คลังค้นคว้า
บทที่ 44: ลูกา 2


บทที่ 44

ลูกา 2

คำนำ

โยเซฟกับมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮม สถานที่ซึ่งพระเยซูประสูติ คนเลี้ยงแกะเชื่อฟังคำแนะนำของทูตสวรรค์ให้ไปหาพระกุมารเยซู จากนั้นจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ว่าพระเยซูประสูติ สิเมโอนถวายพระพรพระเยซูที่พระวิหาร อันนาแบ่งปันการเป็นพยานของเธอว่าพระผู้ไถ่ประสูติแล้ว พระเยซูทรงเจริญขึ้น “ในด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย เป็นที่ชอบต่อพระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้าคนทั้งหลายด้วย” (ลูกา 2:52)

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ลูกา 2:1–20

พระเยซูประสูติในเบธเลเฮม

ท่านอาจให้ชั้นเรียนร้องเพลงสวด “โลกจงสุขี” (เพลงสวด, บทที่ 94) หรือเพลงสวดคริสต์มาสอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของการให้ข้อคิดทางวิญญาณ

โยเซฟกับมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮม

แสดงภาพ โยเซฟกับมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮม (หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพที่ 29; ดู LDS.orgด้วย) ขอให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอดหรือไม่

handout iconเพื่อช่วยนักเรียนศึกษา ลูกา 2:1–20 เชื้อเชิญให้พวกเขาทำแบบทดสอบถูก–ผิดต่อไปนี้ (ก่อนชั้นเรียน ให้เตรียม สำเนา ข้อสอบนี้สำหรับนักเรียนแต่ละคน

เอกสารแจก ข้อสอบถูก–ผิด

ข้อสอบถูก–ผิด (ลูกา 2:1–20)

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทที่ 44

  • _____ 1. มารีย์กับโยเซฟต้องเดินทางไปเบธเลเฮมเพื่อจ่ายภาษี

  • _____ 2. มารีย์กับโยเซฟต้องเดินทาง 27 ไมล์ (44 กิโลเมตร) จากนาซาเร็ธไปเบธเลเฮม

  • _____ 3. มารีย์วางพระกุมารเยซูไว้ในรางหญ้าเพราะว่าไม่มีห้องว่างในโรงแรม

  • _____ 4. บรรดาคนเลี้ยงแกะตามดวงดาวไปยังรางหญ้าที่พระเยซูบรรทมอยู่

  • _____ 5. นอกเหนือจากมารีย์และโยเซฟ คนแรกๆ ในบันทึกที่เห็นพระเยซูคือบรรดาคนเลี้ยงแกะ

  • _____ 6. ทูตสวรรค์บอกคนเลี้ยงแกะไม่ให้บอกใครเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเห็น

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาคำตอบของข้อสอบขณะที่พวกเขาศึกษา ลูกา 2

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:1–5 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเหตุใดมารีย์กับโยเซฟจึงเดินทางไปเบธเลเฮม

  • เหตุใดมารีย์กับโยเซฟจึงเดินทางไปเบธเลเฮม (ชี้ให้เห็นว่าเชิงอรรถ ลูกา 2:1  ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาอังกฤษแอลดีเอส อธิบายว่าซีซาร์ต้องการลงทะเบียน หรือนับคน ทำสิ่งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการเก็บภาษี)

เชื้อเชิญให้นักเรียนเปิดแผนที่ในพระคัมภีร์ไบเบิล แผนที่ 11, “แผ่นดินบริสุทธิ์ในสมัยพันธสัญญาใหม่,” ในภาคผนวกของพระคัมภีร์ไบเบิล ขอให้นักเรียนหานาซาเร็ธและเบธเลเฮม ในแผนที่ ใช้คำเฉลยเพื่อคำนวณว่าโยเซฟกับมารีย์เดินทางระยะไกลเท่าใด หลังจากนักเรียนตอบ อธิบายว่าระยะทาง 85–90 ไมล์ (137–145 กิโลเมตร) ระหว่างนาซาเร็ธกับเบธเลเฮมจะใช้เวลาเดินอย่างน้อยสี่ถึงห้าวันหรืออาจจะนานกว่าสำหรับโยเซฟและมารีย์เนื่องจากสภาพของมารีย์

กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาคิดว่าสภาวะแวดล้อมแบบใดที่เหมาะสมสำหรับการประสูติของพระผู้สร้างและพระผู้ช่วยให้รอดของโลก

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:6–7 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสภาวะแวดล้อมการประสูติของพระเยซู

  • นอกจากสถานะสำคัญเป็นพิเศษของพระเยซูในฐานะพระบุตรองค์เดียวที่ถือกำเนิดของพระผู้เป็นเจ้าในเนื้อหนัง สภาวะแวดล้อมการประสูติของพระองค์เป็นอย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก ลูกา 2:8–14 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่ามีการประกาศถึงการประสูติพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ แสดง ภาพ ทูตสวรรค์ปรากฎต่อคนเลี้ยงแกะ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 31; ดู LDS.orgด้วย)

ทูตสวรรค์ปรากฏต่อคนเลี้ยงแกะ
  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 10เราจะมีประสบการณ์อะไรเนื่องจากพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน เนื่องจากพระผู้ช่วยให้รอดประสูติบนแผ่นดินโลก เราจะประสบความปรีดียิ่ง)

ขณะที่นักเรียนศึกษา ลูกา 2 ต่อ เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาตัวอย่างที่ว่าความรู้เกี่ยวกับการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอดนำปีติมาสู่ผู้อื่นอย่างไร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:15–20 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าคนเลี้ยงแกะตอบสนองต่อข่าวสารของทูตสวรรค์อย่างไร

  • ข้อความใดที่ระบุว่าคนเลี้ยงแกะตอบสนองต่อข่าวสารของทูตสวรรค์อย่างไร (ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายวลี “ให้เราไป” ใน ข้อ 15 และ “เขาก็รีบไป” ใน ข้อ 16)

  • คนเลี้ยงแกะได้รับพยานหรือประจักษ์พยานถึงอะไรเนื่องจากพวกเขาเชื่อฟังข่าวสารนี้

  • บรรดาคนเลี้ยงแกะทำอะไรหลังจากพวกเขาได้รับพยานเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์แล้ว

  • ท่านคิดว่าเหตุใดคนเลี้ยงแกะจึงแบ่งปันกับคนอื่นถึงสิ่งที่พวกเขาประสบมา

  • เราเรียนรู้หลักธรรมอะไรจากเรื่องราวนี้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรารับประจักษ์พยานของเราเองเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ (โดยใช้คำพูดของพวกเขา นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ เมื่อเรารับประจักษ์พยานของเราเองเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เราปรารถนาจะแบ่งปันประจักษ์พยานของเรากับผู้อื่น)

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่พวกเขารู้สึกปรารถนาจะแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์กับผู้อื่น กระตุ้นให้พวกเขาไตร่ตรองว่าอะไรที่กระตุ้นความปรารถนานั้น เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับชั้นเรียน

ลูกา 2:21–39

สิเมโอนและอันนาประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของโลก

สรุป ลูกา 2:21–24 โดยอธิบายว่าหลังจากพระเยซูประสูติ มารีย์และโยเซฟนำพระองค์ไปถวายที่พระวิหารตามกฎของชาวยิว (ดู อพยพ 13:2) บุคคลสองคนที่พระวิหารวันนั้นรู้จักกุมารเยซูในฐานะพระเมสสิยาห์ เชื้อเชิญเยาวชนชายในชั้นเรียนอ่านเรื่องราวของสิเมโอนใน ลูกา 2:25–32ในใจ (ท่านอาจต้องการอธิบายว่าวลี “คอยเวลาที่พวกอิสราเอลจะได้รับการปลอบโยนใจ” ใน ข้อ 25 หมายถึงการรอคอยให้พระเมสสิยาห์เสด็จมา) เชื้อเชิญเยาวชนหญิงให้อ่านเรื่องราวของอันนาใน ลูกา 2:36–38 ในใจ (หากจำเป็นอธิบายว่า “fourscore” [ในไบเบิลฉบับภาษาอังกฤษ] ใน ข้อ 37 หมายถึง 80) ขณะที่นักเรียนอ่านข้อที่ได้รับมอบหมายของพวกเขา เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • ความรู้เรื่องการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอดนำปีติมาสู่คนๆ นี้อย่างไร

  • เขาเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ในด้านใด

สิเมโอนแสดงความเคารพพระกุมารพระคริสต์

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชิญเยาวชนชายคนหนึ่งยืนขึ้น สรุปสิ่งที่เขาอ่าน และรายงานคำตอบของเขาต่อคำถามก่อนหน้านี้ แสดงภาพ ทูตสวรรค์ปรากฎต่อคนเลี้ยงแกะ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 32; ดู LDS.orgด้วย)

สรุป ลูกา 2:33–35 โดยอธิบายว่าสิเมโอนอวยพรโยเซฟและมารีย์เช่นกัน

เชื้อเชิญให้เยาวชนหญิงคนหนึ่งยืนขึ้น สรุปเรื่องราวที่เธออ่าน และรายงานคำตอบของเธอต่อคำถามก่อนหน้านั้น

เชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดประสูติสามารถนำปีติมาสู่เราอย่างไร เชื้อเชิญให้คนที่รู้สึกสบายใจในการแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์กับชั้นเรียนขึ้นมาแบ่งปัน

สรุป ลูกา 2:39 โดยอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ มารีย์ โยเซฟ และพระเยซูกลับไปที่นาซาเร็ธ

ลูกา 2:40–52

พระเยซูในวัยเยาว์ทรงสอนในพระวิหาร

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนสิ่งหนึ่งที่พวกเขาอยากพัฒนาลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา เชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคมที่รู้สึกสบายใจในการแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับชั้นเรียนขึ้นมาแบ่งปัน (เตือนนักเรียนไม่ให้แบ่งปันเรื่องราวที่เป็นส่วนตัวมากเกินไป)

  • การรู้ว่าพระเยซูเป็นเช่นไรเมื่อพระองค์ทรงพระเยาว์จะช่วยท่านในฐานะเยาวชนคนหนึ่งได้อย่างไร

อธิบายว่าเรามีรายละเอียดเล็กน้อยเกี่ยวกับพระเยซูชณะทรงพระเยาว์ แต่สิ่งที่บันทึกไว้จะเป็นพรที่ยิ่งใหญ่และนำทางเราขณะที่เราพยายามพัฒนาตนเอง ขณะนักเรียนศึกษาที่เหลือของ ลูกา 2 เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาความจริงที่จะช่วยให้เรารู้ว่าเราควรมุ่งสนใจด้านใดขณะที่เราพยายามพัฒนาตนเอง

พระเยซูทรงสวดอ้อนวอนกับมารดาของพระองค์

แสดงภาพ พระเยซูทรงสวดอ้อนวอนกับมารดาของพระองค์ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 33; ดู LDS.org ด้วย) เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:40 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าลูกาบรรยายพระชนม์ชีพวัยเยาว์ของพระเยซูอย่างไร อธิบายคำว่า แข็งแรงขึ้น หมายถึงเติบโตหรือเพิ่มขึ้น เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก ลูกา 2:41–47 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระเยซูทรงทำอะไรเมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา

  • เหตุใดพระเยซูจึงประทับค้างอยู่ที่พระวิหาร (เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านบางส่วนของงานแปลของโจเซฟ สมิธ, ลูกา 2:46 ที่พบใน คู่มือพระคัมภีร์ โดยมองหาว่างานแปลของโจเซฟ สมิธอธิบายว่าพระเยซูทรงกำลังทำอะไรที่พระวิหารและคำอธิบายนี้เข้ากับเหตุการณ์ที่บรรยายอย่างไร ลูกา 2:47)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:48–50 ขอให้นักเรียนดูตามและมองหาว่าพระเยซูตรัสอะไรกับมารีย์และโยเซฟเมื่อพวกเขาพบพระองค์

  • พระเยซูตรัสอะไรกับมารีย์และโยเซฟเมื่อพวกเขาพบพระองค์

  • เรื่องราวนี้เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับความรู้ของพระเยซูถึงพระอัตลักษณ์ที่แท้จริงของพระองค์และพระอุปนิสัยของพระองค์ขณะเยาว์วัย

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 2:51–52 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระเยซูคริสต์ทรงเจริญวัยทางใดบ้าง

  • “[เจริญขึ้น] ในด้านสติปัญญา” หมายความว่าอย่างไร (พัฒนาทางสติปัญญา) เจริญขึ้นใน “ด้านร่างกาย”? (พัฒนาความเติบโตทางร่างกาย) เจริญขึ้นใน “การเป็นที่ชอบต่อพระพักตร์ของพระเจ้า”? (พัฒนาความเติบโตทางวิญญาณ) เจริญขึ้นใน “การเป็นที่ชอบ… ต่อหน้าคน”? (พัฒนาทางสังคม)

  • จาก ข้อ 52 ท่านจะบอกหลักธรรมที่จะนำทางเราในการทำตามแบบอย่างของพระเยซูอย่างไร (นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระเยซูได้โดยการรับสติปัญญาและการเติบโตทางร่างกาย วิญญาณ และสังคม)

  • เหตุใดจึงสำคัญสำหรับเราที่จะพัฒนา แต่ละ ด้านของทั้งสี่ด้านนี้ (เพื่อเราจะเป็นคนที่มีดุลยภาพที่ดี)

  • ท่านได้รับพรอย่างไรเมื่อท่านพยายามทำตามแบบอย่างของพระเยซูโดยการพัฒนาตัวท่านเองในด้านต่างๆ เหล่านี้

เขียนหัวข้อต่อไปนี้ไว้บนกระดานและเชื้อเชิญให้นักเรียนลอกลงสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา ดังนี้ ปัญญา ร่างกาย วิญญาณ และ สังคม ขอให้นักเรียนเขียนเป้าหมายหนึ่งข้อภายในแต่ละประเภทเหล่านี้เพื่อการพัฒนาส่วนตัว กระตุ้นให้พวกเขาให้ทำตามเป้าหมายเหล่านี้ สรุปโดยแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านถึงหลักธรรมที่ระบุในบทเรียนวันนี้

(คำตอบสำหรับข้อสอบมีดังต่อไปนี้ 1. ถูก; 2 ผิด; 3 ถูก; 4 ผิด; 5 ถูก; 6 ผิด)

ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
การทบทวนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์

การท่องช่วยให้นักเรียนจดจำตำแหน่งของข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ใช้บัตรผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์หรือให้นักเรียนทำบัตรเองโดยการใส่คำไขหรือความหมายอีกด้านหนึ่งของบัตรหรือแผ่นกระดาษเปล่าและใส่ข้ออ้างอิงในอีกด้าน แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ๆ ขอให้นักเรียนถามคำถามกันเองโดยใช้บัตร เชื้อเชิญให้นักเรียนใช้บัตรเหล่านี้บ่อยๆ เพื่อถามคำถามตนเองและถามกันเอง ท่านอาจใช้คำใบ้ในบัตรเพื่อทำกิจกรรมตามหาพระคัมภีร์กับชั้นเรียน (ดู “การแข่งขันเปิดพระคัมภีร์” ในภาคผนวกของคู่มือนี้)

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ลูกา 2:7 “นางจึงคลอดบุตรชายหัวปี”

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนสิ่งต่อไปนี้เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอด

“เราพบว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาที่พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า พระเยโฮวาห์ในสมัยโบราณ จะประสูติในโลกมรรตัยนี้ในสภาวะแวดล้อมที่ต่ำต้อยที่สุด โรงแรมอาจเป็นสถานที่ต่ำต้อยพอ แม้กระนั้นก็ไม่ได้เกิดในโรงแรม แต่เป็นในคอกสัตว์ และพระกุมารถูกวางไว้บนหญ้าในรางไม้ที่ให้อาหารสัตว์ แม้กระนั้น พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมที่ยิ่งใหญ่กว่าคือการที่พระเยซูจะทรงยอมต่อความเป็นมรรตัย แม้พระองค์จะประสูติในสภาพที่ดีที่สุดและสง่างามที่สุด ร่ามกับเปาโล เราอัศจรรย์ใจที่ ‘พระเจ้าทรงใช้พระบุตรของพระองค์เองมา ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป’ [โรม 8:3]—ว่าพระองค์จะทรงเป็นพระกุมารวัยทารก พระองค์จะทรงเป็นพระกุมารวัยเด็ก และจากนั้นเป็นชายคนหนึ่ง จะทนรับ ‘การล่อลวง, และความเจ็บปวดทางร่างกาย, ความหิวโหย, ความกระหาย, และความเหน็ดเหนื่อย’ [โมไซยาห์ 3:7] และแม้แต่ความตาย

“เป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์ผู้ทรงปกครองฟ้าสวรรค์เบื้องบน พระผู้สร้างของโลก จะทรงยินยอมประสูติ ‘ตามสภาพแห่งเนื้อหนัง’ (1 นีไฟ 11:18) และดำเนินอยู่บนที่รองพระบาทของพระองค์ (ดู 1 นีไฟ 17:39) ในสภาพยากจน ถูกรังเกียจ ถูกข่มเหง และในท้ายที่สุด ถูกตรึงกางเขน” (“The Condescension of God and of Man” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณเนื่องในเทศกาลคริสต์มาสของฝ่ายประธานสูงสุด, 7 ธ.ค., 2014], lds.org/broadcasts)

ลูกา 2:19 “นางมารีย์ก็เก็บสิ่งเหล่านั้นไว้และรำพึงอยู่ในใจ”

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าถึงแม้จะเป็นเรื่องสำคัญที่เราแบ่งปันประจักษ์พยานกับคนอื่น แต่เราควรแบ่งปันประสบการณ์ศักดิ์สิทธิ์ของเราก็ต่อเมื่อเราได้รับการดลใจให้ทำเช่นนั้น

“ไม่ใช่เรื่องฉลาดที่จะพูดพร่ำถึงประสบการณ์ทางวิญญาณที่ไม่ธรรมดา ประสบการณ์เหล่านั้นต้องได้รับการปกป้องอย่างระมัดระวัง และแบ่งปันก็ต่อเมื่อพระวิญญาณทรงกระตุ้นเตือนท่านให้ใช้ประสบการณ์เหล่านั้นเป็นพรแก่ผู้อื่น …

“ข้าพเจ้าเคยได้ยินประธานแมเรียน จี. รอมนีย์ให้คำแนะนำบรรดาประธานคณะเผยแผ่และภรรยาของพวกเขาครั้งหนึ่งว่า … , ‘ข้าพเจ้าพบว่าหากข้าพเจ้าพูดพร่ำเพรื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าจะไม่ทรงไว้วางใจข้าพเจ้า’

“ข้าพเจ้าเชื่อว่า เราต้องเก็บเรื่องเหล่านี้และไตร่ตรองในใจของเรา ดังที่ลูกาบอกว่ามารีย์ทำเกี่ยวกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับการประสูติของพระเยซู” (“The Candle of the Lord,” Ensign, Jan. 1983, 53)

ลูกา 2:47 “คนทั้งหลายที่ได้ยินก็ประหลาดใจในสติปัญญาและคำตอบของพระกุมารนั้น”

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธสอนสิ่งต่อไปนี้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์เมื่อทรงพระเยาว์

“สมัยพระองค์ทรงพระเยาว์พระองค์ทรงมีสติปัญญาที่จำเป็นทั้งหมดที่จะทำให้พระองค์ทรงปกครองและควบคุมอาณาจักรชาวยิวได้ พระองค์ทรงสามารถใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและศาสนศาสตร์ที่ฉลาดที่สุดและมีความเข้าใจลึกซึ้งที่สุด ทรงทำให้ทฤษฎีตลอดจนการถือปฏิบัติของพวกเขาเป็นเรื่องโง่เขลาเมื่อเปรียบเทียบกับพระปรีชาญาณที่พระองค์ทรงมี แต่พระองค์ทรงเป็นเด็กเท่านั้น ทรงขาดพละกำลังทางกายที่แม้แต่จะปกป้องพระองค์เอง พระองค์ยังต้องหนาว ต้องหิวโหย และต้องตาย” (History of the Church, 6:608)