บทที่ 106
1 โครินธ์ 7–8
คำนำ
เปาโลแนะนำสมาชิกศาสนจักรที่แต่งงานแล้วและที่เป็นโสดในเมืองโครินธ์เกี่ยวกับการแต่งงานและงานเผยแผ่ศาสนา ในการตอบคำถามเกี่ยวกับการกินเนื้อที่ถวายรูปเคารพ เปาโลสอนวิสุทธิชนให้คำนึงถึงผลของการปฏิบัติตนของพวกเขาต่อผู้อื่นและให้เต็มใจละทิ้งการกระทำที่จะส่งผลให้คนอื่นสะดุดทางวิญญาณ
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
1 โครินธ์ 7
เปาโลแนะนำสมาชิกศาสนจักรที่แต่งงานแล้วและที่เป็นโสดเกี่ยวกับการแต่งงาน
ลอก แผนภาพ ต่อไปนี้ไว้บนกระดาน
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบทของ 1 โครินธ์ 7 เตือนพวกเขาว่าเช่นเดียวกับเรา สมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์อาศัยอยู่ในสังคมที่มีแนวคิดต่างๆ ที่สับสนและขัดแย้งเกี่ยวกับการแต่งงานและการมีความสัมพันธ์แนบชิดทางร่างกายหรือทางเพศ
-
ตามสิ่งที่ท่านจำได้จากการศึกษา 1 โครินธ์ 5–6 มีความเชื่อผิดๆ อะไรบ้างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศที่แพร่หลายในเมืองโครินธ์
หลังจากนักเรียนตอบ ให้เขียนสิ่งต่อไปนี้บนด้านซ้ายของแผนภาพใต้ “ความเชื่อที่ผิด” เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางกายกับใครก็ได้
อธิบายว่าสมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์เขียนไปถึงอัครสาวกโดยขอคำแนะนำเรื่องมาตรฐานของพระเจ้าเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศ
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 7:1 ขอให้ชั้นเรียนมองหาคำถามที่วิสุทธิชนชาวโครินธ์ถามเปาโล
-
วิสุทธิชนชาวโครินธ์ถามอะไรเปาโล
อธิบายว่าวลี “การที่ผู้ชายไม่แตะต้องผู้หญิงเลยก็ดีแล้ว” ใน ข้อ 1 ระบุว่าวิสุทธิชนชาวโครินธ์มีคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางกายเหมาะสมหรือไม่และเหมาะสมเมื่อใด บางคนอาจมีคำถามแม้แต่ว่าคู่แต่งงานควรมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางกายหรือไม่ เขียนสิ่งต่อไปนี้ทางด้านขวาของแผนภาพใต้ “ความเชื่อที่ผิด” เป็นเรื่องที่ไม่มีทางยอมรับได้ในการมีความสัมพันธ์แนบชิดทางกาย แม้แต่ในการแต่งงาน
ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่ผิดทั้งสองที่เขียนบนแผนภาพแทนความคิดเห็นที่สุดโต่งซึ่งต่างจากมาตรฐานของพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องความสัมพันธ์แนบชิดทางกาย
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 7:2–3 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนชาวโครินธ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางกาย (ท่านอาจจำเป็นต้องช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า การผิดประเวณี หมายถึงความสัมพันธ์ทางเพศที่นอกเหนือการแต่งงาน พึงสัมพันธ์ หมายถึงความรักและความสัมพันธ์ลึกซึ้งที่แสดงออกระหว่างสามีกับภรรยา)
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ที่มีใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน
“ความสัมพันธ์ทางร่างกายระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้เพื่อให้กำเนิดบุตรและแสดงความรักระหว่างสามีภรรยา พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้สงวนความสัมพันธ์ทางเพศไว้สำหรับการแต่งงาน” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน [จุลสาร, 2011], 35)
-
จากสิ่งที่เราเพิ่งอ่านไป เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์แนบชิดทางกาย (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว เขียนความจริงต่อไปนี้บนแผนภาพใต้ “ความจริง” ความสัมพันธ์แนบชิดทางกายระหว่างสามีกับภรรยาได้รับแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า)
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความต่อไปนี้โดยประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ขอให้ชั้นเรียนฟังดูสาเหตุที่การแต่งงานได้รับแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า
“อำนาจแห่งการให้กำเนิดไม่ได้เป็นส่วนเสริมของแผน แต่เป็นแผนแห่งความสุข เป็นกุญแจสู่ความสุข
ความปรารถนาคู่ครองในมนุษยชาติมีอยู่ตลอดมาและแรงกล้ามาก ความสุขในชีวิตมรรตัย ปีติและความสูงส่งของเราขึ้นอยู่กับวิธีที่เราตอบสนองความปรารถนาทางร่างกายเหล่านี้ที่บีบบังคับเราอย่างต่อเนื่อง” (“แผนแห่งความสุข,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 26)
-
อะไรคือจุดประสงค์ของความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางกายระหว่างสามีกับภรรยา
-
เหตุใดการให้กำเนิด—ความสามารถในการสร้างชีวิตมรรตัย—จึงสำคัญมากในแผนของพระบิดาบนสวรรค์
สรุป 1 โครินธ์ 7:4–24 โดยอธิบายว่าเปาโลสอนว่าคู่สามีภรรยาไม่ควรยับยั้งความรักใคร่จากการแต่งงานจากกันและกัน สมาชิกที่เป็นม่ายและหย่าร้างของศาสนจักรควร “อยู่ในสภาพนั้นกับพระเจ้า” ไม่ว่าสภาพการณ์ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร เปาโลไม่สนับสนุนการหย่าด้วย
เพื่อช่วยให้นักเรียนความจริงอีกข้อจากงานเขียนของเปาโลใน 1 โครินธ์ 7 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละสองสามคนและให้แต่ละกลุ่มรับสำเนา เอกสารแจก ต่อไปนี้
หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ขอให้นักศึกษารายงานความจริงที่พวกเขาระบุใน 1 โครินธ์ 7:12–17 คำตอบของนักเรียนอาจต่างกัน แต่พวกเขาควรบอกความจริงทำนองนี้ ผู้ติดตามที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์มีผลแห่งการชำระให้บริสุทธิ์แก่ครอบครัวของพวกเขา
ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันตัวอย่างของสมาชิกศาสนจักรที่มีผลทางด้านดีต่อสมาชิกครอบครัวที่ไม่ได้เป็นสมาชิกศาสนจักรหรือที่ไม่แข็งขันในศาสนจักร
สรุป 1 โครินธ์ 7:25–40 โดยอธิบายว่าเปาโลให้ความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับสมาชิกโสดที่ “ได้รับเรียกมาสู่การปฏิบัติศาสนกิจ” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, 1 โครินธ์ 7:29 [ในคู่มือพระคัมภีร์]) และอธิบายว่าสภาวการณ์ของพวกเขาทำให้พวกเขารับใช้พระเจ้าโดย “ไม่ถูกจำกัด” (ข้อ 35) หรือโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อกังวลทางโลกอันเนื่องจากการจัดหาให้ครอบครัว อย่างไรก็ตาม เปาโลไม่ได้ห้ามพวกเขาแต่งงาน
1 โครินธ์ 8
เปาโลตอบคำถามเกี่ยวกับการกินเนื้อที่ถวายรูปเคารพ
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“ข้าพเจ้ามีอาชีพด้านธุรกิจห้างสรรพสินค้า เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของทีมบริหาร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับองค์กรธุรกิจในท้องที่ การประชุมกับองค์กรส่วนใหญ่มัก เริ่มด้วยเวลาค็อกเทล [ในระหว่างนั้นมีการเสริฟแอลกอฮอล์ตามธรรมเนียม] นั่นเป็นเวลาของการพบปะ ทำความคุ้นเคยกับผู้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ข้าพเจ้ามักรู้สึกอึดอัดเสมอในช่วงเวลาทางสังคมเหล่านี้ ตอนแรกข้าพเจ้าเริ่มขอมะนาวโซดา ไม่นานข้าพเจ้าพบว่ามะนาวโซดาดูคล้ายเครื่องดื่มอีกหลายชนิด โซดาใสๆ ในมือข้าพเจ้าไม่อาจสร้าง ความประทับใจว่าข้าพเจ้าไม่ดื่ม” (“ประเพณีของชีวิตที่ชอบธรรมและมีดุลยภาพ,” เลียโฮนา, ส.ค. 2011, 33)
-
อาจจะเกิดอะไรขึ้นหากเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ยังคงดื่มน้ำอัดลมใสระหว่างเวลาดื่มคอกเทล
-
มีสถานการณ์อื่นอะไรอีกที่แบบอย่างของเราอาจส่งผลด้านลบกับผู้อื่นแม้เราอาจไม่ได้กำลังทำอะไรผิด
อธิบายว่าสมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์สงสัยว่าเป็นเรื่องยอมรับได้หรือไม่สำหรับพวกเขาที่จะกินอาหารถวายรูปเคารพ หรือพระเจ้านอกศาสนา
ชี้ให้เห็นว่าเปาโลรับรู้ว่าสมาชิกศาสนจักรอาจคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ยอมรับได้เพราะพวกเขารู้ว่าพระเจ้านอกศาสนาไม่มีอยู่จริง (ดู 1 โครินธ์ 8:4–6)
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 8:1 และขอให้ชั้นเรียนมองหาสิ่งที่เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์
-
แม้ผู้คนจะรู้ว่ารูปเคารพนั้นไม่จริง แต่เปาโลพูดว่าอะไรสำคัญมากกว่าสิ่งที่พวกเขารู้ (จิตกุศล ความรักอันไม่เห็นแก่ตัวต่อผู้อื่น)
-
ตามที่กล่าวไว้ในข้อนี้ อะไรอาจเป็นผลจากความรู้นี้ (ลำพอง หรือหยิ่งผยอง) จะเกิดอะไรขึ้นจากจิตกุศล (จรรโลงใจ หรือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กัน)
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 8:7–10 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเมื่อใดที่วิสุทธิชนชาวโครินธ์ไม่ควรกินเนื้อที่อาจถวายรูปเคารพ (ท่านอาจจำเป็นต้องช่วยให้นักเรียนเห็นว่า อ่อนแอ ในข้อเหล่านี้หมายถึงความอ่อนแอในความเข้าใจและ สิทธิ [ข้อ 9] หมายถึงเสรีภาพของสมาชิกศาสนจักรที่จะกินเนื้อซึ่งอาจถวายรูปเคารพ)
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 9 เปาโลพูดว่าพวกเขาอาจไม่กินเนื้อที่ถวายรูปเคารพภายใต้เงื่อนไขใด (อาจเป็นสิ่งสะดุดให้แก่คนที่มีประจักษ์พยานอ่อนแอหรือไม่มีความรู้พระกิตติคุณ)
-
เปาโลให้ตัวอย่างอะไรใน ข้อ 10 เกี่ยวกับวิธีหนึ่งซึ่งการกินเนื้อที่ถวายรูปเคารพอาจเป็นสิ่งสะดุด (หากสมาชิกศาสนจักรที่มีศรัทธาอ่อนแอกว่ามองเห็นสมาชิกอีกคนหนึ่งนั่งรับประทานอาหารที่วิหารนอกศาสนาในท้องที่ สมาชิกที่มีศรัทธาอ่อนแอกว่าอาจเชื่อว่าการนมัสการรูปเคารพไม่ใช่เรื่องผิด)
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 8:11–13 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำตอบของเปาโลที่มีต่อคำถามเรื่องการกินอาหารที่ถวายรูปเคารพ
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 13 เปาโลพูดว่าการกระทำของเขาเองจะเป็นอย่างไรในสถานการณ์อย่างนี้ เพราะเหตุใด (ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า สะดุด ในข้อนี้หมายถึงสะดุดทางวิญญาณ ทำบาป หรือสูญเสียศรัทธา)
-
เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับวิธีที่เราจะหลีกเลี่ยงการนำผู้อื่นไปสู่การสะดุดทางวิญญาณ (หลังจากนักเรียนตอบ ให้เขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน เราสามารถแสดงจิตกุศลต่อผู้อื่นได้โดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้พวกเขาสะดุดทางวิญญาณ)
เชื้อเชิญให้นักเรียนหนึ่งคนอ่านส่วนที่เหลือของ เรื่องเล่า ของเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ ขอให้ชั้นเรียนฟังดูว่าเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ประยุกต์ใช้หลักธรรมนี้อย่างไร
“ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าต้องมีเครื่องดื่มที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าข้าพเจ้าไม่ดื่ม ข้าพเจ้าไปหาบริกร และขอนมหนึ่งแก้ว บริกรไม่เคยได้ยินคำขอเช่นนั้นมาก่อน เขาเข้าไปในครัวและรินนมหนึ่งแก้วมาให้ข้าพเจ้า ตอนนี้ข้าพเจ้ามีเครื่องดื่มที่ดูแตกต่างมากจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลายที่คนอื่นๆ ดื่มกัน …
“นมกลายเป็นเครื่องดื่มที่ข้าพเจ้าเลือกในช่วงเวลาค็อกเทล ไม่นานก็รู้กันทั่วว่าข้าพเจ้าเป็นมอรมอน ความเคารพที่ข้าพเจ้าได้รับทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมาก เช่นเดียวกับเหตุการณ์น่าสนใจที่เริ่มเกิดขึ้น ไม่นานหลายคนก็ร่วมดื่มค็อกเทลนมสดกับข้าพเจ้า!” (“ประเพณีของชีวิตที่ชอบธรรมและมีดุลยภาพ,” 33)
-
มีตัวอย่างอื่นอะไรอีกเกี่ยวกับวิธีที่เราอาจแสดงจิตกุศลต่อคนอื่นโดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้พวกเขาสะดุดทางวิญญาณ
เป็นพยานถึงความจริงที่นักเรียนค้นพบในวันนี้ และกระตุ้นให้นักเรียนแสวงหาการนำทางของพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะพวกเขาพยายามดำเนินชีวิตตามความจริงเหล่านี้