บทเรียนภาคการศึกษาที่บ้าน
2 ทิโมธี 1—ฮีบรู 4 (หน่วย 27)
บทนำ
บทเรียนนี้สำรวจคำพยากรณ์ของเปาโลเกี่ยวกับเวลาที่น่ากลัวที่พบอยู่ในยุคสุดท้ายเช่นเดียวกันกับสมัยของพระองค์ เปาโลแนะนำทิโมธีและผู้อ่านในอนาคตให้คงความซื่อสัตย์ต่อความจริงที่พวกเขาได้เรียนรู้และใช้พระคัมภีร์เป็นแหล่งที่มาของความเข้าใจ การแก้ไข และคำแนะนำ ท่ามกลางเวลาที่น่ากลัวนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
2 ทิโมธี 3
เปาโลบรรยายถึงวาระสุดท้ายที่น่ากลัว
ก่อนเริ่มชั้นเรียน ขอให้นักเรียนที่มาถึงสองหรือสามคนแรกวาดภาพบนกระดานคนละภาพเกี่ยวกับสถานการณ์อันตรายหรือเสี่ยงภัย หลังจากเริ่มชั้นเรียน ให้ถามคำถามต่อไปนี้
-
คำหรือประโยคใดที่ท่านจะใช้บรรยายสถานการณ์ที่วาดไว้บนกระดาน
อธิบายว่าส่วนหนึ่งของสาส์นฉบับที่สองซึ่งเปาโลเขียนไปถึงทิโมธี เปาโลพยากรณ์ถึงสภาพของวันเวลาของเขาและวันเวลาของเรา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 ทิโมธี 3:1 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลบรรยายถึงวันเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ว่าอย่างไร
-
เปาโลบรรยายถึงวันเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ว่าอย่างไร (หากจำเป็น ให้อธิบายว่าคำว่า น่ากลัว หมายถึงเต็มไปด้วยอันตรายและเสี่ยงภัย)
-
ความน่ากลัวหรือภัยทางศีลธรรมหรือทางวิญญาณใดบ้างที่ท่านเคยเห็นในสมัยของเรา
แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ แจกสำเนา แผนภูมิต่อไปนี้ให้นักเรียนแต่ละคู่ เชื้อเชิญแต่ละคู่ให้อ่าน 2 ทิโมธี 3:2–7 และตอบคำถามในแผนภูมิ แนะนำให้พวกเขาใช้เชิงอรรถช่วยเมื่อพบคำยาก
คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทเรียนภาคการศึกษาที่บ้าน (หน่วย 27)
มีตัวอย่างอะไรบ้างที่เปาโลบรรยายถึงสภาพในยุคสุดท้าย |
ท่านเคยเห็นสภาพใดในสมัยของเรา (ให้ระบุสองหรือสามสภาพ) เหตุใดสภาพเหล่านี้จึงอันตรายมาก |
© 2015 by Intellectual Reserve, Inc. All rights reserved.
หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้เชิญนักเรียนรายงานสิ่งที่สนทนากับชั้นเรียน รวมถึงสาเหตุที่สภาพเหล่านี้อันตรายมาก
ขอให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาเคยกังวลว่าพวกเขาจะได้รับผลกระทบจากภัยอันตรายต่างๆ ที่เปาโลเอ่ยถึงในข้อที่พวกเขาศึกษาหรือไม่
-
ตามที่กล่าวไว้ในตอนท้ายของ 2 ทิโมธี 3:5 เปาโลกระตุ้นให้ทิโมธีทำอะไรที่จะช่วยเราในสมัยของเราได้ด้วย (เราไม่ควรเกี่ยวข้องกับความชั่วร้ายเหล่านั้น)
อธิบายว่าแม้จะมีความร้ายแรงของสภาพที่ยุ่งยากเหล่านี้ แต่เราสามารถพบความช่วยเหลือและการป้องกันได้ เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 ทิโมธี 3:14–15 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนซึ่งจะช่วยให้เราไม่เกี่ยวข้องกับภยันตรายเหล่านี้
-
เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับต่อต้านภยันตรายที่เขาบรรยายไว้
-
ท่านคิดว่าใน ข้อ 14 ซึ่งกล่าวว่าการ “ดำเนินต่อไปในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วและเชื่ออย่างมั่นคง” หมายความว่าอย่างไร
เชื้อเชิญให้นักเรียนระบุหลักธรรมใน 2 ทิโมธี 3:14–15 เกี่ยวกับวิธีที่จะเอาชนะภยันตรายทางวิญญาณของยุคสุดท้าย (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน ถ้าเราดำเนินต่อไปในความจริงที่เราเรียนรู้จากแหล่งที่วางใจและในพระคัมภีร์ เราจะเอาชนะภยันตรายทางวิญญาณของยุคสุดท้าย)
-
การพึ่งพาพระคัมภีร์และความจริงที่เราเรียนรู้ช่วยให้เราเอาชนะภยันตรายต่างๆ ในยุคสมัยของเราได้อย่างไร
-
ท่านเคยเลือกพึ่งพาความจริงที่ท่านเรียนรู้เมื่อใด ท่านได้รับพรจากการทำเช่นนั้นอย่างไร (ท่านอาจให้นักเรียนตอบคำถามเหล่านี้ก่อนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์หรือสมุดจดของพวกเขาจากนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียนกับชั้นเรียน)
เตือนนักเรียนว่า 2 ทิโมธี 3:15–17 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 ทิโมธี 3:15–17 และขอให้ชั้นเรียนมองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับพระคัมภีร์ ท่านอาจแนะนำให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่พวกเขาพบ
-
เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับการศึกษาพระคัมภีร์ที่จะช่วยเราได้ในสมัยของเรา (ช่วยชั้นเรียนระบุหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อเราศึกษาพระคัมภีร์ เราสามารถเรียนรู้หลักคำสอนและรับการแก้ไขสิ่งผิด เราได้รับคำแนะนำที่จะช่วยเราเติบโตไปสู่ความดีพร้อม เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน)
ขอให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่พระคัมภีร์—อาจเป็นข้อความที่พวกเขาศึกษาในพันธสัญญาใหม่—ช่วยพวกเขาในทางใดทางหนึ่งต่อไปนี้
-
ให้เข้าใจหลักคำสอนของพระกิตติคุณ
-
โดยการว่ากล่าวตักเตือนหรือแก้ไขบางสิ่งในความคิด การเลือก หรือพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-
โดยให้คำตอบแก่คำสวดอ้อนวอนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาจะแก้ไขปัญหา
ให้เวลานักเรียนนึกถึงประสบการณ์ จากนั้นเชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขานึกถึงกับชั้นเรียน
-
เมื่อพิจารณาสิ่งที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของพระคัมภีร์ ท่านคิดว่าเหตุใดเราจึงได้รับการกระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน
แจกสำเนาคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้นักเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงและขอให้ชั้นเรียนมองหาคำแนะนำและคำสัญญาของเอ็ลเดอร์สก็อตต์เกี่ยวกับการศึกษาพระคัมภีร์
“อย่ายอมฟังคำเท็จของซาตานที่หลอกว่า ท่านไม่มีเวลาศึกษาพระคัมภีร์ จงเลือกใช้เวลาศึกษาพระคัมภีร์ การดื่มด่ำพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าในแต่ละวันสำคัญกว่าการนอนหลับ การศึกษา การทำงาน การดูโทรทัศน์ วีดิโอเกมส์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ ท่านอาจต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่เพื่อให้มีเวลาศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าต้องทำเช่นนั้น จงทำ
“… เมื่อท่านอุทิศเวลาทุกวันทั้งส่วนตัวและกับครอบครัวเพื่อศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ชีวิตท่านจะเต็มไปด้วยสันติสุข” (“ทำให้การใช้ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 93)
เป็นพยานถึงความปลอดภัยและสันติสุขที่มาสู่คนเหล่านั้นผู้ดำเนินชีวิตต่อไปในความจริงที่พบในพระคัมภีร์
เชื้อเชิญให้นักเรียนพับกระดาษเป็นสามท่อน เพื่อทำเป็นสามช่อง ให้พวกเขาคลี่กระดาษออกและเขียน หลักคำสอน ไว้ตรงส่วนบนสุดของช่องแรก การว่ากล่าวตักเตือนและการแก้ไขสิ่งผิด ตรงส่วนบนสุดของช่องที่สอง สั่งสอนอบรมในความชอบธรรม ตรงส่วนบนสุดของช่องที่สาม
เชื้อเชิญให้นักเรียนใช้กระดาษนี้เป็นที่คั่นพระคัมภีร์ของพวกเขาในหนึ่งสัปดาห์ เขียนในช่องที่เหมาะสมทุกครั้งที่พวกเขาอ่านพระคัมภีร์ซึ่งตอบหนึ่งในจุดประสงค์เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ใต้หัวข้อ “หลักคำสอน” นักเรียนอาจเขียนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์และหลักคำสอนหรือหลักธรรมที่พวกเขาเรียนรู้จากข้อเหล่านั้น ใต้หัวข้อ “การว่ากล่าวตักเตือนและการแก้ไขสิ่งผิด” พวกเขาอาจเขียนข้อพระคัมภีร์อ้างอิงและระบุว่าข้อความนั้นแก้ไขแนวคิดผิดๆ อย่างไร และใต้ “สั่งสอนอบรมในความชอบธรรม” พวกเขาควรบันทึกข้อความที่ให้ข้อคิดกับพวกเขาว่าพวกเขาสามารถทำงานดีอะไรได้บ้าง
กระตุ้นให้นักเรียนนำกระดาษมาชั้นเรียนในหนึ่งสัปดาห์เพื่อรายงานประสบการณ์ของพวกเขา ท่านอาจต้องการเก็บสิ่งเตือนใจไว้ในพระคัมภีร์ของท่านหรือคู่มือเพื่อสนทนาสั้นๆ เป็นการทบทวนวิธีประยุกต์ใช้ข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
หน่วยต่อไป (ฮีบรู 5–ยากอบ 1)
กระตุ้นให้นักเรียนหาคำตอบของคำถามต่อไปนี้เมื่อพวกเขาศึกษาหน่วยต่อไป เยาวชนชายได้รับเรียกสู่ฐานะปุโรหิตอย่างไร ในฮีบรูกล่าวถึงใครที่มีศรัทธายิ่งใหญ่ ท่านจำชายและหญิงที่ท่านเรียนรู้เรื่องราวของเขาในหน่วยนี้ได้หรือไม่ โจเซฟ สมิธอ่านพระคัมภีร์ข้อใดที่นำเขาไป “ทูลขอพระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งส่งผลให้เกิดนิมิตแรก ธรรมะบริสุทธิ์คืออะไร