนมองหาทางออกสำหรับปัญหาของเขาในทางใดบ้าง
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 1:26–27 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกให้สั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์
-
พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกใครเพื่อสั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์
-
ท่านคิดว่าเหตุใดพระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกคนเหล่านั้นที่โลกคิดว่าโง่หรืออ่อนแอให้สั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์
1 โครินธ์ 2
เปาโลอธิบายว่าเราเรียนรู้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงเรื่องราวต่อไปนี้โดยประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“ข้าพเจ้านั่งอยู่บนเครื่องบินข้างๆ ผู้ที่อ้างว่าเขาเป็นผู้ที่ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า เขารีบยืนยันว่าเขาไม่เชื่อเมื่อข้าพเจ้าแสดงประจักษ์พยานของข้าพเจ้าต่อเขา ‘คุณผิดแล้ว’ ข้าพเจ้ากล่าว ‘พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง ผม รู้ พระองค์ทรงพระชนม์!’
“เขาแย้งว่า ‘คุณไม่ รู้ ไม่มีใคร รู้ เรื่องนั้น! คุณ รู้ สิ่งนี้ไม่ได้!’ เมื่อข้าพเจ้าไม่ยอม คนที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าคนนั้นซึ่งเป็นทนายความ ถามคำถามที่อาจเป็นคำถามพื้นฐานในเรื่องประจักษ์พยาน ‘ได้’ เขาพูดแบบยอมให้อย่างเย้ยหยัน ‘คุณพูดว่าคุณรู้ บอกผมมาว่าคุณรู้ได้ อย่างไร ’
“เมื่อข้าพเจ้าพยายามตอบ ถึงแม้ข้าพเจ้าจะมีปริญญาขั้นสูง แต่ข้าพเจ้าก็จนปัญญาจะสื่อให้เข้าใจ …
“เมื่อข้าพเจ้าใช้คำว่า พระวิญญาณ และ พยาน คนที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าคนนั้นตอบว่า ‘ผมไม่รู้ว่าคุณพูดเรื่องอะไร’ คำว่า คำสวดอ้อนวอน การเล็งเห็น และ ศรัทธา ไร้ความหมายสำหรับเขาเท่าๆ กัน ‘คุณเห็นไหม’ เขากล่าว ‘คุณไม่ได้รู้จริงๆ หากคุณรู้ คุณคงบอกผมได้ว่า คุณรู้ได้อย่างไร’
“ข้าพเจ้า … ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร” (“The Candle of the Lord,” Jan. 1983, 51)
-
ท่านจะพูดอะไรกับคนที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าคนนั้น
เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 2 ที่จะช่วยพวกเขารู้สาเหตุที่ชายคนนี้ไม่เข้าใจประธานแพคเกอร์และสาเหตุที่พวกเขาสามารถมั่นใจในความรู้ของเขาเกี่ยวกับเรื่องทางวิญญาณ
สรุป 1 โครินธ์ 2:1–8 โดยอธิบายว่าเปาโลบอกวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ว่าเขาไม่ได้ใช้ปัญญาของโลกเพื่อชักชวนพวกเขาให้เชื่อพระกิตติคุณ เปาโลสอนพวกเขาโดยพระวิญญาณเพื่อพวกเขาจะมีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า เปาโลบอกพวกเขาด้วยว่าผู้ที่ไม่เชื่อไม่สามารถเข้าใจความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้า
เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก 1 โครินธ์ 2:9–16 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสาเหตุที่เปาโลพูดว่าบางคนสามารถรู้และเข้าใจ “ความล้ำลึกของพระเจ้า” (ข้อ 10) ขณะที่คนอื่นไม่สามารถรู้และเข้าใจ
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 9–10 เหตุใดเปาโลและคนอื่นๆ ที่ซื่อสัตย์จึงเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 14 เหตุใดบางคนจึงไม่สามารถเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า
-
เราสามารถเรียนรู้ความจริงอะไรจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถรู้และเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุความจริงต่อไปนี้ เราสามารถรู้และเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระวิญญาณของพระองค์เท่านั้น)
พูดถึงเรื่องเล่าของประธานแพคเกอร์ และอธิบายว่าประธานแพคเกอร์รู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้ถามชายที่นั่งอยู่ข้างท่านบนเครื่องบินว่าเกลือมีรสชาติอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนหนึ่งคนอ่านส่วนที่เหลือในเรื่องเล่าของประธานแพคเกอร์
“แน่นอนว่า หลังจากพยายามสองสามครั้งเขาไม่สามารถอธิบายได้ เขาไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเพียงคำพูดในเรื่องธรรมดามาก อย่างเช่นประสบการณ์การชิมเกลือ ข้าพเจ้าเป็นพยานต่อเขาอีกครั้งและพูดว่า ‘ผมรู้ว่ามีพระผู้เป็นเจ้า คุณล้อเลียนประจักษ์พยานนั้นและบอกว่าหากผมรู้ จริงๆ ผมจะบอกคุณได้จริงๆ ว่าผมรู้ได้ อย่างไร สหายของผม ถ้าจะพูดในทางวิญญาณ ผมได้ชิมเกลือนั้นแล้ว ผมก็ไม่สามารถถ่ายทอดให้กับคุณรู้เป็นคำพูดว่าความรู้นี้มาได้อย่างไรไม่ต่างกับที่คุณไม่สามารถบอกผมได้ว่าเกลือมีรสชาติอย่างไร แต่ผมบอกคุณอีกครั้ง มีพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงพระชนม์อยู่จริง! และเพียงเพราะคุณไม่รู้ อย่าพยายามบอกผมว่าผมไม่รู้ เพราะผมรู้!’
“ขณะเราจากกัน ผมได้ยินเขาพึมพำว่า ‘ผมไม่ต้องการให้ศาสนาของคุณเป็นไม้ค้ำยัน! ผมไม่ต้องการ’
“นับจากประสบการณ์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกอึดอัดหรืออับอายเลยที่ข้าพเจ้าไม่สามารถอธิบายทุกอย่างที่ข้าพเจ้ารู้ทางวิญญาณออกมาเป็นคำพูดได้” (“The Candle of the Lord,” 52)
เขียนคำว่า เรื่องของพระผู้เป็นเจ้า บนกระดานและถามนักเรียนว่าพวกเขาคิดว่าอะไรเป็นเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าที่สามารถรู้และเข้าใจได้โดยผ่านพระวิญญาณของพระองค์เท่านั้น สรุปคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดาน
-
เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะเชื่อว่าเราสามารถรู้และเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระวิญญาณของพระองค์เท่านั้น
บอกให้นักเรียนดูรายการบนกระดาน และเชื้อเชิญให้พวกเขา แบ่งปัน ประสบการณ์หนึ่งที่พวกเขารู้และเข้าใจผ่านพระวิญญาณถึงเรื่องหนึ่งในเรื่องเหล่านี้ของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเอง
กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณเมื่อพวกเขาพยายามจะรู้และเข้าใจเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า
สรุปโดยเป็นพยานของท่านถึงความจริงที่สนทนาในบทนี้