คลังค้นคว้า
บทที่ 112: 1 โครินธ์ 15:30–16:24


บทที่ 112

1 โครินธ์ 15:30–16:24

คำนำ

เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ต่อไปเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิต เขาชื่นชมยินดีในชัยชนะของพระเยซูคริสต์เหนือความตาย เปาโลกระตุ้นให้สมาชิกศาสนจักรในเมืองโครินธ์บริจาคให้วิสุทธิชนผู้ยากไร้ในกรุงเยรูซาเล็ม

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 โครินธ์ 15:30–52

เปาโลสอนเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิต

ก่อนชั้นเรียน ให้เขียนคำถามต่อไปนี้บนกระดาน ผู้คนอาจเลือกดำเนินชีวิตอย่างไรหากพวกเขาไม่เชื่อว่าพวกเขาจะมีชีวิตอยู่อีกครั้งหลังจากพวกเขาตาย

เมื่อเริ่มชั้นเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามที่เขียนบนกระดาน

สรุป 1 โครินธ์ 15:30–34 โดยอธิบายว่าเปาโลถามวิสุทธิชนชาวโครินธ์ (บางคนเชื่ออย่างผิดๆ ว่าจะไม่มีการฟื้นคืนชีวิต) ให้พิจารณาสาเหตุที่บางคนซึ่งเชื่อในพระเยซูคริสต์จะทนต่อการข่มเหงและเสี่ยงความตายถ้าไม่มีการฟื้นคืนชีวิตของคนตาย

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 15:32 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเจตคติใดที่เปาโลบอกว่าบางคนอาจจะมีหากไม่มีการฟื้นคืนชีวิตของคนตาย

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 32 เจตคติอะไรที่เปาโลบอกว่าบางคนอาจจะมีหากไม่มีการฟื้นคืนชีวิตของคนตาย

  • เนื่องจากการฟื้นคืนชีวิตเป็นเรื่องจริง แต่เหตุใดการรับเจตคตินี้อาจเป็นอันตราย

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษาส่วนที่เหลือของ 1 โครินธ์ 15 ที่จะช่วยพวกเขาเข้าใจว่าความรู้เรื่องการฟื้นคืนชีวิตจะมีอิทธิพลต่อการเลือกของพวกเขาในความเป็นมรรตัย (หมายเหตุ: ขณะระบุความจริงต่างๆ ให้เขียนไว้บนกระดาน)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 15:35 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำถามที่ผู้คนอาจมีเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิต เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

สรุป 1 โครินธ์ 15:36–38 โดยอธิบายว่าเปาโลช่วยตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการใช้เมล็ดแทนร่างกายมรรตัย ซึ่งหลังจากความตายและการฝังในดินจะงอกขึ้นมาในการฟื้นคืนชีวิต

แสดง (หรือวาดภาพบนกระดาน) ภาพ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวหลายดวง

ภาพวาด ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว
  • จากมุมมองของเราที่นี่บนแผ่นดินโลก แสงของดวงอาทิตย์เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับแสงของดวงจันทร์

  • แสงของดวงจันทร์เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับแสงของดวงดาว

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่ง อ่าน ออกเสียง1 โครินธ์ 15:39–42 อธิบายว่างานแปลของโจเซฟ สมิธข้อ 40 อ่านว่า “ร่างกายซีเลสเชียลด้วย และร่างกายแห่งเทอร์เรสเตรียล และร่างกายแห่งทีเลสเชียล แต่รัศมีภาพของซีเลสเชียลอย่างหนึ่ง และเทอร์เรสเตรียล อีกอย่างหนึ่ง และทีเลสเชียล อีกอย่างหนึ่ง” ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลใช้ความสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวอย่างไรเพื่ออธิบายความแตกต่างในร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต อธิบายว่าในบริบทนี้คำว่า รัศมี สามารถหมายถึงแสงสว่าง ความรุ่งโรจน์ หรือความสุกใส

  • เปาโลเปรียบเทียบรัศมีภาพของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวกับอะไร (รัศมีภาพของร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต)

  • ความแตกต่างของแสงสว่างหรือรัศมีภาพเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักคำสอนต่อไปนี้ มีระดับแห่งรัศมีภาพที่ต่างกันสำหรับร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ ขอให้ชั้นเรียนฟังว่ารัศมีภาพต่างๆ ของร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตแตกต่างกันอย่างไร ก่อนนักเรียนอ่าน อธิบายว่าเมื่อประธานสมิธพูดถึง “ร่างกายแห่งซีเลสเชียล” ท่านหมายถึงคนที่ได้รับระดับสูงสุดของอาณาจักรซีเลสเชียล (ดู คพ. 131:1–4)

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

“ในการฟื้นคืนชีวิต จะมีร่างกายแบบที่แตกต่างกัน ร่างกายจะไม่เหมือนกันทั้งหมด ร่างกายที่มนุษย์คนหนึ่งได้รับจะกำหนดที่ของบุคคลนั้นในภายหลัง จะมีร่างกายซีเลสเชียล ร่างกายเทอร์เรสเตรียล และร่างกายทีเลสเชียล …

“… บางคนจะได้รับร่างกายซีเลสเชียลพร้อมกับพลังอำนาจทั้งหมดแห่งความสูงส่งและการเพิ่มพูนนิรันดร์ ร่างกายเหล่านี้จะส่องสว่างเหมือนดวงอาทิตย์ดังที่พระวรกายของพระผู้ช่วยให้รอดส่องแสง … คนที่เข้าสู่อาณาจักรเทอร์เรสเตรียลจะมีร่างกายเทอร์เรสเตรียล และพวกเขาจะไม่ส่องสว่างเหมือนดวงอาทิตย์ แต่พวกเขาจะมีรัศมีภาพมากกว่าร่างกายของคนที่ได้รับรัศมีภาพทีเลสเชียล” (Doctrines of Salvation, comp. Bruce R. McConkie, 3 vols. [1954–56], 2:286, 287)

  • รัศมีภาพต่างๆ ของร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตแตกต่างกันอย่างไร

เขียนกำกับภาพวาดของดวงอาทิตย์บนกระดานด้วยคำว่า ซีเลสเชียล ดวงจันทร์ด้วย เทอร์เรสเตรียล และดวงดาวด้วย ทีเลสเชียล ใต้ภาพวาดหรือ ภาพ แต่ละภาพให้วาดรูปร่างกายอย่างง่ายโดยให้ร่างซีเลสเชียลดูมีรัศมีภาพมากกว่าเทอร์เรสเตรียล และเทอร์เรสเตรียลดูมีรัศมีภาพมากกว่าทีเลสเชียล

ภาพวาด ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว รูปคนลากเส้นอย่างง่าย
  • ตามที่ประธานสมิธกล่าว ร่างกายหรือรัศมีภาพที่คนๆ หนึ่งได้รับในการฟื้นคืนชีวิตจะกำหนดอะไร

  • ตามที่ประธานสมิธกล่าว ผู้ที่ได้รับร่างกายซีเลสเชียลในระดับสูงสุดของอาณาจักรซีเลสเชียลจะได้รับอะไรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัศมีภาพของพวกเขา อต่ผู้ที่ไม่ได้ร่างกายซีเลสเชียลจะไม่ได้รับ (เขียน พลังอำนาจแห่งความสูงส่งและการเพิ่มพูนนิรันดร์ ใต้ภาพวาดของร่างซีเลสเชียล)

อธิบายว่า “พลังอำนาจแห่งความสูงส่ง” รวมถึงความสามารถในการดำเนินชีวิตในแบบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงดำเนินพระชนม์ชีพและ “การเพิ่มพูนนิรันดร์” เป็นความสามารถที่จะมีลูกหลานในนิรันดรต่อไป พรเหล่านี้มีให้แก่คนที่ได้รับความสูงส่งในระดับสูงสุดของอาณาจักรซีเลสเชียลเท่านั้น (ดู คพ. 131:1–4; 132:19–20)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเราต้องทำอะไรเพื่อได้รับร่างกายซีเลสเชียลในการฟื้นคืนชีวิต เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:21–22 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเราต้องทำอะไรเพื่อได้รับร่างกายซีเลสเชียล

  • เราต้องทำอะไรเพื่อได้รับร่างกายซีเลสเชียล (อธิบายว่าเพื่อ “ปฏิบัติตามกฎของอาณาจักรซีเลสเชียล [นั้น] ” [ข้อ 22] หมายถึงการรับศาสนพิธีทั้งหมด ทำและรักษาพันธสัญญาทั้งปวงที่จำเป็นต่อการเข้าอาณาจักรซีเลสเชียล)

  • การรู้เกี่ยวกับรัศมีภาพและพรที่มีให้แก่สัตภาวะที่ฟื้นคืนชีวิตในระดับสูงสุดของอาณาจักรซีเลสเชียลเท่านั้นสามารถส่งผลต่อการเลือกของคนๆ หนึ่งในความเป็นมรรตัยอย่างไร

สรุป 1 โครินธ์ 15:42–52 โดยอธิบายว่าเปาโลชี้แจงต่อไปว่าร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตจะเป็นอย่างไร เขาพูดถึงร่างกายมรรตัยว่าเป็น “เนื้อหนัง” (ข้อ 44, 46) และเสื่อมสลายและพูดถึงร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตว่าเป็น “จิตวิญญาณ” (ข้อ 44, 46) และ “ปราศจากความเสื่อมสลาย” (ข้อ 52) หมายถึงเป็นอมตะและไม่ขึ้นอยู่กับความตาย

1 โครินธ์ 15:53–58

เปาโลชื่นชมยินดีในชัยชนะของพระเยซูคริสต์เหนือความตาย

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 15:53 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาหลักคำสอนที่เปาโลสอนเกี่ยวกับสภาพร่างกายของเราเมื่อเราฟื้นคืนชีวิต

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 53 สภาพร่างกายของเราหลังจากการฟื้นคืนชีวิตจะเป็นอย่างไร (นักเรียนควรระบุหลักคำสอนทำนองนี้ เราจะฟื้นคืนชีวิตในสภาพที่ไม่เสื่อมสลายและเป็นอมตะ)

  • ร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตของเราจะไม่เสื่อมสลายในทางใดบ้าง (ร่างกายจะไม่ตกอยู่ภายใต้การเน่าเปื่อยหรือความตายอีกต่อไป)

  • การรู้ว่าเราแต่ละคนจะมีร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตและประสบกับระดับแห่งรัศมีภาพที่เหมาะสมชั่วนิรันดร์จะส่งผลต่อการตัดสินใจที่เราทำในความเป็นมรรตัยอย่างไร

เพื่อเตรียมนักเรียนให้ศึกษาที่เหลือของสาส์นฉบับแรกของเปาโลถึงชาวโครินธ์ เชื้อเชิญให้พวกเขายกมือขึ้นหากพวกเขาเคยโดนแมลงกัดต่อย

  • ท่านจะบรรยายประสบการณ์ของการถูกแมลงกัดต่อยว่าอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 1 โครินธ์ 15:54–55 ในใจ โดยมองหาสิ่งที่พระเยซูตรัสขณะอยู่บนกางเขน

  • เปาโลพูดว่าอะไรที่ไม่มีเหล็กในอีกต่อไป (ความตายทางร่างกาย)

  • ความตายทางร่างกายเป็น “เหล็กใน” (ข้อ 55) หรือเหมือนจะมีชัยชนะเหนือเราในทางใดบ้าง

  • ความตายทางร่างกายถูก “กลืนเข้าในชัยชนะ” ผ่านทางพระเยซูคริสต์ (ข้อ 54) อย่างไร

  • เราสามารถเรียนรู้ความจริงอะไรจากคำสอนของเปาโลเกี่ยวกับสาเหตุที่ความตายทางร่างกายไม่มีเหล็กในถาวรหรือชัยชนะเหนือเราอีกต่อไป (ให้แน่ใจว่านักเรียนระบุความจริงทำนองนี้ ความตายทางร่างกายไม่มีชัยชนะเหนือเรา เนื่องจากการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์)

อธิบายว่าถึงแม้การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ทรงนำเอาเหล็กในที่มาจากความตายทางร่างกายออก แต่ก็มีเหล็กในในความตายอีกอย่างหนึ่งที่ยังคงอยู่ เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 15:56 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและมองหาเหล็กในที่ยังคงอยู่เมื่อเราตาย

  • เหล็กในอะไรที่ยังคงอยู่เมื่อเราตาย

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 15:57–58 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนว่าจะนำเอาเหล็กในแห่งความตายที่มาจากบาปออกได้

  • เปาโลสอนว่าสิ่งใดจะถอนเหล็กในแห่งความตายที่มาจากบาปออกได้

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 58 เปาโลเชื้อเชิญให้ผู้อ่านของเขาทำอะไรเนื่องจากชัยชนะเหนือความตายของพระเยซูคริสต์

  • เราสามารถระบุหลักธรรมอะไรจาก ข้อ 56–58 เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงเหล็กในแห่งความตายที่มาจากบาป (ช่วยนักเรียนระบุหลักธรรมทำนองนี้ ถ้าเรามั่นคงและแน่วแน่ในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เหล็กในแห่งความตายที่มาจากบาปจะนำออกไปได้โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์)

  • ความมั่นคงและแน่วแน่ในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณหมายความว่าอย่างไร

  • การกลับใจมีบทบาทอะไรในความมั่นคงและแน่วแน่

เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความสำคัญของความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ อ้างอิงถึงความจริงที่เขียนบนกระดานและเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา ความจริงอะไรเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิตที่ท่านเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้ท่านต้องการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียนกับชั้นเรียน

เชื้อเชิญให้นักเรียนตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจะทำวันนี้เพื่อให้มีความมั่นคงและแน่วแน่ในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ

1 โครินธ์ 16

เปาโลบริหารจัดการเงินบริจาคเพื่อผู้ยากไร้ที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม

สรุป 1 โครินธ์ 16:1–24 โดยอธิบายว่าเปาโลแนะนำวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ช่วยดูแลผู้ยากไร้ในกรุงเยรูซาเล็ม “มั่นคงในความเชื่อ” (ข้อ 13)และทำทุกสิ่ง “ด้วยความรัก” (ข้อ 14)

เป็นพยานถึงความจริงที่นักเรียนระบุในบทเรียนนี้

ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—1 โครินธ์ 15:40–42

เชื้อเชิญนักเรียนสองคนออกมาที่หน้าชั้นเรียนพร้อมกับพระคัมภีร์ของพวกเขา ขอให้พวกเขาสมมติว่าท่านเป็นผู้สนใจและพวกเขาเป็นคู่ผู้สอนศาสนากำลังสอนท่านเกี่ยวกับแผนแห่งความรอด ขอให้พวกเขาอธิบายสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับความตายและการฟื้นคืนชีวิต โดยใช้ข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ทั้งสองข้อใน 1 โครินธ์ 15 และข้ออื่นๆ ที่อาจมีประโยชน์ ขอให้ชั้นเรียนแบ่งปันเรื่องอื่นๆ ที่พวกเขาอาจต้องการอธิบายเกี่ยวกับความตายและการฟื้นคืนชีวิตแก่ผู้สนใจ

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 โครินธ์ 15:44–46 “สิ่งที่เป็นขึ้นมานั้นเป็นกายจิตวิญญาณ”

ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์สอนสิ่งต่อไปนี้เกี่ยวกับร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต

“มีการแยกจากกันของวิญญาณและร่างกายเมื่อสิ้นชีวิต การฟื้นคืนชีวิตจะรวมวิญญาณกับร่างกายอีกครั้ง และร่างกายจะกลายเป็นร่างกายฝ่ายวิญญาณ เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งเนื้อหนังและกระดูกแต่ได้รับการชุบชีวิตจากวิญญาณแทนที่จะเป็นเลือด เพราะฉะนั้น ร่างกายของเราหลังจากการฟื้นคืนชีวิตที่ได้รับการชุบชีวิตโดยวิญญาณจะกลายเป็นอมตะและไม่ตายอีกเลย นี่คือความหมายของคำกล่าวของเปาโลที่ว่า ‘ถ้ามีกายเนื้อหนัง กายจิตวิญญาณก็มีด้วย’ และ ‘เนื้อและเลือดไม่สามารถมีส่วนในอาณาจักรของพระเจ้า’ กายเนื้อหนังคือเนื้อหนังและเลือด แต่ได้รับการชุบชีวิตโดยวิญญาณไม่ใช่เลือด กายนี้สามารถและจะเข้าในอาณาจักร” (ใน Conference Report, Apr. 1969, 138)

1 โครินธ์ 15:45, 49–53 “มนุษย์คนแรกคืออาดัม” และ “อาดัมสุดท้าย”

“อาดัม ‘มนุษย์คนแรก’ (1 โครินธ์ 15:45; คพ. 84:16) เป็นคนแรกที่ได้รับร่างกาย พระเยซูคริสต์ ‘อาดัมสุดท้าย’ หรือ ‘มนุษย์คนที่สอง’ (1 โครินธ์ 15:45, 47) เป็นคนแรกที่ถูกชุบชีวิต (ฟื้นคืนพระชนม์) และได้รับร่างกายที่มีรัศมีภาพ (ดู ยอห์น 5:21; คพ. 88:17) การกระทำของอาดัม (กับการตก) และพระเยซูคริสต์ (กับการชดใช้และการฟื้นคืนพระชนม์) จำเป็นสำหรับความรอดของเราทั้งคู่ (ดูบทวิจารณ์สำหรับ โรม 5:12–21)” (คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [คู่มือของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014], 388)

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

“การชดใช้อันไม่มีขอบเขตจำเป็นต่อการไถ่อาดัม เอวา และลูกหลานทั้งหมดของพวกท่าน การชดใช้นั้นต้องทำให้ร่างกายเราฟื้นคืนชีวิตและเปลี่ยนแปลง [ดู 1 โครินธ์ 15:51–53; 3 นีไฟ 28:8] ไปสู่ร่างที่ปราศจากโลหิต ไม่เจ็บป่วย เสื่อมสภาพ หรือตายอีกต่อไป ” (“Constancy amid Change,” Ensign, Nov. 1993, 34)

1 โครินธ์ 15:51–52 “ในพริบตาเดียว”

ใน 1 โครินธ์ 15:51 เราอ่านว่าเปาโลพูดว่าเขาจะแสดงให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์เห็นความล้ำลึกที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนชีวิต หลายปีก่อนหน้า ขณะที่เขียนถึงวิสุทธิชนในเมืองเธสะโลนิกา เปาโลสอนว่าเมื่อการฟื้นคืนชีวิตของคนตายเกิดขึ้นที่การเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ คนที่ซื่อสัตย์ซึ่งอยู่บนแผ่นดินโลกจะ “ขึ้นไป … พบองค์พระผู้เป็นเจ้าในฟ้าอากาศ” (1 เธสะโลนิกา 4:17) เปาโลเสริมรายละเอียดอีกอย่างหนึ่งเข้าไปในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จมาครั้งที่สองซึ่งบันทึกใน 1 โครินธ์ 15:52 เปาโลสอนว่าคนที่มีชีวิตอยู่เมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จกลับมาจะยังคงดำเนินชีวิตมรรตัยต่อไปแต่จะไม่ “ล่วงหลับ” (1 โครินธ์ 15:51) เมื่อพวกเขาตายในช่วงมิลเลเนียม แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พวกเขาจะฟื้นคืนชีวิตอย่างรวดเร็ว “ในพริบตาเดียว” (1 โครินธ์ 15:52) (ดู คพ. 63:50–51 ด้วย)

1 โครินธ์ 15:55 “โอ ความตาย เหล็กในของเจ้าอยู่ที่ไหน?”

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์จะช่วยถอนเหล็กในแห่งความตายทางร่างกายและความทุกข์ทรมานออกไป

“ของประทานแห่งความเป็นอมตะแก่มนุษยชาติทั้งปวงผ่านความเป็นจริงของการฟื้นคืนชีวิตเป็นสัญญาที่ทรงพลังมากจนการชื่นชมยินดีของเราในของประทานที่ยิ่งใหญ่และเอื้อเฟื้อนี้ควรจะกลบโทมนัสทุกอย่าง ระงับความโศกเศร้า เอาชนะอารมณ์ ขจัดความสิ้นหวัง และควบคุมความสลดใจทั้งหมด” (“All Hell Is Moved” [Brigham Young University devotional, Nov. 8, 1977], 7, speeches.byu.edu)

ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“การฟื้นคืนชีวิตที่ต้องเกิดขึ้นของทุกจิตวิญญาณที่เคยมีชีวิตและสิ้นชีวิตบนแผ่นดินโลกคือความแน่นอนตามที่พระคัมภีร์บอกไว้และแน่นอนว่าเราควรเตรียมการอย่างดีเพื่อพร้อมรับเหตุการณ์นี้ การฟื้นคืนชีวิตอันรุ่งโรจน์ควรเป็นเป้าหมายของชายและหญิงทุกคน เพราะการฟื้นคืนชีวิตจะเกิดขึ้นจริง” (“The Meaning of Easter,” Ensign, Apr. 1992, 2)